สื่ออิเล็กทรอนิกส์ก้าวไกล รัฐจะสร้างบริการอย่างไร ให้ประชาชนมั่นใจที่จะใช้บริการ


ความสำเร็จของ e-Government ที่แท้จริงจะต้องมีเป้าหมายคือ ทำเพื่อประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ดังนั้น "ความสำเร็จของการออกแบบการบริการ e-Government คือ การยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง"

           ปัจจุบันภาครัฐ ได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร มาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการ และให้บริการประชาชนและภาคธุรกิจเอกชน เป็นการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ที่ เรียกว่ารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ (e-Government) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ปรับปรุงการบริการแก่ประชาชน การบริการด้านข้อมูลและสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ประชาชนมีความใกล้ชิดกับภาครัฐมากขึ้น สื่ออิเล็กทรอนิกส์ จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเข้าถึงบริการของรัฐโดยจะต้องมีความร่วมมือจาก 3 ฝ่ายได้แก่ ภาครัฐ ภาคธุรกิจและประชาชน ผลพลอยได้ที่สำคัญ คือ หลักธรรมาภิบาลและความโปร่งใส ที่มีมากขึ้นในกระบวนการทำงานของระบบราชการ อันเนื่องมาจากการเปิดเผยข้อมูล และประชาชนสามารถเข้ามาตรวจสอบได้ตลอดเวลา  และยังเป็นการลดคอร์รัปชั่นอีกด้วย                          

 http://www.kmitl.ac.th/agritech/nutthakorn/04093009_2204/isweb

 การบริหารจัดการภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

      1. ระบบการจัดการความเปลี่ยนแปลงของผู้นำ การบริการ  e-Government เป็นการทำงานที่จะต้องใช้การตัดสินใจของผู้บริหาร เนื่องจากต้องอาศัยการตัดสินใจในการเปลี่ยนแปลง ทั้งกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการปฏิบัติงาน นอกจากนั้น ยังต้องสนับสนุน คน เงิน งบประมาณ ให้มีจำนวนเพียงพอ และต่อเนื่อง ดังนั้นการพัฒนา e-Government จะต้องได้รับการผลักดันจากผู้นำประเทศ ให้ เกิดการเปลี่ยนแปลง ผู้นำจะต้องพัฒนาปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องในทุกองค์กรดังนี้ ความมุ่งมั่นของผู้บริหารในระดับองค์กร เช่น CEO จะต้องสนใจและมุ่งมั่น ในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และต้องทุ่มเททรัพยากรที่เกี่ยวเนื่อง ในการพัฒนาอย่างเต็มที่ โครงสร้างกระบวนการบริหาร และกฎหมายควบคุมต่างๆ จะต้องมีการปรับปรุงให้สามารถดำเนินงานได้ ตลอดจนปรับกระบวนการให้สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     2. ระบบการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน  การให้บริการ e-Government จะต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเข้าถึงการให้บริการ โดยสามารถแยกออกได้เป็นเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ โครงข่ายการสื่อสารโทรคมนาคม ที่พร้อมใช้เพื่อการสื่อสาร และสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ ทั่วถึง และเท่าเทียม ในกรณีนี้รัฐจะต้องเร่งพัฒนาเครือข่ายโทรคมนาคมรวมถึงปัจจัยอื่น ที่ทำให้กระแสสารสนเทศ สามารถส่งไปถึงประชาชนอย่างทั่วถึง ในราคาที่เป็นธรรม ฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ ต้องมีอย่างพอเพียงเพื่อให้ทั้งภาครัฐ และประชาชนสามารถใช้เครื่องมือในการให้บริการของภาครัฐ และภาคประชาชนในการเข้าถึงบริการต่าง ๆ ที่รัฐจัดทำให้ ฮาร์ดแวร์ที่เหมาะสมกับท้องถิ่น และภูมิประเทศ เช่น ตู้บริการสาธารณะ (Kiosk) และศุนย์โทรคมชุมชน อาจจะใช้เป็นเครื่องมือที่รัฐสามารถจัดหา และส่งไปยังพื้นที่ต่างๆได้ ทรัพยากรมนุษย์  ข้าราชการ และประชาชนจะต้องมีการพัฒนาทักษะ และเรียนรู้ที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติงานและการให้และการรับบริการ เพื่อให้เกิดผลแบบพลวัตรอันเกิดจากเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับชีวิตประจำวัน ในการทำงาน และความบันเทิง ตลอดจนมีความสามารถในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้

    3. ระบบการจัดการความรู้และชุมชน  ความสำเร็จของ e-Government ที่แท้จริงจะต้องมีเป้าหมายคือ ทำเพื่อประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ดังนั้น "ความสำเร็จของการออกแบบการบริการ e-Government คือ การยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง" เนื่องจากประชาชนในประเทศไทย มีความแตกต่างกันมาก ทั้งในด้านของโอกาส และพื้นฐานการศึกษา คนกลุ่มนี้รวมถึง คนที่อยู่ในชนบท คนพิการ คนที่มีปัญหาทางภาษา และคนที่ไม่สามารถ ปรับตัวเข้ากับสังคมข้อมูลข่าวสารได้ ซึ่งเป็นจำนวนมากในประเทศไทย ความหลากหลายดังกล่าวทำให้การบริการ เหมือนๆ กัน ไม่สามารถกระจายสู่ประชาชนทุกกลุ่มได้เท่าเทียมกัน จึงต้องมีการจัดการอบรมให้แก่ประชาชนสามารถใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการรับรู้ข้อมูลสารสนเทศ เพิ่มขีดความสามมารถของประชาชนจำนวนมาก ให้เข้าถึงบริการของรัฐ เพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ ระหว่างประชาชนและหน่วยราชการ เพิ่มความเชื่อมั่นของประชาชน ในการรับบริการอย่างปลอดภัย และเป็นส่วนตัว

http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=modoko&date=27-01-2009&group

        การสร้างความเชื่อมั่น ในการบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ หน่วยงานภาครัฐ   ต้องมีการนำบริการจากภาครัฐ สู่ประชาชน โดยใช้อิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อในการให้บริการ โดยใช้หลักการของ ที่เดียว การพัฒนา e-Government ทำให้สามารถสร้างเว็บท่า (Web Portal) ที่สามารถบูรณาการบริการต่าง ๆ ที่เคยอยู่กระจัดกระจาย มารวมอยู่ที่เดียวกัน เพื่อให้ง่ายต่อประชาชนในการติดต่อที่จอเดียว หรือ หน้าต่างเดียวเพื่อบริการเบ็ดเสร็จ   ทันใด รายการทางอิเล็กทรอนิกส์ สามารถทำได้และมีการตอบรับแบบทันที ไม่ต้องเสียเวลารอคอย การตอบกลับทางเอกสาร ทำให้งานต่างๆ ที่ต้องรอคำตอบนานๆ สามารถได้รับคำตอบในทันทีทันใด ทั่วไทย การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้การเชื่อมโยงประชาชนชาวไทยไม่ว่าอยู่ที่ไหนในโลก ทุกเวลา เนื่องจากคอมพิวเตอร์แม่ข่าย และระบบอินเทอร์เน็ต สามารถเปิดไว้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง แบบเดียวกับตู้ ATM ทำให้การบริการต่าง ๆ ที่เคยต้องทำในเวลาราชการ สามารถทำได้ตามที่ประชาชนสะดวก ทั่วถึง และเท่าเทียม การให้บริการ e-Government ทำให้ประชาชน และผู้ด้อยโอกาส จะได้มีโอกาสในการรับบริการ โดยไม่ต้องเดินทาง และประชาชนที่ด้อยโอกาสสามารถรับบริการที่สะดวกสบาย เช่นเดียวกับประชาชนในเมือง ได้อย่างเท่าเทียมกัน โปร่งใส และเป็นธรรมภิบาล  การบริการ e-Government ทำให้บริการของรัฐในหลายๆ เรื่องที่เคยไม่โปร่งใส เช่น การจัดซื้อจัดจ้าง เป็นต้น สามารถดำเนินการ แบบเปิดเผยผ่านระบบออนไลน์ ที่มีผู้เข้าร่วม และรู้เห็นจำนวนมากได้ มีการคาดการณ์ว่าการทำให้โปร่งใสและเป็นธรรม

คำสำคัญ (Tags): #e-trust
หมายเลขบันทึก: 500199เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2012 22:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ตุลาคม 2012 23:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอขอบคุณ 03 อรดี ลีลาศ ,03 เสาวภา สุภาษร, 02 ชฎารัตน์ ปุระมาปัด ที่แวะมามอบดอกไม้ เป็นกำลังใจ

ขอขอบคุณท่าน ผศ.วิไล แพงศรี มากค่ะ ที่แวะเข้ามามอบดอกไม้เป็นกำลังใจ

ขอขอบคุณ ท่าน Somsri มากค่ะ ที่ได้เข้ามามอบดอกไม้เป็นกำลังใจ

ขอขอบคุณ EGA ที่แวะเข้ามามอบดอกไม้เป็นกำลังใจ
  • มีความสามารถในการเขียนบันทึกได้ดีมาก 18/20
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท