สาขาวิชาเกษตรเชิงระบบ คณะเกษตรฯ มข. จัดบรรยาย ผลกระทบของต้นไม้ในนาข้าว


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นภูมิภาคเดียวในประเทศ ที่มีการปลูกและปล่อยให้ต้นไม้เจริญเติบโตในนาข้าว ซึ่งพบว่าต้นรกฟ้าหรือต้นเชือก (Terminalia alata) เป็นต้นไม้ที่สามารถเพิ่มผลผลิตของข้าวได้ดีที่สุด

     เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2555 สาขาวิชาเกษตรเชิงระบบ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย Prof. Dr. Terry Rambo ได้เชิญ Prof. Shuichi Miyagawa จาก Faculty of Applied Biological Science Gifu University, Japan มาบรรยายพิเศษเรื่อง The Effects of Trees on Rice in the Rain fed Paddy Field โดยมี รศ.ดร.ปัทมา วิตยากร แรมโบ อ.ดร.อรุณี พรมคำบุตร Prof. Dr.Fukui Hayao และนักศึกษาระดับปริญญาโท และปริญญาเอก จากสาขาวิชาเกษตรเชิงระบบ และสาขาวิชาทรัพยากรที่ดินและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนความรู้ ณ ห้องประชุมสาขาวิชาเกษตรเชิงระบบ
     โดยเนื้อหาของการบรรยายเรื่อง The Effects of Trees on Rice in the Rain fed Paddy Field พบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภูมิภาคเดียวในประเทศที่มีการปลูกและปล่อยต้นไม้ให้เจริญเติบโตในนาข้าว บทบาทของต้นไม้ในนาข้าวแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของต้นไม้ และปริมาณน้ำฝนในแต่ละปี ซึ่งจากการสอบถามเกษตรกรพบว่าต้นรกฟ้าหรือต้นเชือก (Terminalia alata)  เป็นต้นไม้ที่สามารถเพิ่มผลผลิตของข้าวได้ดีที่สุดโดยเฉพาะในปีที่มีความแห้งแล้ง ซึ่งในปัจจุบันนี้ เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวเนื่องจากอิทธิพลของต้นไม้ กำลังมีการค้นคว้าวิจัยกันอยู่ และเนื่องจากปัญหาการขาดแคลนแรงงานทางภาคการเกษตร ส่งผลให้เกษตรกรได้เปลี่ยนมาใช้เครื่องจักรกลการเกษตรทดแทนแรงงานคนมากขึ้น โดยมีการปรับพื้นที่ทำนาพร้อมทั้งมีการตัดต้นไม้ในนาข้าวออก ส่งผลให้จำนวนต้นไม้ในนาข้าวลดลง อย่างไรก็ตาม เกษตรกรบางพื้นที่ยังคงมีระบบต้นไม้ในนาข้าว ด้วยการปลูกต้นไม้บนคันนา อาทิ ยูคาลิปตัส ยางนา หรือมะม่วง เป็นต้น ซึ่งอิทธิพลของพันธุ์ไม้ชนิดใหม่เหล่านี้ที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าว ก็กำลังอยู่ระหว่างการศึกษา เช่นกัน
     สำหรับต้นรกฟ้า มีชื่ออื่นๆคือ กอง (อุตรดิตถ์-สุโขทัย-พิษณุโลก-สงขลา) ชะลีก (เขมร-บุรีรัมย์) สพิแคล่ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) เชือก เชียก (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ-อีสาน) คลี้ (ส่วย-สุรินทร์) เชือก (สุโขทัย) ฮกฟ้า (พายัพ) ชะลีก (เขมร-พระตะบอง)
     ชื่อสามัญ  T. tomentosa W. & A. ชื่อวิทยาศาสตร์ Terminalia alata
     วงศ์ COMBRETACEAE
     ลักษณะทั่วไป เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ จะแตกกิ่งก้านสาขาตรงเรือนยอดของต้น ซึ่งแน่นทึบ เปลือกของลำต้น จะเป็นสีเทาค่อนข้างดำ และแตกเป็นสะเก็ด ลำต้นจะมีความสูงประมาณ 10-30 เมตร
     ใบสีเขียว เมื่อใบยังอ่อนจะมีขนเป็นสีน้ำตาล ปกคลุมประปราย แต่เมื่อแก่ขนนี้ก็จะหลุดร่วงไปเอง ลักษณะของใบจะเป็นรูปมนรี ตรงปลายใบและโคนใบจะมน ตรงปลายจะเป็นติ่งทู่ ๆ ยาวออกมาเล็กน้อย ขอบใบเป็นคลื่น ๆ ใบจะมีความกว้างประมาณ 3-5 นิ้ว และยาว 5-12 นิ้ว
     ดอก เมื่อรกฟ้าจะออกดอก จะต้องผลัดใบออกหมดก่อนแล้วดอกจะแตกออกเป็นสีขาวสะพรั่งเต็มต้น ออกเป็นช่อ ๆ และมีขนาดเล็ก ดอกบานเต็มที่ประมาณ 3-4 มม.
     ผล แบบผลแห้ง แข็ง มีความกว้างประมาณ 2.5-5 ซม. และยาวประมาณ 0.3-0.4 ซม. จะมีปีกหนาและเป็นมัน กว้างกว่าผลประมาณ 5 ซม. จะมีเส้นปีกลากจากแกนกลาง ไปยังขอบปีกในแนวราบ เป็นจำนวนมาก ภายในผลจะมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
     ส่วนที่ใช้ประโยชน์ รากและเปลือก รากใช้เป็นยาขับเสมหะ เปลือก นำไปต้มน้ำกินรักษาอาการท้องร่วง อาเจียน ขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจ ใช้ภายนอกเป็นยาห้ามเลือด และใช้ชะล้างบาดแผล

     คลิกชมภาพข่าว

     ดร.อรุณี พรหมคำบุตร ข่าว/ภาพ กิตติศักดิ์ สิงหา สังเคราะห์/เผยแพร่

หมายเลขบันทึก: 500590เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2012 17:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 สิงหาคม 2012 19:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณองค์ความรู้นี้นะคะ ..... เกษตรเชิงระบบ ทำให้ หมอเปิ้น .... มีความรู้ ความเข้าใจ มากขึ้นในเรื่องการเกษร ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท