โครงร่างสารนิพนธ์ เรื่อง ปัจจัยในการมีส่วนร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ กรณีศึกษา อบต.โพรงมะเดื่อ


โครงร่างสารนิพนธ์ ปัจจัยในการมีส่วนร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ กรณีศึกษา อบต.โพรงมะเดื่อ

โครงร่างสารนิพนธ์

เรื่อง

ปัจจัยในการมีส่วนร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ

กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

โดย

นางศิริยา  เจียมจำเริญ

รหัสประจำตัว  549904109

 

 

 

 

 

 

 

 

 

โครงร่างวิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

ปีการศึกษา 2555

 

บทที่ 1 

บทนำ

 

 

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

 

สภาวะของประชากรไทยในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างเป็นอย่างมาก ตามที่ยึดถือกันโดยทั่วไปในประเทศต่างๆ ได้แบ่งประชากรออก เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ตามช่วงอายุ ได้แก่  อายุตั้งแต่แรกเกิด – 14 ปี เป็นประชากรวัยเด็ก อายุตั้งแต่ 14-59 ปี เป็นประชากรในวัยทำงาน และอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เป็นประชากรในวัยสูงอายุ ประเทศไทยถือเอาบุคคลที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ เป็นเกณฑ์กำหนดความเป็นผู้สูงอายุ ของบุคคล (ศิริพันธ์ ถาวรทวีวงษ์, 2543 : 11-12)

เนื่องมาจากความก้าวหน้าทางด้านการแพทย์และด้านสาธารณะสุขทำให้อายุเฉลี่ยของประชาชนทั้งประเทศสูงขึ้น จากสภาวะทางเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันค่อนข้างสูง ส่งผลให้ครอบครัวต่างๆ มีการวางแผนครอบครัวที่จำกัดจำนวนของลูกที่จะเกิด จากข้อมูลตัวเลขของจำนวนผู้สูงอายุ ที่มีการสำรวจจากหน่วยงานต่าง ๆ แล้ว พบว่า จำนวนสัดส่วนผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้น รวมทั้งอายุเฉลี่ยของคนไทยก็มากขึ้นด้วย ในขณะที่จำนวนเด็กเกิดมีน้อยลง ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้มีการประมาณการแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงประชากรไทยไว้ว่า สัดส่วนของผู้สูงอายุ จะเพิ่มจากร้อยละ 7.2 ในปี 2533 เป็นร้อยละ 15.3 ในปี พ.ศ. 2563 เช่นเดียวกับข้อมูลจากทะเบียนราษฎร พบว่า  เมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2547 ประเทศไทยจะมีจำนวนประชากรผู้สูงอายุประมาณ 6.2 ล้านคน จากประชากรทั้งหมด 62 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด ขณะที่ข้อมูลจากการประมาณการประชากร โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประมาณว่า ณ กลางปี 2547 ประเทศไทยมีจำนวนประชากรสูงอายุ 6.5 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 10.0 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งในอนาคตประมาณ พ.ศ. 2568 ทั้งจำนวนและสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุของไทยจะเพิ่มขึ้นเท่าตัว คือจากจำนวนประมาณ 6.5 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2547 เป็น 14 ล้านคน สัดส่วนจำนวนประชากรผู้สูงอายุ เพิ่มเท่าตัวเช่นกัน จากประมาณร้อยละ 10 ในปี พ.ศ. 2547 เป็นร้อยละ 20 ข้อมูลนี้แสดงถึงอัตราความเร็วของการสูงอายุของประชากร ไทยที่เร็วที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง (คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานผู้สูงอายุแห่งชาติ, 2547 : 3–8) กลุ่มผู้สูงอายุนับวันจะทวีความสำคัญมากขึ้น เนื่องด้วยจำนวนผู้สูงอายุกำลังเพิ่มสัดส่วนขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้สูงอายุถือเป็นบุคคลที่สำคัญของครอบครัวและสังคม   เพราะเป็นผู้ที่ผ่านประสบการณ์ชีวิตมามาก เป็นหัวหน้าครอบครัว หัวหน้างานหรือ หน้าหน่วยงาน เป็นบุคคลที่มีเกียรติ เป็นที่ยอมรับของสังคม เป็นผู้ที่เคยสร้างคุณูปการแก่ครอบครัว

จากโครงสร้างประชากรไทยในปัจจุบันประมาณ 66 ล้านคน และเป็นประเทศที่จัดว่าได้อยู่ในช่วงของสังคมผู้สูงอายุด้วยเงื่อนไขมีประชากรผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 10 โดยนับตั้งแต่ปี 2548 สถิติผู้สูงอายุมีประมาณร้อยละ 10.5 และ ที่เป็นเช่นนี้เพราะอัตราการเกิดของประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง และจากการคาดประมาณประชากรโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่าจำนวนและสัดส่วนของประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป หรือประชากรวัยสูงอายุในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรวัยสูงอายุประมาณ 7.3 ล้านคน หรือร้อยละ 11.0 ของประชากรทั้งหมด โดยปี พ.ศ.2573 คาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 17.7 ล้านคน หรือร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรทั้งหมด (วิทยาลัยประชากรศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2550)

ดังนั้น การก้าวขึ้นสู่สังคมที่ผู้สูงอายุเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วของสังคมไทย ย่อมส่งผลให้วิถีชีวิตและพฤติกรรมของผู้คนในสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วไม่น้อย ทำให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีการเตรียมมาตรการออกมารองรับอย่างทันท่วงทีพร้อมที่จะก้าวทันสถานการณ์ของผู้สูงอายุและปรับกระบวนการเดิมจากที่มองผู้สูงอายุว่าเป็นภาระของสังคมเป็นการใช้ประสบการณ์ที่สะสมมายาวนานของผู้สูงอายุมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยการเปิดโอกาสส่งเสริมสนับสนุน

ระบบราชการถือได้ว่าเป็นกลไกที่สำคัญของการบริหารและพัฒนาประเทศ  ระบบราชการถือได้ว่าเป็นกลไกที่สำคัญเพราะต้องนำนโยบายที่กำหนดขึ้นจากฝ่ายบริหารไปปฏิบัติให้บรรลุตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  ความสำเร็จและล้มเหลวของการนำนโยบายไปปฏิบัติย่อมส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ  ระบบราชการจึงเป็นกลไกที่สามารถทำให้เกิดการพัฒนาหรือสร้างความล้าหลังให้กับประเทศได้ในเวลาเดียวกัน

ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่  8  (พ.ศ.  2540-2544) ซึ่งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่  10  (พ.ศ. 2550-2554) ยังคงรายละเอียดเรื่องการกำหนดแนวทางในการปฏิรูปและพัฒนาระบบราชการไว้อย่างชัดเจน  กล่าวคือ  มีการกำหนดให้มีการทบทวนภารกิจของหน่วยงานส่วนกลางเพื่อกำหนดกิจกรรมที่ควรดำเนินงานภายใต้ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนกลาง  ส่วนภูมิภาค  และส่วนท้องถิ่น  โดยใช้แนวทางการบริหารการจัดการพื้นที่กับหน้าที่และการมีส่วนร่วมเป็นหลัก  ในขณะเดียวกันก็จะต้องกระจายอำนาจการตัดสินใจและการบริหารงบประมาณจากส่วนกลางไปสู่ท้องถิ่น  เพื่อให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาและการบริหารจัดการเรื่องต่าง ๆ  ให้สอดคล้องกับปัญหา  ศักยภาพ  และความต้องการของแต่ละพื้นที่  โดยที่รัฐเข้าไปให้ความช่วยเหลือในกรณีชุมชนไม่เข้มแข็งพอ  (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,2540:51-70)

จากแนวทางข้างต้น  วิธีการถ่ายโอนงานให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนับว่าได้รับความสนใจเป็นลำดับแรก     เนื่องจากเป็นวิธีการที่เหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในการดำเนินการอีกทั้งเป็นวิธีการที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ.  2540  รวมทั้งรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย 2550  ส่นตำบลลบลลด้ อยู่ในระดับปานกลางันธ์  รถประชาสัมพันธ์  อายุ แตกต่างกัน  สำหรับผู้สูงอายุ  แตกต่างกันซึ่งมีบทบัญญัติที่กำหนดเป็นนโยบายและหลักการสำคัญของรัฐในการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นโดยรัฐจะต้องให้ความอิสระแก่ท้องถิ่นตามหลักแห่งการปกครองตนเอง  ตามความต้องการของประชาชนโดยเฉพาะมาตรา  284  กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหลายย่อมมีอิสระในการกำหนดนโยบาย  การปกครอง  การบริหารงานบุคคล  การเงิน  การคลัง  และมีอำนาจหน้าที่ของตนเองโดยเฉพาะ  ทั้งนี้การกำหนดอำนาจและหน้าที่ระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันเอง  ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติโดยคำนึงถึงการกระจายอำนาจเพิ่มขึ้นให้แก่ท้องถิ่นเป็นสำคัญ  (นลินี  โลห์ชิงชัยฤกษ์,2549 : 1-2)

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพ.ศ.  2542  ได้ถูกกำหนดขึ้นโดยคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีภารกิจจะถ่ายโอนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  รวม  6  ด้าน  ได้แก่  ด้านโครงสร้างพื้นฐาน  ด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต  ด้านการจัดระเบียบชุมชน  สังคม  และการรักษาความสงบเรียบร้อย  ด้านการวางแผนการส่งเสริมการลงทุน  พาณิชยกรรม  และการท่องเที่ยว  ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อม  และด้านศิลปวัฒนธรรม  จารีตประเพณี  และภูมิปัญญาท้องถิ่น (สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ,2545 : 210-212)

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือว่าเป็นองค์กรที่ได้รับการถ่ายโอนภารกิจด้านการจัดบริการสาธารณะแก่ชุมชน รวมทั้งภารกิจเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคมและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็ก สตรี ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส ซึ่งพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจได้กำหนดอำนาจหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดบริการสาธารณะไว้หลายด้าน โดยเฉพาะด้านการสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส ไว้ในหมวด 2 มาตรา 16(10) ให้เทศบาลเมืองพัทยาและองค์การบริหารส่วนตำบล ให้การสังคมสงเคราะห์และพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส และมาตรา 17 (27) ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด มีอำนาจหน้าที่ในการสังคมสงเคราะห์ และพัฒนาคุณภาพชีวิตเช่นเดียวกับเทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบล  

นอกจากนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช 2550 ได้เห็นความสำคัญอย่างยิ่งของการมีส่วนร่วมของประชาชน และมีบัญญัติอยู่ในกฎหมายต่างๆ อีกมาก ซึ่งการมีส่วนร่วมของประชาชน ถือเป็นหลักการสากลที่อารยประเทศให้ความสำคัญและเป็นประเด็นหลักที่สังคมไทยให้ความสนใจ เพื่อพัฒนาการเมืองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมตามหลักการธรรมาภิบาลที่ภาครัฐจะต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนและ ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วม ในการร่วมรับรู้ ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ เพื่อสร้างความโปร่งใสและเพิ่มคุณภาพการตัดสินใจของภาครัฐให้ดีขึ้น และเป็นที่ยอมรับร่วมกันของทุกๆฝ่าย ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2540 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 จึงต่างให้ความสำคัญต่อการบริหารราชการอย่างโปร่งใส สุจริต เปิดเผยข้อมูล และการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะ การตัดสินใจทางการเมือง รวมถึงการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในทุกระดับ ที่ผ่านมารัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยได้แถลงเป็นนโยบายของรัฐบาลและยังกำหนดไว้เป็นประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 7 ของแผนบริหารราชการแผ่นดิน (พ.ศ.2548-2551)การส่งเสริมประชาธิปไตยและกระบวนการประชาสังคม ซึ่งตรงกับยุทธศาสตร์ที่ 7 ของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย(พ.ศ. 2546 - 2550) ที่เน้นการเปิดระบบราชการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอีกด้วย

การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของภาคราชการที่มาจากทุกภาคส่วนของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และชุมชนท้องถิ่น จะช่วยทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีความใกล้ชิดกับประชาชนได้รับทราบความต้องการและปัญหาที่แท้จริง ลดความขัดแย้งและต่อต้าน ทั้งยังเป็นการสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ การทำงานร่วมกัน หันหน้ามาปรึกษาหารือกัน และร่วมกันแก้ไขปัญหาที่ยุ่งยากร่วมกัน อีกทั้งยังเป็นการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ที่เสริมสร้างให้ประชาชน ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจในประเด็นสาธารณะ ซึ่งเป็นบทบาทที่หน่วยงานภาคราชการจะต้องดำเนินการให้เกิดขึ้น

          อย่างไรก็ตาม การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมที่เปิดโอกาสให้ประชาชนและเครือข่ายภาคประชาสังคมทุกภาคส่วนเข้ามาเป็นหุ้นส่วน จะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับหน่วยงานราชการต่างๆ จะสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนมากน้อยเพียงใด รวมทั้งต้องอาศัยกระบวนการความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในสังคมที่เป็นพันธมิตรของภาคราชการ ซึ่งถึงเวลาแล้วที่ภาคราชการจะต้องร่วมมือกันเปิดระบบราชการให้ประชาชนมีส่วนร่วม เพื่อทำให้เกิดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เกิดการแบ่งสรรทรัพยากรอย่างยุติธรรม และลดความขัดแย้งในสังคม และที่สำคัญที่สุด คือ การสร้างกลไกของการพัฒนาระบบราชการที่ยั่งยืนเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนนั่นเอง 

ตำบลโพรงมะเดื่อมีสภาพสังคมชนบทที่กำลังเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมไปสู่สังคมอุตสาหกรรม ทำให้มีผลกระทบกับโครงสร้างและค่านิยมของสังคมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม  ทำให้คนรุ่นใหม่นิยมเข้าไปแสวงหารายได้ในเมืองสูงขึ้น  โดยทอดทิ้งผู้สูงอายุให้อยู่ตามลำพัง ซึ่งโดยปกติผู้สูงอายุก็ประสบปัญหาทางด้านร่างกายของผู้สูงอายุ เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายเริ่มเสื่อมสมรรถภาพลง ผู้สูงอายุมีโอกาสเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ไม่ต่างจากวัยอื่น ๆ และพบว่า ผู้สูงอายุเกินกว่าครึ่งหนึ่งมีโรคประจำตัว และส่วนใหญ่มักมีปัญหาหรือโรคหลายๆ โรคในขณะเดียวกัน ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะทำการศึกษาปัจจัยในการมีส่วนร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุองค์การบริหารส่วนตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม เพื่อนำผลที่ได้ไปเป็นแนวทางการจัดการการมีส่วนร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลโพรงมะเดื่อต่อไป

 

 
   
   

1.2  วัตถุประสงค์ของการวิจัย

 

          1.  เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ

          2.  เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล กับการมีส่วนร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ

 

 

1.3  กรอบแนวคิดในการวิจัย

 

          ตัวแปรอิสระ                                             ตัวแปรตาม

 
 

ความคิดเห็นของประชาชนต่อกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ

1. ด้านการบริการสุขอนามัย 

2. ด้านการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันและสร้างความเข้มแข็ง 

3. ด้านการส่งเสริมอาชีพหรือรายได้ 

4. ด้านการบริหารจัดการระบบพัฒนาคุณภาพชีวิต

 

 

 

 

 

 

 

 

ปัจจัยส่วนบุคคล

1. เพศ

ความคิดเห็นของประชาชนต่อกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ

1. ด้านการบริการสุขอนามัย 

2. ด้านการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันและสร้างความเข้มแข็ง 

3. ด้านการส่งเสริมอาชีพหรือรายได้ 

4. ด้านการบริหารจัดการระบบพัฒนาคุณภาพชีวิต

 

 

 

 

 

 

 

 

2. อายุ

3. ระดับการศึกษา

4. อาชีพ

5. รายได้

6. การรับทราบข้อมูลข่าวสาร

7. การสร้างแรงจูงใจ

8. ความรู้ความสามารถ

9. การแสดงความคิดเห็น

10. เป็นที่เคารพนับถือของคนในชุมชน

11. มีทักษะและประสบการณ์

12. ผลประโยชน์กับตัวเองและชุมชน

13. ความสามัคคีในชุมชน 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1.4  ขอบเขตของการวิจัย  ประกอบด้วย

 

1.4.1 ประชากร กลุ่มตัวอย่าง และแหล่งข้อมูลที่จะศึกษา

          1. ประชากรในการวิจัยครั้งนี้คือ  ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโพรงมะเดื่อ  อำเภอเมืองนครปฐม  จังหวัดนครปฐม  ที่มีอายุ  60  ปีบริบูรณ์ขึ้นไป  มีจำนวน 938 คน

2. กลุ่มตัวอย่าง  

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้    คือ     ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโพรงมะเดื่อ  อำเภอเมืองนครปฐม  จังหวัดนครปฐม  ที่มีอายุ  60  ปีบริบูรณ์ขึ้นไป จำนวน   274   คน  โดยใช้ตารางของ เครซี่และมอร์แกน(Kerjcie and Morgan)

 

1.4.2  ตัวแปรที่จะศึกษา 

ตัวแปรอิสระ  (Independent  Variables) เป็นข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลของผู้สูงอายุ  ได้แก่  เพศ

อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ การรับทราบข้อมูลข่าวสาร การสร้างแรงจูงใจ ความรู้ความสามารถ การแสดงความคิดเห็น เป็นที่เคารพนับถือของคนในชุมชน มีทักษะและประสบการณ์ ผลประโยชน์กับตัวเองและชุมชนและความสามัคคีในชุมชน 

ตัวแปรตาม (Dependent  Variables) คือ ความคิดเห็นต่อกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ  ใน 4  ด้าน ได้แก่  ด้านการบริการสุขอนามัย  ด้านการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันและสร้างความเข้มแข็ง  ด้านการส่งเสริมอาชีพหรือรายได้  และด้านการบริหารจัดการระบบพัฒนาคุณภาพชีวิต

 

1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ

ผู้สูงอายุ หมายถึง บุคคลซึ่งมีอายุเกิน  60  ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ทั้งชายและหญิง ซึ่งมีชื่อตามทะเบียนราษฎร์อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโพรงมะเดื่อ   อำเภอเมืองนครปฐม    จังหวัดนครปฐม

การบริการด้านสุขอนามัย  หมายถึง  องค์การบริหารส่วนตำบลได้จัดกิจกรรมส่งเสริมด้านสุขอนามัยให้กับผู้สูงอายุ เช่น มีการจัดโครงการออกหน่วยเคลื่อนที่เพื่อบริการตรวจสุขภาพ  การจัดให้มีหน่วยเคลื่อนที่สำหรับรักษาพยาบาลแบบฉุกเฉิน

การส่งเสริมการอยู่ร่วมกัน และสร้างความเข้มแข็ง หมายถึง  การส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีการรวมตัวกันเป็นชมรมหรือองค์กรผู้สูงอายุ  และจัดกิจกรรมด้านสวัสดิการสังคมและนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ

การส่งเสริมอาชีพหรือรายได้ของผู้สูงอายุ  หมายถึง  องค์การบริหารส่วนตำบลจัดให้มีการอบรม ฝึกอาชีพให้กับผู้สูงอายุ  และหาสถานที่เพื่อรองรับผลิตภัณฑ์ของผู้สูงอายุ

การบริหารจัดการระบบพัฒนาคุณภาพชีวิต  หมายถึง  การจัดให้มีการจัดทำข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์ สื่อสารให้กับผู้สูงอายุทราบถึงสิทธิของตนเอง จัดให้มีอาสาสมัครหรือเจ้าหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุ  และเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นและแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง

ความคิดเห็น หมายถึง ความคิดเห็นของผู้สูงอายุที่ได้รับสวัสดิการสังคมต่อการบริหารจัดการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ ขององค์การบริหารส่วนตำบลโพรงมะเดื่อ  อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม

          การให้ข้อมูลข่าวสาร หมายถึง สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริง ข้อมูล หรือสิ่งใด ๆ ไม่ว่าการสื่อความหมายนั้นจะทำได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่าน วิธีการใด ๆ และไม่ว่าจะได้จัดทำไว้ในรูปของเอกสาร แฟ้ม รายงาน หนังสือ แผนผัง แผนที่ ภาพวาด ภาพถ่าย ฟิล์ม การบันทึกภาพหรือเสียง การบันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือวิธีอื่นใดที่ทำให้สิ่งที่บันทึกไว้ปรากฏได้

          การสร้างแรงจูงใจ หมายถึง แรงขับหรือสิ่งกระตุ้นให้บุคคลมุ่งแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อตอบสนองความต้องการหรือจุดมุ่งหมายที่ต้องการ

          กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ หมายถึง กิจกรรมใดๆ ที่องค์การบริหารส่วนตำบลโพรงมะเดื่อ จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

 

1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

          1. ทำให้ทราบถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ

          2. ทำให้ทราบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล กับการมีส่วนร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ

         

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

 

 

          การศึกษาเรื่อง ปัจจัยในการมีส่วนร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ผู้ศึกษาได้รวบรวมเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องสำหรับการศึกษา ดังนี้

  1. แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ
  2. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน
  3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

 

1. แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ

 

การศึกษาเกี่ยวกับกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุต้องศึกษาความหมายและแนวคิด พื้นฐานของผู้สูงอายุ ซึ่งมีแนวคิดของนักวิชาการหลายท่าน ดังนี้   
          รุ่งโรจน์ พุ่มริ้ว (2527, หน้า 12) ได้กล่าวว่า ความชราสามารถพิจารณาได้ 2 ประเด็น คือ ประเด็นที่กำหนดโดยกาลเวลาและประเด็นที่เกิดขึ้นตามที่เป็นจริง ความชราที่ใช้กาลเวลาเป็นเครื่องกำหนดนั้นอาจจะยอมรับกันว่าคนที่อายุ 60 ปีขึ้นไป ถือว่าเป็นผู้สูงอายุ ส่วนความชราตามความเป็นจริงนั้นพิจารณาดูจากความเสื่อมโทรมของร่างกายและสภาพอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละคน ดังนั้นแม้บุคคลจะมีอายุเท่า ๆ กัน แต่ละคนอาจมีความชราแตกต่างกันได้
          แนวคิดนี้ ผู้สูงอายุหรือคนชราเป็นบุคคลที่มีความแตกต่างด้านชีวภาพและกายภาพ อันเนื่องมาจากอายุวัยที่มีมากกว่าบุคคลกลุ่มอื่น ๆ แต่ทว่าผู้สูงอายุนับว่าเป็นผู้ที่มีประสบการณ์และรับรู้เรื่องราวที่สั่งสมมามากกว่าผู้ที่มีอายุน้อยกว่า ฉะนั้นจากความสำคัญดังกล่าวข้างต้น ความรู้เกี่ยวกับผู้สูงอายุจะเป็นแนวทางให้บุคคลทั่วไปมองเห็นและเข้าใจผู้สูงอายุเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่าง ๆ ของร่างกาย เมื่อบุคคลเหล่านั้นได้เข้าสู่วัยสูงอายุแล้วก็จะเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพในช่วงบั้นปลายของชีวิตอย่างมีความสุข

ความหมายของผู้สูงอายุ

          ความหมายของผู้สูงอายุ ความสูงอายุเป็นวงจรชีวิตในวัยสุดท้าย ที่เริ่มตั้งแต่วัยทารก วัยเด็ก วัยหนุ่มสาว วัยผู้ใหญ่ และวัยชรา ซึ่งแต่ละวัยจะมีการเปลี่ยนแปลงกันอย่างต่อเนื่องไปตามธรรมชาติ การที่จะพิจารณาว่าผู้ใดเป็นผู้สูงอายุหรือผู้ชรานั้นยังมีแนวคิดการพิจารณาต่างกันของนักวิชาการที่นำมาเสนอ ดังนี้

จากมติสมัชชาโลกของผู้สูงอายุที่นครเวียนนาเมื่อ พ.ศ. 2525 ตามในทัศนะของคณะกรรมาธิการวิสามัญสวัสดิการผู้สูงอายุและการพัฒนาสังคมวุฒิสภา (2534, หน้า 1) ได้กล่าวถึง ผู้สูงอายุ คือ ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ทั้งชายและหญิง เป็นประชากรที่เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่าของชาติเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งเป็นผู้ถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมให้แก่เยาวชนรุ่นหลังได้เป็นอย่างดี
          อุบลรัตน์ เพ็งสถิตย์ (2546, หน้า 7) กล่าวว่า ผู้สูงอายุในสังคมไทย หมายถึง บุคคลที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายในลักษณะของการเสื่อมถอย การเจริญเติบโตของร่างกาย และความต้านทานโรคน้อยลง ความสามารถด้านการปรับตัวและบทบาททางสังคมของแต่ละบุคคลจะมีความสามารถที่แตกต่างกันออกไป
          Decker (อ้างถึงใน อุบลรัตน์ เพ็งสถิตย์, 2546, หน้า 7) กล่าวสรุปไว้ว่า ผู้สูงอายุจะมีลักษณะและปัจจัยที่ทำให้เกิดความชรา รวมทั้งการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะปัญหาส่วนตัว ทางด้านร่างกายความสามารถในการปรับตัวของแต่ละบุคคลที่ไม่เหมือนกัน ตลอดจนบทบาทและลักษณะนิสัยทางสังคมของผู้สูงอายุที่ได้อยู่ในสังคมนั้นเอง 
          สุรกุล เจนอบรม (2541, หน้า 6) กล่าวว่า ผู้สูงอายุ หมายถึง บุคคลในวัยสุดท้ายของวงจรชีวิต ซึ่งวงจรชีวิตนั้นเริ่มตั้งแต่ทารก วัยเด็ก วัยหนุ่มสาว วัยผู้ใหญ่ และวัยชรา ในสังคมดั้งเดิมกำหนดการเป็นผู้สูงอายุ โดยใช้บทบาทที่บุคคลนั้น ๆ ทำอยู่ในสังคมเป็นเกณฑ์ คือ บทบาทที่แสดงถึงความเป็นผู้นำ ความรับผิดชอบสูงในสังคม ส่วนในปัจจุบันใช้อายุเป็นเกณฑ์กำหนดความสูงอายุ ซึ่งแตกต่างกันไปในสังคมของแต่ละประเทศ เช่น บางประเทศกำหนด 55 ปี บางประเทศกำหนด 65 ปี และตัวเลขเหล่านี้คือ เกณฑ์อายุปลดเกษียณตนเองจากการปฏิบัติงานตามที่แต่ละประเทศกำหนดไว้นั่นเอง
          Yurick, et al. (อ้างถึงใน จำเรียง กรูมะสุวรรณ, 2536, หน้า 2) ได้กล่าวว่า สถาบันแห่งชาติเกี่ยวกับผู้สูงอายุของสหรัฐอเมริกา (National Institution of Aging) ได้กำหนดผู้สูงอายุวัยต้น (young old) คือ อายุระหว่าง 60-70 ปี เป็นวัยที่ยังไม่ชรามากสามารถทำงานได้ ถ้าสุขภาพกาย สุขภาพจิตดี วัย 75 ปีขึ้นไป จึงถือว่าชราอย่างแท้จริง 
          Birren (อ้างถึงใน จรัสวรรณ เทียนประภาศ และพัชรี ตันศิริ, 2536, หน้า 2) ได้กล่าวว่า การกำหนดว่าใครเป็นผู้ชรานั้นควรพิจารณาประกอบกันทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านชีวภาพ ด้านจิตใจ และด้านสังคม ส่วนด้านชีวภาพจะคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงและความสามารถในการใช้ศักยภาพของร่างกายเป็นเกณฑ์ ทางด้านจิตใจจะพิจารณาถึงความสามารถในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม ความสอดคล้องในการรับรู้ การจดจำ การรับความรู้ใหม่ ๆ การใช้เหตุผล การมองภาพพจน์ตนเอง และแรงกระตุ้นในตน ส่วนทางด้านสังคมนั้นก็จะพิจารณาถึงบทบาทหน้าที่ที่รับผิดชอบเป็นสำคัญ
          จากความหมายของผู้สูงอายุที่กล่าวมาข้างต้นสรุปว่า ผู้สูงอายุ หมายถึง ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป มีการเสื่อมสภาพของร่ายกาย เช่น มีกำลังวังชาลดลง มีความเชื่องช้ามากขึ้น และความสามารถในการใช้ศักยภาพของร่างกายลดลง ส่วนการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ และสังคม ขึ้นอยู่กับลักษณะนิสัย สภาพร่างกาย และการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมและสังคมของแต่ละบุคคล

คุณลักษณะที่น่าสนใจและปัญหาของผู้สูงอายุ

 

คุณลักษณะของผู้สูงอายุและปัญหาต่างๆ ที่ผู้สูงอายุในปัจจุบันกำลังประสบ เป็นข้อมูลที่สำคัญ ที่สามารถใช้สะท้อนถึงแนวโน้มของปัญหา อันสืบเนื่องมาจากการที่จะมีประชากรผู้สูงอายุ เพิ่มขึ้นในอนาคต ตลอดจนสามารถใช้เป็นแนวทางในการวางนโยบาย และแผนการดำเนินงานที่เหมาะสม เกี่ยวกับผู้สูงอายุต่อไปในอนาคต

วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำงานวิจัยร่วมกับสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2539 เกี่ยวกับผู้สูงอายุ คือโครงการสำรวจสภาวะผู้สูงอายุในประเทศไทย พบว่าคุณลักษณะของผู้สูงอายุในปัจจุบัน มีความแตกต่างไปจากผู้สูงอายุในอนาคตในหลายด้าน เช่น ผู้สูงอายุในปัจจุบันมีจำนวนไม่น้อย ที่มีความสามารถในการอ่านอย่างจำกัด หรืออ่านหนังสือไม่ออก และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างผู้สูงอายุเพศชายกับเพศหญิง จะเห็นถึงความแตกต่างกันอย่างชัดเจน กล่าวคือผู้สูงอายุเพศหญิงมีสัดส่วนของผู้ที่อ่านไม่ออก หรืออ่านหนังสือได้ลำบากสูงกว่าผู้สูงอายุในเพศชาย อย่างไรก็ตามในสัดส่วนของผู้สูงอายุที่ไม่รู้หนังสือ คงจะลดลง ทั้งนี้ เนื่องจากการขยายการศึกษาภาคบังคับเป็นลำดับ(วิทยาลัยประชากรศาสตรร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2550)

ความแตกต่างในระดับการศึกษา ระหว่างผู้สูงอายุปัจจุบันและในอนาคตนี้อาจส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตด้านต่างๆ ของผู้สูงอายุ อาทิเช่น ผู้สูงอายุในอนาคตที่มีการศึกษาดีขึ้น อาจจะชอบหรือเลือกรูปแบบการอยู่อาศัยที่แตกต่างกันไปจากผู้สูงอายุในปัจจุบัน      เช่น   อาจะเลือกที่อยู่ตามลำพังมากกว่าจะอาศัยอยู่กับลูกหลาน   นอกจากนี้ผลการวิจัยที่ผ่านมา ยังชี้ให้เห็นว่า ปัญหาสำคัญที่ผู้สูงอายุไทยประสบคือ ปัญหาทางเศรษฐกิจและ สุขภาพ เกือบครึ่งหนึ่งของผู้สูงอายุ มีรายได้ไม่พอเลี้ยงชีพ และ 2 ใน 3 มีสุขภาพอยู่ในระดับปานกลางถึงไม่ดีมาก โรคที่มีการรายงาน ว่าเป็นกันมากในกลุ่มผู้สูงอายุ คือ ปวดหลัง ปวดเอว ไขข้ออักเสบ ความดันโลหิตสูง โรคกระเพาะ โรคหัวใจ นอกจากนี้ยังพบว่า ภาวะการเจ็บป่วยของผู้สูงอายุนี้ เป็นเหตุผลสำคัญประการหนึ่ง ที่ทำให้ผู้สูงอายุ  ไม่สามารถทำงานหาเลี้ยงชีพได้  (นภา<

หมายเลขบันทึก: 501342เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2012 00:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กันยายน 2012 08:48 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ปัจจัยในการมีส่วนร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ... สังคมต่อไป ....จะเป็นสังคมผู้สูงอายุค่ะ

 

ขอบคุณบทความดีดีมีคุณค่า นี้คะ

ศิริยา เจียมจำเริญ

ขอบคุณทุกคนที่ร่วมแสดงความคิดเห็น และเป็นกำลังใจให้ ขอบคุณค่ะ

ข้อมูลโครงร่างสาระนิพนธ์ บทที่ 3 มีไหมคะ  สนใจอยากอ่านค่ะ

ขอบทที่3 4 5ต่อค่ะ สนใจอยากอ่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท