พลังงานลมไทย..."กูบ้อท่า"


สมัยผมเป็นเด็กน้อย นั่งรถไฟเข้ากรุงเทพ ริมข้างทางจากปราจีน ถึง แปดริ้ว มีกังหันลมวิดน้ำเข้านา ผลิตโดยภูมิปัญญาไทยเต็มร้อย    น่าจะมีปริมาณนับหมื่นตัว...

 

....เป็นกังหันลมใบไม้ (กระดาน)  ที่ไสขูดผิวด้านหลังให้เป็นแนวนูนโค้ง เพื่อสร้างแรง Lift ตามหลักการอากาศพลศาสตร์   (aerodynamic)   ....จากนั้นแตกแรง Liftในแนวลมที่เฉียงตามหลัีกการลมสัมพัทธ์ (relative velocity)  ตามหลักการเรขาคณิตให้เป็นแรงบิด (Torque)  ซึ่งต้องเข้าใจ sine cos tan เป็นอย่างดี 

 

แสดงว่าวิศวกรไทยโบราณเรารู้จักหลักการนี้ก่อนสองพี่น้องตระกูลไรท์ที่ทั่วโลกยกย่องเสียอีก ...แต่อนิจจา ลูกหลานไม่สานต่อ  จนสมองเสื่อม   จนเกือบกลายเป็นทาสอาณานิคมฝรั่ง (ที่ล้าหลังกว่าเราเสียอีก)  

 

...และแล้ววันนี้ ก็กลายเป็นทาสฝรั่งจริงๆไปแล้ว ไม่ว่าการแต่งกาย อาหารการกิน การเรียนการสอน  การแพทย์    นิสัย  สีผม และ ฯลฯ  

 

บัดนี้กังหันลมดังกล่าวได้สูญพันธุ์ไปจากเมืองไทยแล้ว มีแต่ “กูบ้อท่า”   (เครื่องสูบน้ำ คูโบตะ ของญี่ปุ่น) เต็มทุ่งไปหมด  ส่วนคนไทยหันไปยกยอ่ง เนเธอร์แลนด์ ว่าเป็นแดนกังหันลม ทั้งที่กังหันเขาเป็นแบบแรงฉุด (Drag)  ที่ถือว่าห่างชั้นกับกังหันลมไทยเรามาก  (แต่วันนี้เขากลับอนุรักษ์ไว้อวดศักยภาพภูมิปัญญาพวกเขามากหลายกระหึ่มโลก)  

 

สำหรับกังหันลม "เสื่อลำแพน"  ก็ได้รับยกย่องว่าเป็น Thai Sailwing ไปทั่วโลก แต่อนิจจา วันนี้ก็กำลังจะสูญพันธุ์  มีหมุนอยู่สองสามตัวแถวสมุทรสงคราม เพื่อสูบน้ำเข้านาเกลือ   

 

 

เมื่อประมาณ คศ. 1986 ผมได้กลับมาเยี่ยมเมืองไทย  ได้ขับรถเที่ยวไปจากตราดยันปัตตานี  ถือโอกาสสัมภาษณ์พี่น้องไทยไปทุกหมู่บ้าน ทำให้ทราบว่า ลมเมืองไทยเรา แรงมาก ปีละ ๖ เดือน  โดยมันแรงขนาดว่า “เรือเล็กออกทะเลไปหาปลาไม่ได้”   (เรือ “เล็ก”  ในที่นี้หมายถึงว่าน้ำหนักน้อยกว่าประมาณ ๕  ตัน   หรือเท่ากับรถปิ๊คอัพ ๓ คันรวมกัน) 

 

 

ทำให้ผมสรุปได้ว่า  เมืองไทยเราไม่ได้มี “ลมอ่อน”  แบบที่นักวิชาการไทยสรุปกันมากรอกหูผมนานนับสิบปีแล้ว (ทั้งที่อยู่เมืองนอกก็ตะแคงหูฟังทิศทางลมเมืองไทยเสมอ)  

 

 

ผมคะเนว่าที่นักวิชาการไทยสรุปว่าลมอ่อนนั้นเป็นเพราะไปฟังเสียงฝรั่งมันมากรอกหู   และหรือ  ทำการวัดมาจากลมของกรมอุตุ ในบางพื้นที่  (ซึ่งมีไม่กี่แห่ง แถมการวัดก็อาจไม่ถูกต้องอีกต่างหาก)   จากนั้นเอามาหารยาวหาค่าลมเฉลี่ย    .....ซึ่งมันเป็นความโง่เขลาที่น่าสงสารมาก เพราะเรื่องลมนั้นคุณไม่อาจเฉลี่ยได้เหมือนแดด แต่คุณต้องหาช่องลมแรงให้เจอ ซึ่งมันหาได้ยากมาก  (สรอ. กว้างใหญ่ไพศาลกว่าเรา 20 เท่า แต่เขามีช่องลมแรงเพียง 4-5 ช่องเท่านั้นเอง ไม่ถึง 1% ของพื้นที่ทั้งหมด) 

 

 

จากนั้นผมได้ตะโกนโหวกเหวกตามศักยภาพเท่าที่มีตามยถากรรมว่า ....ลมไทยแรงนะ ไม่ได้อ่อนอย่างที่พวกท่านเข้าใจกันมาหรอก   ผมตะโกนจนคอโป่งมายี่สิบปี  คงมีส่วนทำให้วันนี้กระแสธุรกิจกังหันลมไทย ลอยล่องจนติดลมบนไปแล้ว  (ส่วนใหญ่ซื้อจากจีน  ...ส่วนบริษัทไทยยังไม่เกิด ที่่เกิดก็ ลด.  อีกต่างหาก)  

 

 

.....ติดหลุดลอยไกลจนน่าเป็นห่วง เพราะมันเว่อเกินไปมาก    อีกทั้งไม่รู้เรื่องเศรษฐศาสตร์กังหันลมอีกด้วย     เป็นห่วงว่าจะเจ๊งกันระนาว   (แต่ถ้าทำดีๆ ก็กำไรระนาวเหมือนกัน)

 

 

พวกแมงเม่า นักลงทุน น่าเป็นห่วงมาก ดังกล่าวแล้ว    แต่พวกนักวางยุทธศาสตร์ชาติน่าเป็นห่วงมากกว่า  เพราะยังไม่มีใครเข้าใจลักษณะลมไทย ที่ต่างจากลมยุโรป   จะทำให้วางยุทธศาสตร์ชาติผิดเพี้ยน ล่มจมกันไปหมด

 

 

ลมยุโรปนั้นเขาพัดค่อนข้างคงที่ทั้งปี ในทิศเดิม  ส่วนลมไทยนั้นพัดผันผวนด้วยระบบมรสุม มีการกลับทิศปีละครั้ง  มีแรง เบา แรง เบา สลับกันไป   มันต่างกันอย่างฟ้ากะเหว   จึงต้องมียุทธศาสตร์การออกแบบ แตกต่างกันอย่างมหาศาล  (ซึ่งนักวิชาการลด.ไทยไม่รู้เรื่องอะไรเลย นอกจากรู้เรื่องการ ลด. เงินจากรัฐมาร..ภาษีเราทั้งน้าน...ไปมากหลายร้อยล้าน)  (ลด. = หลอกแดก)   ออกแบบกังห้นลมก็ไปลอกเขามา ไม่ได้มีความรู้ลึกซึ้งอะไรเลย  แล้วมาอ้างว่าเป็นกังหันลมไทย

 

 

สำหรับพวกนักวางยุทธศาสตร์ชาติ  ผมถามง่ายๆ ว่า  ในช่วงลมสงบ (ที่ลมรอการกลับตัว เนื่องจากดวงอาทิตย์โคจรแบบตะวันอ้อมข้าว)  ถ้าเราจะเอาลมเป็นตัวตั้งด้านพลังงาน เราจะวางยุทธศาสตร์อย่างไร   โรงงานไฟฟ้าฟอสซิล  แดด (pv-cell) พลังน้ำ  จะจัดการให้กลมกลืนกับพลังงานลมอย่างไร  

 

...ผมเอาคอเป็นประกันได้ว่าไม่มีใครรู้ หรือ แม้แต่คิดด้วยซ้ำไป  

 

 

สุดท้ายผมฝากไว้ว่า ศักยภาพพลังงานลมไทยมีมากกว่าที่นักวิชาการลมว่ากันไว้ถึง ๔  เท่า  (โห..นี่ถ้ามันรู้คงบินเข้ากองไฟกันมากว่านี้ ๑๐ เท่าแน่ๆ )       เพียงแต่ว่าไอ้  ๔  เท่านี้มันมาปีละ ๒ ช่วง ไม่ได้มาแบบต่อเนื่องเหมือนยุโรป  ซึ่งชาติเราต้องวางยุทธศาสตร์บริหาร “ทรัพย์ในดินสินอากาศ”   ของเราให้ดี

 

 

ไม่งั้นโดนคนไทยด้วยกันเอง  ผสมกับฝรั่งตาน้ำข้าว หากินลด. สูบเลือดกันต่อไปเหมือนเดิมๆ ตามที่กงล้อประวัติศาสตร์หมุนฉายซ้ำแล้วซ้ำเล่าเตือนสติให้เราดูกันหลายรอบ

 

วันนี้ต้องกราบขอบพระคุณ คณะกรรมการที่ปรึกษาอาวุโสของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.)   ที่ได้ให้โอกาสผมเสนอโครงการเพื่อรื้อฟื้นกังหันลมไทยโบราณเราขึ้่นมา

 

ผมตั้งเป้าไว้ว่าจะต้องเพิ่มประสิทธิภาพให้ได้มากกว่าเดิมสองเท่า (จาก 10 เป็น 20%) และต้องลดงบติดตั้งลงสองเท่าด้วย (จาก 8 หมื่นเป็น 4 หมื่น)   ซึ่งมันยากมาก เพราะเป็นการเพิ่ม through put ถึง 4 เท่า หรือ 400% ทุกวันนี้ใครทำธุรกิจอะไรถ้าเพิ่ม tp ได้ 1% ก็มหาศาลแล้ว 

 

อยากเห็นนาไทย (ทั้งนาข้าวและนาเกลือ เรือกสวน ไร่น่า)   หันมาใช้กังหันลมกันให้หมด เหมือนเดิมๆ  ...ถึงวันนั้นอย่าลืมเรียกไทยว่าเป็น    ”แดนกังหันลมโลก”  ด้วยล่ะ  

 

(หมอบรัดเลย์เอง  ยังบันทึกไว้ว่า มาเมืองไทย สิ่งที่ประัทับใจมากคือ กังหันลมเต็มประเทศ  (แต่คนไทยไม่รู้เรื่องอะไรเลย))  

 

...คนถางทาง (๒๙ สิงหาคม ๒๕๕๕) 

 

หมายเลขบันทึก: 500600เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2012 19:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กันยายน 2012 15:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

หมอเปิ้น...เชิญ...คนถางทาง...มาเที่ยวที่  "โครงการช่างหัวมัน....ในพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ..." ที่ อ.ท่ายาง  จ.เพชรบุรี...เชิญนะคะ...มีกังหันลมไทย สวยงามมากค่ะ...ขอบคุณค่ะท่านอาจารย์

สวัสดีครับ

แต่ก่อน นั่งรถสายใต้เข้า กทม เห็นกังหัน & ระหัด ในนาเกลือ ชอบมาก

เจ้ากังหันแรงบิดกินลมดีกว่าใช่ไหมครับ

อาจารย์สำเร็จเมื่อไหร่ มาทดลองบ้านชลัญนะ ลมธรรมชาติแรง   แต่คนใกล้หมดลม คร๊อก....

สวัสดีค่ะคนถางทาง,

คนถางทางคะ   น่าเสียดายเช่นกันค่ะ ...กังหันลมที่ปัตตานี ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน คู่กับความภูมิใจที่ชาวนาเกลือใช้ทำนาเกลือ ส่งขายให้พื้นที่ในคาบสมุทรมลายาแห่งนี้  ยืนตากแดดลมประกาศความยืนยงเมื่อครั้งอดีต แต่ใบพัดไม่มีอีกต่อไป... ไร้ชีวิต...อืมม์... ยี่ห้อ "กูบอท่า" มาแทนที่เช่นกันค่ะ :-((

ได้ยินแต่นักศึกษาเค้ากล่าวถึง ว่าท่านอาจารย์เวลาสอน -- เด็กๆ เรียกว่า เจ้าพ่อ fluid -- กลศาสตร์ของไหล สงสัยน่าจะระดับเทพมาเอง น่าจะมีหน่วยงานสนับสนุนเรื่อง กังหันลม มาเอาทรัพยากรบุคคลแบบนี้ ไปช่วยพัฒนาประเทศบ้างนะคะ แต่สงสัย.. คนชวนต้องคิดเยอะหน่อย.. เพราะถ้าทำอะไร ไม่เข้าท่า ไม่เข้าทาง ท่าน อ. คงจะถางทางแบบที่คนอื่นๆ เดินต่อกันไม่เป็นแน่ๆ เลยค่ะ .. แต่ก็เอาใจช่วยนะคะ คนเก่งๆแบบนี้ หายากกกก ..

...คนไทย..ชอบ..ลมพัดลมเพ...เนี่ยะ..ทำไงได้ายยย...อ้ะะะๆๆๆ...เข้าเมืองตาหลิ่ว..เขาให้ หลิ่วตา ตาม...อ้ะะๆๆๆ..อย่าห่วงไปเลย."คนไทย..คนธรรมชาติ..อิอิ..ชอบ...กูบ้อท่า..เพราะ..นากูสั้น..อ้ะ..คนถางทาง.(ยายธี)

แวะมาเก็บความรู้ครับอาจารย์ ^____________^

นากูสั้นเนี่ยเพิ่งเคยได้ยิน นะยายธี ได้ยินแต่ เฟอร์กูสั้น อิอิ
ในอดีตมีนาฬิกายี่ห้อ eterna คนไทยมาแปลงเป็น ทิ้งเถอะน่า

เรื่องนี้อ่านเพลินมากครับ..ขอบคุณครับที่ช่วยเติมพลังทำให้มีความฝันอันสดใสขึ้น ว่า ประเทศเราคงมีทางรอด..แม้จะสุดเซ็ง..ใช่ครับ..มนุษย์ ต้องมีความหวัง..และต้องฝ่าฟันกันต่อไป เพื่อให้ลูกหลานของเราอยู่รอด ปลอดภัย..

มีความสนใจเรื่องกังหันลม เพราะคิดว่าน่าสนใจ แต่ไม่ทราบว่าอุปกรณ์ต่างๆๆ ซื้อที่ไหนค่ะ ใครทราบช่วยบอกที่ อยู่กาญ ค่ะ 

มีขายหลายเจ้าครับ  ลองกูกลิ้งดูนะครับ   ค้นคำว่า กังหันลม  ก็พอแล้ว

เคยคุยกับสามีเหมือนกันว่าแถวบ้านลมดี้ดี. ถ้าเอากังหันลมมาผลิตไฟฟ้าใช้คงช่วยลดค่าไฟฟ้าให้รพ. ได้บานเลย(เราอยู่บ้านพักราชการค่ะ)น่าจะเหมาะกว่าเซลสุริยะเพราะไม่ต้องกลัวว่าลูกเห็บจะทำความเสียหายให้. เคยคิดกันว่าทำไมน้อ. หน่วยงานราชการที่บ่นว่าเป็นหนี้การไฟฟ้าทุกหน่วยงานถึงไม่คิดที่จะหาแหล่งพลังงานแบบยั่งยืน. รึว่าเสนอไปแล้วแต่ผู้ใหญ่ไม่เห็นด้วย เพราะไม่ถูกใจนายทุนรึเปล่านะ. อยากให้เผยแพร่ข้อมูลการเลือกใช้ อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้คนที่คิดลังเลได้ข้อมูลจริงๆประกอบการตัดสินใจค่ะ

ชื่นชม และเป็นกำลังใจให้อาจารย์ครับ มุมมองผมเห็นอาจารย์อยากพัฒนาไทยให้ดีกว่าฝรั่ง พยายามนำเสนอแต่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาชาติให้คนไทยได้รู้ ได้นำไปใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง มากกว่านักวิจัยหลาย ๆ คนที่มุ่งแต่จะนำเสนอระดับ inter อย่างเดียว เอาความรู้ไปให้เชาต่างประเทศ ทัศนคติและวิสัยทัศน์ที่แตกต่างกันจริง ๆ ครับ อยากให้มี นักวิจัย เป็น ผศ. รศ. เป็น ศ. ที่พัฒนาชาติแบบนี้เยอะ ๆ จริง ๆ ครับ …… รักและเคารพอย่างสูงครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท