ฟังพระพูดถึงธรรมมะกับ KM กันดูบ้าง (1)


 เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2548 ไปจับภาพเครือข่ายKM กลุ่มโรงเรียนรัฐ 5แห่งในจังหวัดหนองบัวลำภู มีโอกาสพบพระอาจารย์ถนอม แห่งวัดใหม่ศรีมงคล อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู ท่านเป็นกรรมการสถานศึกษาประจำอำเภอนี้จึงถือโอกาสให้ท่านกล่าวถึง KM ซึ่งท่านได้มีโอกาสเข้าร่วมการอบรมในเครือข่ายนี้ แกะเทปให้อ่านกันแบบไม่ต้องตีความแล้วนึกกันเอาเองน่ะค่ะ

ท่านกล่าวว่า......

พระอาจารย์ ถนอม แห่งวัด....
 การจัดการความรู้เป็นการวางแผน ที่เรามีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน แต่การเรียนรู้คือการทำตาม ฉะนั้นการวางแผนเป็นสิ่งที่ดี แล้วเรานำมาปรับใช้ได้ทั้งหมด KM ที่ไปประชุมก็ดี ไปดูไปสังเกต ไปอ่าน ปลาทู ก็นึกถึงเรื่องธรรมบท มันมีหมาจิ้งจอกเจ้าเลห์มาก คนหนึ่งหาปลามาก็เถียงกัน หมาจิ้งจอกก็เอาไป


  ระบบการบริหารทุกอย่างอยู่ที่หัว สำคัญ หูตา จมูก สมองก็อยุ่ที่หัว ฉะนั้นหัวปลานี่สำคัญ ถ้าหัวไม่รู้ทุกเรื่องมันจะทำงานไม่สำเร็จ เพราะว่าข้างล่างจะเกรงใจเรา แต่ทั้งหัว ทั้งตัว ทั้งหาง เอามารวมกันคิด รร่วมกันวางแผน ร่วมกันปฏิบัติ อย่าสั่งอย่างเดียว ถ้าสั่งอย่างเดียวเขาไม่ชอบ ฉะนั้นถ้าเราได้คิด ได้เสนอความเห็นด้วยน่าจะดีเราก็ลงมือทำด้วยความเต็มใจ ความเต็มใจในทางพุทธศาสนา เรียกว่าฉันทะพอใจ  พอใจแล้วก็ตั้งใจทำ เมื่อตั้งใจทำแล้ว ก็จะสำเร็จ ก็เอาตรงนี้มาใช้แล้วก็จะประสบความสำเร็จขึ้นมา


  อาตมา จะเป็นหัว แต่ไม่ใช่สั่งอย่างเดียว ก็ต้องหาข้อมูลจากข้างล่างมาคิดด้วย อย่างเรื่องปัญหาเยาวชน ต้องไปนั่งฟัง รวบรวมก่อนแล้ววิเคราะห์ มันถึงจะออกมาเป็นรูปธรรมที่สำเร็จด้วย


  ปลาทูเป็นศัพท์ใหม่ ที่ดี เรียกร้องความสนใจของคนได้  เรื่องตลาดนัดความรู้ เอาปลาทูมาหขายกันปลาทูบางครั้งถ้าเอาไว้นานๆ มันจะเน่า ฉะนั้น ช่วงนี้นำมาใช้กับประเทศไทยจะเหมาะสม  บางคนอาจจะบอกว่ายังไม่ถึงเวลา ยังไม่ใช้ ปลาทูก็จะเน่าอยู่ในองค์กรนั้น แต่ถ้าองค์กรอื่นเอาไปกินทันเวลา ก็ได้สารอาหาร ได้ประโยชน์เกิดขึ้น อันนี้ก็เป็นศัพท์เรื่องปลาทูที่น่าสนใจ
ในทางธรรมมีคำสอนเรื่องใดไหมที่ตรงกับการจัดการความรู้ 


  เรื่องไตรสิขา นั้นแน่นอน ที่พระพุทธเจ้านำมาใช้ชัดเจนในการเอาคนพ้นจากกิเลส หรือมรรคมีองค์ 8  ที่วางไว้ชัดเจนว่าถ้าเรามี ทาง 8 ประการมาใช้เป็นมัชชิมา ก็คล้ายๆ ว่าถ้าเรามีความคิดดี รับผิดชอบ รู้ดี มีความเห็นชัดเจนว่าอันนี้เหมาะสมกับสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ นักเรียนเรา ครูเรา สถานภาพของเราพร้อมทุกอย่า เราเห็นแล้วว่ามันจะเกิดประโยชน์ แล้วก็มาคิดที่เรียกว่าดำริ ในการประชุมกันน่ะ น่าจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันน่ะ น่าจะเอาคนนั้น คนนี้มาเล่ากันน่ะ เมื่อดำริ แล้วสื่อทางวาจา ก็มาแล้ว เอาคนมาคุยกัน คุยกันยังไม่พอ ต้องมีหลักฐานมีบันทึก มีการขีดเขียนไว้ เรียกว่าการงานที่จะให้เกิดประโยชน์ ตรงนี้ก็ยังไม่พอ ถ้าเราทำทีเดียวหางไปนานก็ต้องใช้ความเพียร เรียกว่าพยายามให้เกิดประชุมแลกเปลี่ยนกันบ่อยๆ พุทธศาสนาถ้าประชุมกันบ่อยๆ มันจะรู้เรื่องทันแก้ปัญหาถูก นำไปสู่อนาคตที่ดี


   อาตมานำเสนอให้คณะสงฆ์ศรีบุญเรื่องให้จัดสภาสูงขึ้นแล้วประชุมกันทุกเดือน เพื่อเราจะได้ตามปัญญา วัดไหนมีปัญหาจะได้ตามแก้ไขได้ เหมือนกับโรงเรียนไหนติดขัดปัญหาอะไรก็เอามาคุยกันอันนี้เรียกว่าการคุยกัน พบปะกันบ่อยๆ ในทางพุทธศาสนาเรียกว่า อัปปะหริยธรรม(ไม่ทราบฟังถูกหรือเปล่า)  คือจะคุยกันทุกเรื่อง พร้อมกับประชุมเรื่องราวข่าวสารกันธรรม แล้วสุดท้ายก็ปฏิบัติกันตามมติ
  ท่านเจ้าคุณวัดอุโมงค์ จ.เชียงใหม่ บอกว่า อย่ามัวของเก่า อย่าเมาของใหม่ ให้ใส่ใจปัจจุบัน อันนี้KM เริ่มปัจจุบัน  แล้วมาใส่ใจดูซิ มันจะเกิดประโยชน์กับเราหรือไม่
  ส่วนเรื่องการบันทึกนั้น โบราณเราทำมานานแล้ว เช่น วันนี้ฝนจะตกไหม น้ำจะน้อยหรือจะเยอะ เขามีวิธีบันทึกหรือวิธีดู ถึงอาจจะไม่ได้เขียนไว้ บางทีเขียนไว้ในฮีต ในมรดกอีสานอยู่ วันแรม 1 ค่ำ ฟ้าเปิด ลมพัดอย่างไร ถ้าปลวกขึ้นต้นไม้สูงหมายความว่าน้ำจะเยอะ เขามีการวิเคราะห์ เอาเขียนไว้ นั่นก็คือการบริหารKM ของเขาแล้วแหละ  แต่เขาไม่ได้บอกว่าKM แต่มันเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านของเขา ที่เกิดจากการเห็นการจำ แล้วก็เป็นทฤษฎีที่เขาจำแล้วก็บันทึกไว้ อาจจะไม่เป็นทั้งหมด แต่เป็นอย่างนี้ นี่คือหลัก แต่เรามาใช้คำว่า KM


  ถ้าเราเขียนไว้นั้นดี เราจะรู้ว่าวันนั้นอดีตเราเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ถ้าเรามาตรวจดูว่า วันนั้นๆ เราเป็นอย่างไร เราจะเห็นชัดเจน นี่เป็นหลักบริหารชีวิตของเขาเหมือนกัน ถ้าคนทำได้ทุกวันทุกคนยังเป็นเงินเป็นทองได้ หากมาพิมพ์ขาย


  อาตมาจึงบอกว่ามาศึกษาอดีต ขีดเส้นปัจจุบัน แล้วประกันอนาคต แน่นอนว่าอดีตที่ผ่านมาเป็นบันทึกของเราผิดบ้างถูกบ้างคละเคล้ากันไป แล้วเราแก้ไขตรงผิด แล้วขีดเส้นใต้ว่าตรงนี้เราผิด แล้วจึงแก้ไขในปัจจุบันให้ดีขึ้น ถ้าเราทำได้ เรารับประกันอนาคตของเราได้ อย่าข้ามปัจจุบัน ถ้าคนข้ามปัจจุบันจะสูญเสียอนาคตที่ดี พระ พุทธเจ้าจึงบอกว่า  อัตเชวะกิตจะมาตัปปัง (เขียนไม่ถูกแน่ๆ )หมายความว่าสิ่งไหนที่เราคิดดีแล้วจะทำต้องทำในวันนี้เลยอย่ารอ พระว่าพรุ่งนี้เราอาจจะตายได้ จะทำดีกับพ่อแม่ จะทำดีกับสังคม อยากบริหารตรงไหนให้ดีขึ้นต้องทำในขณะที่ตนเองทำได้อยู่..............

ยังมีต่อ(ตอน 2ค่ะ)

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 5026เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2005 14:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท