e-Trust


e-trustสร้างความเชื่อมั่นไห้กับประชาชน

e-Trust

  T = Truth ความจริง : ความซื่อสัตย์เป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งทำให้เกิดความสัมพันธ์ในระยะยาวอีกด้วย การไม่ตรงต่อเวลาจะนำไปสู่การไม่ไว้วางใจ
    R = Reliability ความน่าเชื่อถือ : ทุกครั้งที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ ทุกครั้งที่เราติดตามผลหลังการขายหรือการบริการ และทุกครั้งที่เราช่วยแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ความไว้วางใจ ไม่จำเป็นต้องมีปาฏิหาริย์ใดๆ เพราะมันเป็นเรื่องธรรมดามากๆ ของการบริการก่อน ระหว่าง และหลัง
    U = Understanding ความเข้าใจ : เมื่อเราใช้เวลาในการทำความเข้าใจความต้องการของผู้บริโภค ถามคำถามที่แสดงถึงความสนใจ เมื่อนั้นเราได้สร้างความไว้วางใจให้เกิดขึ้น การตอบคำถามที่ตรงประเด็น พูดในภาษาเดียวกันโดยไม่มีการแบ่งระดับการให้บริการ จะช่วยสร้างความไว้วางใจให้คงทนต่อไปได้
    S = Service การบริการ : ไม่มีวิธีใดจะสร้างและรักษาความไว้วางใจของผู้บริโภคได้ดีเท่าการบริการเป็นรายบุคคล
    T = Take your time การให้เวลา: ความไว้วางใจไม่ได้สร้างกันเพียงข้ามคืน ทุกๆ ปัจจัยที่กล่าวมานั้น จะต้องให้เวลากับมัน หมั่นโทรศัพท์ติดตามผล หมั่นตรวจสอบ พบปะ สอบถาม ช่วยแก้ไขปัญหา จัดบริการตรงเวลา

      ดังนั้นหากต้องการให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นในบริการทางออนไลน์ของภาครัฐ ภาครัฐก็ต้องปฏิบัติสิ่งต่างๆข้างตัน หรือวิธีการใดก็ได้ที่ทำให้ประชาชนเชื่อถือ และรู้สึกปลอดภัยในการใช้บริการออนไลน์ หรือที่เรียกว่าภาครัฐต้องมี Service mind

      คำพูดหรือนโยบายเป็นสิ่งที่ทำได้ แต่การปฏิบัติจริงนั้นต่างกัน ปัญหาของประเทศเราคือ คนที่กำหนดนโยบายไม่ได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติ คนที่ปฏิบัติไม่ได้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย ปัญหาที่ไม่ควรเกิดจึงเกิดมากมายดังเช่นทุกวันนี้

 

        นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ พ.ศ. 2544 – 2553 ของประเทศไทย (IT 2010)

นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ พ.ศ. 2544-2553 ของประเทศไทย หรือ IT 2010 ได้รับความเห็นชอบจาก

คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2545 เป็นนโยบายที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการสร้างสังคมแห่งภูมิปัญญา

และการเรียนรู้ของประเทศไทย โดยมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ คือ

1)ลงทุนในการเสริมสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีความรู้เป็นพื้นฐานสำคัญ

2)ส่งเสริมให้มีนวัตกรรมในระบบเศรษฐกิจและสังคม

3)ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ และส่งเสริมอุตสาหกรรมสารสนเทศ

3)ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ และส่งเสริมอุตสาหกรรมสารสนเทศ

        เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านภาครัฐ (e-Government)

มีเป้าหมายในการนำ ICT มาพัฒนาและปรับปรุงระบบงานบริหารที่สำคัญทุกประเภทของส่วนงานภาครัฐ

ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ภายในปีพ.ศ. 2547 และพัฒนาบริการที่ให้แก่สาธารณชนให้ได้ครบทุกขั้นตอนภายในปีพ.ศ.2553

       ยุทธศาสตร์ที่ใช้ในการพัฒนาเป็นการปฏิรูปงานวางแผนและงบประมาณ การจัดองค์กร การพัฒนาบุคลากรของรัฐ การพัฒนาการบริหารการให้บริการโดยรวมโดยใช้ICT ควบคู่กับการปรับขั้นตอนและกระบวนการทำงาน

   เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านพาณิชย์ (e-Commerce)

โดยเฉพาะพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ด้านการส่งออก การค้า และบริการ รวมถึงการบริโภคภายในประเทศมียุทธศาสตร์การพัฒนา ดังนี้

1. กำหนดมาตรการด้านการต่างประเทศเชิงรุก โดยประกาศให้เป็นยุทธศาสตร์การค้าและจัดทำนโยบายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รายสาขาเพื่อสนับสนุนความร่วมมือกับประเทศต่างๆ และสร้างกลไกเตรียมความพร้อมในการหารือและเจรจาระหว่างประเทศ จัดตั้ง Team Thailand เพื่อศึกษาแนวโน้มและผลกระทบของการจัดเก็บภาษีรายได้ที่เกี่ยวข้องกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

            กลุ่มผู้ตามที่มีพลวัตร (Dynamicadopters) เป็นกลุ่มประเทศที่มีความแข็งขันในการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ แม้จะมีอุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดับสูง แต่การแพร่กระจายเทคโนโลยีเก่าก็ยังช้าและไม่สมบูรณ์กลุ่มที่มีศักยภาพเป็นผู้นำ (Potential leaders) เป็นกลุ่มประเทศที่มีความก้าวหน้าและกำลังพัฒนาศักยภาพเป็นผู้นำในอนาคต ส่วนใหญ่

มีการลงทุนในการพัฒนาทักษะกำลังคน และมีการกระจายเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วอย่างกว้างขวาง แต่มีนวัตกรรมใหม่ๆ ไม่มากนักประเทศส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้มีทักษะแรงงานใกล้เคียงกับกลุ่มผู้นำนโยบายและแผนระดับชาติที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

2. สร้างความตื่นตัวเพื่อกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยเน้นการให้ความรู้กับภาคธุรกิจ ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (Small and Medium Enterprises: SMEs)รณรงค์ผ่านทางสถาบันการศึกษา และยกเลิกกฎเกณฑ์ที่เป็นอุปสรรคต่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และการให้บริการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์และระบบการจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์(e-Procurement)ในภาครัฐ

3.เร่งรัดกฎหมายที่จำเป็นเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยเร่งรัดการพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ให้แล้วเสร็จ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการและผู้บริโภค รวมทั้งกฎหมายโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศตามมาตรา 78 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 (รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550 ได้กำหนดไว้ในมาตรา 78 เช่นกัน) และกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (ยังเป็นร่างกฎหมายที่อยู่ในขั้นตอนเสนอต่อคณะรัฐมนตรีก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป สถานะ ณ วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2552)

4.พัฒนาระบบการชำระเงินและความมั่นคงปลอดภัยให้รองรับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์โดยจัดให้มีหน่วยงานกลางที่คล่องตัวและมีประสิทธิภาพในการรักษาความมั่นคงและความปลอดภัยของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การจัดให้มีระบบการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของหน่วยงานภาครัฐเรื่องฐานข้อมูล รวมถึงการจัดให้มีหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินในหน่วยงานหลักแต่ละแห่ง

5. สร้างระบบฐานข้อมูลและการจัดการข้อมูล โดยจัดทำฐานข้อมูลและเครือข่ายข้อมูลเพื่อบริการแก่ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้บริโภค พร้อมทั้งจัดตั้งหน่วยติดตามความเคลื่อนไหวข้อมูลการค้าในประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างต่อเนื่อง

6.ส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม โดยการร่วมมือกับภาคเอกชนสาขาต่างๆ พัฒนาเว็บไซต์ให้เป็นแหล่งข้อมูลกลางเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งและสามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์อื่นได้ นอกจากนี้ยังมีการออกมาตรการส่งเสริมการบ่มเพาะ (Incubation) ธุรกิจใหม่และสนับสนุนธุรกิจที่มีความเสี่ยง(Venture Capital)

7. พัฒนาบุคลากร ส่งเสริมและจัดสรรทรัพยากรเพื่อการพัฒนาบุคลากรด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้มีความรู้ ความเข้าใจ จัดให้มีหลักสูตรพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในระดับอุดมศึกษาอย่างกว้างขวางโดยรวดเร็ว รวมทั้งฝึกอบรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้ประกอบการในชุมชนโดยอาศัยเครือข่ายสถาบันท้องถิ่นที่มีอยู่

8.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและองค์ประกอบสนับสนุน โดยการส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างกว้างขวางและลดเลิกการผูกขาดด้านโทรคมนาคมเพื่อการขยายตัวของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การพัฒนาอุตสาหกรรมไอทีที่เป็นกำลังขับเคลื่อนการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาโดยมุ่งเน้นการสร้างมาตรฐาน การคิดค้นนวัตกรรมและการสร้างต้นแบบกล่าวโดยสรุปได้ว่าการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในภาคการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce)

ตามกรอบนโยบาย IT 2010 นี้มีเป้าหมายเพื่อมุ่งสร้างประโยชน์โดยรวมในกิจการพาณิชย์ของประเทศไทย ทั้งในความสามารถในการแข่งขันของคนไทย และการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกิจส่งออก การค้าและบริการตลอดจนการบริโภคของประชาชนโดยการปฏิรูปการพาณิชย์ของประเทศให้มีโอกาสในตลาดต่างประเทศดีขึ้น

มีการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และงานที่เกี่ยวเนื่อง รวมถึงการจัดให้มีการชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความมั่นคงปลอดภัยสูง มีการสร้างระบบฐานข้อมูลและการจัดการข้อมูลที่ทันสมัย ทั้งนี้รวมถึงการพัฒนาบุคลากรทุกประเภทในแต่ละระดับ กับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เจริญเติบโต

เป็นธุรกิจเสรีรองรับการพัฒนาการพาณิชย์ให้มีความมั่นคงปลอดภัยต่อไปทั้ง 8 ยุทธศาสตร์ของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในภาคการพาณิชย์ (e-Commerce)

         ที่ได้กล่าวมาข้างต้น นับว่ามีความสอดคล้องกับอำนาจหน้าที่และเป้าหมายการทำงานของคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กล่าวคือ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มธุรกิจและผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้สามารถเติบโตและ

แข่งขันได้ในเวทีต่างประเทศ ดังนั้น ยุทธศาสตร์และกิจกรรมต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตามแผนนโยบายIT 2010 จึงสามารถนำมาปรับใช้ควบคู่กับแผนการดำเนินงานของคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะต้องมีการศึกษาในรายละเอียดของแผนการทำงานและกิจกรรมต่างๆ ให้มีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันเพื่อสนับสนุนให้บรรลุเป้าหมายที่ได้วางไว้ร่วมกัน                                 

คำสำคัญ (Tags): #e-trust
หมายเลขบันทึก: 503446เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2012 13:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ตุลาคม 2012 13:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณความคิดที่สร้างสรรค์ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท