ความกล้าทางจริยธรรมของผู้นำทางการศึกษา


ผู้นำทางการศึกษาควรสร้างบรรยากาศทางจริยธรรมในโรงเรียน

 ความกล้าทางจริยธรรมของผู้นำทางการศึกษา                                                 

                                                       ประชุม   โพธิกุล


                          ------------------------------

ผู้นำทางการศึกษาได้รับการส่งเสริมให้สร้างบรรยากาศทางวิชาการที่เน้นในเรื่องการพัฒนาหลักสูตรกระบวนการเรียนการสอน สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีในโรงเรียนอย่างไรก็ตามมิได้ละเลยความเป็นผู้นำทางด้านจริยธรรม คำว่า จริยธรรม (Ethic) เป็นสาขาหนึ่งของวิชาปรัชญา หมายถึง การปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับความเป็นจริง (Reality) แรงขับดันที่อยู่เบื้องหลังคือ ความสัมพันธ์โปรแกรมต่าง ๆ ของโรงเรียนและภารกิจของโรงเรียนผู้นำด้านจริยธรรม เป็นองค์ประกอบที่สำคัญด้านคุณธรรมของผู้นำทางด้านวิชาการเป็นองค์ประกอบที่บูรณาการอยู่ในโรงเรียนที่ดี ผู้นำด้านจริยธรรมเกี่ยวข้องกับความยุติธรรม ความเสมอภาค ความมุ่งมั่น ความรับผิดชอบ และพันธกิจ

ผู้นำทางจริยธรรมเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรที่สำคัญแบบเป็นทางการในหลักสูตรการฝึกอบรมผู้บริหารการศึกษาของสถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา สมมติฐานทางความคิด ก็คืออาชีพผู้นำทางการศึกษาเป็นวิชาชีพต้องมีเหตุผลทางจริยธรรม แต่เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เลวร้ายในอดีตชี้ให้เห็นว่าในทุกวิชาชีพอยู่ภายใต้กิจกรรมที่ขาดเหตุผลทางจริยธรรม

การปฏิบัติการของผู้นำทางการศึกษาควรเป็นไปตามข้อแนะนำทางจริยธรรมที่เป็นขนบธรรมเนียมดั้งเดิม และผสมผสานกับค่านิยมของสังคมประชาธิปไตย ข้อแนะนำทางจริยธรรมรวมถึงความเคารพนับถือสมาชิกทุกคนของสังคม อดทนกับความแตกต่างในด้านวัฒนธรรมและความคิดเห็น ความเสมอภาคของบุคคล การกระจายทรัพยากรอย่างเป็นธรรม

ความเคารพนับถือสมาชิกทุกคนในสังคม สังคมไทยเป็นสังคมแบบพหุนิยม (นิยมความหลากหลาย) ผู้นำทางการศึกษาต้องเคารพปัจเจกบุคคลและผู้ที่เป็นเจ้าของชุมชนของโรงเรียน ซึ่งมีเอกลักษณ์ผู้นำทางการศึกษาต้องตอบสนองชุมชนด้วยความเคารพนับถือ

อดทนต่อวัฒนธรรมและความคิดเห็นที่แตกต่าง ผู้นำต้องจัดระบบและกล้านำสมาชิกที่มีความเป็นอิสระในสังคมที่มีความหลากหลาย ในสังคมประชาธิปไตยสมาชิกอาจมาจากปัจเจกบุคคล ที่เป็นชนกลุ่มน้อยหรือมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน กลุ่มที่หลากหลายนำความคิดเห็นที่หลากหลายในวิธีการจัดการศึกษาที่จะทำให้เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมที่โรงเรียนเป็นอยู่ และผลลัพธ์ของการศึกษาที่ควรจะมีขึ้น ผู้นำทางการศึกษา ควรส่งเสริมความหลากหลายและแพร่เชื้อความหลากหลายเพื่อจะสร้างจิตวิญญาณของชุมชน อดทนต่อความหลากหลาย ป้องกันอคติ และสนับสนุนมุมมองที่แตกต่างในการตรวจสอบประเด็นต่าง ๆ ทางการศึกษา

ความเสมอภาคของบุคคล บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม มีโอกาสเท่าเทียมกันในการสร้างความสำเร็จให้ตนเอง มีสิทธิเท่าเทียมกันในการเข้ามารับบริการและทรัพยากรต่าง ๆ โปรแกรมต่าง ๆ ที่โรงเรียนจัดให้

มีการกระจายทรัพยากรอย่างเท่าเทียมกัน โรงเรียนส่วนมากดำเนินภายใต้ฐานการเงินที่มีสภาพขาดแคลนผู้บริหารโรงเรียนต้องแบ่งสรรทรัพยากรให้เป็นธรรมกับครู และจัดสรรให้นักเรียนได้รับผลประโยชน์สูงสุดทางการศึกษา ผู้บริหารต้องพิจารณาอย่างเป็นธรรมที่สุด มีประสิทธิภาพมากที่สุด ในการใช้ทรัพยากรของโรงเรียน

ผู้นำควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำลายความไว้เนื้อเชื่อใจ และใช้ความเป็นผู้นำทางจริยธรรม โดยมุ่งเน้นตามข้อแนะนำต่อไปนี้

   1.พัฒนาวิสัยทัศน์ให้สอดคล้องกับปรัชญา การจัดการศึกษาที่ดี ผู้บริหารที่ไม่มีวิสัยทัศน์บนพื้นฐานทางปรัชญา การจัดการศึกษา ดูเหมือนจะทำให้เกิดความไม่สอดคล้องกับการตัดสินใจและการสร้างมนุษย์สัมพันธ์ ผลประโยชน์ส่วนตน และผลประโยชน์ทางการเมืองจะมาคุมการปฏิบัติผลก็คือจุดมุ่งหมาย

    กลายเป็นวิถีไป ผู้บริหารต้องมีเหตุผลในการปฏิบัติ เขาต้องมีเหตุผลอ้างอิงสนับสนุนได้ในการปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ เหตุผลอยู่บนพื้นฐานของหลักการมิใช่อารมณ์ หรือการหยั่งรู้ผู้บริหารต้องยืนอยู่บนหลักการที่สามารถทดสอบได้ ผู้บริหารต้องค้นหาปรัชญาที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมประชาธิปไตย และบุคลิกลักษณะส่วนตัวของเขา

2.เป็นผู้นำทางด้านคุณธรรมอย่างแข็งขันผู้นำทางการศึกษาควรสร้างบรรยากาศทางจริยธรรมในโรงเรียน บรรยากาศทางจริยธรรมมิใช่เป็นการประมวลกฎเกณฑ์หรือกฎหมาย แต่เป็นเรื่องเจตคติที่เหนือกว่าซึ่งต้องรับผิดชอบให้สอดคล้องกับการปฏิบัติอย่างรอบคอบ การตัดสินใจในแต่ละครั้งผู้บริหารจะต้องสร้างบรรยากาศทางจริยธรรม ถ้าผู้บริหารไม่เอาผิดกับการสอนที่ย่ำแย่ เป็นบรรยากาศของการสนับสนุนเช่นนั้น ก็เท่ากับเป็นการยอมรับการฉ้อฉลต่อชุมชนและนักเรียน ผู้บริหารที่ไม่เอาผิดกับนักเรียนที่ขาดเรียนก็เท่ากับโรงเรียนไม่มีความสำคัญ

ผู้บริหารต้องถามและตอบคำถามต่อไปนี้ ทำไมโรงเรียนจึงจัดตั้งขึ้น เราต้องการประสบความสำเร็จในเรื่องอะไร พันธกิจอะไรที่โรงเรียนต้องทำเพื่อนักเรียนและชุมชน พฤติกรรมของนักเรียนและครูเป็นเช่นไรที่มีความสำคัญต่อชุมชนของโรงเรียน คำตอบและคำถามเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดรูปแบบบรรยากาศทางจริยธรรมของโรงเรียน

3.  การแบ่งแยกควรอยู่ในภาวะที่ควรถูกตำหนิการแบ่งแยกเกิดขึ้นในรูปแบบที่ละเอียดอ่อน การเลือกที่รักมักที่ชังเกิดขึ้นในห้องพักครูที่ซึ่งสังเกตเห็นเป็นเชิงลบได้ถูกละเลยในห้องแนะแนวนักเรียนที่ไม่ได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ควรได้รับการส่งเสริมทางวิชาชีพมากกว่าศึกษาต่อทางวิชาการ และในชั้นเรียนการดูหมิ่นได้รับการเพิกเฉย

ผู้บริหารต้องไม่อดทนกับการเลือกที่รักมักที่ชัง ผู้บริหารต้องวินิจฉัยว่าเป็นเรื่องจริยธรรม และเป็นประเด็นทางการศึกษา วิธีเดียวที่จะทำให้ ครู นักเรียน ชุมชนมีความตระหนักในเรื่องนี้สูงขึ้นก็โดยการพัฒนาบุคลากรผ่านมาเป็นนโยบาย การสร้างเจตคติมีการปฏิบัติ มีการตรวจสอบ ติดตาม

4.  การสอนที่ดีเป็นหน้าที่ การสอนที่ย่ำแย่ทำร้ายนักเรียน ทำลายครูที่สอนดี และทำร้ายชุมชน ครูที่ย่ำแย่ผิดพลาดในการจำแนกนักเรียนตามฐานความรู้ของนักเรียนส่งผลให้บรรยากาศในโรงเรียนไม่ดี ทำลายครูที่ทำการสอนดี ผลการสอนของครูที่ย่ำแย่ส่งผลถึงการดำเนินชีวิตของนักเรียน

ผู้บริหารต้องรักษาดุลยภาพของสิทธิต่าง ๆ ของครู และสิทธิต่าง ๆ ของนักเรียนและสิทธิของชุมชน นักเรียนไม่มีพลังอำนาจที่จะเปลี่ยนครู นักเรียนต้องพึ่งพาผู้บริหารที่จะแน่ใจได้ว่า ครูที่พฤติกรรมการสอนที่ย่ำแย่ควรได้รับการปรับปรุงหรือขจัดออกไป ในการจัดการครูที่มีพฤติกรรมการสอนที่ย่ำแย่ ผู้บริหารมีภาระหน้าที่ในการปฏิบัติในสิ่งที่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อนักเรียนและชุมชน

5.  ผู้บริหารคือผู้สร้างชุมชน คนส่วนมากไม่รู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน โรงเรียนผิดพลาดในการที่ไม่รวมชุมชนเข้ามาอยู่ในโครงสร้างของโรงเรียน เป็นผลให้ชุมชนไม่มีความรู้สึก หรือเป็นภารกิจ ไม่มีตัวเชื่อมระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ของโรงเรียน เมื่อไม่มีความรู้สึกของชุมชน กลุ่มต่าง ๆ ของโรงเรียนก็ดูเหมือนทำงานด้วยรูปแบบของการเผชิญหน้าและความขัดแย้งมากกว่าความร่วมมือ และความร่วมจิตร่วมใจ 

ผู้บริหารที่ดีสร้างชุมชน เขาจะวาดมโนภาพว่าโรงเรียนเป็นหน่วยเดียวกับชุมชนที่ซึ่งกลุ่มต่าง ๆ จะมีความร่วมมือ โรงเรียนต้องสร้างบรรยากาศแห่งความอบอุ่น สถานที่เชิญชวน เพราะครูและนักเรียนมีความรู้สึกมีความต้องการ ชุมชนของโรงเรียนยอมรับในคุณค่าภายนอกของสมาชิกต่าง ๆ ดังนั้นการแบ่งแยก การหลอกลวง การไม่เคารพนับถือจึงไม่มีในโรงเรียน การทำงานเพื่อสร้างชุมชนด้วยการกำหนดเป้าหมายร่วมกัน การสร้างค่านิยมร่วมเป็นเป้าหมายเบื้องต้นของผู้บริหารที่มีจริยธรรม

6.  รักษาดุลยภาพของสิทธิของทุกกลุ่ม เป็นความยากลำบากในการรักษาดุลยภาพในสิทธิต่าง ๆ ของกลุ่มที่มีความแตกต่างอย่างมากมายภายในชุมชนของโรงเรียน ผู้บริหารอาจหาวิธีการที่ง่าย ๆ ที่จะมุ่งไปที่คนกลุ่มใหญ่ สนับสนุนให้เขามีความมั่นใจเสมอในทางตรงกันข้าม

สิทธิของชนกลุ่มน้อยก็ต้องไม่เกิดความสูญเสียด้วย เมื่อสิทธิของคนส่วนใหญ่แยกออกจากสิทธิของคนส่วนน้อย ประเด็นทางจริยธรรมก็เกิดขึ้น ผู้บริหารต้องวินิจฉัยแนวทางการปฏิบัติบนพื้นฐานของข้อแนะนำทางจริยธรรม

ผู้บริหารที่มีประสิทธิผล รักษาดุลยภาพสิทธิของกลุ่มใหญ่กับคนกลุ่มน้อย ดุลยภาพจึงเป็นเรื่องที่ยากจะบรรลุประสิทธิผล ผู้บริหารต้องกำหนดกรอบการตัดสินใจในสภาพแวดล้อมของสิทธิของการปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อโรงเรียนหน้าที่ของโรงเรียนคืออะไรในสังคมประชาธิปไตยที่มอบให้ตามสถานการณ์ บทเรียนอะไรที่สามารถเรียนรู้จากสมาชิกของชุมชนจากการตัดสินใจ สิ่งที่ต้องพิจารณาเป็นเบื้องต้นก็คือสิ่งใดเป็นสิทธิในกรอบความรับผิดชอบของผู้บริหาร

7.  ปฏิบัติในประเด็นที่ถูกต้องแต่อาจไม่ถูกใจคนส่วนใหญ่ บ่อยครั้งที่ผู้บริหารต้องแยกระหว่างความทันสมัยกับความถูกต้องทางจริยธรรม ผู้นำทางจริยธรรมจะไม่มีปัญหาในสิ่งที่ถูกต้องกับความทันสมัยจะเป็นเหมือนเหรียญคนละด้าน อย่างไรก็ตามมีหลายครั้งเมื่อประเด็นเหล่านี้ไม่เป็นเหมือนเหรียญคนละด้าน หลายสถานการณ์อาจเป็นประเด็นทั้งคู่สนับสนุนเพื่อคนส่วนน้อย และรับหลักการของทิศทางการศึกษาใหม่

ผู้นำที่ชาญฉลาดจะสะท้อนประเด็นต่าง ๆ ตรวจสอบทุกด้าน และใช้ดุลยพินิจพิจารณาจากหลักธรรมที่มีอยู่ ตัวอย่างในการให้ข้อเสนอแนะโค้ชที่เบี่ยงเบนเพราะโค้ชโกรธคนที่ใช้อิทธิพลเสนอแนะประเด็นทางจริยธรรมในขณะกำหนดประเด็นต่าง ๆ ของหลักสูตรอาจจะเป็นปัญหาทางความคิดเห็น และเนื้อหาวิชาเพื่อการประนีประนอม

8.  การตัดสินใจอยู่บนพื้นฐานอะไรเป็นสิ่งที่ถูกต้องสำหรับสมาชิกของชุมชนของโรงเรียน ผู้บริหารคือผู้ตัดสินใจบนพื้นฐานว่าอะไรคือสิ่งถูกต้องขององค์การหรือลืมไปว่าองค์การตั้งขึ้นเพื่อสนองตอบความต้องการของสมาชิก ดังนั้นโรงเรียนจึงมิได้รักษามุมมองว่าส่วนนี้ไว้ จึงเฉยเมินกับเสียงบ่น ใช้ความวกวนของระบบราชการหลีกหนีคำวิจารณ์ ไม่พิจารณาความต้องการของนักเรียน มีงานให้บุคลากรในองค์การทำเท่านั้นพอ

ผู้บริหารที่ดีต้องมีเป้าหมายเบื้องต้นในการให้บริการ เป้าหมายการให้บริการคือต้องยึดคำถามที่ว่า เราจะมีวิธีช่วยสมาชิกอย่างไร เราสามารถปรับปรุงวิธีการที่จะช่วยสมาชิกของเราอย่างไร ต้องริเริ่มโดยเชิญผู้ปกครองกลับมาโรงเรียน ความมุ่งมั่นในการให้บริการต้องการให้ผู้บริหารประเมินโรงเรียน ประเมินสมาชิกและประเมินโปรแกรมที่เราส่งมอบและให้ความช่วยเหลือ

9.  สร้างความกล้าทางจริยธรรม ซึ่งเป็นบทบาทหนึ่งของผู้บริหาร ผู้บริหารจะขาดความกล้าทางจริยธรรมไม่ได้ ผู้บริหารสามารถอ้างสิทธิในการปฏิบัติตามหลักจริยธรรม แต่ถ้าเขาพลาดที่จะทดสอบ เมื่อเผชิญหน้ากับผู้ปกครอง สมาชิกของคณะกรรมการ ศึกษานิเทศก์ เขาขาดความกล้าทางจริยธรรม ผู้บริหารที่รับแรงกดดันจะทำลายมาตรฐานทางจริยธรรม ผู้นำต้องมีความกล้าทางจริยธรรมที่จะกล้าต่อต้าน หรือกล้าพูดคำว่า “ไม่” ได้

ผู้บริหารต้องมีจุดยืนสอดคล้องกับหน้าที่พันธกิจความรับผิดชอบตามบทบาทโดยสรุปผู้บริหารไม่อาจพึ่งพาคณะกรรมการหรือหวังที่จะให้คนอื่นช่วยตัดสินใจในพันธกิจของท่าน ท่านต้องปฏิบัติตามหลักจริยธรรมอันเป็นบทบาทของผู้บริหาร

10.  สื่อให้เห็นว่าสิ่งที่พูดกับสิ่งที่ทำบูรณาการเข้ามาในหน้าที่ของตนเอง โรงเรียนจะไม่มีบรรยากาศทางจริยธรรม ถ้าผู้บริหารไม่สื่อค่านิยมทางจริยธรรมผู้บริหารต้องกำหนดกฎเกณฑ์ทางจริยธรรมที่สอดคล้องกับค่านิยมของชุมชน และสังคม กฎเกณฑ์นี้ต้องสื่อทุกวัน สิ่งแวดล้อมทางจริยธรรมจะบรรลุผลผ่านการตัดสินใจเป็นพัน ๆ ครั้งตลอดระยะเวลาอันยาวนาน

ผู้นำทางจริยธรรมมีความหมายเดียวกับโรงเรียนที่ดี ผู้บริหารที่มีจริยธรรมต้องสนใจว่าเงินที่ใช้นั้นใช้อย่างถูกต้อง บุคคลได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม ครูสอนอย่างดี โค้ชสอนผู้เล่นให้เล่นหนักและยุติธรรม หลักสูตรต้องพัฒนาตามความต้องการทางสังคมท่านต้องรับผิดชอบนักเรียน ผู้ปกครองควรมีส่วนร่วมในกระบวนการของโรงเรียน ผู้บริหารที่ดีต้องมีจริธรรม

 

                                                 …………………………………………………….

หมายเลขบันทึก: 500959เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2012 19:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มีนาคม 2014 18:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การตัดสินใจ ==> เป็นเรื่องใหญ่มากค่ะ ถ้าการตัดสินใจผิดพลาด เหมือน "การเริ่มต้นที่ผิดพลาด" ไปด้วยนะคะ

ขอบคุณบทความดีดีมีคุณภาพนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท