ห้องเรียนไร้พรมแดน ห้องLab 24 ชั่วโมง


การจัดการเรียนการสอนรายวิชาเคมีสามารถนำสื่อเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ได้อย่างหลากหลายทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความสนใจมากขึ้น


          การจัดการเรียนการสอนเคมีสำหรับนักเรียนชั้นระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของครูนกในปัจจุบันนี้ได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างหลากหลายมาผสมผสานสำหรับการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนที่มีเป้าหมายสำคัญคือ กระตุ้นให้นักเรียนสนใจใฝ่เรียนรู้ด้วยตนเอง  และเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมด้วย  หากจะไล่เรียงเทคโนโลยีที่ใช้ได้แก่  เว็บไซด์  Social network   Classstart  Youtube และโปรแกรม YENKA CHEMISTRY รายละเอียดขอสรุปดังนี้

  • ระดับชั้นที่สอน   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ แผนการเรียนเน้นวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์

  • จำนวนนักเรียนในชั้น นักเรียนรวมทั้งหมด ๑๙๖ คน 

  • เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้  ได้แก่  เว็บไซด์  Social network   Classstart  Youtube และโปรแกรม YENKA CHEMISTRY 

  • บทบาทความรับผิดชอบของครูผู้สอนทั้งทางออนไลน์และในชั้นเรียน มีดังนี้
    -  แนะนำและชี้แจงแนวทางการใช้สื่อต่างๆ ว่าเพื่ออะไร และเมื่อไรจะใช้สื่อ ตลอดจนสอนวิธีการใช้สื่อที่นักเรียนเพิ่งจะรู้จักเป็นครั้งแรก

    -  สรรหาและคัดเลือกเนื้อหาสื่อที่เหมาะสมต่อความสนใจและความต้องของนักเรียน
    -  นำสื่อมาแสดงทั้งภายในชั้นเรียน และอัพโหลดสื่อออนไลน์อย่างต่อเนื่องให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระการเรียนรู้ในห้องเรียน 
    -  ประเมินความพึงพอใจและประโยชน์ที่นักเรียนจะได้รับเพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของนักเรียน
    -  ให้คำปรึกษาแนะนำเรื่องต่างๆ แก่นักเรียนทั้งในและนอกห้องเรียน 

  • การกระตุ้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนักเรียนผู้เรียนทั้งทางออนไลน์และในชั้นเรียน 
    -  แนะนำ ติดตามและให้ความช่วยเหลือด้านต่างๆ แก่นักเรียนอย่างต่อเนื่อง 

  • การติดตามการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งทางออนไลน์และในชั้นเรียน   ใช้การติดตามโดย
    -  สอบถามเป็นระยะในชั้นเรียน
    -  ใช้ระบบสนทนาผ่านสังคมออนไลน์ และ/หรือผ่านระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ 

  • การประเมินผลการเรียนของผู้เรียนทั้งทางออนไลน์และในชั้นเรียน 
    -  การร่วมตอบคำถามของนักเรียน
    -  การทำแบบทดสอบของนักเรียน
    -  บันทึกการเรียนรู้ 

  • ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชั้นเรียน 
    -  นักเรียนและครูได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกันอย่างต่อเนื่องทั้งในและนอกห้องเรียน
    -  นักเรียนเกิดมุมมองเชิงบวกในการใช้สื่อเทคโนโลยีต่างๆ ในการทำงานได้อย่างเปิดกว้าง
    -  การสื่อสารสะดวก รวดเร็ว ทันใจและจัดการทำได้ ๒๔ ชั่วโมง
    -  นักเรียนสามารถทำการทดลองเคมีผ่านโปรแกรม YENKA CHEMISTRY ได้ด้วยตนเองทั้งในกรณีตนเองขาดเรียน และอยากเรียนรู้เพิ่มเติม 

  • ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชั้นเรียน
    -  นักเรียนจำนวนหนึ่ง(ห้องละประมาณ ๒-๓ คน) จะปฏิเสธหรือละเลยการใช้สื่อเทคโนโลยี 
    -  นักเรียนบางคนจะมองว่าตนเองมีภาระงานที่เพิ่มขึ้น
    -  นักเรียนยังขาดคุณธรรมและความรับผิดชอบในการสืบค้นข้อมูล โดยมีพฤติกรรมคัดลอกข้อความนำมาวางเป็นคำตอบโดยขาดการทบทวนข้อมูล
     
    จากประสบการณ์ตรงในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศสู่ชั้นเรียนจะเห็นว่านักเรียนได้ประโยชน์อย่างหลากหลายเช่น  ได้เรียนรู้จากสื่อที่มีประสิทธิภาพ  ได้เรียนรู้อย่างหลากหลายมุมมอง  และมีประสบการณ์กว้างขวางที่สำคัญนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่และทุกเวลา 

หมายเลขบันทึก: 503621เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2012 22:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2013 20:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ได้ใช้เทคโนโลยีเืพื่อการเรียนการสอนที่คุ้มค่าจริงๆค่ะ

สุดยอดมาก  :)

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/503473 ครูนกค่ะติด Top 10 ด้วยนะคะ แต่ความมุ่งมั่นในการ Flip Classroom ของครูนกสำคัญยิ่งกว่าค่ะ ขอบคุณนะคะ :)

  • เท่าที่ได้รู้จักคุณครูนกมานานพอสมควร (กว่า 1 ปี) อ.วิ ขอแสดงความชื่นชมว่า คุณครูนกเป็น "คุณครูเชิงรุก" ที่มีการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้เกิดผลสูงสุดต่อผู้เรียนมาโดยตลอด
  • และจากบันทึกนี้ ก็ได้เห็นอีกก้าวหนึ่งในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน อ.วิขอปรบมือให้และขอเป็นกำลังใจในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิชาเคมีในระดับม.ปลายให้กับคุณครูนกนะคะ

 

ห้องเรียนไร้พรมแดน = ห้องเรียนที่ไม่มีกำแพง ;)...

ยอดเยี่ยมค่ะ ครูนก เป็นต้นแบบที่ดีสำหรับทั้งคุณครูและนักเรียนในการเรียนรู้อย่างไม่หยุดนิ่งเลยนะคะ ขอชื่นชมมากๆค่ะ

ขอบคุณสำหรับทุกดอกไม้กำลังใจค่ะ อาจารย์ Wasawat Deemarn คุณขจรศักดิ์ วิชัยวรกุล น้องอาจารย์ดร. ขจิต ฝอยทอง อาจารย์ดร.จันทวรรณ ป้าใหญ๋นงนาท สนธิสุวรรณ คุณ หนูรี คุณปริม pirimarj...อาจารย์ผศ. วิไล แพงศรี และคุณหยั่งราก ฝากใบ ค่ะ

เจ๋งจริงๆ เต็มร้อย เพราะว่าพร้อมทั้งนักเรียน ครู และห้องเรียน ขอติดตามห้องแล๊ปห้องนี้ด้วยคนนะคะครูนก

ครูนกครับ เมื่อใช้โปรแกรม yenka แล้ว อยากเห็นนักเรียน น้ำชิ้นงานมานำเสนอในห้องe -classroom ของเรา(ชาวในฝันครับ) ดูแล้วในฝันเรามาถูกทาง ห้องเรียนกลับทาง แล้วครับ เป็นกำลังใจให้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท