บทความการเรียนการสอนแบบจิตปัญญา


การเรียนการสอนแบบจิตปัญญา

ความหมายของการสอนแบบจิตปัญญา

       การสอนแบบจิตปัญญาเป็นการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยมุ่งถึงจิตและปัญญาโดยให้ความหมายของจิตว่า เป็นการเรียนที่ตรงตามความต้องการของผู้เรียน มีปฎิบัติการทางความคิด ตื่นตัวและสนุกสนานที่จะเรียน ส่วนปัญญาหมายถึง การส่งเสริมพุทธิปัญญาด้วยความเพิ่มพูน และขยายข้อความรู้ที่จำเป็นต้องเรียนให้เกิดความเข้าใจอย่างกระจ่างชัด และจำได้จากกิจกรรมการสอน โดยมีองค์ประกอบสำคัญของรูปแบบการสอนคือ

       1. มโนทัศน์ที่ต้องเรียน

       2. กิจกรรมการสอนที่มีคุณสมบัติ A B C D P

            A = Active learning ผู้เรียนลงมือปฏืบัติการคิด

            B = Behaving well  ผู้เรียนมีการแสดงออก

            C = Cooperrative learning ผู้เรียนเรียนรู้จากการเรียนร่วมมือ

            D = Discovery learning ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการค้นพบ

            P = Progress ผู้เรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ตามจุดประสงค์การสอน

       3. การประเมินภาพการสอน

       4. หน่วยเวลากำกับการสอน

      การจัดกิจกรรมการสอนแบบจิตปัญญา เป็นการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีการปฏิบัติ และเกิดการคิดโดยใช้กิจกรรมเป็นฐานประกอบกับการทำงานร่วมมือกันเป็นกลุ่ม ซึ่งในแต่ละขั้นตอนการสอนครูต้องใส่ใจต่อการสังเกตพฤติกรรม เพื่อปรับกลยุทธ์การสอนของครูที่จะทำให้การจัดกิจกรรมบรรลุจุดประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพคือ ผู้เรียนสนุกและเรียนรู้ในเรื่องที่ครูสอนอย่างประทับใจ

      แนวคิดการสอนแบบจิตปัญญาเน้นการใช้ปัญญาควบคู่ไปกับจิตใจที่สุนทรี ที่สัมพันธ์กับองค์รวมผู้เรียน ซึ่งได้แก่ ร่างกาย จิตใจ ปัญญา บริบท และพัฒนาการตามวัย

หลักการสอนที่สำคัญ

       1. การให้ข้อความรู้ การสอนแบบจิตปัญญาจะสร้างให้เด็กค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นแหล่งวิทยาการที่สำคัญ ในระหว่างการเรียนการสอนครูต้องพร้อมให้ความรู้แก่เด็กตลอดเวลาในประเด็นที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ

       2. การกระตุ้นให้คิด วิธีการกระตุ้นให้เด็กคิดต้องเป็นทั้งตัวกิจกรรม คำถามจองครู สื่อการสอน และวิธีการเรียน

       3. การปฏิบัติการ ผู้เรียนต้องมีกิจกรรมปฏิบัติการเพื่อการเรียนรู้ทั้งในชั้นเรียนหรือนอกชั้นเรียนตามจุดประสงค์ของการสอน

       4. การสะท้อนผล ครูต้องสะท้อนภาพการเรียนรู้ให้ผู้เรียนทราบและเห็นทิศทางความก้าวหน้าการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการป้อนข้อมูลกลับของครู

หมายเลขบันทึก: 503108เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2012 12:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กันยายน 2012 12:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท