DBA : แนวทางในการพัฒนาโคนมไทย เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน


แนวทางในการพัฒนาโคนมไทย เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

แนวทางในการพัฒนาโคนมไทย  เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

                                                ธนัณชัย สิงห์มาตย์   54020202

 

                                หากกล่าวถึงการเลี้ยงโคนมของประเทศไทยหลายท่านคงนึกถึงแถวสระบุรี ปากช่อง             อะไรทำนองนี้เพราะที่นี่มีการเลี้ยงโคนมเยอะมาก เนื่องจากการเลี้ยงโคนมเป็นสินค้าเกษตรตัวเดียวที่ไม่ต้องรอให้ฝนตกตามฤดูกาล เพราะการเลี้ยงโคนมนั้นสามารถให้ผลผลิตกับเกษตรกรได้ตลอดทั้งปี นั้นหมายความว่าเกษตรกรสามารถเก็บผลผลิตได้ตลอดทั้งปี ไม่เหมือนการทำการเกษตรแบบอื่นต้องรอฤดูฝน เช่น การทำนา ทำไร่เป็นต้น และปัญหาที่ตามมาคือเวลามีน้ำท่วมหรือช่วงที่ผ่านมาก็จบกัน แต่การเลี้ยงโคนมนั้นสามารถให้ผลผลิตกันทั้งปีกันเลยที่เดียว  และหากจะย้อนกันไปดูจริงๆแล้ว อาชีพการเลี้ยงโคนมเป็นอาชีพพระราชทานมีการเลี้ยงในประเทศไทยมามากกว่า 50 แล้วและยังได้รับการส่งเสริมทั้งภาครัฐและเอกชนรวมทั้งมหาวิทยาลัยต่างๆให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง แต่ถึงกระนั้นการเลี้ยงโคนมของประเทศไทยเราเองยังต้นทุนสูง หากเปรียบกับประเทศ นิวซีแลนด์ และประเทศออสเตเลีย ซึ่งสองประเทศนี้ได้มีการทำ FTA กับประเทศแล้ว ผู้เขียนคิดว่าคงจะมีผลกระทบต่อการผลิตน้ำนมดิบในประเทศของเราเป็นแน่แท้  หากเกษตรของเราไม่รีบปรับตัว  แล้วสิ่งที่กลัวมากที่สุดคือ กลัวอาชีพการเลี้ยงโคนมจะสูญหายไป เนื่องจากต้นทุนที่สูงขึ้นและน่ำนมดิบก็จะทะลักเข้ามาทั้งคุณภาพที่ดีกว่าและราคาที่ถูกกว่า จนทำให้ไม่สามารถแข่งขันได้

สถานการณ์ของกิจการโคนมในประเทศไทย

                การเลี้ยงโคนมของประเทศมีมาช้านานและมีการพัฒนาการมาเรื่อยๆ และมีการสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร ประมาณ 23,000 ครัวเรือน หรือประมาณ 130,000 คน และมีผู้ประกอบการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมนี้มากมายตลอดทั้งปี เพราะว่าเกษตรกรของไทยเราสามารถผลิตได้ตลอดทั้งปี และสามารถทำรายได้ประมาณ 30,000 บาทต่อปี ซึ่งเป็นข้อมูลที่น่าสนใจมาก ผู้เขียนเองมองว่าหากเราสามารถปรับตัวและสามารถพัฒนาหรือหาแนวทางในการลดต้นทุนในการผลิต การขนส่ง หรือแม้นกระทั่งทุกกระบวนการได้ ตลาดหรืออุตสาหกรรมโคนมน่าสนใจมากๆ ทีนี้เรามาดูปัญหาที่เกษตรกรของเรากำลังเผชิญอยู่แล้วกันนะครับ

                ปัญหาของอุตสาหกรรมโคนม

-                                       สำหรับต้นทุนในการผลิตของโคนมของไทยนั้นเป็นค่าอาหารเข้นสำหรับในการเลี้ยงแม่โคนมและเป็นต้นทุนในการในการผลิตน้ำนมดิบประมาณ 8.60 บาทต่อน้ำนมดิบ 1 กิโลกรัม ในส่วนของประเทศ ออสเตเลีย และ ประเทศนิวซีแลนด์ตกเฉลี่ย 6-8 บาทต่อกิโลกรัมซึ่งถูกกว่าบ้านเราเห็น และหากจะดูในเรื่องของคุณภาพของน้ำนมดิบเราแพ้เห็น จึงเป็นสิ่งที่น่าคิดสำหรับเกษตรไทยเราว่าหากน้ำนมดิบทะลักเข้ามาและเราท่านๆจะอยู่เช่นไรหากไม่ปรับตัว ซึ่งวิธีการปรับตัวนั้นผู้เขียนเองจะเสนอไว้ในตอนท้ายอีกทีหนึ่ง

-                                       เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นผู้เลี้ยงรายย่อยและมีขนาดฟาร์มขนาดเล็ก ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการขนส่งสูง ในการแก้ไขปัญหานี้อาจจะต้องมีศูนย์รวลรวมน้ำนมดิบใกล้ๆเพื่อให้เกิดการขนส่งที่เกิดความคุ้มค่าที่สุดอาจใช้ระบบของโลจิสติกการขนส่งเข้ามาช่วยในการลดตุ้นทุนตรงนี้ได้

-                                       ฟาร์มของเกษตรส่วนใหญ่ยังไม่ได้มาตรฐาน และบางครั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงในการปรับปรุงฟาร์มให้มีมาตรฐานในส่วนนี้ผู้เลี้ยงเองหรือนักวิชาการนักวิจัยต้องเข้าไปช่วยเหลือเกษตรกรในการวางระบบของฟาร์มในมุมมองของผู้เขียนเองเห็นว่าเราควรวางระบบให้เป็นฟาร์มที่ได้มาตรฐานเราสามารถควบคุมการผลิตได้ มีการทำบัญชีฟาร์ม การควบคุมการให้อาหารโคนม ผู้เขียนมองว่าหากเราสามารถทำได้ ก็สามารถที่จะช่วยลดต้นทุนในส่วนนี้ได้

-                                       ปัญหาการขาดแคลนทุ่งหญ้าในการเลี้ยงโคนม ขาดแหล่งอาหารหยาบ ขาดพื้นที่เลี้ยง และอาหารข้นมีราคาแพงขึ้น ปัญหานี้อย่างในมุมมองของผู้เขียนสามารถแก้ไขปัญหาได้กล่าวคือ เราสามาถหาวัตถุดิบเหลือเศษเหลือจากการทำการเกษตร เช่น ฟางข้าว หลังจากฤดูเก็บเกี่ยว หรือแม้กระทั่งเข้าโพดที่หลังฤดูเก็บเกี่ยวสิ่งเหล่านี้สามารถเป็นอาหารโคนมได้ทั้งสิ้น ผู้เขียนเองเคยเห็นชาวบ้านในภาคะวันออกเฉียงเหนือที่เลี้ยงโคนมแต่เป็นการเลี้ยงไม่มากคือจำนวนการเลี้ยงเป็นฟาร์มขนาดเล็ก พอหลังจากเก็บเกี่ยวจากฤดูการทำนาแล้วชาวบ้าน ก็ใช้ฟางข้าวมาเป็นอาหารโคนม และในช่วงที่หมดฤดูทำนาก็มีการปลุกมันสำปะหลัง ซึ่งใบมันสำปะหลังก็นำมาทำเป็นอาหารของโคนมได้อีกเช่นเดียวกัน ผู้เขียนมองว่าหากเราสามารถประยุกต์การเลี้ยงโคนมเข้ากับบริบทของท้องถิ่นได้ก็จะสามารถสามารถลดต้นทุนในส่วนนี้ได้เช่นเดียวกัน

-                                       ปัญหาเจ้าหน้าที่มีไม่พอเพียงในการให้คำปรึกษา  เป็นปัญหาหนึ่งในการที่เจ้าหน้าที่มีน้อยและการเลี้ยงโคนมในประเทศไทยคือเป็นการเลี้ยงในรูปแบบฟาร์มขนาดเล็กไม่และกระจายอยู่ทั่วไปจึงทำให้เจ้าหน้าที่ดูและไม่ทั่วถึง

-                                       การจัดทำฐานข้อมูลการเลี้ยงโคนมยังไม่สมบูรณ์ ผู้เขียนเห็นว่าการเลี้ยงโคนมของประเทศไทยเราจะต้องมีการทำฐานข้อมูลการเลี้ยงโคนม เพื่อใช้ในการวางแผนในด้านผลิตได้เช่น มีฐานข้อมูลว่าปัจจุบันเรามีแม่โคนมกี่ตัว มีโคนมรุ่นๆ กี่ตัว และลูกกี่ตัว เพื่อใช้ในการวางแผนการผลิตได้ แต่ปัจจุบันเราไม่ทราบข้อมูลเลยไม่สามารถวางแผนการผลิตทั้งระบบได้ วิธีการแก้ไขปัญหาคือ การทำฐานข้อมูลโคนมทั้งระบบ เพื่อใช้ในการวางแผนการผลิตได้

-                                       ปัญหาคนไทยบริโภคนมของคนไทยค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับต่างประเทศ คนไทยเองดื่มนม 12 ลิตร /คน /ปี ในขณะที่สหรัฐอเมริกาดื่มนม 120 ลิตร /คน /ปี ยุโรป 70 ลิตร /คน /ปี และมาเลเซียเอง ก็ 50 ลิตร/ คน /ปี ดังนั้นจึงถือว่าเป็นวาระเร่งด่วนเลยก็ว่าได้จะต้องการรณรงค์ให้คนในประเทศไทยหันมาดื่มนมให้เพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันเองผู้เขียนมองว่าวัยรุ่นหรือบุคคลทั่วไปหันไปดื่มเครื่องดื่มอัดลมและน้ำผลไม้มากกว่าที่จะมาดื่มนม หากเราสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้และทำให้คนในประเทศไทยของเราหันมาดื่มนมเพิ่มมากขึ้นก็จะส่งผลดีค่ออุตสาหกรรมโคนมเป็นอย่างแน่นอน

-                                       การเปิดเสรีทางการค้า การเปิดเสรีทางการค้าก็นับว่าเป็นปัญหาพอควรในมุมมองของผู้เขียนเนื่องจากว่าต้นทุนในการผลิตของเราสูงแต่ในต่างประเทศ เช่น ออสเตเลีย นิวซีแลนด์ต้นทุนในการผลิตต่ำนอกจากนั้นในเรื่องของคุณภาพของน้ำนมดิบก็มีคุณภาพสูง เห็นที่เกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องต้องเร่งในการปรับตัวเพื่อให้สามารถแข่งขันได้

-                                       ราคานมและผลิตภัณฑ์นมสูง เพราะราคาน้ำนมดิบมีการปรับตัวสูงขึ้น อันนี้ก็เป็นปัญหาหนึ่งที่ต้องทำการเร่งแก้ไขปัญหา ในมุมมองของผู้เขียนหากน้ำนมดิบจากต่างประเทศเข้ามาและมีราคาถูก ก็จะทำให้เกิดปัญหากับเกษตรกรในการเลี้ยงโคนม ดังนั้นเกษตรก็ควรจะต้องเร่งปรับตัวในการลดต้นทุนการผลิตและการขนส่ง

-                                       ผู้ประกอบการกำหนดมาตรฐานในการรับซื้อที่เน้นมาตรฐานของน้ำนมดิบ ปัญหานี้ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่เกษตรกรจะต้องให้ความสำคัญในเรื่องของคุณภาพของน้ำนมดิบด้วยเนื่องจากหากน้ำนมดิบไม่ได้คุณภาพก็จะทำให้ผู้ประกอบการไม่ได้รับซื้อก็จะเป็นปัญหาของเกษตรกรได้เป็นต้น

จากที่กล่าวมาทั้งหมดก็เป็นปัญหาของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในประเทศไทยของเราดังนั้นจึงมีความจำเป็นแบบเร่งด่วนในการระดมกำลังเพื่อให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในมุมมองของผู้เขียนนั้นในระดมช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมเครื่องมือที่น่าจะนำมาใช้คือ logistic and Supply Chain Management ในมุมของผู้เขียนเห็นว่าควรนำมาใช้เนื่องจากว่าเพราะเราสามารถแกไขปัญหาทั้งระบบและสามารถช่วยในการลดต้นทุนได้ เป็นการแก้ไขปัญหาทั้งกระบวนการกล่าวคือเป็นแก้ไขปัญหาตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ จนกระทั่งถึงปลายน้ำ  ในที่นี้ผู้เขียนจะขอยกตัวอย่างรูปแบบการพัฒนาโคนมในจังหวัดมหาสารคาม เพื่อเป็นโมเดลหรือเป็นรูปแบบในการพัฒนาในจังหวัดอื่นอีกต่อไป จังหวัดมหาสารคามเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีการเลี้ยงโคนม และในปัจจุบันนั้นมีเกษตรผู้เลี้ยงโคนมอยู่ประมาณ 108 ราย เกษตรกรเป็นเป็นสมาชิกโคนม 2 แห่งคือ สหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมจังหวัดมหาสารคาม และสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมโคกก่อ เกษตรกรก็มีปัญหาในการเลี้ยงโคนม เช่น การให้ผลผลิตต่ำ และนอกจากนั้นก็มีในเรื่องภาวะต้นทุนในการผลิตสูง ในการผลิตสูงนั้นส่วนใหญ่เป็นค่าอาหารข้นของโคนมเป็นสะส่วนใหญ่ นักวิชาการหลายท่านให้ความสำคัญในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรเหล่านั้น ผู้เขียนเองมีเพื่อนที่เป็นนักวิชากรในด้านนี้ คือจบด้านอาหารสัตว์ จากมหาลัยขอนแก่นมา หลังจากที่ได้มีโอกาสในการพูดคุยและแลกเปลี่ยนและแนวคิดของนักวิชาการท่านนี้ก็พอจะรู้ว่า เขามีแนวคิดในการแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในจังหวัดมหาสารคาม กล่าวคือเขาเริ่มจากการวิจัยในการพัฒนาเศษวัสดุท้องถิ่นเพื่อนำมาใช้เป็นอาหารให้กับโคนม หลังจากที่ทำงานวิจัยในด้านนี้มานามพอสมควรเขาก็สามารถผลิตอาหารโคนมที่สามารถลดต้นทุนได้ โดยอาหารของโคนมที่ว่านี้ เป็นการผลิตที่มีส่วนผสมของมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นสูตรที่ชาวบ้านสามารถทำใช้เองได้ และหลังจากนั้นในชุมชนที่ผู้เขียนเองอาศัยอยู่ก็มี โรงงานผลิตเบียร์ซึ่งกากเบียร์ที่เป็นสิ่งที่เหลือจากการผลิตนั้นก็เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมของชุมชนในระแวกนั้น นักวิชาการท่านนี้ก็นำมาคิดเป็นสูตรของอาหารโคนม ซึ่งก็ประสบความสำเร็จอีก สามารถนำกากเบียร์มาทำเป็นอาหารสัตว์ได้อีกด้วย นอกจากจะช่วยกำจัดในเรื่องของเสียที่โรงงานผลิตเบียร์แล้วยังสามารถเป็นอาหารให้กับโคนมได้อีกด้วย นอกจากนั้นในฤดูทุเรียนออก ในตลาดก็มีการเอาทุเรียนไปขาย และผลที่ตามคือเปลือกทุเรียนก็เป็นปัญหาของชุมชนอีกเช่นกัน นักวิชาการท่านนี้ก็นำเปลือกทุเรียนมาทำเป็นอาหารโคนม ก็สามารถทำได้เช่นกัน จากที่ผู้เขียนกล่าวมาทั้งหมดสะท้องให้เห็นว่า หากเรามีการร่ววมือกันระหว่างนักวิชาการ เกษตรกร ก็ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาได้เช่น กัน แต่ในที่นี้ผู้เขียนกลับเห็นว่าเราสามารถลดต้นทุนในเรื่องของการผลิตได้แล้ว แต่ถ้ามจะให้มีการลดต้นทุนทั้งระบบก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำระบบ logistic and Supply Chain Management เข้ามาใช้ในการวางแผน แรกเริ่มในมุมของผู้เขียนเห็นว่า Logistic เป็นเฉพาะเรื่องของการขนส่งแต่จริงๆแล้วกลับไม่ใช่ เราสามารถนำระบบนี้มาช่วยในการลดต้นทุนได้ทั้งระบบเลยทีเดียว ผู้เขียนเองได้นำแนวคิดนี้มาจากนักวิชาการท่านหนึ่งและนำมาปรับโมเดลในการพัฒนา ผู้เขียนเองเชื่อว่าหากนำโมเดลนี้มาใช้ก็สามารถพัฒนาโคนมได้อย่างยั่งยืน เป็นต้น

 

 

 

                                                                                                         

 

 

         
   
   

ปลายน้ำ (ผู้จำหน่าย

   

หรือผู้รับซื้อผลิตภัณฑ์)

   
  •     อบต. (นมโรงเรียน)
  •     ร้านค้าทั่วไป
  •     ห้างร้านต่างๆ
           
   
         
   
   

กลางน้ำ (กลุ่มผู้แปรรูปผลิตภัณฑ์นม)

   
  •     สหกรณ์โคนมโคกก่อ จำกัด
  •     สหกรณ์โคนมกันทรวิชัย
  •     องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย    
  •     นมโรงเรียน
  •     นมสดพาสเจอร์ไรซ์พร้อมดื่ม
  •     นมโคโคกก่อ
  •     นมชาใบหม่อน
  •     นมยูเอชทีไทยเดนมาร์ค
                               

 

   

    

   

 

   
   
         
   
   

ต้นน้ำ     (กลุ่มผู้ผลิต)   

   
  •     กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม
  •     กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง
  •     กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์
  •     กลุ่มเกษตรกรผู้อัดฟางก้อน
  •     กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด
  •     กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์
  •     โรงงานแป้งมันคาร์กิลสยาม/กากมัน
  •     โรงงานน้ำตาล/กากน้ำตาล
                               
   

 

 

              

 

 

 

 

 

 

 

         
   
   

เศษวัสดุท้องถิ่น

   

มันสำปะหลัง

   

เศษเหลือทางการเกษตร

   

เช่น     ฟางข้าว, ข้าวโพด,

   

กากน้ำตาล

   

หญ้าและพืชอาหารสัตว์

   

 

   

 

   

 

   

 

   

 

   

 

   
   

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปแบบการพัฒนาโคนมเพื่อความยั่งยืน

จากรูปแบบการพัฒนาโคนมแบบยั่งยืนผู้เขียนของอธิบายดังนี้ในการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานของโคนมนั้นจำเป็นอย่างที่จะต้องมีการพัฒนาทั้งหมด การพัฒนาทั้งระบบหมายความว่า เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมองให้ครบทั้งระบบ เช่น ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ผู้เขียนขอเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาในระบบต้นน้ำก่อนเลยกล่าวคือ

ระบบต้นน้ำ ( กลุ่มผู้ผลิต ) ในระบบต้นน้ำนั้นเป็นระบบของการผลิตในการผลิตหลักสำคัญคือเราจะผลิตอย่างไรให้เกิดต้นทุนที่ต่ำ อย่างผู้เขียนเคยกล่าวว่าต้นทุนในการผลิตน้ำนมดิบของประเทศของเรานั้นตกประมาณ 8.60 บาทต่อน้ำนม 1 กรัมในขณะที่ออสเตเลียหรือนิวซีแลนด์ต้นทุนในการผลิตของเขาตกประมาณ 6 – 8 บาทไม่เกิน 8 บาทในขณะของไทยเราเองมีแนวโน้มสูงขึ้นด้วยซ้ำ ผู้เขียนเองมีแนวคิดในด้านการรวมกลุ่มระบบต้นน้ำ  กล่าวคือมีกลุ่มผู้เลี้ยงโคนม กลุ่มผู้ปลูกมันสำปะหลัง  กลุ่มผู้ปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ กลุ่มผู้อัดฟางก้อน กลุ่มผู้ปลูกข้าวโพด  กลุ่มผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ กลุ่มโรงงานกากน้ำตาล แนวคิดคือหากเราสามารถบริหารจัดการการรวมกลุ่มเหล่านี้ได้ก็จะส่งผลต่อผู้ผลิตในต้นน้ำได้กล่าวคือ เราอาจจะใช้กระบวนการจัดการความรู้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน กล่าวคือ กลุ่มผู้ปลูกมันสำปะหลังเองก็สามารถนำวัสดุเศษเหลือจากการปลูกมันสำปะหลังมาทำเป็นอาหารสัตว์โคนม และกลุ่มผู้ปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ก็สามารถมีแหล่งขายหญ้าที่ดีขึ้น กลุ่มผู้อัดฟางก้อนก็มีแหล่งการขายสินค้า หรือแม้กระทั่งกลุ่มผู้ปลูกข้าวโพดก็สามารถขายเศษวัสดุที่เหลือจากข้าวโพดเป็นอาหารของโคนมได้ เช่นกัน ในส่วนของกลุ่มผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ก็สามารถขายปุ๋ยอินทรีย์ให้กับเกษตรกลุ่มผู้ปลูกหญ้าและข้าวโพดได้ โรงงานกากน้ำตาลก็นำมาเป็นส่วนผสมในการผลิตปุ๋ยชีวภาพ จากวงจรในระบบต้นน้ำผู้เขียนคิดว่าหากเราสามารถบริหารจัดดการมีหน่วยงานกลางหรือคนกลางคอยให้การประสานงานเป็นการพึ่งพาซึ่งกันและกันผู้เขียนเองเชื่อเหลือเกินว่าต้นทุนในการผลิตลดลงได้แน่นอน ทั้งนี้อาจนำนักวิชาการที่ผลิตอาหารสัตว์ นักวิชาการในด้านการควบคุมในเรื่องคุณภาพของน้ำนมดิบเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยก็จะสามารถลดต้นทุนในการผลิตได้แน่นอน

ระบบกลางน้ำ (กลุ่มผู้แปรรูปผลิตภัณฑ์นม) ในส่วนของกลุ่มกลางน้ำจะเกี่ยวข้องกับ สกรณ์โคนม สหกรณ์โคนมน้ำเป็นผู้รับซื้อน้ำนมดิบจากเกษตรกร และบางกลุ่มก็มีการผลิตนมพลาสเจอร์ไรพร้อมดื่ม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 500981เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2012 21:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กันยายน 2012 21:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท