GFMIS


วิธีการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี ในระบบ GFMIS

วิธีการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี ในระบบ GFMIS ตามหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กค 0409.7/ว 67  เรื่อง  วิธีปฏิบัติในการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีและการขยายเวลาเบิกจ่ายเงิน ใกล้สิ้นปีงบประมาณ 2549  สำนักงานคลังจังหวัดชุมพร  ขอแจ้งให้ผู้ปฏิบัติงานการเงิน ในระบบ GFMIS ทราบถึงวิธีปฏิบัติในการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี ดังนี้

กรณีมีหนี้ผูกพัน

          1. การสั่งซื้อ สั่งจ้าง ทำสัญญาตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป เมื่อจัดทำ PO (บส.01) ในระบบ GFMIS  ให้ถือว่า PO (บส.01) เป็นใบขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีกรณีมีหนี้ผูกพัน

        2. กรณีทำสัญญารายหนึ่ง ตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป  แต่ทำ  PO (บส.01)   หลายฉบับ มูลค่าต่อใบต่ำกว่า 50,000 บาท เมื่อบันทึกเข้าระบบ GFMIS แล้ว   ให้สรุปรายละเอียดส่งให้หน่วยงานเจ้าของงบประมาณและถือว่า PO (บส.01) ดังกล่าวเป็นใบขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีกรณีมีหนี้ผูกพัน

        3. กรณีเป็นรายการอื่นที่ กระทรวงการคลัง กำหนดให้เป็นรายการที่สามารถขอกันเงินได้ โดยถือเสมือนว่ามีหนี้ผูกพัน หน่วยงานเจ้าของงบประมาณ ต้องจัดทำเอกสารสำหรับเงินในระบบ GFMIS โดยไม่ต้องขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง

กรณีไม่มีหนี้ผูกพัน

          1.   หน่วยงานส่วนภูมิภาคจัดทำรายละเอียดการกันเงินฯ แจ้งให้หน่วยงานเจ้าของงบประมาณ จัดทำเอกสารสำรองเงินในระบบ GFMIS ที่ Terminal เท่านั้น

        2.   หน่วยงานเจ้าของงบประมาณ ต้องขอทำความตกลงกับ กระทรวงการคลังหรือ กรมบัญชีกลาง ตามแบบฟอร์มรายละเอียดที่กำหนด 5 ชุด และในรูปแผ่นดิสเก็ตต์ 1 ชุด

การขอเก็บเงินไว้จ่ายภายหลังสิ้นปีงบประมาณ การขยายเวลาเบิกจ่ายเงินงบประมาณ และการขยายเวลาเก็บเงินงบประมาณ หน่วยงานเจ้าของงบประมาณ ต้องขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง หรือกรมบัญชีกลาง

กรณีงบประมาณเบิกแทนกัน ต้องดำเนินการโดยหน่วยงานเจ้าของงบประมาณ  (ตกลงภายในวันที่ 30 กันยายน 2549) 

หมายเหตุ   การกันเงินในระบบ GFMIS  ให้ถือปฏิบัติตามหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด          ที่ กค 0409.7/ว 119  ลงวันที่  26  สิงหาคม  2548

หมายเลขบันทึก: 50036เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2006 10:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012 14:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ตร.น่าจะเครื่องสำหรับการเบิกจ่ายให้ส่วนราชการผู้เบิกในระดับกองบังคับการฯหน่วยละ 1 เครื่อง น่าจะเป็นการสะดวกดีกว่าที่จะต้องมารบกวนที่สำนักงานคลังจังหวัดซึ่งมีหน่วยงานมาดำเนินงานมาก

ขอบคุณครับ

ขอบอก ขอบอก  _ส่วนราชการนี้ต้องทำความเข้าใจเรื่องนี้มาก ๆ นะ เพราะสิ้นปีงบประมาณแล้ว

 

ไม่รู้ ไม่สนใจเพราะไม่ใช่คนทำ

ส่วนราชการที่ได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณเยอะ ๆ แล้วก็ไม่รีบเบิกจ่าย พอใกล้สิ้นปีงบประมาณก็มาทำการกันเงิน หรือก่อหนี้ผูกพัน ช่างไม่มีความรับผิดชอบเสียเลย

ส่วนราชการยังขาดความเข้าใจในการกันเงินเบิกเหลื่อมปี
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท