การสร้างความเชื่อมั่นในบริการทางอินเทอร์เน็ตให้กับประชาชน


อินเทอร์เน็ตให้ความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้เป็นอย่างยิ่ง มีทั้งข้อดีและข้อเสีย

ปัจจุบันผมเองก็ใช้ชีวิตส่วนใหญ่กับอินเทอร์เน็ตนะครับ อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญมากในการดำเนินชีวิตประจำวันของผมมาก เช่น หางานส่งอาจารย์ ฟังเพลง ดูภาพยนตร์ ดูข่าว สื่อสารกับเพื่อนๆ เป็นต้น

อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายช่วยสืบค้นข้อมูลข่าวสารได้เป็นอย่างดี และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้ แต่เทคโนโลยีก็มีจำกัดเหมือนกัน ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ใช้มีดังนี้
1. ข้อมูลเท็จ  บิดเบือน กระจายข่าวได้เร็ว ทำให้ผู้รับสารขาดวิจารณญาณและหลงเชื่อ
2. มีการซื้อขายของผิดกฏหมาย และขายบริการทางเพศในอินเทอร์เน็ต
3. มีโฆษณาชวนเชื่อมาหลอก
สื่ออินเทอร์เน็ตมีบทบาทต่อชีวิตประจำวันมากขึ้นในการสืบค้นข้อมูลและติดต่อสื่อสารกัน มีเครือข่ายคลอบคลุมทั่วโลก ทำให้มีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารตลอดเวลา แม้อินเทอร์เน็ตจะมีบทบาทสำคัญมาก แต่ผู้ใช้ต้องรู้จักวิเคราะห์ และประเมินค่าข้อมูลข่าวสารต่างๆให้รอบคอบก่อนที่ใช้นำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
 
การบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐนั้นประชาชนควรได้รับข้อมูลที่เป็นจริง เชื่อถือได้เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาต่างๆ ระบบจะต้องมีความสะดวก รวดเร็ว ทั่วถึง การให้บริการมีความปลอดภัยกับข้อมูลของประชาชน
 
 
 

 

คำสำคัญ (Tags): #e-trust
หมายเลขบันทึก: 500496เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2012 00:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • ให้แก้ไขภาพประจำตัวให้เห็นรหัสย่อสาขาและชั้นปี
  • ให้แก้ไขให้บันทึกมี 3 ย่อหน้า ย่อหน้าแรก ความนำ ย่อหน้าที่สอง เนื้อหา ย่อหน้าที่ 3 บทส่งท้าย
  • อย่าลืมเขียนอนุทินประสบการณ์การไปสนทนากับชาวต่างชาติ ตามหัวข้อที่อาจารย์ระบุไว้ในความเห็นบันทึกล่าสุด 
  • อย่าลืมเข้าไปอ่านคำแนะนำของอาจารน์ในการเขียนบันทึกนี้ด้วย เพราะการตั้งชื่อเรื่องก็ไม่ถูก และดูตัวอย่างของเพื่อนที่เขียนได้ในระดับดีมากที่อาจารย์ให้ Link ไว้ 

ขอบคุณครับอาจารย์วิไล เดี๋ยวผมจะแก้ไข

  • ผลการประเมิน

  • ชื่อเรื่อง 2/2

  • ประโยคเด่น 1/2

  • ความนำ 2/3

  • เนื้อหา  3/8

  • บทส่งท้ายหรือสรุป 2/3

  • บันทึกที่เกี่ยวข้อง 2/2

  • ถูกหักแต้มคำผิด = 0

  • คะแนนนรวม 12 ถูกหักแต้มคำผิด 0 = 12/20 ระดับ 3 (พอใช้)

  • เกณฑ์การประเมิน 0-4 =ระดับ 1 (ควรปรับปรุงอย่างยิ่ง) 5-8 ระดับ 2 (ควรปรับปรุง) 9-12ระดับ 3 (พอใช้) 13-16 ระดับ 4 (ดี) 17-20 ระดับ 5 (ดีเยี่ยม)

  • ความเห็น : เนื้อหาไม่ตอบโจทย์ คือ ไม่ได้บอกแนวปฏิบัติในการสร้างความเชื่อมั่นต่อ e-government แต่ไปกล่าวถึงข้อเสียของ Internet ซึ่งเป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามกับที่โครงการต้องการให้เขียนถึง

ขอบคุณครับอาจารย์วิไล ผมพยายามแล้วครับ ต่อไปอ่านพยายามให้มากกว่านี้ และ ขอขอบคุณเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ที่มาให้ดอกไม้เป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท