ปรัชญาเกี่ยวกับหลักมนุษยสัมพันธ์


ในวรรณกรรมเรื่องสามก๊ก โจโฉนักรบจีนได้ใช้มนุษยสัมพันธ์ในการรบชนะข้าศึกเกี่ยวกับการประสานงานได้อย่างยอดเยี่ยม

ปรัชญาเกี่ยวกับหลักมนุษยสัมพันธ์

(Philosophy of human relations)


ปรัชญา คือวิชาที่ว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริงเกี่ยวกับหลักมนุษยสัมพันธ์ที่ต้องรู้เพื่อให้การทำงานบรรลุเป้าหมายมี ๙ ประการ คือ

๑.ปรัชญาเกี่ยวกับศาสนา มนุษย์สัมพันธ์ในทางศาสนาจะมุ่งเน้น

๑.๑ สันติสุข         ทำงานร่วมกันด้วยความสงบสุข

๑.๒ เมตตา           ไม่เบียดเบียนกันและกัน

๑.๓ สามัคคี         พร้อมเพรียงกันทำงาน

๒. ปรัชญาเกี่ยวกับการปกครอง มุ่งเน้น

๒.๑ ความจงรักภักดีต่อหัวหน้าผู้ปกครอง หรือผู้บริหาร

๒.๒ ความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

๓. ปรัชญาเกี่ยวกับการบริหารองค์การ ทั้งหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนหัวหน้างานจะเน้นในเรื่องปริมาณและคุณภาพของผลงานเป็นใหญ่ จึงมุ่งเน้น

๓.๑ ความเข้าใจดีต่อกัน

๓.๒ ความสามัคคี

๔. ปรัชญาเกี่ยวกับการศึกษา มุ่งเน้น

๔.๑ ความสัมพันธ์ของบุคคลในกลุ่ม ในชั้นเรียน ในโรงเรียน เพื่อความพัฒนาด้านการศึกษา มนุษยสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน ผู้สอน ผู้บริหารการศึกษา

 

หลักมนุษยสัมพันธ์ของโจโฉ

(Human relations of Jocho)

                ในวรรณกรรมเรื่องสามก๊ก โจโฉนักรบจีนได้ใช้มนุษยสัมพันธ์ในการรบชนะข้าศึกเกี่ยวกับการประสานงานได้อย่างยอดเยี่ยม ดังนี้

                หลักการประสานคน โจโฉ ใช้วิธีการดังนี้

๑.      ฟังความคิดเห็นของทหารผู้ใต้บังคับบัญชา

๒.    มีความโอบอ้อมอารีต่อทหารทุกคน

๓.     มีความยุติธรรมในการปกครองทหาร

๔.     แสดงความรักลูกน้องโดยความสุจริตใจ

๕.     เลี้ยงดูทหารและปูนบำเหน็จรางวัลเสมอกัน

หลักการประสานงาน โจโฉ ใช้วิธีการดังนี้

๑.      เด็ดขาด

๒.    ทำหน้าที่ชอบ

๓.     คิดก่อนทำ

๔.     ทำตามธรรมเนียมนิยม

๕.     ชำนาญกลศึก

 

ลักษณะผู้มีมนุษยสัมพันธ์ไม่ดี

(Charactcrs of bad human relations)

ผู้ไม่รู้หลักการและวิชาการมนุษยสัมพันธ์ย่อมไม่อาจทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้ ผู้มีลักษณะดังกล่าวเรียกว่า ผู้ไม่มีมนุษยสัมพันธ์มีลักษณะดังนี้

๑.      หน้าบูด หมายถึง หน้าบึ้ง ไม่ค่อยยิ้มแย้มแจ่มใส ผู้อื่นเห็นแล้วไม่อยากคบค้าสามคม

๒.    ไม่พูดจา หมายถึง เป็นคนไม่ค่อยชอบพูด พูดน้อยเพื่อนไม่ค่อยชอบ

๓.     อารมณ์ไม่ดี หมายถึง เป็นคนโมโหง่าย โกรธง่าย เอะอะโวยวาย

๔.     จู้จี้ขี้บ่น หมายถึง เป็นคนจู้จี้จุกจิก ชอบบ่น ชอบทำเรื่องเล็กเป็นเรื่องใหญ่

๕.     ไม่มองหน้าคน หมายถึง ขณะกำลังสนทนาคนเช่นนี้จะไม่มองหน้าคน

๖.      เอาแต่ใจตนเอง หมายถึง ผู้ที่ชอบถือใจตนเองเป็นใหญ่ ไม่เอาใจเขามาใส่ใจเรา ชอบให้ผู้อื่นเอาใจตนเอง

๗.     อวดเก่งวางท่า หมายถึง ผู้ที่ถือว่าตนเก่งกว่าผู้อื่น รู้มากกว่าฉลาดกว่าผู้อื่น ผู้อื่นโง่หมด

๘.     ไม่คบหาสมาคม หมายถึง ผู้ที่ไม่ชอบคบเพื่อน ชอบอยู่คนเดียว ไม่ชอบทำงานเป็นกลุ่ม

๙.      ชอบคนไม่เป็น หมายถึง ผู้ที่ไม่เคยและไม่ชอบยกย่องคนอื่น เกรงว่าคนอื่นจะเด่นกว่าตน แต่ชอบที่จะให้ผู้อื่นชมตนมากกว่า

๑๐.  อวดเด่นอวดดัง หมายถึง ผู้ที่ชอบอวดเบ่งกับคนอื่น ยกตนข่มท่าน โดยคิดว่าตนเองเด่นกว่าเพื่อน

 

ลักษณะของผู้มีมนุษยสัมพันธ์ดี

(Characters of dominant human relations)

        ผู้มีมนุษยสัมพันธ์ดี คือผู้ที่มีกาย วาจา และใจ เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ตรงกันข้ามกับผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ไม่ดี กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ ได้อธิบายลักษณะผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในหนังสือแผนการสอนกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ชั้นประถมปีที่ ๕ ไว้ รวม ๑๐ ประการดังนี้ คือ

๑.      ยิ้มแย้มแจ่มใส สุภาพอ่อนโยน พูดจาไพเราะ และเป็นกันเองกับผู้อื่น

๒.    เข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้ร่วมงาน มีเมตตากรุณา

๓.     มีความจริงใจต่อผู้อื่น ให้ความช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความบริสุทธิ์ใจ

๔.     ชมเชยคนอื่นเสมอ ให้เกียรติผลงานของผู้อื่นมากกว่าติ

๕.     ไม่นินทาว่าร้ายผู้อื่น และไม่หวั่นไหวต่อสิ่งใด

๖.      เป็นคนยุติธรรม

๗.     รู้จักประนีประนอม

๘.     มีความมั่นใจในตนเอง และรู้จักเป็นตัวของตัวเอง

๙.      รู้จักหาและใช้เหตุผล

๑๐.  ยกย่องความรู้และความริเริ่มของผู้อื่น

 

แหล่งที่มา : รวบรวมเรียบเรียง โดย ดร.เสนาะ ผดุงฉัตร

คำสำคัญ (Tags): #ฆ.ระฆัง
หมายเลขบันทึก: 500762เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2012 19:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 สิงหาคม 2012 21:37 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท