DBA : Social Enterprise (SE ช่วยแก้ไขปัญหาสังคมเป็นหลัก )


Social Enterprise (SE ช่วยแก้ไขปัญหาสังคมเป็นหลัก )

       หากกล่าวถึง SE ( Social Enterprise ) บางครั้งหลายคนมองว่ามีลักษณะเช่นเดียวกับ CSR แต่ในหลักความเป็นจริงแล้ว SE ไม่เหมือนกับ CSR เลยเสียทีเดียว CSR เป็นกิจกรรมหรือโครงสร้างเพื่อสังคมของกิจการหรือธุรกิจที่แสวงหากำไรตามปกติ แต่ SE คือ ตัวธุรกิจเองที่มีเป้าหมายไม่ได้แสวงกำไรสูงสุดแต่มีเป้าหมายที่จะเป็นวิถีทางหนึ่งในการช่วยแก้ไขปัญหาทางสังคมหรือสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก เพราะแนวคิดของ SE มองเห็นความจริงว่า สังคมยิ่งเจริญก้าวหน้ามีความใหญ่โตและซับซ้อนมากขึ้นเท่าไร ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมก็จะยิ่งเกิดตามมากและทวีความซับซ้อน หลากหลาย และความรุนแรงตามความเจริญนั้นด้วย ยากที่หน่วยงานใด หน่วยงานหนึ่งจะจัดการได้  เช่น จะรอภาครัฐเข้ามาแก้ไขปัญหาอย่างเดียวคงไม่ทันการณ์ขณะเดียวกันหน่วยงานเอกชนที่มักดำเนินงานเพื่อประโยชน์ของหน่วยงานและผู้มีส่วยได้เสีย( Stakeholders ) โดยตรง เช่น ผู้ถือหุ้นนั้นอาจไม่สามารถเข้ามามีส่วนช่วยจัดการปัญหาได้เพราะอาจขัดกับประโยชน์ที่เป็นเป้าหมายทางธุรกิจ บางครั้งตัวธุรกิจของหน่วยงานนั้นเองก็เป็นเหตุหนึ่งของปัญหาการใช้งบประมาณเพียงส่วนน้อยกับโครงการหรือกิจกรรม CSR จึงไม่เพียงพอและไม่ใช่คำตอบที่แท้จริง  จากที่กล่าวมาข้างต้นเราพอจะเห็น SE นั้นเป็นสิ่งหนึ่งที่สังคมโลกในปัจจุบันกำลังต้องการ เพราะเนื่องจากหากเรามีองค์กรเหล่านี้มากเพียงใดก็ย่อมจะเป็นผลดีต่อสังคมหรือประเทศชาติมากขึ้นเท่านั้น เรามาดูตัวอย่าง SE ในต่างประเทศกันบ้างนะครับ

บังคลาเทศ : Grameen Bank ก่อตั้งโดยนักเศรษศาสตร์ รางวัลโนเบล มูฮัมหมัด ยูนูส ที่ใช้แนวคิด “ไมโครเครดิต ” ( Micro credit ) หรือ การให้กู้เงินโดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน ปล่อยเงินกู้ขนาดย่อมให้แม่บ้านชาวบัคลาเทศลงทุนเพื่อตั้งกิจการของตนเอง กิจการและแนวคิดนี้จึงทำใหยูเนสได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 2549 สำหรับ ความพยายามในการสร้างพัฒนาการทางสังคมและเศรษฐกิจจากเบื้องล่าง

แอฟริกาใต้ : Playpumps เพลย์ปั้มเป็นม้าหมุนสำหรับเด็กทุกครั้งที่เด็กมาเล่นม้าหมุนนี้ พลังงานจากการการหมุนจะช่วยสูบน้ำสะอาดสำหรับการอุปโภคจากบ่อใต้ดินไปที่แทงค์เก็บน้ำ และแทงค์น้ำนี้ก็เชื่อมต่อกับท่อน้ำในชุมชนทำให้ทุกคนได้มีน้ำสะอาดใช้ปัจจุบันมีเพลย์ปั้มประมาณ 700 เครื่องถูกติดตั้งในแอฟริกาใต้แหล่งรายได้ของเพลย์ปั้มมาจากการขายพื้นที่โมษณาบริเวณปั้มโดยค่าโมษณาบางส่วนมีเนื้อหารณรงค์เรื่องโรคเอดส์แก่เด็ก

กัมพูชา : Digital Divide Date (DDD) เป็นบริษัทด้าน IT ขนาดใหญ่ที่เปิดโอกาสและผู้พิการซึ่งแต่เดิมมักถูกกีดกันออกจากสังคม และมีโอกาสก้าวหน้าน้อยมากในประเทศกัมพูชา

ตัวอย่างกิจการเพื่อสังคมในประเทศไทย

โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี ที่ค้นคว้าวิจัยและศึกษาด้านสมุนไพร มีเป้าหมายเพื่อทำให้สมุนไพรเป็นที่ยอมรับของสังคมในวงกว้างจนสามารถใช้เป็นยาทดแทนยาจากต่างประเทศ

บริษัท ป่าใหญ่ครีเอชั่น จำกัด เป็นบริษัทผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาสร้างสรรค์สังคม เช่น รายการความรู้คือประทีบ รายการทุ่งแสงตะวัน 

ประชาไท เป็นหนังสือพิมพ์อิสะบนเว็บไซต์ ที่นำเสนอมุมมองรอบด้านในการติดตามข่าวสาร และเป็นช่องทางการสื่อสารสำหรับประชาชนทุกระดับ

บริษัท สยามบ้านดิน จำกัด เป็นผู้เชี่ยวชาญการออกแบบและสร้างบ้านดินที่เป็นมิตรต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม ดำเนินกิจกรรมภายใต้อาศรมวงศ์สนิท มูลนิธิเสถียรโกเศศ – นาคะประทีป

จากที่กล่าวมาแล้วเรามองเห็นว่าทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ต่างให้ความสำคัญของ SE เนื่องจาก SE จะเป็นอีกแรงหนึ่งในการผลักดันให้สังคมไปในทิศทางที่ดีขึ้น รูปแบบ SE ในทัศนะของผู้เขียน

 

จากมุมมองของผู้เขียนมองว่า การที่จะทำให้  Social Enterpsics  เกิดขึ้นในประเทศโดยสมบูรณ์แบบผู้เขียนมองว่า เราควรเริ่มจากองค์กรเล็กๆ หลายองค์กร ดูแลกันคนละเฉพาะด้านไปเลย และในการดูแลนั้นดูแลชุมชนของตัวเอง  ในมุมมองของผู้เขียนเห็นว่า ชุมชนเป็นผู้รู้ปัญหาของชุมชนดีที่สุด และนอกจากจะรู้ปัญหาของตัวเองแล้ว ยังสามารถแก้ไขปัญหาของชุมชนตัวเองได้ดีเช่นกัน  จากรูปแบบที่ผู้เขียนกำหนดขึ้น ผู้เขียนมองว่า การทำ SE ของประเทศเริ่มต้นจากชุมชน กล่าวคือ เมื่อเราทำโมเดลนี้สำเร็จเราค่อยขยายไปยังชุมชนใกล้เคียง และขยายไปเรื่อยๆจนในที่สุด SE ชุมชน เกิดขึ้นทั่วประเทศจนกลายเป็น วัฒนธรรมชุมชน และเป็นวัฒนธรรมของประเทศในที่สุด วัฒนธรรมในที่นี้คือวัฒนธรรมแห่งความดี เป็นวัฒนธรรมที่เน้นการทำงานเพื่อคนอื่น ช่วยเหลือคนรอบข้าง ช่วยเหลือสังคม ช่วยเหลือประเทศ เป็นการพึ่งพาซึ่งกันและกันในชุมชน  เป็นต้น ผู้เขียนมองว่า เราอาจจะมี SE หลายๆกลุ่มในที่นี้ผู้เขียนยกตัวอย่างมาแค่ 4 กลุ่มเท่านั้นเอง เริ่มจาก

กลุ่มผู้ดูแลขยะ  ในกลุ่มผู้ดูแลขยะนั้นอาจตั้งเป็นเป็นกลุ่ม หรือชุมชนที่เกิดในชุมชน แล้วช่วยกันคัดแยกขยะและนำขยะนั้นไปจำหน่ายเป็นรายได้ของกลุ่ม ยกตัวอย่างเช่น โครงการทำบุญด้วยขยะ ผู้เขียนเองเคยไปเห็นชุมชนแห่งหนึ่งในภาคอีสานทำ เห็นแล้วรู้สึกเกิดความประทับใจจึงนำมาเล่าต่อ กล่าวคือ ในหมู่บ้านแห่งนี้ชาวบ้านนับถือหลวงพ่อเป็นอย่างมาก หลวงพ่อเลยเกิดแนวความคิดนำขยะมาทำบุญที่วัด ชาวต่างพากันคัดแยกขยะเพื่อนำมาทำบุญที่วัดแห่งนั้น บางคนของเก่าของเหลือใช้ก็นำมาทำบุญที่วัด จนมากพอทางวัดจึงนำขยะเหล่านั้นไปขาย เป็นเงินก็นำมาใช้ในวัด ซึ่งชาวบ้านต่าเห็นดีด้วยที่สามารถนำขยะมาใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นชุมชมสามารถจัดการปัญหาของชุมชนเองได้

กลุ่มผู้ดูแลป่าชุมชน  ในเรื่องของการดูแลป่าชุมชนก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ชุมชนควรมีกลุ่มเหล่านี้ในการดูแลและป้องกัน บางครั้งหากป่าชุมชนถูกทำลายมากๆ ก็จะส่งผลต่อคนในชุมชนนั้น ในการตั้งกลุ่มผู้ดูแลป่าชุมชนนั้นผู้เขียนมองว่าสามารถทำได้หลายระดับ เช่น หากชุมชนนั้นมีป่าชุมชนไม่ใหญ่มากนักก็สามารถตั้งกลุ่มดำเนินการเรื่องป่าชุมชนได้เลย หากแต่ในชุมชนนั้นมีผืนป่ากว้างมาก็ควรทำงานร่วมกับหน่ายงานราชการ เป็นต้น

กลุ่มผู้ดูแลด้านสุขภาพอนามัย  บางครั้งหากคนในชุมชนมีสุขภาพที่แข็งแรงก็จะทำให้ชุมชนนั้นเกิดความเข้มแข็งได้ และหากหลายๆชุมชนแข็งแรงก็สามารถช่วยประเทศชาติได้มหาศาลในการลดการนำเข้ายา เพื่อมารักษา ผู้เขียนเคยเห็นหลายชุมชนมีการทำโครงการหรือการรวมกลุ่มเกี่ยวกับการดูรักษาสุขภาพของชุมชน โดยการออกกำลังกาย การรับคำแนะนำจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านโภชนาการ เป็นต้น

กลุ่มผู้ดูแลและป้องกันยาเสพติดในชุมชน  ยาเสพติดเป็นอันตรายต่อชุมชนต่อสังคมและประเทศชาติ หากในชุมชนมีการดูแลกันในเรื่องนี้ให้ดีก็สามารถช่วยเหลือชุมชนได้เป็นอย่างดี และสามารถแก้ไขปัญหาอันยิ่งใหญ่ของชาติได้ ผู้เขียนมีแนวคิดว่าเราควรมีการอบรมเรื่องยาเสพติดให้กับเยาวชนในชุมชนหลังจากนั้นเราก็นำแกนนำเยาวชนเหล่าเป็นผู้คอยสอดส่องกลุ่มเพื่อนหรือคนในชุมชนว่าใครมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหายาเสพติดบ้าง ซึ่งผู้เขียนมองว่า คนในชุมชนั่นเองที่เป็นผู้รู้ปัญหาของคนในชุมชน และหากเกิดอะไรขึ้นคนในชุมชนนั่นเองก็สามารถข่าวสารความเคลื่อนไหวได้ ในมุมมองของผู้เขียนเห็นว่า ควรมีการตั้งเยาวชนในชุมชนให้เป็นแกนนำในการดูและเพื่อน ญาติ พ่อ แม่ พี่น้องของตัวเขาเอง หากทำสำเร็จในระดับชุมชน จากนั้นก็ขยายไปยังชุมชนอื่นๆ และสามารถสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนได้ เป็นต้น

 

 

หมายเลขบันทึก: 500891เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2012 22:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กันยายน 2012 22:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท