เส้นประธานสิบ สำคัญอย่างไรในการนวดไทย


เส้นประธานสิบ

การประชุมวิชาการการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกแห่งชาติ ครั้งที่ 9

วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

ห้องประชุมฟีนิกซ์ 4 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี

“เส้นประธานสิบ สำคัญอย่างไรในการนวดไทย”

 

เส้นประธานสิบในยุคฟื้นฟูการนวดไทย โดย ภก.ยงศ์ศักดิ์ ตันติปิฎก

 

  • หลักฐานในการศึกษาเส้นประธานสิบ

1. ศิลาจารึกแผนนวดวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

2. คัมภีร์แผนนวด ฉบับหลวง รัชกาลที่ 5

3. ตำราโรคนิทานคำฉันท์ 11

  • ประวัติการสังคายนาองค์ความรู้เส้นประธานสิบ

          -พ.ศ.2530       เริ่มต้นศึกษาทางเดินเส้นประธานสิบ จากการนำเส้นด้ายพาดกับหุ่นตามเส้นประธาน เพื่อใช้เป็นต้นแบบการสเกตต์ภาพ โดยสังคายนาเส้นอิทา และปิงคลา

          -พ.ศ.2533       จัดการสัมมนาวิชาการนวดไทยเป็นครั้งแรก

          -พ.ศ.2535       จัดการสัมมนาวิชาการนวดไทย และจัดทำเป็นหนังสือสัมมนานวดไทย

  • ปัญหาสำคัญในการศึกษาเส้นประธานสิบ

1. ขาดผู้มีประสบการณ์ที่ใช้เส้นประธานในการรักษาโรคจริง

2. หลักฐานที่มีการบันทึกมีจำกัด ไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจน เรื่องการนำไปใช้ในทางปฏิบัติ

3. ไม่มีเครื่องมือวัดการทำงานของเส้นประธาน

4. ไม่สามารถอธิบายความสัมพันธ์ของเส้นประธานกับธาตุทั้ง 4

  • ข้อเสนอเรื่องการศึกษาเส้นประธานสิบ

1. ภาพจุดกดตรวจและจุดแก้เส้นกาลทารี อาจใช้สำหรับตรวจ รักษาโรค เช่น การกดที่ข้อมือ ถามความรู้สึกการแล่นถึงปลายนิ้วมือ หากไม่แล่นมีวิธีการแก้อย่างไร

2. เส้นใดตึงให้นวดแก้เส้นนั้นให้หย่อน

3. ควรมีการศึกษาเส้นประธานสิบจากบันทึกหรือตำราต่างๆที่มีความหลากหลาย เพื่อเติมเต็มความรู้ และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง

4. การคัดลอก ควรคัดลอกจากภาพจริง มีการตรวจสอบความถูกต้อง

           เส้นประธานสิบ คือ เส้นซึ่งเป็นหลักสำคัญของการนวดไทย เป็นทางเดินของลมซึ่งเป็นพลังภายใน ที่หล่อเลี้ยงร่างกายให้ทำงานได้ตามปกติ เชื่อว่ามีเส้นอยู่ในร่างกายถึง 72,000 เส้น แต่ที่เป็นประธานแห่งเส้นทั้งปวงมีเพียง 10 เส้น ได้แก่ อิทา ปิงคลา สุมนา กาลทารี สหัสรังสี ทวารี จันทภูสัง รุชำ สิกขิณี สุขุมัง

          ในอายุรเวทของอินเดีย อธิบาย เรื่องไฟธาตุ (อัคนี) ใช้ในการย่อยอาหาร การเกิดไฟธาตุที่สมดุล (สมะ) เกิดได้จากวาตะ หรืออาโป (เสมหะ) หรือเกิดจากปิตตะเอง โดยต้องมีพื้นฐาน จึงจะเข้าใจได้ ฉะนั้นหากสิ่งใดที่แผนไทยไม่สามารถอธิบายได้ชัดเจน อาจศึกษาเพิ่มเติมจากการแพทย์อายุรเวท ไม่จำกัดกรอบแต่เพียงความรู้ทางแผนไทยเท่านั้น

          หลักการ ทฤษฎี ชื่อเส้นทั้ง 3 ที่ตรงกัน ระหว่างเส้นประธานสิบของไทยและโยคะ เนื่องมาจากลัทธิ ตันตระ (แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ พุทธตันตระ และ โยคะตันตระ) พุทธตันตระ เป็นทฤษฎีที่อธิบายพลังต่างๆ โยคะจึงสามารถทำสิ่งต่างๆ ให้เกิดพลัง เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในประเทศไทยสิ่งที่สามารถเห็นได้ในปัจจุบัน คือ วิชามวยไทย, ยันต์ คาถา และการนวดไทย

 

คุณค่าของเส้นประธานสิบ โดย นพ.ประพจน์ เภตรากาศ

  • ตำราดั้งเดิมหลักของการนวดไทยที่มีหลักฐานการจารึกและบันทึกชัดเจน

1. ภาพแผนนวด วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ร.1-ร.3)

2. ตำราโรคนิทานคำฉันท์ 11

3. คัมภีร์แผนนวด เล่ม 1-2 ในเวชศาสตร์ฉบับหลวง (ร.5)

4. จารึกตำรายาวัดราชโอรสาราม

  • องค์ความรู้ของการนวดไทย

1. ทฤษฎีทางการแพทย์   นำไปสู่การวิเคราะห์สมุฏฐานของโรค

2. การตรวจวินิจฉัย       สอบถามจากอาการ

3. การนวดรักษา          ที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเส้น, จุด

  • กำเนิดของเส้นประธานสิบ

          ตำราการนวดไทยกล่าวถึงเส้นที่สำคัญ 3 เส้นหลัก คือ อิทา ปิงคลา และสุมนา ซึ่งตรงกับ นาฑี อิฑา ปิงคลาและสุษุมนา ซึ่งเป็นทางเดินจักระ (นาดี) ของโยคะ

  • การศึกษาวิจัย

1. พ.ศ.2550 มีการทำวิจัย เส้นทางเดินที่ชัดเจน ตรงกับเส้นเลือด เส้นประสาทหรือกล้ามเนื้อใดบ้าง ผลไม่สามารถสรุปออกมาได้ชัดเจน เพราะมีความหลากหลาย จึงต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่ม 

2. การตรวจวินิจฉัยด้วยเส้นสิบ มีการวิจัยกระบวนการตรวจ วินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยตามทฤษฎีเส้นประธานสิบและธาตุสมุฏฐาน โดยศึกษาจากครูหมอนวดไทย 6 คน นำไปสู่การสรุปลักษณะและอาการติดขัดของเส้นประธานสิบ (การแล่นหรือไม่แล่น)

3. การรักษาด้วยเส้นประธานสิบ 

  • วิธีการตรวจวินิจฉัยตามทฤษฎีเส้นประธานสิบ

1. มีจุดเริ่มต้นที่จุดกำเนิดของเส้นประธาน (รอบสะดือ)

2. เริ่มต้นที่จุดใกล้หรือไกลจากตำแหน่งที่ผิดปกติตามแนวเส้นประธานสิบที่มีอาการ โดยอาจทำการตรวจไปพร้อมกับการรักษา

  • อนาคต

1. การประกาศให้องค์ความรู้การนวดไทยในตำราดั้งเดิมเป็นภูมิปัญญาการนวดไทยแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ.2542 เพื่อป้องกันการสูญหาย

2. การศึกษาวิจัยการนวดเส้นสิบแต่ละเส้นกับโรคและจุดต่างๆที่มีในตำรา

 

เส้นประธานสิบและ Myofascial trigger points โดย ดร.วิชัย อึงพินิจพงศ์

  • โครงสร้างเส้นประธาน

          อาจเป็นไปได้ว่าทางเดินเส้นประธาน คือ ทิศทางการเดินของกระแสความรู้สึกที่เกิดจากจุดต่างๆ หรืออาจเป็นเส้นประสาท เยื่อหุ้มกระดูก พังผืด กล้ามเนื้อ หรือผนังหลอดเลือด ที่เป็นโครงสร้างที่มีปลายประสาทมาเลี้ยง ลักษณะคล้ายการตรวจของตะวันตก คือ Myofascial trigger point ที่จะปรากฏในกล้ามเนื้อที่แข็งตึง เมื่อกดแล้วจะมีความรู้สึกร้าวไปที่ต่างๆ

  • ทฤษฎีตะวันตก

          คนที่มีความเครียดจากความปวดหรือจิตใจ ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการตึงตัว หลอดเลือดหดตัว การไหลเวียนโลหิตไม่ดี ทำให้เนื้อเยื่อบางส่วนขาดเลือดไปเลี้ยง เกิดอาการปวด หากเป็นมากทำให้ชา และเนื้อเยื่อเสื่อมสลายได้

  • Referred pain zones

          แสดงภาพและตำแหน่งที่ร้าวไปจากแต่ละมัดกล้ามเนื้อ เช่น trapezius เมื่อลงน้ำหนักจะรู้สึกวิ่งมาที่หู, กระบอกตา  หากไปด้านซ้าย แสดงว่าเป็นแนวเส้นอิทา หากไปที่ตาอาจเกี่ยวข้องกับเส้นสหัสรังษี วิธีการรักษา คือ นวดให้กล้ามเนื้อคลาย ร่วมกับการยืดกล้ามเนื้อ จะทำให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้น

 

คำถามจากผู้เข้าร่วมประชุม

Q:       สามารถเรียนรู้เรื่องธาตุกับเส้นประธานสิบได้จากที่ใด

A:       ศึกษาจากหนังสือวัดโพธิ์ 60 ภาพ เรียนรู้แนวเส้นนวด มีจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดที่ใด และชื่อของลมที่ประจำในเส้นประธานสิบ

 Q:       มีจุดเจ็บที่ใดบ้างในร่างกาย หากเป็นทั้งซีก มีโอกาสเป็นอัมพาตไหม

A:       ส่วนใดที่มีปลายประสาทมาเลี้ยง ทำให้เกิดความรู้สึก ความเจ็บได้ ส่วนเมื่อร่างกายเสียสมดุลจากการใช้ชีวิตประจำวันหรืออุบัติเหตุ ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ทำให้มีการร้าวกระจายไปบริเวณต่างๆ มีโอกาสเป็นได้ทั้งซีก เรียก Chronic Myofascial pain ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับอัมพฤกษ์ อัมพาต

 

ข้อเสนอแนะ

1. หากเข้าใจระบบการแพทย์อายุรเวทของอินเดีย จะสามารถศึกษาได้ลึกซึ้งมากขึ้น แนะนำหนังสือของขุนนิเทศสุขกิจ อ่านเพิ่มเติม

2. การศึกษาภูมิปัญญาดั้งเดิม ควรกระทำด้วยตนเอง เปรียบเทียบกับการแพทย์ที่อยู่ใกล้เคียง เช่น แผนจีน แผนอินเดีย เปรียบเทียบกับตำราต่างๆ คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมิน ตรวจสอบ จึงจะเกิดความรู้ทางวิชาการ

3. หมอนวดควรเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต และควรมีความรู้เรื่องกายวิภาคศาสตร์, สรีรวิทยา เพื่อทราบโครงสร้าง และระบบการทำงานที่เป็นปกติหรือผิดปกติของร่างกาย ที่สำคัญให้ระมัดระวังผู้ป่วยที่มีอาการเส้นเลือดโป่งพองในช่องท้อง, เส้นเลือดขอดมีลิ่มเลือด เพราะหากทำการนวด อาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

หมายเหตุ บันทึกนี้ได้จากการรับฟังบรรยายและจดบันทึกเองค่ะ

หมายเลขบันทึก: 501666เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2012 13:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:32 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท