การกลับมาอีกครั้งของกลองมโหระทึก


การกลับมาอีกครั้งของ

กลองมโหระทึก

         เนื่องด้วยมีการค้นพบกลองมโหระทึก ณ แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร ในช่วงปลายปีพ.ศ.๒๕๕๓ กลองมโหระทึกดังกล่าวเคลื่อนย้ายมาจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช มาเก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร และได้มีการจัดแสดงไปแล้วช่วงระยะเวลาหนึ่งซึ่งในขณะนั้นกลองมโหระทึกยังไม่ได้รับการอนุรักษ์ "การอนุรักษ์โบราณวัตถุ" เป็นการชะลอการเสื่อมสภาพของโบราณวัตถุ ในการอนุรักษ์กลองมโหระทึกได้รับความอนุเคราะห์จาก "กลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์" สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

          กลองมโหระทึกเป็นโบราณวัตถุที่ทำมาจาก "สำริด" ซึ่งเป็นโลหะผสมประกอบด้วยแร่ธาตุสำคัญ คือ ทองแดงและดีบุก โบราณวัตถุที่ทำจากโลหะเป็นโบราณวัตถุที่เสื่อมสภาพได้ง่าย เพราะถ้าหากโลหะอยู่ในห้องที่อุณภูมิเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว ก็จะทำให้เกิดสนิมที่เนื้อโลหะ และสนิมบางชนิดก็กัดกินเนื้อโลหะทำให้เกิดการผุพังของวัตถุในที่สุด สนิมยังเกิดได้จากความเค็มของเหงื่อที่มือเราอีกด้วย ดังนั้นเมื่อเพื่อนๆ ไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์ก็จะเห็นป้าย "ห้ามจับ" สาเหตุที่ห้ามจับก็เพราะถ้าหากมือของเราสัมผัสโบราณวัตถุโดยตรง เหงื่อของเราก็จะโดนโลหะ โลหะก็จะเกิดสนิมซึ่งเป็นการเร่งให้โบราณวัตถุเสื่อมสภาพเร็วขึ้นค่ะ

           การส่งกลองมโหระทึกไปทำการอนุรักษ์เป็นการชะลอการเสื่อมสภาพของโบราณวัตถุซึ่งถือเป็นสมบัติของชาติ ถ้าหากโบราณวัตถุผุพังเสื่อมสภาพและสูญสลายไปก็ไม่สามารถหาวัตถุชิ้นใหม่มาแทนที่ได้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร จึงขอขอบคุณ กลุ่มวิทยาศาสตร์เพื่อการอนุรักษ์ ที่ให้ความอนุเคราะห์ในครั้งนี้ และขอขอบคุณชาวชุมพรทุกท่านที่มีส่วนช่วยในการอนุรักษ์และดูแลสมบัติของชาติให้ยังคงอยู่ต่อไป

          หากเพื่อนๆ ท่านใดสนใจ ก็สามารถมาเยี่ยมชมกลองมโหระทึก ซึ่งทางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร ได้นำมาจัดแสดงแล้วค่ะ หวังว่าจะได้พบกันนะค่ะ              

    

หมายเลขบันทึก: 500839เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2012 14:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กันยายน 2012 10:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท