DBA : วิกฤตหรือโอกาสการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกับการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน


วิกฤตหรือโอกาสการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกับการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

 

วิกฤตหรือโอกาสการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกับการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

 

ธนัณชัย  สิงห์มาตย์

ในปัจจุบันนั้นโลกกำลังให้ความสำคัญกับการนำเอาวัฒนธรรมมาเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศหลายประเทศให้ความสำคัญในการรื้อฟื้นวัฒนธรรมของตนเองขึ้นมาเพื่อเป็นการถ่ายทอดและพยายามบอกเล่าให้ต่าชาติได้รับรู้และให้ความสนใจ เกาหลีเป็นประเทศที่สามารถถ่ายทอดวัฒนธรรมของตนเองออกสู่ภายนอกประเทศได้ดีที่สุดจากซี่รี่เกาหลี บัณเทิง หลังจากการถ่ายทอดวัฒนธรรมเหล่านั้นออกไปแล้วสิ่งที่ตามมาคือ การที่ประเทศเกาหลีมีศักยภาพของการแข่งขันที่มากขึ้นผู้คนให้ความสนในประเทศเกาหลีมากขึ้นและการท่องเที่ยว ตลอดจนสินค้าของประเทศเกาหลีได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้เราเห็นว่าการที่เราจะพัฒนาให้มีความเจริญรุ่งเรืองในเรื่องของเศรษฐกินั้นสำคัญคือเราจะต้องถ่ายทอดวัฒนธรรมของเราให้ชาวต่างชาติได้ยอมรับ หากเราสามารถที่จะทำให้ชาวต่างชาติยอมรับได้นั้นในอนาคตก็หมายความว่า ประเทศของเราย่อมจะสร้างเศรษฐกิจให้ดีขึ้นด้วยเช่นกัน หากเรามามองในประเทศไทยของเรานั้นเรามีศิลปวัฒนธรรม ประเพณี การอยู่การกินที่มีประณีตงดงาม เป็นอย่างมาก ในการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้นเรามามองว่าประเทศเราเองในฐานะเป็นประเทศที่มีความเข้มแข็งในการท่องเที่ยวและหากมองตามภูมิศาสตร์นั้นประเทศไทยของเราเองอยู่ศูนย์กลางประกอบกับเรามีสนามบินสุวรรณภูมิในการที่จะรองรับการท่องเที่ยวในภูมิภาคของอาเซียน หากเราสามารถปรับตัวมีการร่วมมือร่วมแรงกันการท่องเที่ยวในประเทศของเราสามารถที่จะสร้างเม็ดเงินได้อย่างแน่นอน

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมคืออะไร

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมนั้นมีนักวิชาการได้ความหมายไว้มากมาย เช่น การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม คือ การท่องเที่ยวเพื่อชมสิ่งที่แสดงความเป็นวัฒนธรรม เช่น ปราสาท พระราชวัง วัด โบราณสถาน โบราณวัตถุ ประเพณี วิถีการดำเนินชีวิต ศิลปะทุกแขนง สิ่งต่างๆ ที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองที่มีการพัฒนาให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม การดำเนินชีวิตของบุคคลในแต่ละยุคแต่ละสมัย ผู้ท่องเที่ยวจะได้รับทราบประวัติความเป็นมา ความเชื่อ มุมมอง ความคิด ความนิยมของบุคคลในอดีตที่ถ่ายทอดมาถึงคนรุ่นปัจจุบันผ่านสิ่งเหล่านี้มา ( การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย)

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา ( 2548 ) ได้ให้คำจำกัดความของการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมไว้ว่า เป็น การท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยมีการให้ความรู้และความภูมิใจที่เน้นลักษณะวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ โบราณคดี และสถานที่ต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยเกี่ยวเนื่องกับความเป็นอยู่ของสังคม และให้ทุกฝ่ายร่วมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยบุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา ( 2548 ) ได้จำแนกประเภทของการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมตามลักษณะที่เป็นวัตถุและไม่ใช่วัตถุ

1.ทรัพยากรท่องเที่ยวประเภทประวัติศาสตร์ โบราณสถาน และโบราณวัตถุ เป็นทรัพยากรท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้นตามประโยชน์ของมนุษย์เองทั้งที่เป็นมรดกในอดีตและได้สร้างเสริมในสมัยปัจจุบันซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีและศาสนาเป็นสิ่งที่แสดงถึงอารยะธรรมและความเจริญก้าวหน้าของท้องถิ่นนั้นว่าในสมัยโบราณมีความเจริญด้านใดบ้าง และเหลือเป็นมรดกตกทอดมายังรุ่นหลังอย่างไรบ้าง จึงมีผลดึงดูดให้นักท่องเที่ยวไปเยือนพื้นที่นั้นทรัพยากรท่องเที่ยวประเภทประวัติศาสตร์

2.ทรัพยากรท่องเที่ยวประเภทศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและกิจกรรม เป็นทรัพยากรท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้นในรูปแบบของการดำเนินชีวิตของผู้คนในสังคมแต่ละกลุ่มชนที่มีความแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ โดยยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมา ตลอดจนกิจกรรมต่างๆของสังคมที่มีผลต่อการดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปเยือน อาจแยกออกเป็นประเภทย่อยที่สำคัญได้ 2 ประเภทดังต่อไปนี้

            1. ประเภทศิลปวัฒนธรรม ได้แก่ ชุมชน หมู่บ้าน เรือนแพ ตลาด ตลาดน้ำ ศูนย์วัฒนธรรม การละเล่นพื้นบ้าน ดนตรีพื้นเมือง สินค้าพื้นเมือง ไร่สวน เหมือง วิถีชีวิต อัธยาศัยไมตรีของประชาชน เป็นต้น

            2. ประเภทประเพณี ได้แก่ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีแห่เทียนพรรษา เทศกาล กินเจ ประเพณีลอยกระทง งานบุญบั้งไฟ งานประเพณีโยนบัว  ประเพณีอินทขิล เป็นต้น

            บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา ( 2548 ) จำแนกประเภทของการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมโดยให้ชุมชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมต่อการจัดการการท่องเที่ยว โดยแยกย่อยเป็น

            1. การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์

            2. การท่องเที่ยวงานวัฒนธรรมและประเพณี

            3. การท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิตชนบท

            4. การท่องเที่ยวเชิงกีฬา

            5. การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพทางวัฒนธรรม

            จากที่กล่าวมาข้างต้นเป็นแนวคิดของนักวิชาการทางด้านการท่องเที่ยวของศิลปวัฒนธรรมหากนำมาสรุปในมุมมองของผู้เขียนเองมองว่า การท่องเชิงวัฒนธรรมคือ การท่องเที่ยวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนวิถีชีวิตของผู้คนไม่ว่าจะเป็น วิถีการดำรงชีวิต อัธยาศัยไมตรีของประชาชน การละเล่นพื้นเมือง ดนตรีพื้นเมือง ไร่นาสวนผสม เป็นต้น หากมองมาในประเทศประเทศไทยของเราผู้เขียนเองมองว่าเรามีประวัติศาสตร์ ศิลปะที่งดงามโดดเด่นเป็นอย่างมากบางแห่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ผู้เขียนเองจะยกตัวอย่างของแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของประเทศไทย ที่ผู้คนทั้งคนไทยและชาวต่างชาติให้ความนิยมมากที่สุดอันดับที่ 1  วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือ วัดพระแก้ว กรุงเทพมหานคร พระอารามหลวงในบริเวณพระบรมมหาราชวังแห่งนี้ เป็นแหล่งท่องเที่ยวแรกที่ปรากฏแก่สายตาชาวโลกในการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว วัดพระแก้วนั้นเป็นสถานที่ประดิษฐานพระมหาพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร “พระแก้วมรกต” สถาปัตยกรรมหลายยุคหลายสมัยที่สร้างเสริมสืบต่อกันมาและการตกแต่งประดับ ประดาอัรอลังการ ก็เป็นเอกลักษณ์ที่ดึงดูดใจทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ อันที่ 2 วัดพระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ ใครที่เดินทางขึ้นเหนือของประเทศไทยหรือเดินทางไปเชียงใหม่หากไม่ได้ไปนมัสการพระธาตุดอยสุเทพก็เปรียบเหมือนไม่ได้มาถึงเมืองเชียงใหม่ พระธาตุดอยสุเทพเป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองบนยอดดอยสูง สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐพระบรมสารีริกธาตุ พ.ศ. 1916 ในสมัยพระยากือนาแห่งราชอาณาจักรล้านนา ความสง่างามของพระองค์พระธาตุเจดีย์เหลี่ยมประดับด้วยแผ่นทองอร่ามตารวมทั้งการตกแต่งประดับประดาด้วยศิลปกรรมล้านนาอันงดงาม อันดับที่ 3 คือ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อดีตราชธานีที่มีอายุยาวนานที่สุดของสยามประเทศคือ 417 ปี ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ร่องรอยสถาปัตยกรรมอันยิ่งใหญ่และงดงามที่หลงเหลือกระจัดกระจายอยู่สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองสืบเนื่องมาหลายยุคหลายสมัย

อันดับที่ 4 วัดอรุณราชวราราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร เป็นองค์พระปรางค์สูงตระหง่านเสียดฟ้าริมแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นสุดยอดด้านงานสถาปัตยกรรมชั้นเยี่ยมแห่งหนึ่งของยุครัตนโกสินทร์ ด้วยความสูงทั้งสิ้น 33 วาเศษ จึงถือว่าเป็นพระปรางค์ที่สูงใหญ่ที่สุดในโลกด้วย สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 รอบองค์ปรางค์วิจิตรอลังการด้วย การตกแต่งประดับประดาด้วยถ้วยชามกระเบื้องเคลือบสีต่างๆเป็นเอกลักษณ์อันเป็นที่รู้จักดีอย่างหนึ่งของประเทศไทยในสายตาชาวต่างชาติ อันดับที่ 5 อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย เมืองโบราณที่มีร่องรอยของการตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ยุคชุมชนก่อนประวัติศาสตร์พัฒนาขึ้นมาตามลำดับ จนกระทั่งเป็นแว่นแคว้นที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมระดับสูง ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2534 โดดเด่นด้วยโบราณสถานขนาดใหญ่จำนวนมากมายที่สร้างด้วยศิลาแรง ทั้งในส่วนของเมืองเชลียง อันเป็นเมืองในยุคเริ่มแรก และในส่วนของเมืองศรีสัชนาลัยซึ่งเป็นส่วนต่อขยายที่เจริญขึ้นในยุคต่อมา โบราณสถานเหล่านี้อยู่ท่ามกลางธรรมชาติเทือกเขาทิวเขาและแมกไม้อันร่รื่น ปราศจากการรบกวนจากความเจริญสมัยใหม่ จัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวิติศาสตร์ที่มีบรรยากาศงดงามสมบูรณ์มากที่สุดของประเทศไทย

จากตัวอย่างทางด้านประวัติศาสตร์และร่องลอยประวัติศาสตร์จากนั้นเรามาดูการท่องที่เกี่ยวกับ เทศการต่างๆ ของประเทศไทยของเราว่ามีเทศกาลอะไรบ้างที่ผู้คนให้ความนิยมไปท่องเที่ยวมากที่สุดเริ่มจากอันดับที่ 1 งานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี เป็นงานยิ่งใหญ่ของจังหวัดอุบลราชธานีจัดขึ้นในช่วงเทศกาลวันเข้าพรรษา หรือขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 หรือ แรม 1 ค่ำเดือน 8 เป็นงานประเพณีที่เริ่มทำกันมาตั้งแต่ปี 2470 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน จะมีการแห่เทียนจากคุ้มต่างๆ เทียนจะถูกแกสลักอย่างงดงาม อันดับที่ 2 คือ งานประเพณีปอยส่างลอง จังหวัดแม่ฮ่องสอน งานประเพณีปอยส่างลองเป็นการบรรพชาสามเณรของชาวไทยใหญ่มีความเชื่อกันว่าได้กุศลมากกว่าการบวชพระภิกษุงานจะถูกจัดขึ้น 3 วัน  วันแรกจะเป็นพิธีเด็กชายเข้าพิธี ส่างลอง โกนหัวแต่ไม่โกนคิ้ว ไปขอพรจากผู้ใหญ่วันที่ 2 เป็นวันที่แห่ส่างลองไปตามถนนและวันที่ 3 เป็นวันที่ทำพิธีบวช ประเพณีปอยส่างลองเดิมทีจัดขึ้นในหมู่ญาติมิตรสหายต่อมาจึงมีการพัฒนาขึ้นมาและส่งเสริมให้เป็นการท่องเที่ยวนักท่องเที่ยวให้ความนิยมในการที่จะไปท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก

  อันดับที่ 3 งานเทศกาลสงกรานต์ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นงานที่ยิ่งใหญ่ถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ของเมืองไทย งดงาม  ด้วยขบวนแห่ซึ่งในจังหวัดจะนำพระที่ศักดิ์สิทธิ์ตามวัดต่างๆ แห่ไปตามถนน เทศกาลสงกราณ์ชาวต่างชาตินิยมเข้ามาเที่ยว เทศกาลสงกรานต์นั้นจะถูกจัดขึ้นทุกจังหวัดของประเทศไทย อันดับที่ 4 ประเพณีบุญบั้งไฟจังหวัดยโสธร เป็นเทศกาลเดือนหกถูกจัดขึ้นทั่วไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือแต่นักท่องเที่ยวนิยมมากที่สุดคือจังหวัดยโยธร จังหวัดยโสธรมีการนำประเพณีบุญบั้งไฟร่วมกับนานาชาติจัดมีความยิ่งใหญ่ทุกปี ทำให้นักท่องเที่ยวให้ความสนใจในประเพณีดังกล่าว

จากที่กล่าวมาข้างต้นเป็นตัวอย่างของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ชาวไทยหรือชาวต่างชาติให้ความสนใจในการไปท่องเที่ยว ในปี 2558 เป็นการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน วัฒนธรรมในกลุ่มอาเซียนมีลักษณะค่อยข้างใกล้เคียงกันดังนั้นหากประเทศของเราไม่ปรับตัวโอกาศที่จะเสียแชมป์ในการท่องเที่ยวผู้เขียนมองว่ามีสูง เรามาดูกันว่าประชาคมเศรษฐกิจกับอาเซียนกับการท่องเที่ยวเป็นอย่างไร

สถานการณ์ตลาดท่องเที่ยวของประเทศไทย

    การท่องเที่ยวโดยภาพรวมของประเทศไทย นักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้ามาในประเทศไทยปี 2554 จำนวน 19.1 ล้านคนขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.84 ทั้งนี้ในช่วง 10 เดือนของปีแรก จำนวนนักท่องเที่ยวมีอัตราเติบโตเพิ่มขึ้นสูงมาโดยตลอด โดยได้รับปัจจัยบวกจากการเมืองที่มีเสถียรภาพ สายการบินที่เพิ่มขึ้น และความคุ้มค่าเงินในการเดินทางมาท่องเที่ยวใประเทศไทย อย่างไรก็ตาม วิกฤติที่เกิดขึ้นในไตรมาสที่ 4 ได้ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวในเดือนตุลาคมชะลอตัวลงและในเดือนพฤศจิกายนหดตัวลงร้อยละ 18 แต่การลดลงดังกล่าวไม่สามารถจะฉุดอัตราเติบโตในภาพรวมได้ จึงทำให้ทุกกลุ่มตลาดยังคงมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในระดับที่ดี คือ เอเซียตะวันออก เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.24 อาเซียน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.96 เอเชียใต้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.54 โอเซียเนีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.61 อเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.85 ยุโป เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.40 อัฟริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.73 และตะวันออกกลาง เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.95 เรียงตามลำดับ ( อ้างอิงจากสถิตินักท่องเที่ยวของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา )

ผลจากการเกิดเหตุวิกฤตอุทกภัยอย่างรุนแรงในประเทศไทยได้ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่กำลังขยายตัวดีเกิดการชะงักงัน จึงทำให้สูญเสียโอกาสที่จะได้รับนักท่องเที่ยวต่างประเทศในช่วงฤดูท่องเที่ยวนี้เป็นจำนวนประมาณ 310,000 คน คิดเป็นรายได้สูญเสียอยู่ในรูปตัวเงินประมาณ 16,000  ล้านบาท

สถานการณ์การท่องเที่ยวกลุ่มตลาดอาเซียนปี 2554 จำนวนนักท่องเที่ยวจากลุ่มตลาดอาเซียนเดินทางเข้ามายังประเทศไทย จำนวน 5.53 ล้านคนขยายตัวร้อยละ 21.96 ในช่วง 10 เดือนแรกภูมิภาคนี้ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 23.78 ผลกระทบจากอุทกภัยส่งผลให้ภูมิภาคนี้มีจำนวนนักท่องเที่ยวลดลงร้อยละ 1.34 ในไตรมาสที่ 4 ตลาดหลักส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงไม่สามารถฟื้นตัวได้ในเดือนธันวาคม ยกเว้น อินโดนีเซียและพม่า ซึ่งฟื้นตัวกลับคืนมาได้อย่างรวดเร็ว  จากอุทกภัยที่เกิดขึ้นส่งผลให้สายการบินสิงคโปร์ แอไลน์ ยกเลิกเที่ยวบิน 14 เที่ยว ระหว่างวันที่ 2-19 พฤศจิกายน 2554 อย่างไรก็ตามสถานการณ์ตลาดในช่วงปลายปี แม้ว่าบางตลาดจะยังไม่สามารถกลับเข้ามาสู่แดนบวก แต่มีการปรับตัวดีขึ้นมากผลจากรัฐบาลต่างประเทศปรับตัวลดระดับคำประกาศเตือนการเดินทางเข้าประเทศไทย จึงทำให้สายการบินต่างๆ เริ่มกลับมาทำการบินเหมือนก่อนที่จะประสบอุทกภัย

สำหรับในปี 2555 ปัจจัยบวกจากการเพิ่มเส้นทางการบินของสายการบิน Air Asia ในเส้นทาง สิงคโปร์              – เชียงใหม่ จำนวน 7 เที่ยว/ สัปดาห์ ในช่วงต้นปี 2555 และการบินกลับมาบินปกติของสายการบิน Singapore Airline และ Tiger Airways จะเป็นผลดีต่อตลาดนี้เป็นอย่างยิ่ง

 

สถานการณ์การท่องเที่ยวกลุ่มตลาดยุโรป ปี 2554 จำนวนนักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศยุโรปเดินทางเข้าประเทศไทย จำนวน 4.95 ล้านคนขยายตัวร้อยละ 11.40 ในช่วง 10 เดือนแรกกลุ่มตลาดนี้ขยายตัวค่อนข้างสูงถึงร้อยละ 17.41 แม้ว่าจะเกิดวิกฤตเศรษกิจตกต่ำในภูมิภาคยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรปใต้ หรือที่เราเรียกกันว่ากลุ่ม PIIGS ( โปรตุเกส ไอแลนด์ อิตาลี กรีซ สเปน ) ก่อนที่จะเริ่มมีการปรับตัวลดลงในเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม ในอัตราร้อยละ 11 และอัตราร้อยละ 6 ตามลำดับ จากอุทกภัยที่เกิดขึ้นซึ่งมีภาพข่าวสนามบินดอนเมืองถูกน้ำท่วมและโรคระบาดที่อาจเกิดขึ้นหลังภัยพิบัติ  ประกอบกับการยกระดับประกาศเตือนของรัฐบาลในต่างประเทศ ทำให้นักท่องเที่ยวสูญเสียความเชื่อมั่นในการเดินทางมายังประเทศไทย อย่างไรก็ตามในช่วงปลายปี 2554 มีปัจจัยบวกเข้ามาบรรเทาให้สถานการณ์ไม่เลวร้ายจนเกินไปนักจากการเปิดเส้นทางบินตรงในเดือนพฤศจิกายน 2554 ของสายการบินต่างๆ เช่น การบินไทยเปิดเส้นทาง โคเป็นเฮเกน – ภูเก็ต และ บรัสเซ – กรุงเทพมหานคร จำนวนเส้นทางละ 3 เที่ยวบิน / สัปดาห์ สายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์เปิดเส้นทางบิน โคเป็นเฮเก็น – สิงคโปร์ – สมุย จำนวน 7 เที่ยวบิน / สัปดาห์ และตลาดในยุโรปตะวันออก คือ สายการบิน Arosvit ในเส้นทางปราก – กรุงเทพฯ และจาก TUI Poland ในเส้นทางวอร์ชอ – ภูเก็ต สิ่งที่ควรระวังและจะต้องจับตามองอย่างใกล้ชิดในปี 2555 คือ ปัญหาทางเศรษฐกิจในยุปที่ยังคงย่ำแย่ และการปรับขึ้นภาษีการโดยสารทางอากาศ เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 8 ในช่วงเดือนเมษายน 2555 ของประเทศอังกฤษ และการประกาศบังคับใช้ ของสภาพยุโรป ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 ทำให้การเดินทางการท่องเที่ยวระยะไกลต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงขึ้นจากปรับขึ้นอัตราค่าโดยสารเครื่องบิน

 

สถานการณ์การท่องเที่ยวกลุ่มตลาดอเมริกา ปี 2554 มีจำนวนทั้งสิ้น 0.95 ล้านคนขยายตัวร้อยละ 12.85 นับได้ว่ามีการเติบโตที่ดี โดยเฉพาะในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2554 แม้ว่าจะประสบภาวะวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำจากปัญหาซัปไพรม์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ ปี 2551 จนนักท่องเที่ยวเริ่มพฤตฺกรรมการดำรงชีวิตเข้ากับปัญหาเศรษฐกิจที่เผชิญอยู่ ค่อนข้างเป็นผลดีกับประเทศไทยที่มีภาพลักษณ์เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความคุ้มค่าเงิน ( Value for Maney ) ทำให้ทั้งตลาดสหรัฐอเมริกาและแคนนาดาซึ่งเป็นตลาดหลักกลับมาขยายตัวได้ในระดับดี เสริมกับแรงขยายตัวของตลาดในกลุ่มอเมริกา ทั้งบราซิล และอาร์เจนตินา ที่กำลังขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจอย่างร้อนแรง ทำให้สายการบินหลายสายขยายเส้นทางเข้าไปยังกลุ่มประเทศละตินอเมริกา เช่น สายการบิน สิงคโปร์ แอร์ไลน์ เปิดเส้นทางการบินใหม่ สิงคโปร์ – นครเซาเปาโล จำนวน 3 เที่ยวบิน/ สัปดาห์ เริ่มเดือนมีนาคม 2554 และสายการบินเอมิเรตส์ แอร์ไลน์ เปิดเส้นทางบินตรงกรุงเทพ – บัวโนส ไอเรส จำนวน 7 เที่ยวบิน / สัปดาห์ เริ่มมกราคม 2555 ส่วนในไตรมาสที่ 4 ถูมิภาคนี้ได้รับผลกระทบจากวิกฤตอุทกภัยเช่นกัน แต่สามารถฟื้นตัวกลับอย่างรวดเร็วในเดือนธันวาคม อย่างไรก็ตามยังมีสิ่งที่ต้องจับตามองอย่างต่อเนื่อง คือ วิกฤตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในภูมิภาคอเมริกาและยุโรป ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจทั่วโลกให้ตกต่ำลงอีกครั้ง ซึ่งอาจมีผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าประเทศไทยในปี 2555

สถานการณ์การท่องเที่ยวของคนไทยภายในประเทศ ทั้งปี 2554 คาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางประมาณ 98 ล้านคนครั้ง ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 104.5 ล้านคนครั้ง สร้างรายได้ประมาณ 407,600 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 421,100 ล้านบาท จากผลของกำลังซื้อที่หดตัวอย่างรุนแรงในช่วไตรมาสสุดท้ายหลังจากเหตุวิกฤต ฉุดให้การเดินทางที่มีแนวโน้มเติบโตในช่วง 9 เดือนแรกสดุดลง

สถานการณ์การท่องเที่ยวในภาคกลางและกรุงเทพมหานคร เหตุอุทกภัยในครึ่งปีหลังของปี 2554 ส่งผลให้สถานการณ์ท่องเที่ยวตลอดปีของภาคกลางหดตัว ถึงแม้จะขยายตัวได้ดีในครึ่งปีแรก โดยมีกิจกรรมไหว้พระ เที่ยวตลาดโบราณ วิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำภาคกลางเป็นจุดขายหลัก และมีนักท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี และอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แต่เหตุอุทกภัยที่เริ่มกระทบต่อพื้นที่ภาคกลางตั้งแต่เดือนกรกฏาคม ทำให้คนไทยในภาคกลางไม่อยู่ในอารมณ์ที่จะท่องเที่ยวเนื่องจากถนนหลายสายถูกตัดขาด แหล่งท่องเที่ยวและบ้านเรือนถูกน้ำท่วมขัง พงเสียหาย ที่เสียหายหนักที่สุดได้แก่ กรุงเทพมหานครและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยเสียหายทั้งในด้านแหล่งท่องเที่ยวและการเสียโอก่ศทางธุรกิจ

คาดการณ์สถานการณ์การท่องเที่ยวของภาคกลางและกรุงเทพมหานคร ในปี 2555 ยังคงเติบโตได้ เนื่องจากได้เปรียบในด้านการเดินทางที่สะดวกสบายและพื้นที่ใกล้กรุงเทพมหานคร ที่เป็นนักท่องเที่ยวตลาดหลัก รวมทั้งมีค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงนัก นักท่องเที่ยวชาวไทยจึงเดินทางได้บ่อย ทั้งยังมีการนำเสนอสินค้าท่องเที่ยวที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว ด้วยการนำเสนองานประเพณีและกิจกรรมส่งเสิรมการท่องเที่ยวภายใต้ภาพลักษณ์  “เที่ยวหลากหลาย สไตล์ภาคกลาง” ซึ่งประกอบไปด้วย การท่องเที่ยวเรียนรู้วิถีชีวิตภาคกลาง ไหว้พระ 9 วัด ท่องเที่ยวทางน้ำในแม่น้ำภาคกลาง ท่องเที่ยวแบบย้อนยุค เป็นต้น คาดว่างานประเพณีและกิจกรรมกาท่องเที่ยวจะสร้างความสนใจให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี

 

    สถานการณ์การท่องเที่ยวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปี 2554 สถานการณ์การท่องเที่ยวของภาคตะวันออกเฉียงเหนือขยายตัวได้ดีตลอดปีถึงแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากการเสนอข่าวการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนในเขตอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมสูง แต่การจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี การเปิดให้เส้นทางการบินจากรุงเทพไปยังจังหวัดรอง อาทิ ร้อยเอ็ด สกนคร นครพนม เลย บุรีรัมย์ และเส้นทางข้ามภูมิภาค อาทิ เส้นทางเชียงใหม่ – อุดรราชธานี และเชียงใหม่ – ขอนแก่น รวมทั้งอากาศที่หนาวเร็วกว่าทุกปี สร้างโอกาสใหกับแหล่งท่องเที่ยวของถาคตะวันออกเฉียงเหนือให้เป็นที่รู้จัก น่าสนใจและเดินทางเข้าถึงได้สะดวกขึ้น

คาดการณ์สถานการณ์การท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือปี 2555 จะมีแนวโน้มเติบโตได้ดีแม้ภาพลักษณ์จะเป็นแหล่งเรียนรู้ อู่อารยธรรม จะยังไม่ชัดเจนในมุมมองนักท่องเที่ยวของประเทศไทย แต่จากการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างต่อเนื่อง ด้วยการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวงานประเพณี สามารถสร้างความสนใจให้กับนักท่องเที่ยวได้อย่างค่อนข้างมาก

 

สถานการณ์การท่องเที่ยวในภาคเหนือ ในปี 2554 ขยายตัวตลอดทั้งปี ถึงแม้นว่าจะชะลอตัวเล็กน้อยในไตมาสที่ 3 จากเหตุอุทกภัยทำให้เส้นทางรถถูกตัดขาด อย่างไรก็ตามมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีของแหล่งท่องเที่ยวรองในภูมิภาค อาทิ แม่ฮ่องสอน น่าน เพชรบูรณ์ เมื่อผนวกกับอากาศที่หนาวเย็นและการตอบรับที่ดีของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่องานเทศกาลและการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวภาคเหนือในช่วงปลายปีทำให้เดือนธันวาคมที่มีการจัดงานพืชสวนโลกที่จังหวัดเชียงใหม่มีอัตราจองห้องพักสูงถึงร้อยละ 90

คาดการณ์สถานการณ์การท่องเที่ยวภาคเหนือปี 2555 จะมีการเติบโตในอัตราที่สูง เนื่องจากความสวยงามของทิวทัศน์และอากาศที่หนาวเย็นในฤดูหนาว ยังคงเป็นจุดแข็งสำคัญของภาคเหนือที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวไทยเข้าสู่พื้นที่ นอกจากนี้การเดินทางที่สะดวกขึ้นจากการเปิดเที่ยวบินจากกรุงเทพไปยังจังหวัดรอง เช่น เพชรบูรณ์ น่าน แม่สอด ลำปาง รวมถึงการเปิดเที่ยวบินจากภาคใต้สู่ภาคเหนือ การจัดงานส่งเสริมการท่องเที่ยวเช่นงาน มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติราชพฤกษ์ 2554 ต่อเนื่องถึงปี 2555 และการส่งเสริมการท่องเที่ยวในช่วงนอกฟดูท่องเที่ยว จะกระตุ้นการเดินทางการท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี

 

สถานการณ์การท่องเที่ยวในภาคตะวันออก ในปี 2554 ขยายตัวสูงเนื่องจากมีกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง และไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตอุทกภัย ทั้งนี้เมืองพัทยาและระยอง ยังคงเป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักของภูมิภาค ขณะที่แหล่งท่องเที่ยวที่ไม่ติดทะเล มีการจัดงานส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยการชูจุดเด่นด้านผลไม้ และความเป็นแหล่งท่องเที่ยวด้านธรรมชาติที่สมบูรณ์ ดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าพื้นที่

คาดการณ์สถานการณ์การท่องเที่ยวของภาคตะวันออก จะยังคงเติบโตในอัตราที่สูงต่อเนื่อง ทั้งนี้จุดขายหลักของภาคตะวันออกคือการเป็น ทะเลของคนไทย โดยมีกิจกรรมที่สนุกสนานเป็นองค์ประกอบที่สำคัญทะเลภาคตะวันออกมีระยะทางใกล้กรุงเทพ จึงเป็นตลาดนักท่องเที่ยวหลัก จึงตอบสนองการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจากรุงเทพและจังหวัดใกล้เคียงในช่วงวันหยุด เมื่อผนวกกับกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ เช่น กีฬา ดนตรี การส่งเสริมการประชุมสัมมนาในภูมิภาค และความมีชื่อเสียงของผลไม้ จึงเป็นปัจจัยในการดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี

 

สถานการณ์การท่องเที่ยวในภาคใต้  ในปี 2554  ขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง ถ

หมายเลขบันทึก: 500987เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2012 22:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กันยายน 2012 22:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)


ให้ข้อมูลความรู้ดีมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท