วิศวกรโยธา VS. วิศวกรปัญญา กับความท้าทายในการทำโครงการ


การวางแผนหรือการทำโครงการในบทบาท "วิศวกรโยธา" (พัฒนาอาคาร ถนนหนทาง) กับบทบาท "วิศวกรปัญญา" (พัฒนาสติปัญญาผ่านการเรียนรู้) นั้น เป็นสิ่งที่แตกต่างกันค่อนข้างมาก

          ประสบการณ์ที่ผ่านมาทำให้ผมเห็นชัดว่า การวางแผนหรือการทำโครงการในบทบาท "วิศวกรโยธา" (พัฒนาอาคาร ถนนหนทาง) กับบทบาท "วิศวกรปัญญา"  (พัฒนาสติปัญญาผ่านการเรียนรู้) นั้น เป็นสิ่งที่แตกต่างกันค่อนข้างมาก ที่อยากจะนำมาเล่าให้ฟังในวันนี้ เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการทำโครงการครับ


          การเขียนโครงการที่เกี่ยวกับงานด้านพัฒนาการเรียนรู้หรือพัฒนาสังคมนั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับปัจจัยในเชิงนามธรรมค่อนข้างมาก หากพูดถึงการวางแผนในตอนที่เขียนโครงการ จะพบว่าเป็นเรื่องที่ต้องใช้จินตนาการค่อนข้างสูง โอกาสที่การทำงานจริงจะตรงกับสิ่งที่เขียนไว้ในแผนร้อยเปอร์เซ็นต์นั้นเป็นไปไม่ได้แน่ๆ ไม่เหมือนกับงานก่อสร้างที่วางแผนไว้ว่าจะเทคอนกรีตตรงนั้นตรงนี้ แล้วก็ทำกิจกรรมไปตามแผนที่วางไว้


          การทำงานด้านการพัฒนาคน / พัฒนาสังคม จำเป็นอย่างยิ่งที่คนทำโครงการจะต้องยืดหยุ่น  (พริ้ว) ไปตามสถานการณ์ ทั้งนี้เพราะมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากมาย หากเดินไปตามแผนที่วางไว้ก็อาจจะได้ผลลัพธ์ออกมาไม่ตรงกับเป้าหมายที่ต้องการก็ได้ หลายครั้งหลายคราเราต้อง "ปรับกระบวนท่า" เพราะเห็นแล้วว่า ถ้าเดินต่อไป ทำไปตามกิจกรรมที่เขียนไว้ในแผนก็จะเสียเวลา เสียทรัพยากร (ผลาญงบประมาณ) ไปเปล่าๆ


          แต่ปัญหาที่ตามมาเวลาที่เราไม่ได้เดินไปตามแผนทุกกระเบียดนิ้วก็คือ ต้องมาตอบคำถามผู้ประเมิน / ผู้ตรวจสอบว่าทำไมไม่เดินไปตามแผนที่วางไว้? ทำไมไม่ทำกิจกรรมตามที่ (เรา "นั่งเทียน") เขียนไว้ในแผน? ผู้ตรวจสอบมักสนใจแต่เพียงว่า . . กิจกรรมนี้ทำไปหรือยัง? . . ใช้ตังค์ไปเท่าไหร่แล้ว? . . มีเอกสาร (หลักฐานการใช้เงิน) ครบไหม? บางทีกว่าจะตอบคำถามทั้งหมดนี้ได้ ก็ต้องใช้พลังกายพลังใจไปพอๆ กับที่ใช้ไปในการทำงานโครงการเลยทีเดียว!


หมายเลขบันทึก: 500695เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2012 11:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กันยายน 2012 22:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

 

โครงการ.....ที่เกี่ยวกับงานด้านพัฒนาการเรียนรู้หรือพัฒนาสังคมนั้น ......เป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับปัจจัยใน....เชิงนามธรรม...ค่อนข้างมาก หากพูดถึงการวางแผนในตอนที่เขียนโครงการ จะพบว่าเป็นเรื่อง..ที่ต้องใช้จินตนาการค่อนข้างสูง... โอกาสที่การทำงานจริงจะตรงกับสิ่งที่เขียนไว้ในแผนร้อยเปอร์เซ็นต์นั้นเป็นไปไม่ได้แน่ๆ ไม่เหมือนกับ...งานก่อสร้าง...ที่วางแผนไว้ว่าจะเทคอนกรีตตรงนั้นตรงนี้ แล้วก็ทำกิจกรรมไปตามแผนที่วางไว้ ===> ที่ท่านดร. ประพนธ์ ผาสุขยืด   เขียน + พูด มานั้น  ถูก ต้องมากที่สุด่ะ....หนูใหัคะแนน 100% เลยนะคะ  

  ขอบคุณท่านอาจารย์มาก ค่ะ

ดร.สมศรี คงเจอเรื่องทำนองนี้มาเยอะเหมือนกัน ใช่ไหม?

ขอบคุณครับอาจารย์

แผนเป็นของตาย แต่เป้าหมายเป็นของเป็น เราอยากจะตายรึอยากจะเป็นต้องมี focus ที่แน่วแน่ และไม่เพียงแค่ focus เท่านั้น ยังต้องมี will มีเจตจำนงความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าอีกด้วย บางทีบนเส้นทางมีเมฆ มีหมอกมาบัง ก็ต้องรวบรวมสติ ว่าเราจะตามเมฆไปตามหมอกไป หรือจะไปยังเป้าหมายเดิมดี

เพราะบางครั้งไล่ตามเมฆ ไล่ตามหมอก ก็มีมาให้ไล่ไม่จบไม่สิ้น

เพราะบางครั้งเมฆหมอกเหล่านั้นอาจจะเป็นสัญญานเตือนว่าใกล้ปล่องภูเขาไฟแล้วก็ได้ ไปต่อก็อาจจะเป็นผนังหน้าผา เป็นหล่มไฟ 

"เป้าหมายจึงเป็นของเป็น". ที่เราต้องจับสัญญาน ถอดรหัสชีวิต ให้ทันท่วงที

อาจารย์หมอสกลทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนมาก . . ."บางครั้งเมฆหมอกเหล่านั้นอาจจะเป็นสัญญานเตือนว่าใกล้ปล่องภูเขาไฟแล้วก็ได้ . . ."

อาจารย์ประพนธ์ทำก็เพื่อคนหมู่มาก..ด้วยอุดมการณ์ในการพัฒนาคน ด้วยวิญญาณของความเป็นครู

บางครั้งวิญญาณของครูก็ไม่ได้ overlap กับมนุษย์ที่ทำหน้่าที่ตรวจสอบและประเมิน

เพราะครูต้องการเป็นผู้ให้ ส่วนผู้ตรวจสอบต้องการได้ข้อมูล

แต่ถึงอย่างไรวิญญาณของครูก็จะเดินหน้าต่อไป..เพราะเรื่องตรวจสอบมันจิ๊บจ๊อยมากเมื่อเทียบ กับการสร้างปัญญาให้ศิษย์

ปุ้ยเป็นกำลังใจให้นะคะ

ปล. งานสร้างปัญญาสามารถทำให้เป็นรูปธรรมและออกแบบวางแผนตามกระบวนการได้คะ

และถ้ามีอะไรที่ปุ้ยช่วยอาจารย์ได้ กดมาเลยนะคะ ยินดีรับใช้ผู้มีอุดมการณ์คะ :D

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท