เวทานตะมีส่วนคล้ายกับพุทธปรัชญา


ผมเผอิญไปเจอ วีดิโอ การสนทนาระหว่าง Deepak Chopra กับ Robert Thurman เรื่อง God and Buddha ที่จัดขึ้นที่ สถาบันธิเบตศึกษา นิวยอร์ค หลายปีก่อน แต่เพิ่งอัพโหลดมาบน youtube ไม่นาน เนื่องจากยาวมาก ก็เลยใช้ Miro ดาวน์โหลดมาดูที่เครื่องที่บ้านแบบ ออฟไลน์ ดูจบแล้วก็คิดว่าดีมาก ว่างๆ จะดูอีกรอบ แต่ได้ข้อสรุปมาว่า ปรัชญาเวทานตะ ของฮินดู คล้ายกับหลักของพุทธศาสนา (แต่รายละเอียดนั่นอีกเรื่องหนึ่ง) ผมคาดเอาตามที่ครูบาอาจารย์ท่านเขียนเอาไว้ว่า หลังสมัยพระพุทธเจ้าปรินิพพาน ศาสนาพราหมณ์คงรับแนวคิดพุทธปรัชญากลับเข้าไป จนพัฒนามาเป็นฮินดูในปัจจุบ้น (คงมาตะเภาเดียวกันกับ OS & softwares ในปัจจุบัน มีอะไรดีๆ ก็ก๊อปกันไป ก๊อปกันมา)

อย่างไรก็ดี นอกจากการมองปัญหาเดียวกัน (ทุกข์ และต้นเหตุของทุกข์) แบบคนละขั้วแล้ว ความแตกต่างทางปรัชญาระหว่างศาสนานั้น อีกส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะการใช้คำไม่ตรงกันอย่างหนึ่ง และการที่นิยามความหมายไม่ตรงกันอีกอย่างหนึ่ง (นี่ไม่ใช่เรื่องแปลกในวงการปรัชญาตะวันตก พบได้บ่อย) ก็คือเรื่องทาง semantics ถ้าเราก้าวข้ามเรื่องทาง ซีเมนติกส์ไปได้ ก็จะมองเห็นความคล้ายกันที่เป็นส่วนร่วมได้ง่ายขึ้น

และก็ไปดาวน์โหลดวีดิโออีกตอน เรื่อง  The Happiness Prescription ที่ ดีปัก ไปบรรยายการดับทุกข์โดยวิธีแนวพุทธ มาเก็บไว้ ตอนนี้ยังไม่ได้ดู ดูแค่พรีวิวไป คิดว่าน่าจะดี แต่ตอนนี้เกิดความรู้สึกไม่แน่ใจว่า อีตา ดีปัก โชปรา นี่เป็นฮินดู หรือพุทธ หรือว่าผสม จะอย่างไรก็ตาม ที่แน่ๆ ชื่อเรียกว่า ฮินดู หรือ พุทธ ก็ต่างเป็นแค่ สมมุติบัญญัติเท่านั้น

คำสำคัญ (Tags): #ปรัชญา#เวทานตะ
หมายเลขบันทึก: 500881เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2012 20:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กันยายน 2012 07:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ช่วงนี้ผมกำลังอ่าน Reinventing the body, reinventing the soul ของ Chopra อยู่พอดีเลยครับ หยิบๆ วางๆ อยู่เป็นสัปดาห์แล้ว ยังไม่มีโอกาสอ่านให้จบเสียทีครับ ผมว่าเขาผสมหลายแนวความคิดในการอธิบายในเนื้อหาของเขาครับ ผมชอบอ่านลักษณะนี้ครับ

เดี๋ยวมีโอกาสต้องตามไปดูวิดีโอที่อาจารย์แนะนำครับ ขอบคุณมากครับ

ดีใจที่มีคนชอบคล้ายๆ กันครับ ไม่งั้นผมมักนึกว่าผมเป็นคน eccentric สนใจอะไรไม่เหมือนคนทั่วๆ ไปในประเทศไทย

ยินดีที่ได้แลกเปลี่ยนกับอาจารย์ครับ ผมคิดว่าเรื่องเหล่านี้น่าสนใจมากครับ ผมชอบศึกษาศาสนาจากหนังสือที่มองข้ามพิธีกรรมแล้วพิจารณาในมุมมองของความหมายที่แท้จริงครับ เพราะผมคิดว่าสิ่งที่มนุษย์ถ่ายทอดปฎิบัติกันมาได้เป็นหลายพันปีนี่ต้องมีเหตุและผลที่ดีอย่างยิ่ง เอาเข้าจริงผมว่ามันเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เผ่าพันธุ์มนุษย์อยู่ได้มาถึงทุกวันนี้ด้วยซ้ำ ดังนั้นต้องมีอะไรที่น่าสนใจมากให้ได้เรียนรู้แน่นอนครับ ยิ่งศึกษาก็ยิ่งสนุกครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท