ความสามารถในการใช้อารมณ์


ความฉลาดทางอารมณ์เป็นเรื่องพัฒนาได้

                           ฉลาดอารมณ์สมวัย

 

                                                            ประชุม โพธิกุล

        ความสามารถในการใช้อารมณ์จะสร้างสรรค์ในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น แก้ปัญหาได้โดยใช้เหตุผลและความรู้สึก ยืดหยุ่นตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ช่วยให้คนได้แสดงออกถึงความต้องการ สงบเยือกเย็น รอบคอบกับคนที่มีปัญหา มองโลกในแง่ดีและมีผลลัพธ์ที่ดี เรียนรู้ในการพัฒนาตนเองและพัฒนาองค์การอย่างต่อเนื่อง โกลแมนสรุปในผลงานวิจัยว่า ผู้นำที่ดีต้องมีความฉลาดในอารมณ์ อารมณ์ดีงานดี ต่อไปนี้เป็นแบบวัดประเมินตนเอง เพื่อวัด E.Q.ของตนเอง

      ในแต่ละข้อข้างล่างนี้ ให้ท่านประเมินตนเอง เพื่อแสดงความสามารถของท่าน ก่อนตอบพยายามคิดถึงสถานการณ์ที่เป็นจริงที่ท่านมีโอกาสได้ใช้ความสามารถเหล่านี้

       ระดับคะแนน 1=มีความสามารถน้อย

       ระดับคะแนน 2=มีความสามารถค่อนข้างน้อย

       ระดับคะแนน 3= มีความสามารถปานกลาง

       ระดับคะแนน 4=มีความสามารถค่อนข้างมาก

       ระดับคะแนน 5=มีความสามารถมาก

____1.สร้างสัมพันธภาพกับบุคคลที่มีอารมณ์แตกต่างจากท่านได้

____2.รู้สึกเป็นปรกติเมื่อตกอยู่ภายใต้ภาวะกดดันในสถานะการณ์ต่างๆ

____3.ส่งเสริมเจตจำนงที่ดีในการทำงาน

____4.รู้ผลกระทบพฤติกรรมของท่านที่มีต่อผู้อื่น

____5.ริเริ่มแก้ปัญหาความขัดแย้งกับผู้อื่นได้สำเร็จ

____6.สงบอารมณ์ได้อย่างรวดเร็วเมื่อมีความโกรธ

____7.รู้ตัวว่าตนเองโกรธ

____8.สามารถรวบรวมพลังได้อย่างรวดเร็วภายหลังเกิดเหตุวิกฤติ

____9.ยอมรับได้เมื่อคนอื่นเป็นทุกข์

____10.สร้างฉันทามติกับผู้อื่นได้

____11.รู้ว่าตนเองมีความรู้สึกอย่างไรในขณะนั้น

____12.ใช้วิธีการพูดกับตนเองเพื่อเปลี่ยนอารมณ์

____13.สร้างแรงจูงใจเมื่อเวลาทำงานที่ไม่น่าสนใจ

____14.ช่วยผู้อื่นแก้ปัญหาอารมณ์

____15.ทำให้ผู้อื่นมีความรู้สึกที่ดี

____16.รู้ตัวเมื่อตนเองมีอารมณ์ขุ่นมัว

____17.สามารถระงับสติอารมณ์เมื่อตนเป็นเป้าหมายความโกรธของผู้อื่น

____18.หยุดหรือเปลี่ยนนิสัยที่ไม่ดีได้

____19.แสดงความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

____20.ให้คำแนะนำและสนองตอบอารมณ์ของผู้อื่น

____21.รู้ตัวเมื่อท่านใช้กลไกปกป้องตนเอง

____22.รู้ตัวเมื่อตนเองคิดเชิงลบและหัวเสีย

____23.ทำอย่างที่พูด

____24.สามารถพูดคุย สร้างความคุ้นเคยกับผู้อื่นได้

____25.สะท้อนความรู้สึกที่แท้จริงของผู้อื่นได้

 

 

1.ตระหนักตนเอง

     1.........6........11............16.........21.............รวม................

2.จัดการอารมณ์

      2..........7.........12............17.........22............รวม...............

3.สร้างแรงจูงใจตนเอง 

       3..........8..........13............18........23.............รวม..............

4.เห็นอกเห็นใจผู้อื่น

      4..........9...........14............19........24.............รวม.............

5.ทักษะทางสังคม

       5..........10..........15............20........25.............รวม ...........

 

 

การแปรผลคะแนน 

รวมคะแนนแต่ละหมวดว่าได้เท่าไร

รวมคะเเนนทั้งห้าหมวดว่าได้เท่าไร

คะเเนนทั้งห้าหมวดถ้าได้ 120-125 คะแนนถือได้ว่าท่านมีEQ.สูง

คะเเนน ทั้งห้าหมวดถ้าได้   100  คะเเนนถือว่าอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย

ถ้าคะเเนนตำ่กว่า  100คะเเนน ต้องพัฒนาปรับปรุง

ในแต่ละหมวดคะเเนนไม่ควรตำ่กว่า 20  คะเเนน ถ้าตำ่ก็ต้องพัฒนาปรับปรุงแต่ละหมวด

 

     โกลแมน ให้ข้อเสนอทักษะแห่งความรู้สึกหรืออารมณ์ในการปฏิบัติตน 5ประการ

1.ตระหนักในตนเอง

_ความตระหนักในความรู้สึกหรืออารมณ์

_การประเมินตนเอง

_ความมั่นใจในตนเอง

2.การจัดระเบียบอารมณ์

_การควบคุมตนเอง

_ความซื่อสัตย์

_ความสามารถในการปรับตัว

_การเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ

3.แรงจูงใจ

_ความสำเร็จ

_การรับข้อตกลง

_ความคิดสร้างสรรค์

_การมองโลกในแง่ดี

4.ความเห็นอกเห็นใจ

_การเข้าใจคนอื่น

_การพัฒนาผู้อื่น

_การมุ่งเน้นบริการ

_การคัดคานความหลากหลาย

_ความตระหนักทางการเมือง

5.ทักษะทางสังคม

_การชักจูง

_การติดต่อสื่อสาร

_การจัดการความขัดแย้ง

_ภาวะผู้นำ

_การกระตุ้นการเปลี่ยนแปลง

_ความร่วมมือ

_ความสามารถในการทำงานเป็นทีม

                  กลยุทธ์การตอบสนองในการจัดการอารมณ์

1.รู้จักการผ่อนคลาย

2.วินิจฉัยอารมณ์ของตนเอง

3.ควบคุมตนเอง

   การควบคุมอารมณ์เป็นการผสมผสานของ

  _อุปนิสัย

  _มุมมอง

  _ตระหนักในตนเอง (ความรู้สึกต่อตนเองและผู้อื่น)

  _ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

  _คุณธรรม (สิ่งใดถูกสิ่งใดผิด)

4.ตรงไปตรงมา

5.มีเจตคติเชิงบวก

                 วิธีแสดงความรู้สึกในการดำเนินชีวิต

1.ให้ยอมรับความจริง เจ็บก็รู้ว่าเจ็บ

2.ให้มีความตระหนัก พยายามไม่ปฏิเสธความจริง

3.พูดในสิ่งที่ท่านรู้สึกกับบุคคลที่ทำให้ท่านรู้สึกเจ็บปวด

4.แก้ไขอารมณ์และจำหน่ายอารมณ์

 

ความฉลาดทางอารมณ์เป็นเรื่องพัฒนาได้ อารมณ์ดี งานดี ชีวิตสดใส มิใช่มีเจตคติที่ว่า

อารมณ์เป็นแขกมาทำเราแหลกแล้วจากเราไป      

                

หมายเลขบันทึก: 500933เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2012 13:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กันยายน 2012 14:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท