ปลูกเห็ดเจ็ดชั่วโคตร พืชหลักโตไวได้เห็ดเป็นอาหารเสริม


ท่าน อาจารย์ดีพร้อม ได้เคยพูดกับเกษตรกรในที่ต่างๆในเรื่องการปลูกเห็ดป่ากับพืชไร่ไม้ผลว่าเป็น การปลูกเห็ดเจ็ดชั่วโคตร ซึ่งหมายถึงเมื่อปลูกแล้วเห็ดชนิดที่เป็นมัยคอร์รัยซ่านั้นจะอยู่อาศัยกับ รากต้นไม้ไปตราบนานเท่านาน

จุลินทรีย์มัยคอร์รัยซ่า (mycorrhiza) เมื่อได้อยู่กับรากพืชที่เหมาะสมก็จะทำให้พืชหรือต้นไม้ชนิดนั้นมีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว ทนทานต่อสภาวะอากาศที่แห้งแล้งได้ยาวนานกว่าพืชที่ไม่มีจุลินทรีย์มัยคอร์รัยซ่าอาศัยอยู่  ใน ต่างประเทศมีการนำสปอร์ของจุลินทรีย์มัยคอร์รัยซ่านำมาแปะติดกับรากพืชแล้ว จำหน่ายเป็นต้นพันธุ์ที่มีระบบรากเป็นที่อาศัยของจุลินทรีย์กลุ่มมัยคอร์รัย ซ่าอยู่ด้วย พืชชนิดต่างๆ นั้นถ้าผู้เพาะกล้าพันธุ์ไม้จำหน่ายทำการประยุกต์ใช้ให้เป็นมะนาว ยาง ปาล์ม หรือพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นๆ ที่ผู้คนสนใจ ก็จะได้ประโยชน์อย่างมาก เพราะพืชจะเจริญเติบโตอย่างแข็งแรง รวดเร็ว ให้ผลผลิตค่อนข้างมาก

เนื่องด้วยเพราะจุลินทรีย์มัยคอร์รัยซ่าจะย่อยสลายเศษอินทรีย์เป็นอาหารให้แก่พืช อีกทั้งช่วยห่อหุ้มรากพืชแลกเปลี่ยนสารอาหารระหว่างกันพืชกินอาหารจากมัยคอร์รัยซ่า มัยคอร์รัยซาอาศัยอาหารจากรากฝอยของพืชพึ่งอาศัยซึ่งกัน จึงทำให้สามารถอยู่รอดปลอดภัยได้แม้ในสภาวะอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย จะมีความทนทานต่อโรคและแมลงได้มากกว่าพืชที่ขึ้นโดดเดียวเพียงลำพัง

ท่าน อาจารย์ดีพร้อม ได้เคยพูดกับเกษตรกรในที่ต่างๆในเรื่องการปลูกเห็ดป่ากับพืชไร่ไม้ผลว่าเป็น การปลูกเห็ดเจ็ดชั่วโคตร ซึ่งหมายถึงเมื่อปลูกแล้วเห็ดชนิดที่เป็นมัยคอร์รัยซ่านั้นจะอยู่อาศัยกับ รากต้นไม้ไปตราบนานเท่านานสามารถเป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่ยั่งยืนให้แก่พี่ น้องเกษตรกร เห็ดที่สังเกตุเห็นได้ชัดเจนคือเห็บตับเต่า (bolete) ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มของเอ็กโตมัยคอร์รัยซ่า (Ectomycorrhiza)  ซึ่งเป็นจุลินทรีย์หรือราเห็ดที่อาศัยพันอยู่รอบรากพืช มิได้อาศัยอยู่ในรากพืชเหมือนกลุ่มของ เอ็นโดมัยคอร์รัยซ่า (endomycorrhiza) ซึ่งมีขายอยู่ในท้องตลาดราคาประมาณกิโลกรัมละ 500 บาท  

เห็ดตับเต่านี้นับว่าเป็นเห็ดที่ง่ายต่อการนำไปเพาะขยายกับต้นไม้หรือรากพืชตามที่เกษตรกรต้องการ  วิธีการทำก็ให้ไปหาเห็ดตับเต่าตามป่าดงพงหญ้าหรือตลาดเช้าที่มีชาวบ้านเก็บมาขาย  ในกรุงเทพฯก็พบเห็นหลายแหล่ง ตลาดบางใหญ่ ตลาดยิ่งเจริญสะพานใหม่ วัดสังฆทานธรรม นนทบุรี ฯลฯ  ถ้าพบก็ให้ทำการเลือกดอกเห็ดที่ค่อนข้างแก่ ใต้กลีบดอกมีสีน้ำตาลเข้มจนสามารถสังเกตุเห็นผงสปอร์หลุดร่วงลงมากองกับพื้นได้ก็ยิ่งดี (ซื้อแล้วนำมาพักวางแผ่บนหนังสือพิมพ์รอให้สปอร์แก่) นำมาฉีกบี้ขยำกับน้ำแล้วทำการราดรดให้ทั่วโคนต้นไม้ที่ต้องการโดยเฉพาะต้นมะม่วง มะกอกน้ำ ต้นหว้า ตะแบก เหียง เต็ง รัง ยางนา ฯลฯ  แล้วนำปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกคลุมโคนต้นไว้ รอวันผันผ่านฤดูกาลของฝนใหม่มาเยือนก็จะมีดอกเห็ดตับเต่าออกมาให้ได้ยลโฉมและนำไปปรุงเป็นอาหารโดยเฉพาะแกงเลียง แกงเปรอะ (ภาษาเหนือ) รับรองว่าอร่อยไม่เบาทีเดียวครับ

 

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 500776เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2012 21:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อ้อ เข้าใจแล้วค่ะ การปลูกเห็ด สามารถเก็บกินเป็น "อาหาร" ไปได้หลาย Generationเลย ได้โปรตีนสูง ด้วยนะคะ

ขอบคุณ บทความดีดีมีคุณภาพนี้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท