" ร่มไม่กาง " - ๑


โตนี่ - ฟาง. GotoKnow.

* พล.รท.พงษ์ศักดิ์ ภูรีโรจน์  ผบ.นย. ประธานในพิธีปิดกีฬาภายในหน่วยฯ ได้กล่าวสดุดีและยืนไว้อาลัยให้กับนักกีฬากระโดดร่ม..จ่าเอก..รัฐพล สีลาเกตุ. จากกองพันลาดตระเวน กองพลนาวิกโยธิน ที่ซ้อมกระโดดร่มเพื่อมาแสดงในพิธีปิดงานกีฬาภายในหน่วย ๒๑ ส.ค. ๕๕  แต่ได้เกิดอุบัติเหตุขึ้นเพราะร่มไม่กางตามที่มีการเสนอข่าวไปแล้วก่อนหน้านี้..

 

ร่มไม่กาง.

 

แม้ว่าผมเคยรับราชการทหารมาก่อน..และได้นำเรื่องราวของทหารมาลงในบล็อกจนหมดแล้ว  ผมเคยตั้งใจว่าจะพยา ยามหาเรื่องอื่นมาลงบ้าง..เพราะผู้อ่านที่มิใช่ทหาร..อาจจะเบื่อและตำหนิในใจก็เป็นได้ ว่าทำไมชอบเชียร์ทหารด้วยกัน..ถือว่าแลกเปลี่ยนความรู้ไม่ดีกว่าหรือครับ ? จะได้ไม่ต้องกินแหนงแคลงใจกันเปล่าๆ.  ผมต้องกลับมานำเรื่องทหาร.โดยเฉพาะ “ ทหารนาวิกโยธิน ” มาลงให้ท่านได้อ่านกันเป็นครั้งสุดท้ายจริงๆ เพราะจ่าท่านนี้ได้เสียชีวิตแล้วจากการที่กระโดดร่มลงมาแต่..ร่มไม่กาง..คงจะเป็นเรื่องแรกและเรื่องสุดท้ายของชีวิตเขา ซึ่งได้ทุ่มเทกับการฝึกสอน และกระโดดร่มเพื่อชื่อเสียงของกองทัพเรือ  จนมาถึงวาระสุดท้าย..โดยมิได้บอกลาใครเลย..แม้แต่คนเดียว..

 

ทุกท่านยืนไว้อาลัยให้กับจ่าแล้วน๊ะ.   - หลับให้สบายเถอะน๊ะจ่า.

นักโดดร่มท่านนี้..เป็นนักเรียนจ่านาวิกโยธิน รุ่นน้องผู้เขียนหลายรุ่น. ในฐานะที่ผมเป็นรุ่นพี่และเป็นนักเขียนจึงอยากนำเรื่องของจ่าท่านนี้..ลงเพื่อให้ท่านได้ทราบกัน.ปกติการกระ โดดร่มทางทหารนั้นจะมีรร.สอนกันทุกเหล่าทัพ..หน่วยใดไม่มี..ก็มักจะไปฝากเรียนซึ่งทางรร.ต่างๆมักจะเปิดที่นั่งให้กับหน่วยข้างเคียงเสมอ..ใครมีคุณสมบัติตามต้องการก็สมัครมาได้ทุกหลักสูตร..ปัจจุบันนี้เปิดกว้าง ของท่านหญิงก็มีครับ. หลายคนเริ่มจากพนักงานพับร่ม..เวลาผ่านไปหลายคนก้าวหน้าในหน้าที่การงาน หลายคนมีประสบการณ์ได้ไปแข่งขันกระโดดร่มทหารโลก..ในหลายๆประเทศ.

ผบ.นย.ปิดการแข่งกีฬาภายในหน่วย.  - ที่สนามกีฬา ก.ม. ๕

ได้ถ้วยติดมือมาก็มากมาย. แม้จะไม่มีเงินอัดฉีดเหมือนผู้ที่ไปโอลิมปิคก็ตาม..นักโดดร่มนย.ส่วนใหญ่มักมีโอกาสออกงานเสมอๆ โชว์ตัวบ้าง..เปิดงานต่างๆบ้าง..เป็นการทำชื่อเสียงให้กับหน่วยและหาประสบการณ์ให้กับตัวเอง..ที่จริงผมเคยเขียนเรื่อง “การแข่งขันกระโดดร่มนานาชาติ”ลงในบล็อกนี้นานแล้ว.ใครเคยมาเรียนการกระโดดร่ม..ที่ศูนย์การฝึกกรมนาวิกโยธินล่ะก็ !จะรู้ว่าครูฝึกมักจะห่วงใยลูกศิษย์เสมอๆ..เพราะระหว่างการสอนในห้องเรียน  และที่สนามฝึกนั้นครูมักจะย้ำเสมอว่า..นักเรียนต้องจำไว้เสมอว่า “ถ้าพลาดไปแล้ว..ตายสถานเดียว.” ที่สำคัญระหว่างการสอน  ครูยังให้กำลังใจนักเรียนเสมอว่า..

 

พวกเราทำหน้าที่แทนจ่าอย่างสมบูรณ์แล้ว.   - จ่าไม่ต้องเหนื่อยอีกแล้วครับ.

ระหว่างกระโดดลงมาถ้าร่มของใครไม่กางให้มาเบิกร่มใหม่.แล้วกลับไปกระโดดแก้ตัวได้..ตั้งแต่เปิดสอนมาหลายรุ่นแล้ว นักเรียนที่ร่มไม่กางด้วยสาเหตุต่างๆกัน..เชื่อไหมครับว่า..ยังไม่มีใครมาขอเบิกร่มเพื่อไปกระโดดใหม่เลย..แม้แต่รายเดียว.การกระโดดร่มนั้นไม่ว่า.จะเป็นการกระโดดของนักเรียน..ครู..หรือผู้เข้าแข่งขันตามสนามใดใด?..สามารถเกิดความผิดพลาดขึ้นได้เสมอแม้จะมีการป้องกันเป็นอย่างดีแล้วก็ตาม.แต่ก็ยังเกิดขึ้นได้จากความผิดพลาดของอุปกรณ์ หรือความผิดพลาดจากตัวบุคคล..สามารถทำให้เสียชีวิตได้ทั้งสิ้น. ที่ผมอยากเขียนอีกครั้ง..เพราะช่วงที่ผ่านมานั้น นักโดดร่มตายกันไปหลายคนแล้ว..

 

นักเรียนดึงขึ้นให้สุด.   - ต่ำกว่าเหล็กไม่นับน๊ะ !

ส่วนท่านที่ยังกระโดดอยู่ หรือเพิ่งเริ่มกระโดดใหม่ๆอาจนำความรู้จากเรื่องนี้ไปใช้ได้บ้าง..สักนิดก็ยังดี.  เรื่องเช่นนี้มักจะเกิดขึ้นได้เสมอกับทุกคน..ไม่ว่าจะเป็นนักโดดหน้าใหม่.หน้าเก่า  หรือแม้แต่ตัวครูฝึกเองก็ตาม. ไม่มีการยกเว้น. ในแต่ละปี จะมีการเปิดหลักสูตรส่งทางอากาศ ของศูนย์ฝึกกรมนาวิกโยธินเพื่อสอนนักเรียนจากหน่วยขึ้นตรง..หน่วยข้างเคียง..ตลอดจนต่างเหล่าทัพ.ใครอยากเข้าเรียนต้องสมัครกันมาตามสายงาน และต้องมาทำการทดสอบร่างกายก่อนเสมอ..ต้องผ่านตามเกณฑ์จึงจะเข้าเรียนได้. เพื่อให้นักเรียนที่มาอบรมทุกคน..มีความรู้ในการกระโดดร่มแบบพื้นฐาน  และสามารถนำไปใช้งานร่วมกันได้. 

 

นักโดดร่มนย.ลงสู่พื้นอย่างสวยงาม.   - ที่สนามกีฬาท.ร. กม. ๕

เมื่อทางการมีความจำเป็น..ในสถานการณ์ต่างๆ..ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในบ้านเมือง..เมื่อกองทัพเรืออนุมัติให้เปิดหลักสูตรได้ทางรร.จะออกหนังสือเวียนไปตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง..ทั้งในและนอกพื้นที่..พอนย.มีโรงเรียนสอนการกระโดดร่มเองแล้ว..สะดวกสิครับ..ไม่ต้องไปเรียนกับเหล่าทัพอื่นๆเช่นในสมัยก่อน.ขอย้อนกลับไปในสมัยก่อนสักนิดน๊ะครับ..เพื่อนักโดดรุ่นใหม่ๆจะได้ทราบบ้างว่า นักโดดรุ่นเก่านั้นกว่าเขาจะได้ปีกมาต้องแข่งกันขนาดไหน ?

หมายเลขบันทึก: 500545เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2012 12:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 สิงหาคม 2012 17:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ร่มไม่กาง...อันตราย นะคะ

สวัสดีค่ะพี่โตนี่ ฟาง ร่มไม่กางอันตรายถึงชีวิตจริงๆค่ะ ไม่สามารถกลับไปเบิกใหม่ได้ด้วย อืม...อย่าประมาทก็แล้วกันนะคะ ข้อคิดที่ได้ คือ นักโดดร่มรุ่นใหม่ต้องฝึกให้หนักอย่าเห็นแต่ว่าอะไรๆก็จะได้มาง่ายๆ แล้วจะจบลงได้ง่ายๆ เมื่อ...ร่ม...ไม่กาง...ขอบคุณค่ะ

       

  • การฝึกฝนบางอย่างใช้ชีวิตเป็นเดิมพันเลยนะคะ
  • ร่มไม่กาง ถ้าเป็นคนธรรมดาอย่างเรา ๆ ก็คือแค่เปียก...แต่ถ้าเป็นนาวิกโยธิก็คือตาย
  • เราต้องใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท จะได้ไม่พลาดค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีครับคนที่ไม่เคยโดดร่ม..เอ..หนีเรียนจะถือว่าโดดร่มด้วย..ดีไหม ?

- ร่มไม่กาง หรือกางไม่สมบูรณ์มีอันตรายพอพอกัน แต่ถ้าฝนตกแล้วไม่กางร่มก็อันตราย..ไม่ถึงตายครับ..นอกจากเปียกฝน.

- หายไปเบิกร่มมาหรือเปล่า ? เที่ยวนี้มาพร้อมเครื่องบินเลยน๊ะ..

- ผมรอดตายมานานแล้ว แม้จะไม่ได้โดดร่ม..แต่กำลังจะแก่ตาย.

* เคยพานักท่องเที่ยวไปเที่ยวนรกมาแล้ว เขาบอกให้กลับไปก่อน..คงจะยังไม่ถึงคิว..

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท