สานฝันสู่เส้นชัย (1): เรียนรู้การบริหาร


ผมตั้งใจจะบันทึกซีรีย์ขนาดกลางซัก 1 เรื่อง เกี่ยวกับการบริหารองค์กรเพื่อแบ่งปัน สื่อสารให้สมาชิกองค์กรได้เรียนรู้ร่วมกันไป แบบร่วมกันคิดร่วมกันทำ

 

ดวงชะตา เสริมส่งให้ผมไปอบรม TQA criteria และคงเป็นดวงชะตาอีกเช่นกัน ที่หนุนเสริมให้ผมเดินเข้าไปที่ร้านหนังสือพบปะหนังสือดี หนังสือการบริหารที่เขียนในรูปนิยาย "สานฝันสู่เส้นชัย บริหารสไตล์ ดรักเกอร์" เขียนโดย นัตสึมิ อิวาซากิ แปลโดย ศิรวี ทวีแสง ซาโคดะ

 

เพราะตั้งแต่กลับจากอบรม TQA criteria เมื่อปลายเดือนสิงหาคม 2555 ผม ก็คิดนะครับว่า จะสื่อสารบอกให้สมาชิกชาวศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์รับรู้เรื่อง TQA ได้อย่างไร เอาเป็นการรับรู้แบบซึมซับนะครับ ไม่อยากให้เป็นการรับรู้แบบเร่งรัดตาม KPIs เอาแบบรู้และเข้าใจ ไม่ใช่แบบรับทราบและปฏิบัติตามกันไป เพราะเรื่องการบริหารนั้น เราต้องใช้ในชีวิตประจำวันกันอยู่แล้ว แต่จะทำอย่างไรให้เรียนรู้กันแบบง่าย ๆ และสนุกล่ะ ก็ลองเริ่มแบบเล่านิยายและสอดแทรกหลักการบ้างน่าจะดี (ฮา)

 

หนังสือสาน ฝันสู่เส้นชัย ฯ ใช้พล็อตของชมรมเบสบอลมัธยมปลายของญี่ปุ่นมาเป็นตัวนำเรื่องครับ มินามิ เด็กนักเรียน มัธยม 5 รับเป็นผู้จัดการทีมเบสบอลในกลางปีแทนเพื่อนสาวที่ป่วยและเข้ารักษาตัวในโรง พยาบาล ในความหมายของผู้จัดการของญี่ปุ่นจะหมายถึง สาวน้อยผู้จัดการชมรมเบสบอลโรงเรียนมัธยมปลาย และงานที่รับใช้ผู้อื่น เช่น คอยนับคะแนน หรือเก็บกวาดสถานที่  ไม่ใช่ผู้จัดการในความหมายของอเมริกา

 

เรื่อง เริ่มต้นที่สาวน้อย มินามิ ไม่รู้ว่าหน้าที่ผู้จัดการที่รับมาทำนั้นต้องทำอะไรบ้าง เพราะหลังจากรับรู้สภาพชมรมเบสบอลของโรงเรียนโฮโดฯ ที่อยู่ในสภาพแพแตก สมาชิกมาซ้อมน้อยมาก โดดซ้อมโดยไม่มีเหตุผล เธอจึงคิดสู้ เริ่มด้วยการค้นคว้าก่อนว่า ผู้จัดการ หมายความว่าอย่างไร โดยดูจากพจนานุกรมเป็นอันดับแรก

 

Manager: ผู้จัดการ ผู้บริหาร ผู้ควบคุม ผู้กำกับ

Management: การควบคุม การจัดการ การบริหาร

 

ต่อจากนั้นจึงไปที่ร้านหนังสือใกล้บ้าน ถามหาหนังสือผู้จัดการ พนักงานหยิบหนังสือ การบริหารของปีเตอร์ ดรักเกอร์ มาให้ในราคา 2100 เยน มินามิซื้อมาอ่าน และพบว่าเป็นหนังสือเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจ ไม่เกี่ยวกับชมรมเบสบอลเลย แต่ด้วยความที่หนังสือราคาแพง มินามิจึงพยายามใช้ประโยชน์ด้วยการอ่านต่อเพราะคิดว่าคงได้ประโยชน์บ้างจาก การเป็นหนังสือขายดี และพบว่าสนุกกว่าที่คิด โดยหนังสือกล่าวถึงการบริหาร "องค์กร" ซึ่งมินามิมองว่า น่าจะไปประยุกต์ใช้ได้กับชมรมเบสบอลได้เช่นกัน

 

ผมจะจบตอนที่ 1 ไว้แค่นี้ก่อนครับ แต่ผมก็เห็นข้อดีบางประการแล้ว เช่น

 

มินามิ เป็นผู้ที่มุ่งมั่นจะเรียนรู้และมีความตั้งใจจะปฏิบัติงานให้เป็นผลสำเร็จ มีการค้นคว้าด้วยตนเองทั้งจากพจนานุกรมและการศึกษาด้วยตนเอง เริ่มด้วยการอ่านมิใช่จากการให้ผู้อื่นมาสอนให้ (น่าจะเป็นวินัยของคนญี่ปุ่น)

 

ในท้ายหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียน(นัตสึมิ)เขียนขอบคุณบุคคล 3 คนด้วยกัน ในประเด็นที่ต่างกันดังนี้

  • ผู้ที่สอนให้รู้จักความหมายของความบันเทิง (สุนทรียภาพ??)
  • ผู้ที่สอนให้รู้จักความหมายของการทำงาน
  • ผู้ที่สอนให้รู้จักความหมายของชีวิต

 

ผมรู้สึกดีใจที่มีคนคิดเหมือนผมครับ การรู้จักความหมายทั้ง 3 ด้านจะดำเนินชีวิตด้วยความรื่นรมย์

 

ผม..เอง

หมายเลขบันทึก: 501710เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2012 20:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กันยายน 2012 20:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรียนรู้การบริหาร... ผ่าน .... TQM....สุดยอด ... จริงๆๆค่ะ ท่าน

 

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท