โครงการโฮมฮักรักลูกหลานโภชนาการดี : ว่าด้วยครูและกลไกหนุนเสริมสู่การเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร


เป็นกระบวนการสร้างสรรค์ที่ควรเอาแบบอย่าง แทนที่จะบริจาคเงินให้จบๆ กันไป สุดแท้แต่โรงเรียนจะนำไปใช้อะไร แต่นี่กลับให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียผ่านกระบวนการอันหลากหลาย เป็นการพัฒนาคน พัฒนาระบบ เห็นความสำคัญของความเป็น “มนุษย์” หรือ “ศักยภาพของมนุษย์” ซึ่งผมมองว่าเหมาะสมอย่างยิ่งยวดกับกระบวนการเรียนรู้ในระบบการศึกษาในศตวรรษนี้

การทำหน้าที่วิทยากระบวนการในเวที “ค่ายโฮมฮักรักลูกหลานโภชนาการดี”  ตอกย้ำให้ผมเห็นมิติของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ “เด็กและเยาวชน” ในวัยเรียนที่ยังต้องขับเคลื่อนภายใต้โครงสร้างของภาครัฐและเอกชน หรือแม้แต่ท้องถิ่นนั้นๆ

 

 

ค่ายโฮมฮักรักลูกหลานโภชนาการดี  เป็นเสมือนกลไกหนุนเสริมให้แต่ละโรงเรียนได้ยกระดับตัวเองสู่การเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ระดับเพชร  โดยไม่ละเลยที่จะพัฒนาทรัพยากรบุคคลไปพร้อมๆ กัน มิใช่แค่ทำและทำเพื่อให้ผ่าน “ตัวชี้วัด” เท่านั้น

 

เป็นที่น่ายินดีว่าโครงการดังกล่าว ริเริ่มสร้างสรรค์โดยบริษัทไฮคิว อุตสาหกรรม จำกัด (โรซ่า : ROZA)  ร่วมกับ สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยมีบริษัทเลมอนเรย์ เป็นส่วนหนึ่งในการทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานและขับเคลื่อนกระบวนการต่างๆ

 

 

กรณีดังกล่าว  ผมชื่นชมกระบวนการที่ภาคเอกชนได้เข้ามามีบทบาทต่อเรื่องดังกล่าว  แทนที่จะมอบเป็นทุนการศึกษาให้กับโรงเรียน หรือนักเรียนแบบเสร็จสรรพ  (เสมือนให้แล้วจบๆ กันไป)  แต่กลับมอบเป็นทุนให้โรงเรียนในจังหวัดอุดรธานี-หนองคายได้นำไปจัดกิจกรรมในโรงเรียน  ด้วยการสนับสนุนให้แต่ละโรงเรียนได้ “คิด -ได้ออกแบบ -บริหารจัดการ” ด้วยตนเอง 

นอกจากนี้แล้ว-  ก่อนการดำเนินงานโครงการฯ  ยังจัดเวที “เสริมพลังและติดอาวุธทางปัญญา”  ให้กับผู้เกี่ยวข้องอย่างไม่ลดละ  เช่น  การเขียนโครงการ  การบริหารโครงการ  การสร้างองค์ความรู้ในเรื่องโรเรียนส่งเสริมสุขภาพ  สร้างความรู้และความเข้าใจในเรื่องตัวชี้วัด  สร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับกิจกรรมและกระบวนการขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จ  สร้างแกนนำนักเรียนสร้างแกนนำครู สร้างแกนนำแม่ครัว-พ่อครัว  

รวมถึงการออกเยี่ยมเยียนให้คำแนะนำในทุกกระบวนการและทุกตัวชี้วัด

 

 

ผมว่านี่เป็นกระบวนการสร้างสรรค์ที่ควรเอาแบบอย่าง  แทนที่จะบริจาคเงินให้จบๆ กันไป  สุดแท้แต่โรงเรียนจะนำไปใช้อะไร  แต่นี่กลับให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียผ่านกระบวนการอันหลากหลาย  เป็นการพัฒนาคน พัฒนาระบบ  เห็นความสำคัญของความเป็น “มนุษย์” หรือ “ศักยภาพของมนุษย์”  ซึ่งผมมองว่าเหมาะสมอย่างยิ่งกับกระบวนการเรียนรู้ในการศึกษาของศตวรรษนี้

เพราะเป็นการ "ให้" ที่ทำให้ผู้รับและผู้ให้รู้สึกถึง “คุณค่า” และ “ศักดิ์ศรี” เป็นการให้ที่สร้างกระบวนการเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน ไม่ใช่หยิบยื่นให้ผ่านการสอน (และสอนแต่เพียงฝ่ายเดียว)  โดยไม่คิดคำนึงถึง "ความยั่งยืน” และ“ศูนย์กลางที่แท้จริงของการเรียนรู้”

 

 

 

ปีนี้ — ผมรับบทบาทกระบวนการที่เกี่ยวกับเรื่อง “ติดโบว์ IDEA สู่เวที”  โดยกลุ่มเป้าหมายหลักคือ “ครู” ที่ดำเนินงานในเรื่องโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ

ก่อนกระบวนการของผมนั้น  คณะครูที่เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการได้รับความรู้ผ่านฐานต่างๆ (ฐานความรู้ : สนุกกับเกณฑ์ชี้วัด) มาแล้วอย่างเต็มที่  ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์ด้านวิทยากรจากกรมอนามัย และสำนักงานสาธารณสุขในพื้นที่ฯ  โดยแบ่งเป็นฐานต่างๆ คือ (1) โภชนาการช่ะ..ชะ..ช่า  (2) สิ่งแวดล้อม..ชอบใจ (3) ปากฟัน..ดูแลกัน..ขยันทำได้ (4) กายสดใส..จิตใจฮาเฮ  (4)  โครงงานจ๊ะจ๋า..มีปัญหา..ถอยไป

ซึ่งฐานทุกฐานล้วนเน้นการถ่ายทอดและทำความเข้าใจ หรือแม้แต่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในเรื่องของ ”ตัวชี้วัด” หรือ “เกณฑ์ประเมิน” ในการก้าวสู่การเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพในระดับเพชร

 

 

กระบวนการของผมเริ่มต้นในช่วงเวลาของการปราบเซียน (ภาคบ่ายหลังอาหารมื้อเที่ยง) 

ผมเริ่มต้นกระบวนการทั้งปวงด้วยการให้นิสิต (ลูกทีม)  ได้จัดกิจกรรมละลายพฤติกรรมคณะครูด้วยการตีกลองร้องเต้น  ถัดจากนั้นก็เปิดคลิป-หนังสั้นให้ดูเพลินๆ เป็นการเช็คสมาธิ สร้างความบันเทิงและแรงบันดางใจไปในตัว

และนั่นก็คือกระบวนการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ในช่วงของผม

 

 

ด้วยเวลาอันจำกัดเพียงไม่ถึงชั่วโมง  ผมรวบรัดเนื้อความทั้งปวงให้สั้นลง  อธิบาย “โจทย์” ที่จะให้อาจารย์ต่างๆ ได้แลกเปลี่ยนและเรียนรู้ร่วมกัน  นั่นคือการชวนให้คณะครูทุกกลุ่มได้ระดมความคิดเห็นในหัวข้อกว้างๆ หลวมๆ ว่า “ประเด็น “ออกแบบกิจกรรมสู่การขับเคลื่อนโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ” (ความรู้สู่การปฏิบัติ)  โดยเน้นการ “โสเหล่” สู่การถ่ายทอดความคิดเป็นแผนภาพความคิด (Mind Mapping)

กรณีดังกล่าว  ผมทำความเข้าใจให้คณะครูได้ผูกโยงความรู้จากการเข้าฐาน  ผสมผสานกับความรู้ที่ผ่านการทำจริง เห็นจริง (ปัญญาปฏิบัติ) ในวิถีที่ครูลงแรงขับเคลื่อนเรื่องโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพมาอย่างยาวนาน  รวมถึงความรู้ที่เกิดจากการได้โสเหล่กับเพื่อนๆ ในกลุ่ม

กระบวนการเช่นนั้น  นับตั้งแต่การฟังวิทยากร มาสู่การโสเหล่ และการออกแบบกิจกรรมหรือกระบวนการขับเคลื่อน (ติดโบว์ IDEA สู่เวที)  ผมใช้วาทกรรมหลักนำพาคือ “ฟัง >> สังเคราะห์ >> ประยุกต์ใช้”

 

 

ครับ- การฟังวิทยากรประจำฐาน  คือการรับสาร  ประเมินความรู้เดิมและเปิดรับความรู้ใหม่

ครับ- การนั่งโสเหล่กับสมาชิกในกลุ่ม คือการเรียนรู้ร่วมกัน  คือการสังเคราะห์ความรู้ร่วมกันเพื่อนำไปสู่การออกแบบกิจกรรม ออกแบบเครื่องมือ วิธีการของการขับเคลื่อนให้บรรลุต่อเป้าหมาย..ปลายทาง อันเป็นฝั่งฝัน (คุณภาพชีวิตของสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคนและเหรียญรางวัลระดับเพชร)

ครับ-การนำความรู้มาสู่การแลกเปลี่ยนและร่วมออกแบบกิจกรรม ที่พร้อมจะนำไปเป็นส่วนหนึ่งในการทำงาน ผมถือเป็นกระบวนการของการนำไป “ใช้” หรือ  “ประยุกต์ใช้”  ภายใต้บริบทของแต่ละสถานศึกษา

ซึ่งในห้วงของการโส่เหล่ในแต่ละกลุ่ม  ผมจะมีทีมงาน “พี่เลี้ยง” คอยหนุนเสริมและอำนวยความสะดวกเพื่อก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันให้มากที่สุด

 

 

 

กระบวนการดังกล่าวนี้  คงไม่เพียงก่อเกิดองค์ความรู้ หรือภาพที่แจ่มชัดขึ้นเกี่ยวกับการขับเคลื่อนการงานเท่านั้น  หากแต่ยังหมายถึงการพยายามสร้างเครือข่ายการทำงานในลักษณะของ “เพื่อนช่วยเพื่อน...”  ไปในตัว

และเมื่อกระบวนการโสเหล่ได้ยุติลง  ก็ได้เวลาของการนำเสนอจากแต่ละกลุ่มภายใต้วาทกรรมที่เจ้าภาพชูโรงว่า “แกะโบว์ SHOW OFF”

 

 

การนำเสนอ (PRESENT)  ของแต่ละกลุ่ม  ค้นพบประเด็นที่เหมือนและต่างกัน  อาทิ  3 กลุ่มแรกเน้นการออกแบบกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนเรื่องโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โดยหยิบจับข้อปัญหา  (SWOT)  หรือตัวชี้วัดที่ตนเองประสบอยู่มาเป็นหัวใจหลัก นั่นก็คือโครงงานที่เกี่ยวกับห้องสุขา  โครงการงานที่เกี่ยวกับเด็กไทยไร้พุง  โครงงานที่เกี่ยวกับการกินผัก

ขณะที่สองกลุ่มหลังมาในรูปของ “ระบบและกลไก” การขับเคลื่อน  เช่น  การกำหนดนโยบาย การถ่ายทอดนโยบายสู่การปฏิบัติ  การถ่ายทอดความรู้  การมอบหมายภารกิจแบบมีส่วนร่วม (ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมออกแบบ ร่วมลงมือทำ  ร่วมรับผิดชอบ)  ทั้งในระดับครู นักเรียน  แม่ครัวพ่อครัว  คณะกรรมการการศึกษา  ผู้ปกครอง ฯลฯ 

 

 

ครับ-นี่คือภาพสะท้อนเล็กๆ และคร่าวๆ ในเวทีกระบวนการเรียนรู้ที่ผมรับผิดชอบในวันนั้น (14 กันยายน 2555)  ซึ่งเป้าหมายหลักในเวทีก็คือ “ครู”  ส่วนนักเรียน- ผู้ซึ่งเป็นเสมือนลมหายใจของปัจจุบันและอนาคตของชาติ ยังคงอยู่ที่โรงเรียน และจะเดินทางมาสมทบในวันพรุ่งนี้ (15 กันยายน 2555) 

 

ในทัศนะของผม - การเริ่มต้นด้วยการติดอาวุธทางความคิดจากครูเช่นนี้   ถือว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง  เพราะช่วยให้ครูได้ทบทวนองค์ความรู้เดิมไปพร้อมๆ กับความรู้ใหม่ที่มาจากวิทยากรและเพื่อนครูจากต่างโรงเรียนที่มาโสเหล่ร่วมกัน  ซึ่งต่างคนต่างสัมผัสกับประสบความสำเร็จและล้มเหลวมาก่อน

 

การเริ่มต้นด้วยการติดอาวุธทางความคิดจากครูเช่นนี้  จะเป็นการพัฒนาทักษะของครูไปในตัว  เพื่อให้ครูกลับไปพร้อมๆ กับความมั่นใจในการที่จะเป็น “ต้นแบบ” และ “พี่เลี้ยง” ให้กับนักเรียน  เพราะเรื่องทั้งปวงนี้  ครูจะทำคนเดียว หรือทำเฉพาะครูไม่ได้  หากไม่นับเครือข่ายทั้งหลายทั้งปวง  อาทิ  แม่ครัวพ่อครัว  สสจ.  รพสต. ผู้ปกครอง  หน่วยงานเอกชน  นักเรียนผู้ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้นั่นแหละ  คือผู้ที่มีบทบาทในการกำหนดชะตากรรมของโรงเรียนและของเขาเอง

 

 

และท้ายที่สุดในเวทีแห่งนั้น –  ผมกลับมาย้ำวาทกรรมสำคัญๆ ของการลงแรงร่วมมือของภาครัฐและเอกชนผ่านโครงการ “โฮมฮักรักลูกหลานโภชนาการดี”  ในทิศทางของการให้ที่สร้างสรรค์  โดยการคิดคำนึงถึงการสร้างคน-สร้างระบบ  ไม่ใช่การ "ให้"  ในแบบสงเคราะห์โดยไม่คำนึงถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ของทุกภาคฝ่าย

 

รวมถึงการหันกลับมาย้ำถึงวาทกรรมกระบวนการที่ผมรับผิดชอบคือ “ฟัง >> สังเคราะห์ >> ประยุกต์ใช้”  ภายใต้กลไกการทำงานแบบมีส่วนร่วม  ภายใต้ความรักที่มองว่านักเรียนเป็นลูกเป็นหลาน เป็นปัจจุบันและอนาคตของสังคม  โดยความรู้ทั้งปวงในวันนี้ จะไม่เกิดประโยชน์อันใด หากไม่มีการนำไป “ใช้” และ “ประยุกต์ใช้”  ภายใต้บริบทของตนเอง

 

...
โครงการโฮมฮักรักลูกหลานโภชนาการดี 
14  กันยายน 2555
ณ นาข่าบุรี –อุดรธานี
โดย บริษัทไฮคิว อุตสาหกรรม จำกัด (โรซ่า : ROZA) 
ร่วมกับ สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

 

หมายเลขบันทึก: 502342เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2012 12:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กันยายน 2012 15:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

เขียนบันทึกทีไร ผมออนไลน์ทุกที ;)...

Happy Ba ครับ ;)...

สวัสดีครับ อ.วัส Wasawat Deemarn
Blank

เรื่องระหว่างเรา -...มันคือ ชะตากรรม ...ครับ

  • ชอบกิจกรรมแบบนี้
  • ที่เอกชนมาร่วมรับผิดชอบ
  • ผมเคยได้ช่วย SCG อบรมครูโดย SCG ทำ CSR ครับ
  • เห็นภาพอาจารย์นิทัศน์จากหนองคายด้วยค่ะ
  • เป็น CSR  ที่น่าชื่นชม
  • คุณครูดูมีความสุข  ความมุ่งมั่นมากนะคะ
  • โรงเรียนและชุมชนถึงฝัน "สุขภาวะ"  แน่นอน...เกินเพชร
  • ไม่ทราบว่าอาจารย์แผ่นดินมาใกล้ ๆ  จะได้ขออนุญาตแวะทักทาย  นาข่าบุรีใกล้สระใครมากค่ะ

พี่เขี้ยว เห็นความตั้งใจของวิทยากรแล้ว ยกนิ้วให้

เพราะการที่จะทำกิจกรรมเพื่อให้ผ่านการประเมินนับว่ายาก

แต่ที่ยากกว่า คือ  ทำอย่างไร ให้โรงเรียนเหล่านั้น

คงคุณภาพเป็น รร.ไม่ว่าจะระดับ ทอง หรือเพชรที่ยั่งยืนมากกว่าค่ะ

สวัสดีครับ อ.ขจิต ฝอยทอง

จะด้วยเหตุผลกลใดก็ตาม  ผมชื่นชมวิธีคิดของการทำงานผ่านระบบเครือข่าย ภาคส่วนต่างๆ  โดยเฉพาะการที่เอกชนเข้ามาร่วมขับเคลื่อน  ซึ่งหลายเรื่อง หลายโครงการประสบความสำเร็จได้รวดเร็ว  เพราะไม่ติดเงื่อนไข หรือวัฒนธรรมของระบบราชการ  ยิ่งถอดบทเรียนกับเอกชน  พอค้นพบเรื่อใด ก็มักนำไปต่อยอด ขยายผลอย่างต่อเนื่อง ต่างจากภาครัฐ  ถอดบทเรียนแล้ว กว่าจะได้ขับเคลื่อนก็สร่างซา หรือรับช่วง ต่อยอดกันไม่ทัน

การให้กลับของเอกชนที่ดำเนินการไปบนพื้นฐานของการศึกษานั้น  ผมถือว่า เป็นการให้ที่น่าสนใจ  ไม่ใช่ให้เหมือนการสงเคราะห์ที่พบเห็นเกลื่อนในสังคม  อย่างน้อยในโครงการนี้ฯ ก็ทำให้เห็นการเรียนรู้ด้วยกัน เป็นการติดอาวุธทางปัญญา  เป็นการสร้างเสริมทักษะชีวิต และสร้างพื้นที่ความสุขในทางการศึกษาที่ดียิ่ง...ไม่ใช่ให้เงินแล้วจบๆ กันไป...

 

สวัสดีครับ พี่หมอ.ธิรัมภา

ทีมหนองคาย  มีพลังมากพอ และเชื่อว่าจะยกระดับสถานศึกษาสู่การเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพที่ได้มาตรฐานในไม่ช้า...

แต่สิ่งที่ผมสนใจมากเป็นพิเศษก็คือ  การสอนงานในระดับโรงเรียน  เพื่อให้เกิดพลังของการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง  เพราะนั่นคือแนวโน้มของความเข้มแข็ง-...

...

ไว้โอกาสหน้า เจอกันนะครับ

 

สวัสดีครับ พี่เขี้ยว มนัญญา ~ natachoei ( หน้าตาเฉย)

ผมเองก็เคยได้เปรยแบบเงียบๆ และสุภาพกับครูบางท่านในทำนองว่า  การรักษาคุณภาพที่มีอยู่ สำคัญยิ่งกว่าเหรียญรางวัลใดๆ...และยิ่งหากทำให้นักเรียนสามารถดูแลตัวเอง และมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเรื่องเหล่านี้  ยิ่งถือว่าเป็นโจทย์ที่ท้าทาย...

อะไรๆ ในโลกใบนี้  ยังต้องพัฒนาผ่านการศึกษา...
ภาระของ "ครู"  หนัก-เหนื่อย

คงต้องให้กำลังใจกันครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท