ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรกรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยม่วง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม


1.ชื่อโครงการวิจัย        ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรกรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยม่วง  อำเภอกำแพงแสน  จังหวัดนครปฐม

2.ประเภทของการวิจัย   การวิจัยพื้นฐาน

3.สาขาวิชาที่ทำการวิจัย รัฐประศาสนศาสตร์

4.ชื่อผู้ดำเนินการวิจัย     นายณัฐกร   ดอนแก้วภู่     รหัส 549904102     หมู่เรียน MPA54.1    หลักสูตร    รัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

5.ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

          คนเป็นทรัพยากรการบริหารประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะคนคือ ผู้ที่นำเอาทรัพยากรอื่นได้แก่ วัสดุ อุปกรณ์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ และยังเป็นผู้จัดให้มีการบริหารจัดการที่เหมาะสม เพื่อให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย คนจึงเป็นปัจจัยในการกำหนดความสำเร็จขององค์การ องค์การที่ไม่สามารถบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลให้เกิดความร่วมมือในการปฏิบัติงาน ไม่สามารถทำให้บุคลคลในองค์การเกิดการร่วมมือ ทุ่มเทแรงกายแรงใจให้แกองค์การ การบริหารจัดการองค์การก็จะต้องเกิดการล้มเหลวอย่างแน่นอน

          ความสำคัญของความผูกพันต่อองค์กรดังกล่าว เห็นได้จาก จารุณี  วงศ์คำแน่น (2537 : 106-108) กล่าวว่าความผูกพันต่อองค์กรมีความสำคัญต่อความอยู่รอดและความมีประสิทธิผลต่อองค์กรกล่าวคือ ความผูกพันต่อองค์กรจะมีผลต่อคนในองค์กรในแง่ของความรู้สึกผูกพันต่อ งาน อันจะทำให้เกิดทัศนคติที่ดีต่องานและองค์กร เกิดความคงอยู่ของสมาชิกในองค์กร เช่นเดียวกับ Mowday, Porter, และ Steers. (1982). กล่าวว่าความยึดมั่นผูกพันต่อองค์กร เป็นการแสดงออกที่มากกว่าความภักดีที่เกิดขึ้นตามปกติ เพราะจะเป็นความสัมพันธ์ที่แน่นหนาและผลักดันให้บุคคลเต็มใจที่จะอุทิศตัวเองเพื่อการสร้างสรรค์ให้องค์กรอยู่ในสภาพที่ดีขึ้น และ DuBrin (2006 อ้างถึงใน Sezgin, 2009 :188) กล่าวว่าพนักงานที่มีความผูกพันต่อองค์กรจะมีผลการปฏิบัติงานที่สูงและมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ผู้วิจัยได้ทบทวนเอกสารแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความผูกพันต่อองค์กร โดยยึดแนวคิดของ Buchanan (1974)  ที่ได้กล่าวถึงความผูกพันต่อองค์กรที่มีต่อเป้าหมายและค่านิยมขององค์กร และปฏิบัติตามบทบาทของตนเองเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์กร ซึ่งความผูกพันต่อองค์กรดังกล่าวแบ่งเป็น 3 ประการคือ 1) ความเป็นหนึ่งเดียวกันร่วมกับองค์กร (Identification) เป็นการยอมรับในค่านิยมและวัตถุประสงค์ขององค์กรว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกับตน        2) ความเกี่ยวพันกับองค์กร (Involvement) เป็นความเต็มใจที่จะทำงานเพื่อความก้าวหน้าและผลประโยชน์ขององค์กร 3) ความจงรักภักดีต่อองค์กร (Loyalty)เป็นการยึดมั่นในองค์กรและปรารถนาจะเป็นสมาชิกขององค์กรตลอดไป (สาธิต เริงใจ,2549 : 19) ผู้วิจัยยังได้สังเคราะห์ตัวแปรเหตุปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อ องค์กรจากแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัย ดังเช่น Steers (1977 :46-56) ได้เสนอแบบจำลองปัจจัยสภาพแวดล้อมมีผลต่อความผูกพันขององค์กร 3 ประการคือ 1) ลักษณะบุคคล เช่น โอกาสประสบความสำเร็จการศึกษา อายุ 2) ลักษณะงาน เช่นความท้าทายในงาน โอกาสที่มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และ 3) ประสบการณ์ทำงาน ซึ่งมีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรทำ ให้เกิดความปรารถนาอยู่ในองค์กร อยู่ในองค์กรอย่างตั้งใจและจะคงรักษาสภาพไว้ และปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ ส่วนการศึกษาของ Schroder,(2008 : 81) ที่ได้ศึกษาตัวพยากรณ์ความผูกพันของบุคลากรมหาวิทยาลัยเอกชน พบว่ามีตัวแปรพยากรณ์ 6 ตัวที่สามารถพยากรณ์ความผูกพันคือ การบริหารและนโยบายขององค์กร ความอิสระในการทำงาน ความผูกพันทางศาสนา เงินเดือน สัญญาจ้าง และความสำเร็จในการทำงาน นอกจากนี้ Matheiu และ Zajac(1990 : 171-194) ได้กล่าวถึงปัจจัยเบื้องต้นที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันขององค์กรได้แก่ ลักษณะงาน ความมีอิสระในการทำงานความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกกับผู้บริหาร และการสร้างแรงจูงใจในทางบวกจะเป็นผลให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความพึงพอใจและความผูกพันต่อองค์กรตามแนวคิดปัจจัยจูงใจ (MotivationFactors) ของ Herzberg, Mausner และSynderman (1959) แบ่งเป็น 5 ประการ ได้แก่ความสำเร็จในการทำงาน การได้รับการยอมรับนับถือ ลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ความรับผิดชอบในงาน และ ความก้าวหน้าในตำแหน่งการงาน รวมทั้งปัจจัยค้ำจุน (Hygiene Factors)หรือองค์ประกอบที่ทำให้เกิดความไม่พึงพอใจในการทำงาน เป็นปัจจัยที่ป้องกันไม่ให้เกิดความไม่พึงพอใจในการปฏิบัติงานอันมีผลต่อความผูกพันในองค์กรดังองค์ประกอบดังนี้เงินเดือน โอกาสที่จะได้รับความก้าวหน้าในอนาคต ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใต้บังคับบัญชาความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชา ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน ฐานะของอาชีพการปกครองบังคับบัญชา นโยบายและการบริหาร สภาพการทำงาน ความเป็นอยู่ส่วนตัวความมั่นคงในการทำงานจากแนวคิดทฤษฎีดังกล่าว ได้วิเคราะห์และสังเคราะห์ผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์กร เพื่อพิจารณาหาตัวแปรพยากรณ์ที่เหมาะสม เพื่อนำมาศึกษาความสัมพันธ์และหาตัวแปรพยากรณ์ความผูกพันของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยม่วง ดังนั้นจึงได้ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 12 ตัวที่คาดว่าจะมีผลต่อความผูกพันของพนักงานได้แก่ 1) ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 2) สัญญาจ้าง 3) สวัสดิการและค่าตอบแทน 4) นโยบายและการบริหาร 5)ความมั่นคงในการทำงาน 6) ความสามารถในการทำงาน 7) ลักษณะของงานที่ทำ 8) ความรับผิดชอบในงาน 9) ความมีอิสระในการทำงาน10) ความก้าวหน้าในการทำงาน 11) การได้รับการยอมรับนับถือ 12) ความสัมพันธ์ในองค์กร (ผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน)

องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยม่วง เป็นหน่วยงานท้องถิ่น ประกอบด้วยสำนักปลัด ส่วนการคลัง ส่วนโยธา ซึ่งในแต่ละหน่วยงานจะมีลักษณะงานที่แตกต่างกันตามความรับผิดชอบ ดังนั้นการดำเนินงานของทุกหน่วยงานจึงเปรียบเสมือนวงล้อหรือกงจักรที่จะต้องหมุนตามกันไป โดยมีการวางแผนการดำเนินงานเป็นกรอบแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุตามเจตนารมณ์ของคณะผู้บริหารท้องถิ่นที่มุ่งพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยส่วนรวม

ดังนั้น การสร้างความผูกพันต่อองค์การให้เกิดแก่บุคลากร จึงเป็นเรื่องสำคัญที่องค์การทุก ๆ องค์การ

ไม่ควรละเลยและควรสนใจที่จะส่งเสริมให้บุคลากรมีความผูกพันต่อองค์การ และอยู่กับองค์การได้นานโดยในงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยม่วง  อำเภอกำแพงแสน  จังหวัดนครปฐม เพื่อให้เห็นความสำคัญของความผูกพันต่อองค์การ จึงต้องศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อที่จะเป็นประโยชน์ในการนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาองค์การ และการบริหารจัดการบุคลากรภายในองค์กรเพราะหากบุคลากรทุกคนมีความผูกพัน มีความจงรักภักดี และในขณะเดียวกันองค์กรก็สามารถตอบสนองต่อจุดมุ่งหมายของบุคลากรได้แล้ว ในที่สุดองค์การก็จะบรรลุจุดมุ่งหมายตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

6.วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกผันของบุคลกรองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยม่วง อำเภอกำแพงแสน  จังหวัดนครปฐม

2. เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยม่วง อำเภอกำแพงแสน  จังหวัดนครปฐม

7.ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

          1.นำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาองค์การ และการบริหารจัดการบุคลากรภายในองค์กร

          2.องค์กรสามารถตอบสนองต่อจุดมุ่งหมายของบุคลากรได้

8.ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

          วัฒนะ พรหมเพชร (2554) ได้ทำการศึกษาเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยตำแหน่งวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผลการศึกษาพบว่าผลการวิจัยพบว่า               1) ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน สัญญาจ้าง นโยบายและการบริหาร ความมั่นคงในการทำงาน ความสามารถในการทำงาน ลักษณะของงานที่ทำ ความรับผิดชอบในงาน ความมีอิสระในการทำงาน ความก้าวหน้าในการงาน การได้รับการยอมรับนับถือ และความสัมพันธ์ในองค์กรมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนสวัสดิการและค่าตอบแทน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2) ได้ตัวพยากรณ์ 6 ตัวคือ การได้รับการยอมรับนับถือ ความมีอิสระในการทำงาน ความสามารถในการทำงาน ความก้าวหน้าในการทำงาน นโยบายและการบริหาร และลักษณะของงานที่ทำ ที่ร่วมกันพยากรณ์ความผูกพันต่อองค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 66 มีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานการพยากรณ์เท่ากับ 2.17 และ 3) ได้สร้างสมการพยากรณ์ความผูกพันต่อองค์กร ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ดังนี้

Y= 1.931 + 0.333X + 0.371X + 0.339X + 0.189X + (-0.129)X + 0.074X

Z = 0.372Z + 0.282Z + 0.246Z + 0.189Z + (-0.129)Z + 0.080Z

          ไพโรจน์ สถิรยากร (2553) ได้ทำการศึกษาเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในเทศบาลนครปฐม ผลการศึกษาพบว่าผลวิเคราะห์ลักษณะงานและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ย 3.46 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ย 4.24 และในอันดับสุดท้ายคือด้านความหลากหลายของงานโดยมีค่าเฉลี่ย 2.88 และผลการวิเคราะห์ความผูกพันต่อองค์กร ในภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ย 3.86 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า เมื่อมีบุคลากรของหน่วยงาน ได้รับรางวัลเกียรติยศต่างๆท่านรู้สึกดีใจมีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.45 และอันดับสุดท้าย คือ ท่านเคยคิดอยากจะออกจากหน่วยงาน มีค่าเฉลี่ย 2.59 อยู่ในระดับปานกลาง

            สุดารัตน์   สุวรรณยิก (2552) ได้ทำการศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับความผูกพันต่อองค์การของหัวหน้างานมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะภาวะผู้นำของหัวหน้างานมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ไม่ว่าจะมีลักษณะภาวะผู้นำแบบใดก็ตามก็จะมีระดับความผูกพันต่อองค์กรสูง

          พิมพ์ชนก ทรายข้าว (2553) ได้ทำการศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)ผลการศึกษา พบว่า พนักงานธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) มีความผูกพันต่อองค์กรโดยรวมอยู่ในระดับมาก สำหรับปัจจัยที่แสดงถึงความผูกพันต่อองค์กรในด้านความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้า ความเต็มใจที่จะทุ่มเทความพยายามอย่างมากเพื่อประโยชน์ขององค์กร และความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะคงไว้ซึ่งความเป็นสมาชิกภาพขององค์กร อยู่ในระดับผูกพันมาก ส่วนปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคล คือ เพศอายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในองค์กรและระดับตำแหน่งงานไม่มีอิทธิพลต่อความผูกพันองค์กร สำหรับปัจจัยด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติได้แก่ ความมีอิสระในการทำงาน ความหลากหลายของงาน ความมีเอกลักษณ์ของงาน ผลป้อนกลับของงาน และงานที่มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นโดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับระดับความผูกพันขององค์กร เช่นเดียวกับปัจจัยในด้านประสบการณ์ในงาน ได้แก่ ความรู้สึกว่าตนมีความสำคัญต่อองค์กร ความรู้สึกว่าองค์กรเป็นที่พึ่งพาได้ ความคาดหวังที่จะได้รับการตอบสนองจากองค์กรและทัศนคติต่อเพื่อนร่วมงานและองค์กร ที่โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความผูกพันต่อองค์กร

          จักรพันธ์ เทพพิทักษ์ (2551) ได้ทำการศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน บริษัท ลำพูนซิงเดนเก็น จำกัดผลการศึกษาพบว่าพนักงานมีความผูกพันต่อองค์กรโดยรวมอยู่ในระดับมาก สำหรับปัจจัยส่วนบุคคลที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันองค์กรได้แก่ ระดับการศึกษาและระยะเวลาที่ทำงานในบริษัทส่วน เพศ อายุ สถานภาพ รายได้ต่อเดือนและตำแหน่ง ไม่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรสำหรับปัจจัยด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติที่มีอิทธิพลต่อระดับความผูกพันองค์กรได้แก่ ความมีอิสระในการทำงาน ความหลากหลายของงาน ความมีเอกลักษณ์ของงาน ผลป้อนกลับของงาน และงานที่มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และปัจจัยในด้านประสบการณ์ในงานที่มีอิทธิพลต่อระดับความผูกพันองค์กรในระดับมากได้แก่ ความรู้สึกว่าตนมีความสำคัญต่อองค์กร ความรู้สึกว่าองค์กรเป็นที่พึ่งพาได้ ความคาดหวังที่จะได้รับการตอบสนองจากองค์กร และทัศนคติต่อเพื่อนร่วมงานและองค์กร

          คนิษฐา พันธุ์มวานิช (2551) ได้ทำการศึกษาเรื่องปัจจัยที่สัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  ผลการวิจัยพบว่า

1. ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลของบุคลากรสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 36 – 45 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ตำแหน่งลูกจ้างประจำประสบการณ์การทำงานมากกว่า 10 ปี

2. บุคลากรสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีระดับความผูกพันต่อองค์กรในด้านความจงรักภักดีต่อองค์กร ด้านความเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ด้านความตั้งใจและทุ่มเทการทำงานเพื่อความสำเร็จขององค์กร และด้านความปรารถนาที่จะคงอยู่เป็นสมาชิกขององค์กรในระดับมาก สำหรับด้านความเชื่อมั่นและยอมรับเป้าหมาย ค่านิยมขององค์กรอยู่ในระดับปานกลาง

3. บุคลากรสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีระดับแรงจูงใจในการทำงานในด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และด้านความมั่นคงในงาน ในระดับมาก สำหรับด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ ด้านมีส่วนร่วมในการบริหาร และด้านความก้าวหน้าในงาน อยู่ในระดับปานกลาง

4. บุคลากรสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชที่มีปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลประกอบด้วย อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน และประสบการณ์การทำงาน มีความผูกพันต่อองค์กรแตกต่างกัน

5. แรงจูงใจในการทำงาน ประกอบด้วย ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ ด้านความมั่นคงในงาน ด้านความก้าวหน้าในงาน ด้านมีส่วนร่วมในการบริหารงาน และด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

 

กรอบแนวคิด

(ตัวแปรอิสระ)                                                                   (ตัวแปรตาม)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

นิยามเชิงปฏิบัติการ

ความผูกพันต่อองค์กร (ตัวแปรตาม) หมายถึง ทัศนคติของผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างบุคคลกับองค์การเป็นการประเมินองค์การในด้านบวกและมีการใช้ความหมายพยายามในการทำงานเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย

บุคลากร หมายถึง ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานจ้างตามภารกิจ พนักงานจ้างทั่วไป ที่ปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยม่วง  อำเภอกำแพงแสน  จังหวัดนครปฐม

องค์การบริหารส่วนตำบล  หมายถึง องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยม่วง  อำเภอกำแพงแสน  จังหวัดนครปฐม

ความสัมพันธ์ในองค์กร (ผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน) หมายถึง ระดับความคิดเห็นของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยม่วงที่มีต่อสัมพันธภาพกับผู้บังคับบัญชาที่เอื้อต่อการปฏิบัติงาน และสัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงานที่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน

ความรับผิดชอบในงาน หมายถึงระดับความคิดเห็นของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยม่วงที่มีต่อการปฏิบัติงานที่ตนเองรับผิดชอบอยู่

ความก้าวหน้าในการทำงาน หมายถึงระดับความคิดเห็นของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยม่วงที่มีต่อโอกาสความก้าวหน้า การศึกษาต่อ ฝึกอบรม ดูงาน และอื่นๆ

9.ขอบเขตของการศึกษา

          1.ด้านประชากร คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยม่วง  อำเภอกำแพงแสน  จังหวัดนครปฐม ประกอบด้วย ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานจ้างตามภารกิจ พนักงานจ้างทั่วไป จำนวนทั้งสิ้น 27 คน

2.ด้านเนื้อหา     เป็นการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยม่วง  อำเภอกำแพงแสน  จังหวัดนครปฐม

3.ด้านตัวแปร    ตัวแปรอิสระได้แก่ปัจจัยด้านบุคคลและปัจจัยจูงใจตัวแปรตามคือความผูกพันต่อองค์กร

          สมมุติฐานการวิจัยครั้งนี้

1.ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยม่วง

10.ระยะเวลาที่ดำเนินการวิจัย

          วันที่ 1 กรกฎาคม  2555  ถึง วันที่ 1 มิถุนายน 2556  เป็นเวลา 11  เดือน

11.วิธีดำเนินการวิจัย

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา(Descriptive Research) เพื่อศึกษาความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยม่วง

12.สถานที่ทำการวิจัย

          องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยม่วง  อำเภอกำแพงแสน  จังหวัดนครปฐม

13.แผนการดำเนินการวิจัย

 

ขั้นตอนการดำเนินงาน

 

เดือน

ก.ค.

55

ส.ค.

55

ก.ย.

55

ต.ค.

55

พ.ย.

55

ธ.ค.

55

ม.ค.

56

ก.พ.

56

มี.ค.

56

เม.ย.

56

พ.ค.

56

มิ.ย.

56

1. กำหนดประเด็นหัวข้องานวิจัย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2. ศึกษาค้นคว้าแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

3. ออกแบบงานวิจัย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

4. การเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

5. วิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

6. การเขียนรายงานการวิจัย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

14.งบประมาณ

1. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำเอกสารในการวิจัย             5,000.- บาท

                             2. ค่าถ่ายเอกสารแบบสอบถามการวิจัย                        1,000.- บาท

                             3. ค่าเข้าเล่มงานวิจัย                                            2,000.- บาท

                             4. ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น                          2,000.- บาท

                                                                 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น         10,000.- บาท

(ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้)

 

15.บรรณานุกรม

นุชติมา รอบคอบ. (2524). ความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร : ศึกษากรณีองค์การเภสัชกรรม. ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตสถาบันพัฒนบริหารศาสตร์.

นงเยาว์ แก้วมรกต.(2542). ผลการรับรู้บรรยากาศองค์กร ที่มีต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน บุคคลในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สัมฤทธิ์ ผิวบัวคำ. (2546). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของราชการครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

สาธิต เริงใจ. (2549). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความผูกพันธ์ต่อองค์การของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา

สุวิมล ติรกานันท์. ๒๕๕๓. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ : แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : พิมพ์ครั้งที่ ๘. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภวุฒิ กาฬสุวรรณ และคณะ. (2545). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันขององค์การของเจ้าหน้าที่สาธารณะสุขระดับตำบล จังหวัดปัตตานี. วารสารสงขลานครินทร์ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์,8(1), มกราคม-เมษายน, 73-89.

อลิษา สุขปิติ. (2547). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับความผูกพันในองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยบูรพาจังหวัดชลบุรี. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา

16.ประวัติผู้วิจัย

ชื่อผู้วิจัย                   นายณัฐกร   ดอนแก้วภู่

วันเดือนปีเกิด              วันเสาร์ที่ 6 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2532

ที่อยู่ปัจจุบัน                26 หมู่ที่ 3 ตำบลห้วยม่วง  อำเภอกำแพงแสน  จังหวัดนครปฐม      

ประวัติการทำงาน

พ.ศ.2554                  บรรณารักษ์อัตราจ้าง ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอกำแพงแสน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอกำแพงแสน  จังหวัดนครปฐม

พ.ศ.2554 – ปัจจุบัน      ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ธุรการ องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยม่วง  อำเภอกำแพงแสน  จังหวัดนครปฐม

ประวัติการศึกษา

พ.ศ.2544                  ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนกำแพงแสนวิทยา

พ.ศ.2550                  ระดับปริญญาตรี รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาการปกครองส่วนท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

พ.ศ.2554                  กำลังศึกษาระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

หมายเลขบันทึก: 500436เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2012 16:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กันยายน 2012 12:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ช่วยแนะนำ ตำหนิ ติ ชม ด้วยนะครับจะได้รู้ว่าใช้ได้เปล่า อิอิ

อ่านแล้วจะกลับมาคอมเม้ท์อีกครั้ง

ขอตัวอย่างแบบสอบถามได้ไหมค่ะ


ช่วยลงบรรณานุกรมให้ครบตามที่ใช้อ้างอิงได้ไหมคะ

ต้องการด่วนไหมครับ


นาย ณัฐกร ดอนแก้วภู่

ต้องการด่วนไหมครับ รอสักแปปนะครับ

อยากทราบว่า ความผูกพันองค์การ ตัวแปรตามวัดได้จากอะไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท