DBA : กระบวนการคิดอนาคต


การคิดเชิงอนาคต

การคิดเชิงอนาคต

ปัจจุบันเรากำลังอยู่ในยุค บานพับประวัติศาสตร์ คือ ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นผู้ที่จะอยู่รอดและประสบความสำเร็จจะต้องคิดมีการคิดเชิงอนาคตซึ่งคนไทยทุกคนเราได้รับการฝึกเพื่อให้สามารถปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนในอนาคตได้

อนาคตสิ่งที่เราอยากรู้

อนาคตคือสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น หากจะให้นิยามให้ง่ายที่สุดคือ อดีตคือสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ปัจจุบันคือสิ่งที่เป็นอยู่ ส่วนอนาคตคือสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น เช่น อีก 10 นาทีนักศึกษาจะมาพบ เป็นต้น ดังนั้นอนาคตเป็นสิ่งที่เราต้องคาดการณ์ เพราะหากเราสามารถคาดการณ์อนาคตได้เราก็จะสามารถดำเนินชีวิตให้ประสบความสำเร็จได้

สมองคิดอนาคตเมื่อใดอย่างไร

ในการดำเนินประจำวันเราจำเป็นต้องคิดถึงอนาคตแน่นอน เช่น เมื่อเราต้องขึ้นรถประจำทางเราต้องทราบว่าจะมีรถวิ่งผ่านมาแน่นอน โดยปกติแล้วสมองจะฉายภาพอนาคตออกมาเป็น 3 ลักษณะคือ อนาคตที่เกิดขึ้นแน่ๆ เช่น เมื่อเห็นไฟแดงรถจะหยุด อนาคตที่อาจจะเกิด เช่น การส่งออกของประเทศ  และ อนาคตที่อยากให้เกิด เช่น โตขึ้นจะเป็นนักบริหาร  และสมองนั้นสามารถคาดการณ์อนาคตได้อย่างไร สมองสามารถคาดการณ์อนาคตได้โดยการเรียนรู้จากประสบการณ์เดิมหรือความรู้เดิมที่มี เช่น เมื่อเราเห็นท้องฟ้ามืดครึ้ม เราคาดการณ์ว่าฝนจะตก เป็นต้น

ความหมายของการคิดเชิงอนาคต

การคิดเชิงอนาคต หมายถึง ความสามารถในการฉายภาพแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยใช้หลักคาดการณ์ที่เหมาะสม

การคิดเชิงอนาคตเป็นการฉายภาพไปสู่อนาคตหากเราตั้งคำถามเหล่านี้จะมีคำตอบได้หากเราใช้กระบวนการคิดเชิงอนาคต เช่น ถ้าตัดสินใจทำสิ่งนี้ อาจจะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง?   ขณะนี้เป็นเช่นนี้ ต่อไปอาจจะเป็นเช่นไรได้บ้าง?

เหตุใดต้องคิดเชิงอนาคต

 การคิดเชิงอนาคตนั้นเป็นการคิดมิติใหม่ คนในสังคมควรต้องฝึกการคิดเชิงอนาคต เนื่องมากจากเหตุผลดังนี้

-  เพราะเราต้องอยู่เพื่ออนาคต ไม่ใช่ปัจจุบัน  การคิดเชิงอนาคตทำให้เราสามารถปรับตัวและทันต่อสถานกาณ์ได้

 - เพราะช่วยให้ตัดสินใจวันนี้ได้ดี เพื่ออนาคตที่ดีกว่า การคิดเชิงอนาคตทำให้เราสามารถตัดใจได้ดีเนื่องจากเราสามารถวิเคราะห์อนาคตได้ดี และทันต่อการเปลี่ยนแปลง

-                   เพราะช่วยให้ตระหนักว่า เราเป็นทั้งผู้กระทำ และ ผู้ถูกกระทำ จากอนาคต

-  เพราะช่วยให้เรามองการณ์ไกล ไม่มองแคบใกล้  การคิดเชิงอนาคตทำให้เราสามารถมองเห็นภาพในอนาคต และสามารถปรับตัว สามารถแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างทันท่วงที

-  เพราะช่วยเราเชื่อมโยงกับโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  นักคิดเชิงอนาคตมองว่าเราอยู่บนโลกแห่งการเชื่อมโยงกัน สรรพสิ่งล้วนพึ่งพากัน ดังนั้นการเป็นนักคิดเชิงอนาคตจะสามารถทำให้ปรับตัวได้ เป็นเป็นผู้ประสบความสำเร็จในอนาคตได้

 

หลักคิดและหลักคาดการณ์ในอนาคต

    หลักคิด สรรพสิ่งเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน หรือในอีกความหมายหนึ่งคือ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกล้วนพึ่งพากัน หมายความว่า บนโลกของเรานั้นทุกอย่างล้วนเชื่อมโยงกันทั้งสิ้น เช่น การตัดไม้ทำลายป่าส่งผลให้ในช่วงฤดูฝนเกิดภัยธรรมชาติน้ำท่วม และส่งผลต่อประชาชน เป็นต้น

หลักคาดการณ์ พิจาณาจาก ปัจจัยขับเคลื่อนอนาคต อย่างองค์รวม และปัจจัยขับเคลื่อนอนาคต หมายถึง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดอนาคตของเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งเราต้องคาดการณ์ว่าปัจจัยเหล่านี้จะเป็นเช่นไรในอนาคต และจะกระทบต่อเป้าหมายที่เราต้องบรรลุอย่างไรบ้าง สิ่งที่เป็นปัจจัยขับเคลื่อนเหล่านี้แบ่งออกเป็น ปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก  ปัจจัยภายในเป็นลักษณะที่เราสามารถบอกถึงตัวตนได้ และปัจจัยภายนอกเช่น ครอบครัว เพื่อน สถานที่พักอาศัย เป็นต้น

หลักการคิดสรรพสิ่งส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงอย่างมีแบบแผน รูปแบบการเปลี่ยนแปลงจะมีลักษณะดังนี้ การเปลี่ยนแปลงที่รูปแบบการวนซ้ำ หมายถึง รูปแบบการเปลี่ยนแปลงบางอย่างมีลักษณะการวนซ้ำ เช่น ฤดูฝน เปลี่ยนเป็นฤดูหนาว การเปลี่ยนแปลงมีลักษระเป็นแนวโน้ม เช่น แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของโรคเอดส์ การเปลี่ยนแปลงที่ไม่มรูปแบบ เช่น เป็นเหตุการณ์ที่เราไม่สามารถศึกษาได้ไม่สามารถพยากรณ์ได้ และหลักในการคาดการณ์เหตุการณ์มีรูปแบบดังนี้

ศึกษารูปแบบก่อนคาดการณ์  เช่น ก่อนที่เราจะคาดการณ์เหตุการณ์อันใดเราควรศึกษารูปแบบก่อน

 

ฝึกทักษะฉายภาพในอนาคต

การฝึกทักษะการคิดในอนาคตเป็นเป็นทักษะที่คนในสังคมจะต้องฝึกเพื่อให้เกิดความคิดรอบด้าน ดังนั้นเราสามารถฝึกทักษะความคิดดังนี้

-ใช้เทคนิคคิดอนาคตให้ครบ 4 ด้าน นักคิดเชิงอนาคตต้องคิดรอบด้านดังนี้คือ ด้านที่หนึ่งคือ อนาคตเกิดขึ้นแน่นอน  ด้านที่สอง อนาคตที่อาจเกิดขึ้น ด้านที่สาม อนาคตที่ไม่อาจเกิดขึ้นแน่นอน ด้านที่สี่ อนาคตที่ไม่อาจเกิดขึ้น เมื่อเราคิดให้ครบสี่ด้านแล้วเราสามารถเห็นภาพฉายในอาคตได้ เช่น เมื่อเพื่อช่วนเราไปเที่ยวทุ่งทานตะวัน อนาคตที่เกิดขึ้นแน่นอนคือ การเดินทาง มีค่าใช้จ่าย อนาคตอาจเกิดขึ้น เช่น ฝนตก รถติด และ อนาคตที่ไม่อาจเกิดขึ้นแน่นอน เช่น เกิดอุบัติเหตุ และ อนาคตที่ไม่อาจเกิดขึ้น ไปเยี่ยมญาติต่างจังหวัด

-ใช้เทคนิค สร้างตารางทางเลือก  การสร้างตารางทางเลือกเป็นเทคนิคให้เราสามารถฉายภาพอนาคตได้อย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น การตัดสินว่าจะไปเที่ยวไหนดี เราต้องสร้างทางเลือกและสามารถแจกแจงได้ 5 ประเภทคือ สถานที่ รูปแบบการเดินทาง คนที่จะไปด้วย รูปแบบที่พัก จำนวนวันที่จะไปพัก จากนั้นเราสามารถนำมากำหนดเป็นทางเลือกและเป็นภาพฉายในอนาคตได้

- ใช้เทคนิควาดผังต้นไม้ การใช้เทคนิคการวาดผังต้นไม้ทำให้เราเห็นทางเลือกได้มากขึ้นและสามารถทำให้เราสามารถมองภาพฉายในอนาคตได้ชัดเจนมากขึ้น

 

ฝึกทักษะการคาดการณ์ในอนาคต

การฝึกทักษณะการคาดการณ์ในอนาคตมีความสำคัญมาก เราจะมาฝึกการคาดการณ์ในอนาคตโดยใช้เทคนิคการคาดการณ์ 7 เทคนิคดังนี้

เทคนิคที่ 1 โยนก้อนหินลงน้ำ เทคนิคการโยนหินลงน้ำเวลาก้อนหินไปกระทบผิวน้ำย่อมทำให้ผิวน้ำกระเพื่มออกเป็นวงกว้างและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมีที่อยู่แถวนั้น และมีผลกระทบเกิดขึ้นทันที เราก็สามารถคาดการณ์ในอนาคตได้ว่าสิ่งใดจะเกิดขึ้น เช่นเดียวกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่น นายสมศักดิ์ตกงาน ย่อมมีกระทบต่อนายสมศักดิ์ซึ่งผลกระทบนั้นเราสามารถคาดการณ์ได้ดังนี้ ผลกระทบที่เกิดขึ้นทันที เช่น นำเงินเก็บมาใช้ อยู่บ้าน เครียด ผลกระทบต่อเนื่อง เช่น เงินเก็บลดลงเงินไม่พอใช้ ขอพ่อแม่ เป็นต้น และผลกระทบต่อเนื่องระยะยาว เช่น พ่อแม่ไม่มีเงินให้เรา เป็นต้น

เทคนิคที่ 2 เป็นเทคนิคการคาดการณ์ในอนาคตที่มีลักษณะคล้ายกับเทคนิคการโยนหินลงน้ำ เป็นเทคนิคที่ทำให้เราเห็นภาพฉายในอนาคตได้เป็นอย่างดี  โดยเริ่มจากการนำกระดาษมา 1 แผ่น แล้วเขียนตรงกลางกระดาษในประเด็นที่เราต้องการเห็นภาพฉายในอนาคต เช่น ถ้าคนไทยหันมาทำการเกษตรแบบอินทรีย์มากขึ้น เราสามารถเขียนเชื่อมโยงไปเรื่อยๆ จนทำให้เราสามารถเห็นภาพฉายในอนาคตได้อย่างชัดเจนได้

เทคนิคที่ 3 ตะแกรงช่วงเวลา เป็นเทคนิคที่นำหลักความต่อเนื่องมาเชื่อมโยงทั้งอดีต ปัจจุบัน และภาพฉายไปถึงอนาคตได้ เช่น ความพร้อมของอาจารย์ A ในการพัฒนาตัวเองเพื่อก้าวไปสู่ตำแหน่งสูงสุดในสถาบันการศึกษา ใน 5 ปี และ 10 ปี อนาคต

นอกจากทั้ง 3 เทคนิคที่นำเสนอมาแล้วก็มีเทคนิค การเล่นบทบาทสมมุติ เทคนิคการระดมสมอง เทคนิคการใช้กระบวนการสร้างฉากทัศน์

การคิดเชิงอนาคตเป็นวิธีที่สำคัญและมีความจำเป็นเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ดังนั้นเราควรต้องฝึกการคิดเชิงอนาคต และที่สำคัญเราต้องมีทัศนคติที่ดีต่อการคิดเชิงอนาคต คือเราต้องมีนิสัยของนักคิดเชิงอนาคต และมีความเชื่อว่าสามารถทำได้แน่นอน

 

อ้างอิง : การคิดเชิงอนาคต ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์  เจริญวงศ์ศักดิ์  

หมายเลขบันทึก: 500912เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2012 00:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กันยายน 2012 00:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท