DBA : บรรษัทภิบาล สำคัญและจำเป็นสำหรับองค์กรสมัยใหม่


บรรษัทภิบาล

จากการเปลี่ยนแปลงของสังคม โลกาภิวัฒน์หรือการเปลี่ยนแปลงของสภาพทางเศรษฐกิจการเมืองสังคมและวัฒนธรรม เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความออ่นแอ และความบกพร่องในการบริหารจัดการทั้งในภาครัฐและเอกชน ทั้งในองค์กรขนาดเล็กและองค์กรขนาดใหญ่ หรือแม้นแต่ในระดับชาติก็เช่นเดียวกัน เป็นสาเหตุของการทำงานหรือการบริหารงานโดยขาดหลักธรรมมาภิบาล ก่อให้เกิดผลเสียต่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก ดังนั้นการบริหารงานที่เน้นหลักการบริหารแบบบรรษัทภิบาลนั้นจึงมีความสำคัญมากในปัจจุบัน และหลักธรรมาภิบาล จึงเป็นแนวทางในการจัดระเบียบ เพื่อให้สังคมของประเทศทั้งภาครัฐภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชนของประเทศ สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข

ความหมาย ได้มีนักคิดและนักวิชาการให้ความหมายของธรรมาภิบาลหรือธรรมรัฐไว้หลายคน ดังนี้ ศ.นพ.ประเวส วะสี ได้ให้คำนิยามของธรรมรัฐไว้ว่า คือ รัฐที่มีความถูกต้อง เป็นธรรม ซึ่งหมายถึง ความถูกต้องเป็นธรรม 3 เรื่องใหญ่ ๆ คือ

1.  การเมืองและระบบราชการที่โปร่งใส รับผิดชอบต่อสังคม ถูกตรวจสอบได้

2.  ภาคธุรกิจที่โปร่งใส รับผิดชอบต่อสังคม สามารถตรวจสอบได้

3.  สังคมเข้มแข็ง ความเป็นประชาสังคม ( Civil Society) สามารถตรวจสอบภาครัฐและภาคธุรกิจให้ตั้งอยู่ในความถูกต้องได้

ธรรมรัฐ เป็นการยกระดับกระบวนความสัมพันธ์ ความร่วมมือของส่วนต่างๆในสังคมอันได้แก่

  1. ภาครัฐ ภาคสังคมและเอกชน

  2. สถาบันต่างๆ ของประเทศ

  3. ระดับต่างๆของประเทศ คือ ชุมชน ประชาคม ภูมิภาค และระดับชาติ ให้มีลักษณะเป็นรัฐธรรมที่มีพลัง

ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ให้ความเห็นว่า โดยทั่วไป ธรรมรัฐ หมายถึง การบริหารหรือการปกครองที่ดีและมีความเป็นธรรม

ดร.ธีรยุทธ บุญมี ให้ความหมายของธรรมรัฐไว้ว่า คือ กระบวนความสัมพันธ์ ( Interractive Relation )  ระหว่างภาครัฐ ภาคสังคม ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป ในการที่จะทำให้การบริการราชการแผ่นดิน ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณธรรม โปร่งใส ยุติธรรมและตรวจสอบได้

องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล ประกอบด้วยหลัก 6 ประการคือ

1.หลักนิติธรรม คือ การตรากฎหมาย กฎ ระเบียบข้อบังคับและกติกาต่างๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม ตลอดเป็นที่ยอมรับของสังคมและสมาชิก โดยมีการยินยอมพร้อมใจกันและถือปฏิบัติร่วมกันอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม

2.หลักคุณธรรม คือ การยึดถือและเชื่อมั่นในความถูกต้องดีงาม โดยการรณรงค์เพื่อสร้างค่านิยมที่ดีงามให้ผู้ปฏิบัติในองค์กรหรือสมาชิกของสังคมถือปฏิบัติ

3.หลักความโปร่งใส คือ การทำให้สังคมเป็นสังคมเปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างตรงไปตรงมา และสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้โดยปรับปรุงระบบและกลไกลการทำงานขององค์กรให้มีความโปร่งใส

4.หลักความมีส่วนร่วม คือ การทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ และร่วมเสนอความคิดเห็นในการตัดสินใจสำคัญๆ ของสังคม

5.หลักความรับผิดชอบ ผู้บริหาร ตลอดจนคณะข้าราชการ ทั้งฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำ ต้องตั้งใจปฏิบัติตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายอย่างดียิ่ง โดยมุ่งหวังให้บริการแก่ประชาชน

6.หลักความคุ้มค่า ผู้บริหารต้องตระหนักว่ามีทรัพยากรค่อนข้างจำกัด ดังนั้นในการบริหารจัดการจำเป็นต้องยึดหลักความประหยัดและคุ้มค่า

จากที่กล่าวมาข้างต้นนั้นผู้เขียนเห็นว่า หลักของธรรมภิบาลที่แท้จริงนั้นคือ หลักแห่งความบริสุทธิ์ใจ ตั้งใจ ใส่ใจในการทำงานนั่นเอง หลักของความโปร่งใส และหลักของการทำงานที่เป็นธรรม ดังนั้นจะเห็นว่าองค์กรในปัจจุบันต่างให้ความสำคัญของการบริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาล เป็นอย่างมาก ดังนั้นตามกรอบแนวคิดผู้เขียนเห็นว่า ธรรมภิบาลน่าจะประกอบด้วยดังนี้

1.จิตอาสา   ในหลักธรรมาภิบาลนั้นการทำงานที่เน้นจิตอาสานั้นก็จะทำให้องค์กรสามารถทำงานได้สะดวกยิ่งขึ้น หากคนในองค์กรมีจิตอาสาในการทำงานก็จะทำให้องค์กรนั้นเป็นองค์กรที่สามารถทำงานประสบความสำเร็จ โดยทุกคนต่างให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

2. ศีลธรรม ในองค์กรต้องยึดถือศีลธรรม ข้อนี้สำคัญหากคนในองค์กรมีศีลธรรม การทำงานก็จะสามารถทำงานได้ด้วยความสุจริต การมีศีลธรรมนั้นทำให้องค์กรสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากหากคนในองค์กรมีความยึดมั่นในศีลธรรมแล้วองค์กรก็สามารถทำงานให้เกิดความโปร่งใส

3. ตอบแทนสังคม  หลักของการทำงานที่ดีนั้นการตอบแทนสังคมก็ควรยึดถือในองค์กรเนื่องจากการตอบแทนสังคมนั้น ก็จะทำให้องค์กรได้รับความไว้วางใจ ในชุมชน และสังคมรอบข้าง ก็จะส่งผลดีต่อองค์กร

4. ความไว้วางใจ ความไว้วางใจในองค์กรมีความสำคัญมาก  การคนองค์กรมีความไว้วางใจซึ่งกันและกันก็จะทำให้องค์กรนั้นสามารถทำงานได้อย่างดี แต่หากองค์กรไม่มีความไว้วางใจซึ่งกันและกันการทำงานก็จะเป็นไปในลักษณะการระแวงซึ่งกันและกัน  ดังนั้นความไว้วางใจในองค์เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก

5. ตั้งใจทำงาน   ความตั้งใจในการทำงานถือว่ามีความสำคัญมากสำหรับองค์กร หากองค์กรได้บุคคลที่มีความสามารถ ความขยันมาทำงานในองค์กรก็จะทำให้องค์กรสามารถเติบโต และทำงานได้ตามวัตถุประสงค์ขององค์กร

6. การมีส่วนร่วม  การมีส่วนร่วมถือว่ามีความสำคัญมากในองค์กร หากองค์กรใดยึดหลักการทำงานแบบมีส่วนร่วมนั้นก็จะทำให้องค์กรนั้นสามารถทำงานด้วยความร่วมมือกันเป็นอย่างดี

7. ความเสมอภาค  องค์กรนั้นหลักความเสมอภาคมีความสำคัญมาก ในการทำงานในองค์กรหากยึดหลักความเสมอภาคนั้นองค์กรก็จะเกิดความร่ววมือในการทำงาน และก็จะทำให้องค์กรนั้นประสบความสำเร็จในการทำงานและสามารถบรรลุเป้าหมายขององค์กรได้

   จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่าหลักการทำงานของบรรษัทภิบาล หรือการทำงานด้วยความโปร่งใสและความเป็นธรรมนั้นมีความสำคัญมาก แท้ที่จริงผู้เขียนให้ความสำคัญอันดับแรกเลยที่เดียวเนื่องจากว่าการที่องค์กรจะประสบความสำเร็จและเป็นความสำเร็จแบบยั่งยืนหรือไม่นั้นหลักธรรมาภิบาลมีความสำคัญเป็นอย่างมาก หากองค์กรใดขาดหลักการทำงานโดยยึดหลักธรรมภิบาลแล้วองค์กรก็อาจจะไม่มีความยั่งยืนไม่

หมายเลขบันทึก: 500894เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2012 22:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กันยายน 2012 22:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท