เทคโนโลยีดาบ 2 คม


เด็กรุ่นใหม่การเรียนการสอนต้องมาคู่กับเทคโนโลยีใหม่ๆ และครูต้องเป็นผู้ก้าวนำเทคโนโลยีทุกคน

   เด็กรุ่นใหม่การเรียนการสอนต้องมาคู่กับเทคโนโลยีใหม่ๆ และครูต้องเป็นผู้ก้าวนำเทคโนโลยีทุกคน สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลช่วยเป็นสื่อการสอนได้เช่น  ส่งงานทาง mail หรือ social network รวมถึงอื่นๆ 

   ในฐานะผม นรากร พิสิษพุฒิธาดา  นักศึกษาวิศวกรรมเครือข่ายคอมพิวเตอร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี  ได้เห็นการศึกษาของเด็กรุ่นใหม่ๆ หรือรุ่นน้องๆของ ผมที่ก้าวเข้ามาในรั้วมหาวิทยาลัย  ยังไม่รู้เรื่องเทคโนโลยีคืออะไรเลย   และผมได้ถามกับรุ่นน้องบาง โรงเรียนยังไม่มีสนับสนุนเทคโนโลยีเท่าไหร่นัก บ้างก็เป็นห้องคอมพิวเตอร์ที่ไม่มีครูสอนปล่อยทิ้งไว้  ผมเลยคิดว่าเทคโนโลยียังไม่ครอบคลุมเลย ได้ยินเพียงแต่คำโฆษณาของผู้สนับสนุนการศึกษา  ต่างกับบางแห่ง(เอกชน) ที่เรียนไปพร้อมกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยเช่น Tablet ใช้ในการในการเรียนการสอนแบบโลกออนไลน์  ทำให้เด็กเหล่านี้ได้ศึกษาและเติบโตคู่กับเทคโนโลยีใหม่ๆ  แต่เทคโนโลยีก็เป็นดาบ 2 คมได้เช่นกัน  โรงเรียนบ้างที่เปิดห้องคอมไว้เพื่อให้นักเรียนได้ไปศึกษาด้วยตนเองไม่มีผู้กำกับดูแล  เด็กนั่งเล่นเกมส์บ้าง  นั่งแชทกับเพื่อนทางเพศบ้างไม่ใส่ใจกับความรู้จากอินเตอร์เน็ตด้วยซ้ำ  สำหรับผมคิดว่าถ้าจะให้นักเรียนเข้าใจและใฝ่เรียนรู้ทางเทคโนโลยีใหม่ๆต้องมีผู้จัดกิจกรรมและให้ความรู้และปลูกฝั่งเด็กตั้งแต่ ม.1 ให้สามารถใช้เทคโนโลยีในการเรียน   

 

ความแตกต่างที่เกิดขึ้น

และเราสามารถติดตามศึกษาพฤติกรรมของนักเรียนทาง social network หรือ facebook ที่เรานิยมเล่นนั้นเอง เพื่อเอามาทำประโยชน์ให้ความรู้ให้คำปรึกษาได้ทาง social network 

สามารถเขียน blog เพื่อให้นักศึกษาเข้าไปอ่านและทำกิจกรรมต่างๆ กินขึ้นในโลกออนไลน์ได้ด้วย เช่น ที่ผมเรียนผ่านมา ที่มีการทำกิจกรรมต่างๆและให้คะแนนทาง blog ที่เราทำกิจกรรมนั้นๆ ขึ้นอย่างที่ผมได้เรียนมากกับท่านอาจารย์ ผศ. วิไล  แพงศรี 

http://www.gotoknow.org/profiles/users/pw-11-59

 

ประโยชน์ของเทคโนโลยีที่ใช้ในชั้นเรียนมีประโยชน์อย่างมากสามารถนำไปใช้นอกชั้นเรียนได้เช่น  ส่งงานทางmail ให้หาข้อมูลของงานๆต่างๆ 

อุปสรรคส่วนมากที่เกิดขึ้นจากที่ยังไม่มีการปลูกฝั่งให้ศึกษาใฝ่เรียนรู้เทคโนโลยีและไม่มีผู้ให้คำปรึกษา ทางโลกออนไลน์มีเพียงแต่ศึกษาด้วยต้นเองปัญหาที่ผมเช่น  ทำโจทย์คณิตในอินเตอร์เน็ตแล้วไม่เข้าใจโจทย์ที่ให้มาและทำวิธีทำไม่รู้จะเริ่มยังไง  ก็ไม่มีใครปรึกษา  ผมเคยทำมาแล้วศึกษาด้วยตนเองแต่ไม่มีใครให้คำปรึกษา

 

ขอขอบคุณภาพจาก 

http://gallery.lotus-psu.com/main.php?g2_itemId=3202

http://www.bannairien.org/ideas/index.php

http://news.siamphone.com/news-07271.html

หมายเลขบันทึก: 503147เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2012 22:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กันยายน 2012 11:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • โครงการนี้ รู้สึกจะเน้นให้ครูอาจารย์เป็นคนเขียน ดังที่ได้กำหนดหัวข้อให้เขียนไว้ดังนี้ (http://www.gotoknow.org/blogs/posts/502635)
  • ระดับชั้นที่สอน
  • จำนวนนักเรียนในชั้น
  • เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้
  • บทบาทความรับผิดชอบของครูผู้สอนทั้งทางออนไลน์และในชั้นเรียน
  • การกระตุ้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งทางออนไลน์และในชั้นเรียน
  • การติดตามการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งทางออนไลน์และในชั้นเรียน
  • การประเมินผลการเรียนของผู้เรียนทั้งทางออนไลน์และในชั้นเรียน
  • ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชั้นเรียน
  • ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชั้นเรียน

   แต่นรากรต้องการมีส่วนร่วม เจ้าของโครงการท่านก็คงไม่ว่าอะไร สำหรับอาจารย์แล้วก็ดีใจที่นรากรมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเอง การแสดงแนวคิดในแง่ดาบสองคมของเทคโนโลยีก็เข้าที การให้ข้อมูลปัญหาที่พบก็เป็นประโยชน์ การใช้ภาพประกอบโดยมีการอ้างอิงก็เป็นสิ่งที่ดี

   แต่เรื่องที่จะต้องใช้เวลาในการพัฒนาอีกต่อไป ก็คือ การเขียน (พิมพ์ให้ถูกต้อง) ตอนนี้แม้แต่ชื่ออาจารย์ก็สะกดผิดไปแล้วนะ "วิลัย" ที่นรากรเขียน แปลว่า ความย่อยยับ ชื่ออาจารย์คือ "วิไล" แปลว่า งาม นอกจากนั้นยังมีพิมพ์ผิดอีกหลายแห่ง เช่น...รั่ว(รั้ว) มหาวิทยาลัย บ้าง (บาง) โรงเรียน...ไม่มีครูสอนปล่อยถึง (ทิ้ง) ไว้ เป็นต้น 

  และอย่าลืมเข้าไปตอบขอบคุณท่านที่เข้ามาให้กำลังด้วยนะคะ

 

ขอขอบคุณท่าน โสภณ เปียสนิท ที่เข้ามาให้ดอกไม้เป็นกำลังใจครับ

ขอบคุณท่านอาจารย์ ผศ. วิไล แพงศรี ที่มาให้กำลังใจและชี้แนะผม
กราบขอประทานโทษเป็นอย่างสูง ที่เขียนชื่อ อาจารย์ผิด ทั้งที่ได้เรียนกับอาจารย์มาหลายเดือนได้ความรู้ไปหลายเยอะแต่ยังเขียนผิด ต่อไปผมจะพยายามพัฒนาตนทำให้ไม่เกิดข้อผิดพลาดอีก ถึงมีก็จะให้น้อยลง และจะเรียนรู้แก้ไขข้อบกพร่องจนทำให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆ

ขอขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท