จุลสุขาวตีวยูหสูตร ปริเฉทที่ 1 (ตอนที่ 1)


ต่อไปนี้เป็นเนื้อหาของคัมภีร์ "จุลสุขาวตีวยูหสูตร" ตัวหนังสือสีเขียว คือ ตัวเนื้อหาคัมภีร์เป็นภาษาสันสกฤต หากไม่สนใจภาษาสันสกฤตก็อ่านเฉพาะตัวหนังสือสีน้ำเงิน ตัวหนังสือในวงเล็บเหลี่ยมมีการอธิบายทางไวยากรณ์ ส่วนท้ายสุดของหน้า เป็นข้อความจากคัมภีร์สันสกฤต ทั้งอักษรเทวนาครี อักษรไทย และอักษรโรมัน

นมะ สรฺวชฺญาย.

นมะ [นมสฺ : นาม เพศกลาง เอกพจน์ การกที่ 1] ความนอบน้อม 

สรฺวชฺญาย [สรฺวชฺญ : นาม เพศชาย เอกพจน์ การกที่ 4, สมาส "สรฺว" ทั้งปวง, "ชฺญ" (รู้, ผู้รู้)] แด่ผู้ทรงรู้สรรพสิ่ง (คำนี้เคยอธิบายไว้แล้ว ที่นี่ http://www.gotoknow.org/blogs/posts/433726)

แปลว่า : ขอนอบน้อมแด่ผู้ทรงรู้สรรพสิ่ง

อธิบาย การใช้ "นมะ" (หรือ "นโม" แล้วแต่กรณีของสนธิ) กับคำนามการกที่ 4 (เพื่อ..., แด่...) พบได้ทั่วไปในประณามบท หรือบทนมัสการ ตอนต้นของบทสวด กรณีเช่นนี้ไม่ต้องมีประธาน หรือกริยาใดๆ เป็นที่เข้าใจว่า ข้าพเจ้านี่แหละ ขอถวายความนอบน้อม แด่ผู้นั้นผู้นี้...

 

๑. เอวํ มยา ศฺรุตมฺ.

ศฺรุตมฺ [ศฺรุต : นามเพศกลาง เอกพจน์ การกที่ 1] สิ่งที่ได้ยินแล้ว

มยา [อหมฺ : สรรพนาม บุึรุษที่ 1 เอกพจน์ การกที่ 3] โดยข้า  

เอวํ [อวฺยย] ดังนี้

แปลว่า ข้าได้ยินแล้ว ดังนี้

อธิบาย : พระสูตรในพุทธศาสนามักจะขึ้นต้นอย่างนี้ ตามท้องเรื่องว่าพระอานนท์ได้ยินสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ จึงนำมาเล่า. ประโยคนี้เป็นแบบกรรมวาจก ตรงกับภาษาอังกฤษว่า it's heard by me แต่ในภาษาไทยมักจะแปลแบบประโยคกรรตุวาจก คือ ยกประธานข้า/ฉัน ขึ้นมา ภาษาสวยๆ ก็ว่า "ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้"

เลข ๑ นี้คือเริ่มต้นปริเฉท (ย่อหน้าที่ 1 ตามต้นฉบับคัมภีร์)

 

เอกสฺมินฺสมเย

เอกสฺมินฺ [เอก :นาม เพศชาย เอกพจน์ การกที่ 7] หนึ่ง 

สมเย [สมย : นาม เพศชาย เอกพจน์ การกที่ 7] ในสมัย 

แปลว่า ในสมัยหนึ่ง (หรือ กาลครั้งหนึ่ง)

อธิบาย คำว่า "เอก" (แจกรูปแบบสรรพนาม) ไปขยายความคำว่า "สมย" จึงใช้การกเดียวกัน พจน์เดียวกัน นามการกที่ 7 หมายถึง คำนามนั้นบอกตำแหน่ง


ภควาญฺฉฺราวสฺตฺยำ วิหรติ สฺม 

[แยกสนธิ : ภวานฺ ศฺราวสฺตฺยามฺ วหรติ สฺม]

ภควานฺ [ภควตฺ : คำนามเพศชาย เอกพจน์ การกที่ 1] พระผู้มีพระภาค (คำนี้เคยอธิบายแล้ว ที่นี่ http://www.gotoknow.org/blogs/posts/476274)

วิหรติ [วิ+หฺฤ : ปัจจุบันกาล ปรัสไมบท เอกพจน์ บุรุษที่ 3] ประทับอยู่

สฺม [อวฺยย] แล้ว (คำนี้ใส่เข้ามาเพื่อให้กริยาปัจจุบันกาลนั้น มีความหมายเป็นอดีต)

แปลว่า : พระผู้มีพระภาคเจ้าเคยประทับอยู่


เชตวเน'นาถปึฑทสฺยาราเม

[แยกสนธิ :เชตวเน อนาถปึฑทสฺย อาราเม]

ศฺราวสฺตฺยำ [ศฺราวสฺตี : นามเพศหญิง เอกพจน์ การกที่ 7] ในเมืองศราวัสตี (บาลีว่า สาวัตถี)

เชตวเน [เชตวน : นามเพศกลาง เอกพจน์ การกที่ 7] ในเชตวัน 

อาราเม [อารามา : นามเพศชาย เอกพจน์ การกที่ 7] ในอาราม  

อนาถปึฑทสฺย [อนาถปึฑท : นามเพศชาย เอกพจน์ การกที่ 6] ของอนาถปิณฑทะ (เศรษฐีชื่อ อนาถปิณฑทะ ตามคัมภีร์บาลีว่า อนาถปิณฑิกะ) 

แปลว่า ในอารามเชตวันของอนาถปิณฑทะ ในเมืองศราวัสตี

 

สารฺธมฺ

สารฺธมฺ [อวฺยย] พร้อมด้วย (คำนี้ใช้กับนามการกที่ 3 ที่แปลว่า "ด้วย" เป็นการเน้นความ)

 

มหตา ภิกฺษุสํเฆน สารฺธมรฺธตฺรโยทศภิรฺภิกฺษุศไตรภิชฺญานาภิชฺญาไตะ สฺถวิไรรฺมหาศฺราวไกะ สรฺไวรรฺหทฺภิะ.

ภิกฺษุสํเฆน. [ภิกฺษุ-สํเฆน : เพศชาย เอกพจน์ การกที่ 3] พร้อมด้วยเหล่าภิกษุ (คำ่ว่้า สํฆ แท้จริงแล้ว หมายถึง เหล่า, คณะ แต่เมื่อใช้กันสืบมา จึงหมายถึงเหล่าสงฆ์ไปโดยปริยาย)

มหตา [มหตฺ : เพศชาย เอกพจน์ การกที่ 3] มาก, หมู่ใหญ่ 

อรฺธ [อวฺยย] จำนวนครึ่งหนึ่ง

ตฺรยสฺทศภิรฺ [ตฺรยสฺ-ทศภิสฺ :] (พร้อมด้วย)จำนวน 13

ภิกฺษุศไตรฺ [ภิกฺษุ-ศต : เพศชาย พหูพจน์ การกที่ 3] (พร้อมด้วย)จำนวน 100 แ่ห่งภิกษุ

อรฺธ ตฺรยสฺทสฺภิรฺ ภิกฺษุศไตรฺ ต้องแปลด้วยกัน หมายถึง 100 คูณ 13 แล้วลบอีกครึ่งหนึ่งของร้อย (100 x 13 = 1300, 1300 - 50 = 1,250)

อภิชฺญานาภิชฺญาไตะ [อภิชฺญาน-อภิชฺญาต : เพศชาย พหูพจน์ การกที่ 3] (พร้อมด้วย) ผู้แตกฉานในอภิญญาทั้งหลาย   (อภิชฺญาน หมายถึ อภิญญา, อภชฺญาต หมายถึง รู้แตกฉาน)

สฺถวิไรรฺ [สฺถิวิร : เพศชาย พหูพจน์ การกที่ 3] (พร้อมด้วย) พระเถระทั้งหลาย 

มหาศฺราวไกะ [มหา-ศฺราวก : เพศชาย พหูพจน์ การกที่ 3] (พร้อมด้วย) มหาสาวกทั้งหลาย 

อรฺหทฺภิะ. [อรฺหตฺ : เพศชาย พหูพจน์ การกที่ 3] (พร้อมด้วย) พระอรหันต์ทั้งหลาย 

สรฺไวร [สรฺว : เพศชาย พหูพจน์ การกที่ 3] ทั้งสิ้น, ทั้งปวง

แปลว่า พร้อมด้วยเหล่าภิกษุหมู่ใหญ่ ภิกษุจำนวน 1,250 รูป ผู้แตกฉานอภิญญา (เป็น)พระเถระ พระมหาสาวก พระอรหันต์ ทั้งสิ้น

อธิบาย ทั้งหมดนี้เป็นนามการกที่ 3 ที่แปลว่า ด้วย/กับ/พร้อมด้วย (with)  ทุกคำ แ่ต่มีคำเชื่อม สารฺธมฺ (แปลว่า พร้อมด้วย) อยู่แล้ว และตามด้วยคำนามการกที่ 3 ซึ่งแปลว่าพร้อมด้วย ซ้ำอีก เมื่อแปลเป็นไทย จึงไม่จำเป็นต้องแปลคำว่าพร้อมด้วยสองครั้ง. ตรงนี้จะแปลอย่างไรก็ตาม หมายถึง ภิกษุทั้งหลาย ที่มีคุณสมบัติทั้งหมดนี้ จำนวน 1,250 รูป

เรื่องไวยากรณ์มีหลายอย่างที่น่าสนใจ เช่น คำนามลงท้ายด้วยพยัญชนะ การแจกรูปนามแบบพิเศษ การใช้คำหลายคำในการกเดียวกัน และการนับจำนวน

 

แปลทั้งหมดอีกที

ขอนอบน้อมแด่ผู้ทรงรู้สรรพสิ่ง.

ข้าได้ยินแล้ว ดังนี้,

ในสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเคยประทับอยู่

ในอารามเชตวันของอนาถปิณฑทะ ในเมืองศราวัสตี(สาวัตถี) พร้อมด้วย

เหล่าภิกษุหมู่ใหญ่ ภิกษุจำนวน 1,250 รูป (ผู้เป็น) ผู้แตกฉานอภิญญา พระเถระ พระมหาสาวก พระอรหันต์ ทั้งสิ้น.

อธิบาย : พระสูตรส่วนมากก็จะเริ่มต้นอย่างนี้ ว่าเมื่อพระภิกษุมาชุมนุมกันที่เชตวัน (หรืออารามแห่งอื่น) พระพุทธเจ้าได้เทศนาเรื่องต่างๆ ไว้ แต่คัมภีร์มหายานอาจจะใส่ชื่อต่างๆ เอาไว้มากอย่างพิสดารกว่าของเถรวาท.

(อ่านต่อ ตอนต่อไป)


ต้นฉบับ

नमः सर्वज्ञाय। एवं मया श्रुतम्। एकस्मिन्समये भगवाञ्छ्रावस्त्यां विहरति स्म जेतवनेऽनाथपिंडदस्यारामे महता भिक्षुसंघेन सार्धमर्धत्रयोदशभिर्भिक्षुशतैरभिज्ञानाभिज्ञातैः स्थविरैर्महाश्रावकैः सर्वैरर्हद्भिः।


namaḥ sarvajñāya evaṁ mayā śrutaṁ. ekasmin samaye bhagavāñ chrāvastyāṁ viharati sma jetavane 'nāthapiṁḍadasyārāme mahatā bhikṣusaṁghena sārdham ardhatrayodaśabhir bhikṣuśatair abhijñānābhijñātaiḥ sthavirair mahāśrāvakaiḥ sarvair arhadbhiḥ.

 

นมะ สรฺวชฺญาย. เอวํ มยา ศฺรุตมฺ. เอกสฺมินฺสมเย ภควาญฺฉฺราวสฺตฺยำ วิหรติ สฺม เชตวเน'นาถปึฑทสฺยาราเม มหตา ภิกฺษุสํเฆน สารฺธมรฺธตฺรโยทศภิรฺภิกฺษุศไตรภิชฺญานาภิชฺญาไตะ สฺถวิไรรฺมหาศฺราวไกะ สรฺไวรรฺหทฺภิะ.

หมายเลขบันทึก: 502560เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2012 15:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน 2012 19:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

นมะ [นมสฺ : นาม เพศกลาง เอกพจน์ การกที่ 1] ความนอบน้อม ขอถามนิดนึงคะ เอาจากที่อาจารย์สอนหนูมานะค่ะ และก็อ้างอิงจากตารางที่อาจารย์ให้มา ( นมสฺ นามเพศกลาง เอกพจน์ การกที่1) พอผันเป็น นมสฺ มันก็ไปตรงกับตาราง ''อการานฺต'' คำนามที่ลงท้ายด้วยเสียงอะ

แต่อาจารย์บอกว่ามันเป็นนาม ''เพศกลาง'' หนูก็เลยไปดูตารางคำนามเพศกลางล่าสุด ที่อาจารย์ให้มา โดยหยิบยกคำว่า ผล เป็นแบบ พบว่าในการกที่1 เอกพจน์ มันเป็น ผลมฺ มิใช่ ผลสฺ คะ

หนูเลย งงๆ หรือเพราะหนูเข้าใจอะไรตรงไหนผิดค่ะ

นมสฺ เป็นเพศกลาง ลงท้ายด้วยพยัญชนะ (สฺ การานฺต, ไม่ใช่ อการานฺต) ยังไม่ได้สอนครับ :) แจกรูปแบบนี้...

1. นมสฺ นมสี นมำสิ

2. นมสฺ นมสี นมำสิ

3. นมสา นโมภฺยามฺ นโมภิสฺ

4. นมเส นโมภฺยามฺ นโมภฺยสฺ

5. นมสสฺ นโมภฺยามฺ นโมภฺยสฺ

6. นมสสฺ นมโสสฺ  มมสามฺ

7. นมสิ  นมโสสฺ  มมะสุ

8. นมสฺ นเมา นมำสิ

ไหนๆ ถามแล้ว ก็จดไว้ท่องเสียเลย

 

ธรรมะ ==> สว้สดีค่ะ

ขอบคุณนะคะ

ธรรมะสวัสดีครับ Blank ...Dr. Ple

ขอบคุณมากครับที่ติดตามอ่านมาโดยตลอด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท