การพัฒนาทักษะผู้สอน


การพัฒนาทักษะผู้สอน

 

รายงานการจัดการความรู้เรื่อง  การพัฒนาทักษะผู้สอน

หัวหน้าโครงการ นางจิดาภา  ทองเชื้อ 

สมาชิกกลุ่ม       นางพัชรี   เพชรประดิษฐ์ 

          นางสุนธะ   ทองเอี่ยม

                    นางสาวเรณู  สุขจ่ม

                     นางเย็นจิตต์  เติมเกษมศานต์

การทบทวนการจัดการความรู้    

        ร.ศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ให้ความหมายของทักษะ(SKILL)ว่า หมายถึงความชัดเจนและความชำนิชำนาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งบุคคลสามารถสร้างขึ้นได้จากการเรียนรู้

          นายนิพัทธ์ กานตอัมพร จากสถาบัน Meta Forum กล่าวถึงเรื่องการพัฒนาทักษะการเป็นวิทยากรกล่าวไว้ว่า วิทยากรเริ่มต้นที่การพัฒนาทักษะ (Skills)  และไม่เพียงแค่เรียนรู้ ฝึกฝนจากการฝึกอบรม แต่ต้องเป็นการสร้างการเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด  ที่ใช้พลังสมอง พลังจิต พัฒนาตนเองสู่มืออาชีพ  

       การดำเนินงานกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ที่ตึกสูติกรรม มีกิจกรรมการกระตุ้นพัฒนาการเด็กทารกโดยมีการสอนเรื่องการเล่านิทานและการนวดสัมผัสทารกแรกเกิดแก่มารดาและญาติซึ่งเจ้าหน้าที่ตึกสูติกรรมจำเป็น ต้องมีทักษะการสอนที่ได้จากการฝึกฝนบ่อยๆ และมีแนวทางการสอนที่เป็นมาตรฐาน ซึ่งประเด็นดังกล่าวข้างต้นตึกสูติกรรมจึงเห็นความสำคัญของการพัฒนาทักษะเจ้าหน้าที่ให้มีทักษะการสอนที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และมีผลให้การเรียนรู้ของมารดาและญาติมีประสิทธิภาพมากขึ้น

       ในการนี้ตึกสูติกรรมจึงคัดเลือก “การพัฒนาทักษะผู้สอน” ในการดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้ได้รูปแบบในการพัฒนาทักษะผู้สอนที่เหมาะสมของตึกสูติกรรมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8 ต่อไป

 

 

 

กระบวนการจัดการความรู้

ครั้งที่ 1 ถ่ายวีดีโอผู้สอน 14 คนโดยบอกล่วงหน้าและคัดลอกเป็นซีดีไว้ โดย ให้มารดาและญาติประเมินผู้สอนจากแบบประเมินที่นำมาจากงานโรงเรียนพ่อแม่

ครั้งที่ 2 แต่งตั้งกรรมการ 5 คน ประเมินผู้สอนจากการดูVDO ของทุกคนพร้อมเปรียบเทียบกับแบบประเมินที่มารดาและญาติประเมิน พบว่าแบบประเมินยังไม่สามารถประเมินทักษะได้ครอบคลุม

ครั้งที่ 3 กรรมการนำแบบประเมินที่ให้มารดาและญาติประเมินมาปรับใหม่ แล้วให้กรรมการทั้ง 5 คน ประเมินผู้สอนทุกคนจากVDO และยังพบว่า แบบประเมินยังไม่สามารถประเมินทักษะได้ครอบคลุม

          ครั้งที่ 4 นำVDO มอบคืนผู้สอนแต่ละคนให้กลับไปดูตนเอง และนำมาแลกเปลี่ยนร่วมกันทุกคน ซึ่งได้แบบประเมินทักษะผู้ถ่ายทอดความรู้เรื่องการเล่านิทานและการนวดสัมผัสทารกแก่มารดาและญาติของเจ้าหน้าที่ตึกสูติกรรม  1 แบบประเมิน

 

การประมวลผล / กลั่นกรองความรู้

          สรุปวิธีการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดความรู้เรื่องการเล่านิทานและการนวดสัมผัสทารกแรกเกิดกับมารดาและญาติที่ตึกสูติกรรม

1. ตั้งกล้องถ่ายวิดีโอทิ้งไว้ให้ใกล้ผู้สอน เน้นไปที่ตัวผู้สอนและผู้เรียน

2. ตกลงกับผู้สอนว่ามีการตั้งถ่ายกล้องวิดีโอ

3. จัดทำแผ่นซีดีของผู้สอนแต่ละคน

 4. แต่งตั้งกรรมการ 5 คนประเมินทักษะเจ้าหน้าที่แต่ละคนจากVDO

     จากแบบประเมินที่กรรมการช่วยกันคิด และแลกเปลี่ยนเฉพาะ

     กรรมการ

 5. นำVDO มอบคืนให้ผู้สอนแต่ละคนกลับไปดูตนเอง

 6.แลกเลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันทั้งกรรมการและตัวผู้สอน

 7.จัดทำแบบประเมินทักษะการถ่ายทอดความรู้เรื่องการเล่านิทานและ

 การ นวดสัมผัสทารกของเจ้าหน้าที่ตึกสูติกรรม

 

กระบวนการนำไปใช้  

          นำไปใช้ในการประเมินทักษะการถ่ายทอดความรู้เรื่องการเล่านิทานและการ นวดสัมผัสทารกของเจ้าหน้าที่ตึกสูติกรรม

โดยใช้ประเมินทักษะผู้ถ่ายทอดความรู้เรื่องการเล่านิทานและการ นวดสัมผัสทารกของเจ้าหน้าที่ตึกสูติกรรม ทุกคน ปีละ 1 ครั้ง โดยทดลองใช้ปีงบประมาณ 2556

การเผยแพร่

          การเผยแพร่ภายในตึกสูติกรรม facebook (http://www.facebook.com/#!/groups/KMHPC8/)

          การเผยแพร่ภายนอกองค์กร : G2K (http://www.gotoknow.org/blogs/posts/499565)

การประเมิน การต่อยอดความรู้

      1. การเตรียมการประเมินทักษะการถ่ายทอดความรู้เรื่องการเล่านิทานและการ นวดสัมผัสทารกของเจ้าหน้าที่ตึกสูติกรรมโดยใช้แบบประเมินที่สร้างขึ้นจากการแลกเปลี่ยนกับเจ้าหน้าที่ตึกสูติกรรมทุกคน ในปีงบประมาณ 2556 

      2. มีการประเมินความพึงพอใจของมารดาและญาติสำหรับผู้ถ่ายทอดความรู้ในแต่ละคน

 



ความเห็น (1)

ขอบคุณ กระบวนการจัดการความรู้ KM ความรู้ดีดี มีคุณค่านี้นะคะ

ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท