เติมเต็มเรียนเรื่องอาเซียนตอน3


อินเทรนด์รู้เรื่อง อาเซียน

ในเช้าวันที่สองของการสัมมนาวิชาอาเซียน เราได้เรียนรู้เรื่องอาเซียนกับการศึกษาค่ะ เริ่มต้นชั่วโมงแรกด้วยการปูพื้นฐาน

“รู้จักและเข้าใจ ประชาคมอาเซียน อดีต ปัจจุบัน และอนาคต” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ  อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ท่านชื่นชมทีมผู้จัดการสัมมนาด้วยค่ะว่าจากการไปสัมมนาเรื่องอาเซียน ยังไม่เคยเห็นที่ไหนเจาะจงลงลึกเรื่องอาเซียนมากเท่าครั้งนี้  ท่านย้ำอีกด้วยค่ะว่า เดี๋ยวนี้เราไม่พูด ว่า AEC นานแล้ว เราใช้คำว่า AC (ASEAN  Community) ท่านเล่าเรื่องราวอาเซียน จากปี 2510 การมีสมาชิกแรกตั้ง สมาชิกใหม่ สำหรับ AEC (ASEAN Economic Community) เป็นงานหลักแรกที่สมาชิกดำเนินการ มีเรื่อง AFTA (ASEAN Free – Trade Area) เขตการค้าเสรีอาเซียน  มีกฎบัตรอาเซียน ปี 2551 ต้องทำด้วยกัน มีสามเสาหลัก เพื่อต่อสู้ด้วยกันเกี่ยวกับภัยพิบัติ ยาเสพย์ติด เป็นต้น  สามเสาหลักคนสับสน จะ AEC/APSC/ASCC  ก็เลยหล่อหลอมเป็นเสาเดียวกัน คือ ประชาคมอาเซียน เลื่อนเวลาการบรรลุการรวมตัวกันมา ปีค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) และ AFTA เขตการค้าเสรีอาเซียน เป็นส่วนย่อยในเสา AEC แล้วทำไมต้องอาเซียน?  เพื่อให้เกิดการค้า การผลิต การบริการ การลงทุน การใช้แรงงานฝีมือที่เสรีและกว้างขวางมากยิ่งขึ้น  (อ่านเอกสารที่นี่ค่ะ)

 

ถัดจากนั้นเราได้รับการเติมเต็มเรื่องใกล้ตัวมากขึ้นจากหัวข้อบรรยาย “การเตรียมนักศึกษา เพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน โดย  ดร.จีรวัฒน์  วีรังกร  นักวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ค่ะ วิทยากรเล่าถึง AC กับผลต่อนิสิตนักศึกษา  AC กับทิศทางการเตรียมนักศึกษา  มุมมองของ วิทยากรท่านนี้เห็นว่า ศตวรรษที่ 21 โลกใบใหม่ หมุนเวียนเปลี่ยนไปไม่เห็นรอย เดิม  สามเรื่อง  Rapidly Change  , Beyond Frontier , Diversity  สิ่งแรกคือ  Change ,ความหลากหลาย สูงมาก , ไร้พรมแดน และ ASEAN Community ก็เป็นปรากฏการณ์หนึ่งในศตวรรษที่ 21  ในระดับอุดมศึกษา ข้อมูลเกี่ยวกับอาเซียนควรเป็นข้อมูล อะไร  ในเสา AEC ต่อไปจะมีแรงงานไหลเข้าไทย  อาชีพ เงินเดือนดีกว่า ตาม7 อาชีพที่กำหนดไว้  แล้วเราจะเตรียมตัวนักศึกษาอย่างไร มองที่การยกระดับสมรรถนะนักศึกษาด้านวิชาชีพ ความสามารถที่ทำงานได้หลากหลายและความสามารถในการทำงานกับคนที่ต่างวัฒนธรรม ในเสาหลักด้านสังคมและวัฒนธรรม  ต้องดูการ Sharing +Caring Together  ดูการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน การสื่อสาร

AC 2015 : Thailand Change  people, lifestyle , learning ทักษะชีวิตภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม  มองว่าต้องก้าวให้พ้นความแตกต่าง อยู่อย่างเข้าใจ  การมีกิจกรรมร่วมกันระหว่างเด็กไทยและนานาชาติที่มาเรียนอยู่ด้วย   ประชาคมอาเซียนมีความเกี่ยวข้องกับนักศึกษาอย่างไรบ้าง   การเรียนรู้เพื่อก้าวข้ามประเทศไทย นักศึกษาต้องเรียนรู้อย่างมีทิศทาง  วิทยากรยังได้เสนอ Roadmap to Success for Thai Student ปีแรกพร้อมเรียน ปีสองรู้ว่าจะทำอาชีพอะไรแล้วเตรียมพร้อม ปีสามเป็นเรื่องการฝึกฝนตนเอง มีบุคลิกภาพ สมรรถนะทางวิชาชีพ  ส่วนปีสี่เตรียมตัวที่พร้อมทำงาน มีทักษะของการหางานทำ มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม

Roadmap นี้วิทยากรบอกว่าอาจยังไม่สมบูรณ์ ประเทศไทยคิดถึงโปรแกรมน้อยมาก ส่วนมาก ไปตามธรรมชาติ อีกสิ่งที่อุดมศึกษาต้องเพิ่มให้คือ คุณธรรมแห่งยุคสมัย วิทยากรวิเคราะห์จุดเด่นบัณฑิตไทย-อาเซียน  ไทยมีด้านความคิดสร้างสรรค์ ปฏิสัมพันธ์เก่งแม้ภาษจะไม่ดีเท่าประเทศเพื่อนบ้าน และไทยยังเก่งด้านทักษะไอที พอๆ กับมาเลเซียและสิงคโปร์ แต่สิงคโปร์มีจุดเด่นที่ Ready to work all the world วิทยากรเสนอ Agenda อุดมศึกษา มีข้อหนึ่งเรื่อง การเตรียมพัฒนาบุคลากร  เราจะเตรียมนักศึกษาอุดมศึกา (Student Engagement) ได้อย่างไร ก็ต้องพัฒนาตัวเราก่อน  และที่สำคัญ การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้นักศึกษา

วิทยากรเสนอการพัฒนานักศึกษา Challenge Issue จะทำอย่างไรให้เด็กเกิดความตระหนัก มีกลไกอะไรจะพัฒนา การสร้างความเป็นผู้นำที่ทุกวันนี้เราใช้วิธีการทางธรรมชาติ เรายังไม่ได้คิดอย่างเชิงระบบ กลไกพัฒนานักศึกษา ต้องมีการ Change & Adapt  กับเด็ก Gen Y

ในส่วนบุคลากร  การปรับมุมมองการทำงาน ปรับวิธีคิดใหม่ มองปัญหาให้เป็นโอกาส ปรับแนวทางการทำงานให้ความเท่าเทียม เป็นธรรม หัดเด็กของเราให้ตระหนัก มีเป้าหมาย มี Self Commitment  ลงมือทำและสำคัญที่เด็กยุคนี้เป็นกลุ่ม Gen Y ทฤษฎีและหลักจิตวิทยาที่มีอาจใช้ไม่ได้แล้ว โดยสรุปทิศทางการเตรียมนักศึกษา ของวิทยากรมีสี่เรื่องใหญ่ค่ะ คือ 1.พัฒนากลไกการพัฒนานักศึกษา 2. พัฒนาผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากรสายงานกิจการนักศึกษา : สมรรถนะ 3.เสริมบรรยากาศสถาบัน 4.สร้างแนวทาง engage นักศึกษา (เอกสารประกอบการสัมมนา ที่นี่ ค่ะ)

 

“อุดมศึกษาในอาเซียน ประเทศใดมหาวิทยาลัยใดเป็นเลิศในสาขาใด โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.ประดิษฐ์ เถกิงรังสฤษดิ์  อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยพายัพ  เป็นหัวข้อบรรยายถัดมา ท่านบอกเล่าภาพรวม World Ranking University , Top Universities in The World , Top Universities in Asia , Top 10 Asian international universities ซึ่งมองหามหาวิทยาลัยไทยไม่ค่อยเจอ หรือแม้การดูสถิติการส่งนักศึกษาไปแลกเปลี่ยน จะพบว่าไม่ค่อยมีมาไทย ผลงานวิจัยที่ได้รับการอ้างอิงมีจำนวนเท่าไร ฟังแล้วสะท้อนใจ  

อย่างไรก็ดีในความรู้ที่ท่านถ่ายทอดถัดมาเป็นเรื่องคุณลักษณะของบัณฑิตในโลกยุคใหม่: พลเมืองโลก ซึ่ง Cited from Prof. Dr. Haydn Chen, President of Tunghai University, Taiwan มีสาระน่าสนใจเกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนาคนยุคใหม่ ชี้ให้เห็นปัญหาการเรียนการสอนปัจจุบัน แล้วจะพัฒนา(ฟูมฟัก) คนทั้งครบ หรือคนเต็มคน (Nurturing Whole Persons) กันอย่างไร และเมื่อเชื่อมโยงการเรียนรู้กับสังคมกว้างไกล (Connecting Learning With the Wider Society) นั้น นักศึกษาต้องมีอะไรเพื่อประสบความสำเร็จบ้าง และความเชื่อมโยงการศึกษากับระบบเศรษฐกิจของศตวรรษที่ 21 ผู้ประกอบการเรียกร้องต้องการบุคลากรที่มีทักษะ การทำงาน การคิดอย่างไร เราจะช่วยเหลือนักศึกษาได้อย่างไร (เอกสารเพิ่มเติม ที่นี่ ค่ะ)

ฟังบรรยายสองหัวข้อการเตรียมนักศึกษานี้แล้วคิดอย่างไร? คำตอบในใจ เครียดจังเลยค่ะเวลาเราเหลืออีกกี่ปีนะคะที่จะรวมตัวกับอีก9 ประเทศเพื่อนบ้าน.

จากนั้นทีมผู้จัดการสัมมนาได้สลับบรรยากาศให้ผู้เข้าร่วมหายวิตกจริตจากข้อมูลที่มีการนำมาเสนอเผยแพร่ โดยการให้ นักศึกษาจากประเทศเมียนมาร์และอินโดนีเซีย มาเล่าเรื่อง DOs & DON'Ts เมื่อเข้าสู่ประเทศในอาเซียน” โดยสองสาวผลัดกันเล่าเกี่ยวกับการเดินทาง  การท่องเที่ยว การซื้อของ การรับประทานอาหาร ภาษา วัฒนธรรม สิ่งใดควรทำไม่ควรทำ ฟังภาษาอังกฤษเพลินๆ เหมือนการสลับเข้าห้องแลปวิชาภาษาต่างประเทศกันไปค่ะ

สำหรับหัวข้อบรรยายท้ายสุดเป็นวิชาที่เราเองคิดว่ายาก แต่วิทยากรถ่ายทอดได้ในภาษาที่เข้าใจง่าย ชัดเจนและศัพท์การจัดการความรู้สมัยใหม่ ก็ต้องบอกว่า “เอ๊ะ! แล้วก็อ๋อเลย” ค่ะ

 “เรียนรู้อยู่ร่วมกัน รู้เรา รู้เขาและเข้าใจ” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.เพ็ชรี  รูปวิเชตร รองคณบดีวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มีเอกสารประกอบ ที่นี่ นะคะ) เป็นเรื่องเล่าองค์ประกอบของวัฒนธรรม(ที่น่าคิด) สร้าง(Create) รูปแบบ (Pattern) แบ่งปัน (Share) ส่งผ่านรุ่นต่างๆ (Trans-generation) เปลี่ยนแปลง (Change) รู้เขา  ดูมิติวัฒนธรรมของ Hofstede 5 ด้าน รู้เรา  Face Saving , Gife-Giving  คนไทยชอบให้ของขวัญ  แต่มันอาจมองได้ว่าเป็นคอร์รัปชั่น  less of good working condition , less of workplace learning เป็นเรื่องที่ต้องปรับปรุงกันเร่งด่วน

สุดท้ายเราตั้งคำถามกับตัวเองว่า  พร้อมหรือยังกับการเดินก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า  ตอบโดยไม่คิดอะไรมาก ยังไม่ค่อยพร้อมเลยค่ะ พยายามก็แล้ว หรือเพราะเราก็ยังรู้สึกถึงความเป็นไทย ๆ ที่เหนียมอาย ไม่กล้ายอมรับตัวเอง

ค้นคว้าอ่านเพิ่มเติม

คำสำคัญ (Tags): #ASEAN Community#อาเซียน
หมายเลขบันทึก: 501960เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2012 22:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กันยายน 2012 12:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

รุ่นเราก็กุ๊ๆมะๆไปก่อน

พอรุ่นลูกรุ่นหลาน ก็บ่เหนียมแล้วเจ้า

สำหรับตัวเจ๊  เตรียมตัวออกมาขายอาหารคนอาเซียนแล้วนะ

ขอบคุณค่ะที่ช่วยกันเผยแพร่..คระหนักรู้เพื่อสร้างความเข้มแข็งในตน..ขยายผลกว้างไกล..

ความเหมือนในความแตกต่าง ย่อมนำมาพัฒนาต่อได้ ขอบคุณบทความดีๆ ค่ะ

  • เป็นบันทึกที่สมบูรณ์ได้สาระ และทำรูปประกอบน่าอ่านมาก
    ขอบคุณคะพี่ดาวลูกไก่
  • เคยหลงไปอ่านใน forum ที่คนตะวันตกที่เข้ามาเที่ยวเมืองไทยคุยกัน..เขาว่าคนไทย "racism" ไม่เพียงกับเพื่อนบ้าน กระทั่ง ฝรั่ง
  • เป็นกระจกที่น่ามองตัวเราเองคะ ขณะที่ประเทศข้างเคียง "รู้เขารู้เรา"
  • ทำอย่างไรให้ประชากรประเทศเราก้าวไปสู่ "Ready to work all the world" ?

สวัสดีค่ะ

Blank มนัญญา ~ natachoei ( หน้าตาเฉย)

Blank นาง นงนาท สนธิสุวรรณ

Blank tuknarak

Blank ป.

และทุกท่านที่ให้กำลังใจ

ขอขอบคุณค่ะ เรา=ผู้สอน+ผู้เรียน ร่วมก้าวไปด้วยกัน และสลับกันเป็นผู้เรียน+ผู้สอนด้วยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท