AAR เรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลง HIV/AIDS,TB ในอนุภูมิภาคอินโดจีน


".... ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งแต่เดิมมีส่วนร่วมแบบต่างกรรมต่างวาระ สะท้อนว่าได้เรียนรู้มากเป็นอย่างยิ่ง ก่อเกิดความคิดใหม่ๆและแนวการปรับปรุง ทั้งการสนับสนนุนทางวิชาการ และการกลับไปทำวิจัยของตน..."

            ปัญหาเอดส์เป็นทั้งปัญหาสาธารณสุขและพลวัตรทางสุขภาพที่เชื่อมโยงไปกับความเปลี่ยนแปลงของสังคม การแพร่ระบาดทางสังคม กระบวนการทางข่าวสารความรู้อันนำไปสู่กระบวนการเชิงพฤติกรรมทางสังคมและการติดต่อสื่อสารกัน ดังนั้น ความเป็นประเทศเพื่อนบ้านกันและการก่อเกิดพัฒนาการทางเศรษฐกิจสังคม จึงก่อให้เกิดผลสืบเนื่องต่ออุบัติการทางสุขภาพใหม่ๆไปด้วย ความร่วมมือกันเพื่อสร้างสุขภาพและการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระหว่างประเทศ จึงเป็นความจำเป็น ซึ่งการริเริ่ม ปฏิบัติการ เรียนรู้ และพัฒนาการปฏิบัติ จากการแก้ปัญหาร่วมกัน เป็นวิธีที่ดีอย่างหนึ่ง

           มหาวิทยาลัยมหิดล โดยสถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน กับ JICA ประเทศญี่ปุ่น จึงได้จับมือกัน พัฒนาประสบการณ์ประเทศไทย ให้เป็นฐานการเรียนรู้เพื่อเป็นเครือข่าย ร่วมมือกันแก้ปัญหา HIV/AIDS และ TB ที่สัมพันธ์กับ HIV/AIDS ของกลุ่มประเทศ CLMV คือ กัมพูชา  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  เมียนมาร์  และเวียดนาม

          ยุทธศาสตร์หลักคือ คือ การพัฒนาข่ายเรียนรู้และจัดการความรู้ระหว่างประเทศ  โดยร่วมมือกันในเรื่องต่างๆ คือ

  • เสริมสร้างศักยภาพเครือข่าย  กลุ่มผู้ปฏิบัติการ  ทั้ง Clinic-Based Practitioner Community-Based Practitioner และ Target-Based Practitioner กลุ่มเครือข่ายวิทยากร  และกลุ่มจัดการความรู้
  • การพัฒนาฐานความรู้ ระบบข้อมูล และการจัดการความรู้เพื่อกลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคอินโดจีน โดย Web-Based Learning และ Distance-Learning
  • การพัฒนาสื่อ เอกสารความรู้ และเครื่องมือสนับสนุนผู้ปฏิบัติการ
  • การจัดกระบวนการเสริมสร้างพลังและหนุนเสริมความเข้มแข็งยั่งยืน  เช่น การเยี่ยมเยือนและการติดตามประเมิน (Empower Visiting/Evaluation)

          การดำเนินการที่ว่านี้ ได้ดำเนินการไปแล้วสองปี และตอนนี้ กลุ่มขับเคลื่อนเครือข่าย (Task Force) และผู้ให้การสนับสนุน ได้เริ่มถอดบทเรียน ประเมินผลระหว่างการปฏิบัติของโครงการ (Mid-Term Evaluation)

          ในส่วนของการถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันของกลุ่มขับเคลื่อนเครือข่ายและทีมผู้เชี่ยวชาญทั้งชาวไทยและต่างประเทศนั้น  มาจากโครงการสร้างศักยภาพเครือข่ายให้กับประเทศต่างๆ หลายเนื้อหาโครงการ ใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่น่าสนใจ คือ

  • ทีมเยี่ยมเยือนและประเมินผล  ทำเอกสารสรุปผลให้เห็นในภาพรวม  เปรียบเทียบให้เห็นประเด็นความสนใจของแต่ละประเทศ แนวคิดที่แตกต่าง กลวิธีที่เหมือนและแตกต่าง เหตุผลและความจำเป็นเบื้องหลัง กลุ่มคนที่เข้าร่วมในเครือข่าย ผลที่ได้ และข้อสังเกต เป็นรายประเทศ
  • นำเสนอเป็นเอกสารและ VCD Presentation
  • เปิดเวทีพูดคุย  แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันและกัน ครบทุกคน รูปแบบเหมือนกับการสนทนาแบบมีประเด็นร่วม

          ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งแต่เดิมมีส่วนร่วมแบบต่างกรรมต่างวาระ  สะท้อนว่าได้เรียนรู้มากเป็นอย่างยิ่ง  เห็นสถานการณ์กว้างขึ้น ก่อเกิดความคิดใหม่ๆและแนวการปรับปรุง  ทั้งการสนับสนนุนทางวิชาการ  และการกลับไปทำวิจัยของตน

   

หมายเลขบันทึก: 50173เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2006 09:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 11:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท