เสียดาย...เขียนได้แค่นี้จริงๆ


  เดิมทีตั้งใจจะร่วมแสดงความเห็นด้วยเกี่ยวกับหัวข้อที่ gotoknow ได้ติดป้ายประกาศไว้ แต่มีงานประจำตัวดำเนินการเร่งด่วนจวบจนเื่มื่อวาน หวนคิดเมื่อวันที่ ๑๕ ที่ผ่านมา อุตส่าห์เขียนได้หน่อยหนึ่งจากเวลาที่ว่างจากงาน กลับไปถึงห้อง คอมพิวเตอร์เปิดไม่ขึ้นซะแล้ว ต้องลงวินโดว์ใหม่ และหลับไปเมื่อไรไม่รู้ จนตีสี่ตื่นขึ้นมา วินโดว์ยังไม่เสร็จ มีบางอย่างต้องดำิเนินการต่อ และแล้วก็เสร็จ จากนั้นมีงานอื่นๆต้องรีบดำเนินการ จนวันนี้ เสียดายเขียนได้แค่นี้จริงๆ ไว้มีเวลาค่อยว่ากันใหม่ จำได้ว่า ค้างไว้หลายเรื่องแล้ว โดยเรื่องนี้เสียดายมาก นอกจากมีแรงกระตุ้นทางสังคมออนไลน์แล้ว ผมยังเห็นว่า มันน่าจะเป็นประโยชน์ต่อวงการด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตาม ขอเก็บไว้ในบล๊อกนี้ก่อน วันหลังหากจำได้ค่อยมาว่ากันใหม่ เพราะความตั้งใจจริงๆคือ เขียนเป็นเรื่องขนานยาว

------------------------------------------------------

ทำอย่างนี้สิ..ประชาชนจึงจะมีความเชื่อมั่นในบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ

เกริ่นนำ

 

                เนื้อหาที่จะเขียนต่อไปนี้เกิดขึ้นจากป้ายประกาศของ www.gotoknow.org ในการเชิญชวนเหล่านักคิดและนักปฏิบัติ “ร่วมบอกเล่าประสบการณ์ตรง หรือ บอกเล่าแนวคิดที่อยากให้เกิดขึ้นได้จริงๆ ในหัวข้อ “(e-Trust) ทำอย่างไรให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นในบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ?”[1]

                ผมคิดว่า ในชีวิตคนไทยที่ผ่านมา โดยเฉพาะยุคของการให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี เราน่าจะสัมผัสการให้บริการดังกล่าวนี้แล้วไม่มากก็น้อย ยกเว้นตาสีและตาสาผู้ไม่เคยและไม่ให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม หลายคนที่ใช้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ต้องหันกลับมาขอใช้บริการแบบเดิมๆ คือระหว่างคนกับคนมากกว่าคนกับเครื่องมือ อาจเกิดจาก (๑) ความไม่คุ้นชินกับเครื่องมือ (๒) ความไม่มั่นใจ ซึ่งใน (๒) นี้น่าจะเป็นสิ่งที่ทาง gotoknow.org ต้องการข้อมูลเพื่อนำไปปรับปรุงการบริการของภาครัฐในการให้บริการทางอิเล็กทรอกนิกส์

                เมื่อกล่าวถึงคำว่า “ภาครัฐ” เป็นการบ่งชี้ว่ามีอีกภาคหนึ่งที่ไม่ใช่ภาครัฐ ภาคดังกล่าวคือภาคเอกชน ผมเห็นว่า ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ภาครัฐควรจะมีบทบาทอย่างยิ่งในการทำเพื่อมวลชนซึ่งหมายถึงประชาชนทุกคนและภาคเอกชนด้วย เพราะภาครัฐเกิดขึ้นจากมวลชน มิใช่ของใครกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่หากเป็นภาคเอกชน มันหมายถึงตระกูลใดตระกูลหนึ่ง เช่น สถาบันการเงินนี้ของตระกูลนั้น เป็นต้น กลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เช่น กลุ่มรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น หรือ คนใดคนหนึ่ง เช่น  นาย ก. คือเจ้าขององค์กรนี้ ดังนั้น เพื่อภาคเอกชนเกิดจากกลุ่มเอกชน เขาอาจไม่จำเป็นที่จะต้องทำงานเพื่อประชาชนโดยรวม เพราะประชาชนโดยรวมมิได้มีส่วนช่วยให้องค์กรเขาเจริญเติบโตโดยตรง แตกต่างจากภาครัฐที่ใช้เงินบริหารและจัดการด้วยภาษีของประชาชน อาจหมายถึงประชาชนคือผู้ร่วมลงทุน ดังนั้น ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากภาครัฐจึงควรเป็นผลประโยชน์ของประชาชนโดยตรง

                แต่ทำไม ประชาชนจำนวนหนึ่งจึงไม่มีความเชื่อมั่นในบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ ซึ่งแท้จริงเป็นของตนเองมิใช่ใครอื่น

 

ปัญหาสำคัญของความไม่เชื่อมั่นคืออะไร

ก.       กลุ่มประชาชนผู้เข้าถึงข้อมูลการบริการอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ(ตั้งโครงไว้ว่า มี ๓ กลุ่มคือ โดยกลุ่มแรกได้แก่ผู้เคลือบชีวิตไว้กับอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มที่สองเครื่องมืออิเล็กทรอกนิกซ์เป็นส่วนหนึ่งแต่ไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุดจนขาดไม่ได้ / เป็นเพียงเครื่องมือเท่านั้น กลุ่มที่สามคือ กลุ่มที่ไม่มีเครื่องมือเพื่อเข้าถึงบริการดังกล่าวนั้นเลย ตลอดถึงผู้ปฏิเสธ ผู้ไม่อยากเรียนรู้ ผู้พอใจกับชีวิตแบบเดิมๆฯลฯ หากแบ่งอย่างนี้ ก็แสดงว่า กลุ่มที่เข้าถึงข้อมูลการบริการมี ๒กลุ่มแรกเท่านั้น)

ข.      ลูกจ้างของประชาชนผู้ทำหน้าที่ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์(ตั้งโครงไว้ว่า เบื้องลึกความคิดของผู้ให้บริการคืออะไร ตั้งใจจะให้บริการจึงหรือไม่ หรือว่าเพื่อตอบสนองต่อสิ่งอื่น วิถีของผู้ให้บริการกับสภาพสังคมแวดล้อม การไ้ด้มาซึ่งผู้ให้บริการหรือบุคคลผู้ให้บริการเช่นใดที่เราได้มา วิธีการกับผลิตภัณฑ์ที่ได้มาเป็นอย่างไร ฯลฯ)

ค.      อิเล็กทรอนิกส์กับวิถีของประชาชน(ตั้งโครงไว้ว่า จะกล่าวถึงวิถีชีวิตของคน ๓ กลุ่มข้างต้น กับอิเล็กทรอนิกส์ หรือการปะทะกันระหว่างโลกใหม่กับโลกเก่า)

ความคาดหวัง/ความหวังของผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ(ตั้งโครงไว้ว่าจะกล่าวถึงความคาดหวังระหว่างผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการทั้งต่อกันและกันและต่อเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์

เรืออวนจับปลาทูสู่ศรัทธาในบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ(จะกล่าวถึงแนวทางที่ควรจะเป็นสำหรับการใช้และให้บริการด้วยโมเดลโมเดลเรืออวนจับปลาทูสู่ศรัทธาหรือการประสานกันระหว่างเครื่องมือ ผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ)

-------------------------------

 



 

[1] เข้าถึงได้ใน http://www.gotoknow.org/blogs/posts/499416 (14 ก.ย.2555)

 

หมายเลขบันทึก: 502630เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2012 09:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2015 10:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท