DBA : CSR บริษัทน้อยใหญ่ต้องใส่ที่จะต้องทำ


CSR

CSR เป็นกระแสที่ได้รับความนิยมและร้อนแรงในบ้านเราในช่วงที่ผ่านมาและยังคงร้อนแรงขึ้นไปเรื่อยๆ ในการประชุมสัมมนาโดยทั่วแล้วทุกวันนี้หันมาให้ความสนใจเรื่องในเรื่อง CSR เป็นอย่างมาก หลายบริษัทต่างให้ความสนใจ CSR  การทำ CSR นั้นบางครั้งหลายท่านอาจจะคิดว่าจะต้องเป็นบริษัทขนาดใหญ่มีผลรายได้จากผลกำไรมากมายจึงจะสามารถทำ CSR ได้แต่หากความเป็นจริงนั้นในมุมมองผู้เขียนมองว่าการทำ CSR นั้นสามารถทำได้แม้ว่าเราเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือแม้กระทั่งเป็น SME ก็สามารถทำ CSR ได้เช่นกัน ในการทำ CSR นั้นเน้นที่การทำแล้วเป็นประโยชน์หรือเป็นผลดีต่อชุมชนหรือ บุคคลรอบข้างในมุมของผู้เขียนเพียงเท่านี้ก็ถือว่าเป็น CSR แล้ว เรามาดูกันว่านักวิชาการต่างประเทศอย่าง  Phillip และ Nancy  Lee  จัดกลุ่ม  CSR ไว้เป็น 6 ประเภทดังนี้

  1. การส่งเสริมการรับรู้ประเด็นทางสังคมในวงกว้าง ( Cause Promotion) แนวทางนี้องค์กรมุ่งเน้นรณรงค์ประเด็นปัญหาสังคมหรือองค์กรสาธารณให้เป็นที่รับรู้ในสังคมโดยใช้ความสามารถทางการสื่อสารประชาสัมพันธ์ เพื่อให้สังคมตระหนักและเกิดการสนับสนุนต่อไป

  2. การส่งเสริมสังคมจากการทำการตลาด ( Cause related  Marketing  ) องค์กรสนับสนุนประเด็นทางสังคมโดยการนำส่วนแบ่งรายได้หรือกำไรจากการขายสินค้าไปบริจาคเพื่อสาธารณกุศล

  3. การตลาดเพื่อสังคม ( Social Marketing) แนวทางนี้เป็นการใช้เครื่องมือทางการตลาดขององค์กรในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในสังคมเพื่อให้ลด ละ เลิก หรือปฏิบัติในพฤติกรรมบางอย่างที่จะส่งผลให้สังคมดีขึ้น เช่น การเลิกสูบบุหรี่ การสวมหมวกกันน็อค เป็นต้น

  4. การบริจาค ( Corporate Philanthropy ) รูปแบบดั้งเดิมและง่ายที่สุด ก็คือ การบริจาคทั้งเงิน สินค้า หรือสิ่งของเพื่อป็นสาธารณกุศล เช่น ให้กับมูลนิธิโรงเรียน หรือชุมชน เป็นต้น

  5. การอาสาสมัครช่วยเหลือชุมชน ( Volunteering ) แนวทางนี้มุ่งเน้นให้กับองค์กรกับผู้มีส่วนได้เสียในสังคมเป้าหมายมีความสัมพันธ์อันดี โดยการให้ผู้บริการ พนักงานตลอดจนการชักชวนคู่ค้าหรือคู่แข่งเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมเพื่อสังคมในพื้นที่ เช่น การร่วมพัฒนาชุมชนในท้องถิ่น การ่วมสร้างอาคารหรือสอนหนังสือให้แก่เด็กนักเรียนในชนบท เป็นต้น

  6. การดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม ( Socially Responsible Business Practice ) แนวทางนี้จะเหมือนกับ CSR in process นั่นคือการพัฒนา ปรับปรุง การดำเนินธุรกิจขององค์กรเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบด้านลบกับสังคมและสิ่งแวดล้อมหรือให้เกิดขึ้นน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เช่น การลดการใช้น้ำ การใช้พลังงานสะอาด เช่น พลังงานลม เพื่อลดปริมาณก๊าซที่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจก เป็นต้น

 มุมมองของผู้เขียนมองว่า การทำ CSR น่าจะประกอบด้วยดังนี้

 

  1. การทำ CSR เพื่อเป็นการตอบแทนลูกค้า  ในการที่บริษัทจะทำ CSR ในมุมมองของผู้เขียนมองว่าเป็นการทำเพื่อลูกค้า โดยมีความมุ่งหวังว่าการทำเช่นนี้ทำให้ลูกค้ามองภาพลักษณ์ขององค์กรดีหรือมองภาพลักษณ์ของบริษัทดี ในการ CSR ประเภทนี้เป็นการมุ่งสร้างตอบแทนลูกค้าเป็นหลักซึ่งผู้เขียนมองว่าเป็นการ CSR ในมุมมองที่แคบ

  2. การทำ CSR เพื่อเป็นการตอบแทนชุมชน การที่บริษัททำ CSR ประเภทนี้เป็นการเพื่อชุมชนรอบข้าง เช่น การตั้งโรงงานในเขตชุมชน โรงงานนั้นก็จะต้องทำการทำ CSR ต่อชุมชนนั้น อาจจะเป็นการปลูกป่าให้ชุมชน หรือแม้นกระทั่งการช่วยหรือกิจกรรมของชุมชน เช่น การจัดแข่งขันกีฬาของชุมชน การจัดลานกีฬาเพื่อชุมชน เป็นต้น ปัจจุบันหลายบริษัทหันมาทำ CSR ด้านชุมชนอย่างมากมาย

  3. การทำ CSR เพื่อประเทศหรือในระดับประเทศ การทำ CSR ประเภทนนี้ปัจจุบันหลายบริษัทหันมาให้ความสำคัญกับการทำ CSR ประเภทนี้เป็นอย่าง จากตัวอย่างที่เราเห็นคือ เมื่อเกิดภัยธรรมชาติ เช่น  ภัยธรรมชาติน้ำท่วม หลายบริษัทต่างบริจาคความช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคเงิน การบริจาคสิ่งของเป็นต้น การทำ CSR ประเภทนี้เน้นความสำคัญของประเทศชาติเป็นหลัก

  4. การทำ CSR เพื่อโลก หารทำ CSR ประเภทนี้หากเรามองกว้างๆ การปลูกป่าเป็นการลดมลพิษ เป็นการทำ CSR ในระดับโลก คือเน้นการช่วยลดภาวะโลกร้อน หลายบริษัทต่างให้ความสำคัญกับการทำ CSR ประเภทนี้

จากที่กล่าวมาผู้เขียนเห็นว่า การทำ CSR นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากไม่ว่าท่านจะอยู่ในบริษัทขนาดใหญ่ บริษัทขนาดเล็ก หรือแม้กระทั่งกิจการส่วนตัว หรือตัวท่านเองต่างสามารถทำ CSR ได้เหมือนกันหมด แต่ในการทำ CSR นั้นในมุมมองของผู้เขียนเห็นว่า ควรต้องทำด้วยใจบริสุทธิ์ นั้นหมายความว่าเป็นการทำงาน CSR เพื่อตอบแทนสังคม และประเทศชาติโดยแท้จริง

มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามได้ประกาศตัวชัดเจนว่าเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อท้องถิ่น ในช่วงที่ผ่านมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามได้ทำกิจกรรมหลายอย่างเพื่อเป็นการตอบแทนชุมชน เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามได้ทำ MOU ร่วมกับตำบลเหล่า อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม เพื่อเป็นกำหนดให้คณะต่างๆลงไปถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกิดจากการวิจัยหรือไม่ก็เป็นการบริการวิชาการแก่ชุมชน เช่น ทางคณะวิทยาการจัดการได้อบรมชาวบ้านในเรื่องของการทำการตลาดของสินค้าท้องถิ่น เพื่อให้ชาวบ้านได้นำความรู้ทางด้านการตลาดไปปรับใช้กับผลิตภัณฑ์ของชุมชน อีกตัวอย่างหนึ่งคือ คณะเกษตรและเทคโนโลยีได้ถ่ายทอดวิธีการทำอาหารปลาจากเศษวัสดุท้องถิ่น เพื่อให้ชาวบ้านสามารถผลิตอาหารปลา เพื่อให้ชาวบ้านได้ลดต้นทุนในการเลี้ยงปลา อย่างสาขานิติศาสตร์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ก็มีการลงชุมชนเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายชาวบ้าน

จากที่กล่าวมาข้างต้นผู้เขียนเห็นว่าหากมหาวิทยาลัยหันมาให้ความสำคัญกับชุมชนนั้นหมายความว่า หันมาช่วยกันพัฒนาชุมชนในทุกมิติ ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอย่าง หากชุมชนเข้มแข็งผู้เขียนเห็นว่าก็สามารถสร้างประเทศชาติให้เข้มแข็งได้เช่นกัน จากกรณีเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมาเราจะเห็นว่าบางชุมชนสามารถบริหารจัดการได้โดยไม่ต้องพึ่งพาการช่วยเหลือจากรัฐ ดังนั้นหากในนามมหาวิทยาลัยไปถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับชุมชนแล้วผู้เขียนเชื่อแน่ว่าชุมชนจะเกิดความเข้มแข็งและประเทศก็เข้มแข็งได้

……………………………

 

หมายเลขบันทึก: 500893เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2012 22:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กันยายน 2012 22:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท