การทำนาปีละสองครั้งในอีสานโดยไม่ต้องรอการชลประทานจากรัฐ


ทำนาปีละสองครั้งโดยไม่ต้องรอชลประทาน

 

อีสานบ้านเฮา จนยากจากการทำนาดั้งเดิม เลยต้องกลายเป็นเสื้อแดงกันเป็นส่วนใหญ่ตามคำโฆษณาชวนเชื่อของนักธุรกิจการเมืองบางคนที่หากินกับความยากจนของเฮา ...ก็ความยากจนมันทำให้เราต้องปากกัดตีนถีบจนไม่มีเวลาไปหาความรู้ให้เท่าทันพวกนักการเมืองทุศีลบางคน

 

ถ้าเราจะหยุดคิดหาทางปรับปรุงวิธีการทำมาหากินสักหน่อย เราอาจมีรายได้มากขึ้น และในขณะเดียวกันก็มีเวลาแสวงหาความรู้มากขึ้นเพื่อรู้ทีนนักการเมืองพร้อมกันไป  เท่ากับว่าได้สองต่อ 

 

การเกี่ยวข้าวนั้นเรามักทำกันที่ระยะพลับพลึงคือประมาณ 1 เดือนหลังข้าวออกดอก  และก่อนหน้านี้ประมาณ 10 วันเรามักถูกสอนให้”สูบน้ำออก”   ซึ่งนอกจากจะเหนื่อยยากแล้ว ยังเป็นการทิ้งน้ำไปเสียอีก  (เสียสองต่อ) ...ยังมีต่อที่สามสี่ห้าอีก

 

วันนี้ผมจะมาเสนอการทำนาที่แปลกไปจากเดิม

 

1)      พอข้าวเริ่มออกดอกได้สัก 10% ของพื้นที่ ให้ “ไขน้ำออก”  โดยไม่ต้องไขไปทิ้งไหนหรอก แต่เอาไปทิ้งให้ขังไว้ในคูน้ำรอบคันนาที่ขุดไว้แต่แรกแล้วนั่นเอง (และมีน้ำขังตลอดอยู่แล้ว...ที่ใช้ในการเลี้ยงปลามาแต่แรกด้วยซ้ำ)  ซึ่งการไขน้ำออกนี้ก็เพียงแค่เปิดร่องดินคันนาด้านใน ซึ่งไม่ได้เหนื่อยยากอะไรเลย

2)      เชื่อว่าการไขน้ำออกแต่เนิ่นๆนี้จะทำให้ข้าวสุกไวขึ้นกว่าปล่อยให้น้ำขังไว้ อีกทั้งดินในขณะเก็บเกี่ยวก็แห้ง ทำให้ทำงานง่าย  ลดความเหนื่อยยากลงไปอีก

3)      น่าถามว่า การไม่ไขน้ำออกแต่แรกนั้นเพื่ออะไร  แต่กลับไปไขออก(ทิ้ง)ตอน 10 วันก่อนเก็บเกี่ยว  การที่เราไขน้ำออกตอนเริ่มออกดอกนั้นเท่ากับว่าเราไขออกก่อนปกติถึง 1 เดือน  ซึ่งในระหว่าง 1 เดือนนี้ถ้าเราแช่น้ำไว้น่าจะมีโทษมากกว่าประโยชน์เพราะต้นข้าวจะชุ่มน้ำทำให้เมล็ดข้าวชื้นและสุกยาก (ช้า)  อีกทั้งการกำจัดวัชพืชด้วยน้ำก็ไม่ได้ผลแล้ว เพราะต้นข้าวโตจนใบข้าวก็คลุมนาไว้หมดแล้ว  ถึงแม้จะมีเมล็ดหญ้ามาร่วงลง ก็คงไม่งอก ถึงงอกก็ไม่โต   การขังน้ำไว้นานเกินไปนอกจากมีข้อเสียดังกล่าวมาแล้ว ยังทำให้น้ำระเหยทิ้งไปในบรรยากาศเสียหมด เป็นการ “เสียน้ำ” แบบไม่น่าเสีย แต่ถ้าเราไขออกไปเก็บไว้ในคูน้ำริมนาแต่เนิ่นๆ เราก็ได้น้ำเก็บไว้มากกว่าปกติ

4)      พอเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว ผืนนาก็แห้ง เราก็สูบน้ำเขานาพอชื้น ไถกลบตอซัง แล้วสูบน้ำจากคูรอบๆ (ที่มีมากขึ้นกว่าปกติ) ทำนาครั้งที่สอง หรือทำไร่ถั่ว ไร่อะไรต่อมิอะไร ได้ หรือถ้าไม่ไถกลบตอซังก็ทำนาหว่านได้เลย   (เหนื่อยน้อย)   อย่าลืมด้วยว่าช่วงนี้หน้าหนาว ปลูกผักฤดูหนาวน่าจะดี  (มีตอซังช่วยบังแดดให้ด้วยนะ)   น้ำท่าก็มีบริบูรณ์ ปลาในคูนาก็โตเริ่มจับขายได้แล้ว 

5)      ข้าวสุกเร็วขึ้น 10 วันเราก็มีเวลามากขึ้น 10 วันในการทำนาหนสอง น้ำในคูก็มีมากขึ้น เหนื่อยก็น้อยลง

 

 

...คนถางทาง (๑๘ กย ๒๕๕๕) 

หมายเลขบันทึก: 502750เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2012 06:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อาจารย์คร้าบจบวิดวะ หรือ เกษตรศาสตร์ คร้าบ ละเอียดยิบเลยนี่ น่าลองนะแต่ชลัญทำนาไม่เป็น ได้แต่อ่านนา ที่อาจารย์เขียนเท่านั้นเองน่ะ

เคยลองทำรึยังคะอาจารย์ น่าสนใจมาก.. แต่ตอนนี้แม่ไม่ได้ทำนาแล้วค่ะ..

 

น่าสนใจครับ ผมจะลองนำไปทำในอนาคตอันใกล้ครับ ตอนนี้ได้พื้นที่เป้าหมายแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท