เกณฑ์พิจารณาว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรม


สิ่งใดเป็นนวัตกรรม

สวัสดีค่ะ  วันนี้ขอกล่าวถึงการพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรมหรือไม่       

     การจะพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรมหรือไม่  ขึ้นอยู่กับการรับรู้ของแต่ละบุคคลหรือกลุ่มบุคคลว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งใหม่สำหรับเขาหรือไม่  นวัตกรรมของบุคคลกลุ่มหนึ่งอาจจะไม่ใช่นวัตกรรมของบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งก็ได้  นอกจากนี้ความใหม่ยังขึ้นอยู่กับระยะเวลาอีกด้วย  สิ่งใหม่ในความหมายของนวัตกรรมอาจไม่ใช่สิ่งที่ใหม่จริง ๆ  อาจเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือแนวคิดใด  แนวคิดหนึ่งที่เคยทำกันมาในอดีตแล้วหยุดไป  เมื่อมีการรื้อฟื้นขึ้นมาใช้ใหม่และได้ผลในสถานการณ์ปัจจุบันก็ถือว่าเป็นนวัตกรรมได้    

เกณฑ์การพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรมหรือไม่มี  4  ประการ  คือ  (ณรงค์ สมพงษ์ 2543 : 85)

  1. จะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด หรือบางส่วนอาจเป็นของเก่าที่ใช้ไม่ได้ผลในอดีต แต่มีการนำมาปัดฝุ่นหรือปรับปรุงใหม่ หรือของปัจจุบันที่เรานำมาปรับปรุงให้ดีขึ้น
  2. มีการนำวิธีการจัดระบบมาใช้ โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนของข้อมูลที่เข้าไปในกระบวนการและผลลัพธ์ กำหนดขั้นตอนการดำเนินการให้เหมาะสม ก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลง
  3. มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยหรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่า“สิ่งใหม่” นั้นจะช่วยแก้ปัญหาและการดำเนินการบางอย่าง ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม
  4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบันแต่ถ้าได้รับการเผยแพร่และยอมรับจนเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่ดำเนินอยู่ ก็จะไม่ถือว่าสิ่งใหม่นั้นเป็นนวัตกรรม แต่จะถือว่าสิ่งนั้นเป็นเทคโนโลยี
คำสำคัญ (Tags): #นวัตกรรม
หมายเลขบันทึก: 503237เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2012 18:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กันยายน 2012 18:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท