วัยชีวิต


วัยชีวิต

 

วัยชีวิต

 

ปฐมวัย  ให้คิดอ่าน   การศึกษา

มัชฌิมวัย  ให้คิดหา   สร้างหลักฐาน

ปัจฉิมวัย  ให้สร้างคุณ  ทำบุญทาน

จวบวายปราณ   ผ่านพ้นทุกข์   สุขภิญโญ

 

ท่านบอกว่าชีวิตคนเรานับตั้งแต่วันเกิดจนถึงวันตาย  เกณฑ์ปกติก็ประมาณ  80  ปี  เรียกว่าอายุขัย  ในชั่วขณะ  80 ปี เราจะพบความเปลี่ยนแปลงของชีวิต   คล้อยไปตามเหตุการณ์และสภาพแวดล้อม  5  ครั้ง คือ

อายุตั้งแต่เกิด  จนถึงอายุ  15 ปี  เป็นชีวิตพึ่ง        พึ่งพ่อแม่

อายุตั้งแต่  15   จนถึงอายุ  25  ปี เป็นชีวิตพบ      พบเพื่อนผู้คนมากมาย

อายุตั้งแต่  25  จนถึงอายุ  60   ปี  เป็นชีวิตเพียร    เพียรขยันหาเงินสร้างฐานะตัวเอง

อายุตั้งแต่  60   จนถึงอายุ  70 ปี  เป็นวัยพัก          พักจากการทำงานหมั่นสร้างบุญ

อายุ70ปีขึ้นไป  เป็นวัยพราก   พรากจากลูกหลานญาติพี่น้องของรักของหวง

จะเห็นได้ว่า  ชีวิตของคนเรามีทั้งหมด  5  ช่วง    การเปลี่ยนแปลงของชิวิตเราท่านเรียกว่า  อนิจฺจตา  ทุกขตา  อนตฺตา

อนิจฺจตา  ความเป็นของไม่เที่ยง   สังขารมีการเกิดขึ้นในเบื่องต้น  แรกก็ยังอ่อนนอนอยู่ในเบาะ    มีความแปรปรวนในท่ามกลาง  ต่อมาก็เติบใหญ่เป็นเด็กเล็ก  เด็กใหญ่  หนุ่มสาว    แก่เฒ่า ร่างกายทรุดโทรม และก็แตกสลายในที่สุด    ชีวิตเรานี้ท่านเปรียบเทียบเหมือนดอกไม้   ดอกไม้นี้แรกออกก็ยังอ่อนแล้วก็ตูม  แย้ม  บาน  เหี่ยว  โรย  สังขารทั้งหลายมีความเกิดขึ้นในเบื่องต้น  ความแปรปรวณในท่ามกลาง  และมีความแตกสลายในที่สุด

ส่วนทุกฺขตา   ความเป็นทุก  ย่อมมีความทนได้ยาก   ร่างกายของเรา  มีเย็น ร้อน  หิว  ปวดหัว  ตัวร้อน เป็นไข้  ป่วย  นี้เป็นทุกข์ที่มีประจำ และยังมีทุกอีกอย่างหนึ่งเห็นง่ายๆคือ   ความพลัดพรากจากคนที่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์  ความปราถนาสิ่งใดไม่ได้ดังหวังก็เป็นทุก  บางรายถึงกับฆ่าตัวตาย  นี้ถือว่าคิดผิด  ความยากจน    ความเป็นหนี้ก็เป็นทุกข์ ท่านบอกว่าอินาทานัง  ทุกขังโลเก  การเป็นหนี้ยืมสินเป็นทุกข์ในโลก

ความถูกนินทาก็เป็นทุก  ทุกข์อยากที่กล่าวมาล้วนเป็นทุกทั้งสิ้น

ต่อมาก็อนตฺตตา  ความเป็นของไม่ใช่ตัวตน  ร่างกายของเราตั้งขึ้นแล้ว  เราไม่มีสิทธิ์ในสังขารนั้น  ไม่สามารถในการบังคับร่างกายได้ เช่นในการเป็นไข้ ในการเจ็บป่วย

เราบังคับร่างกายไม่ได้  บอกร่างกายอย่าเป็นเช่นนั้น  ร่างกายย่อมไม่เป็นไปตามเราสั่ง

เพราะฉนั้นคนเราเมื่อมีชีวิตก็ควรรีบทำคุณงามความดี  สร้างเนื้อสร้างตัว  เหมือนกับคำกลอนข้างต้น เมื่อยามเด็กก็ควรศึกษาเล่าเรียน  วัยเรียนนี้ก็ประมาณสัก 5 ปีถึง  25

ส่วนวัยกลางก็ควรสร้างหลักสร้างฐานของครอบครัวรู้จักเก็บหอมอดออม เพราะช่วงนี้เป็นช่วงที่เรี่ยวแรงในการทำงาน  ร่างการแข็งแรง  เหมาะแก่การทำงาน  ประกอบอาชีพ

ส่วนวัยสุดท้ายก็ให้รู้จักสร้างบุญกุศลเพื่อเป็นทางไปในทางที่ดี

คำสำคัญ (Tags): #วัยชีวิต
หมายเลขบันทึก: 503104เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2012 12:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กันยายน 2012 12:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท