รวดเร็ว ครอบคุมทุกเครือข่าย สร้างความเชื่อมั่นในการใช้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ


เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก ทำให้การสื่อสารที่นิยมบนอินเทอร์เน็ตทำได้ง่ายและมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าระบบสื่อสารแบบอื่น

          การเติบโตของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้มีผู้ใช้งานกันอย่างกว้างขวาง เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก ทำให้การสื่อสารที่นิยมบนอินเทอร์เน็ตทำได้ง่ายและมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าระบบสื่อสารแบบอื่น การสื่อสารทีนิยมบนอินเทอร์เน็ต ได้แก่การรับส่งข้อมูลทำการแลกเปลี่ยน โอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน การส่งอีเมล์ การกระจายทำการในรูแบบเว็บเพจ ตลอดจนการโต้ตอบสื่อสารแบบส่งข้อความและการประยุกต์ในเรื่องธุรกิจอีกมากมาย การประยุกต์ที่น่าสนใจบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างหนึ่งคือ ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีคอมเมิร์ซ(e-commerce) หรือการค้าขายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการตั้งร้านค้าบนอินเทอร์เน็ตจำนวนมาก ผู้ตั้งร้านค้าใช้เว็บเพจนำเสนอสินค้าและบริการต่าง ๆ ซึ่งทำให้ผู้ใช้เข้าใช้บริการสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ ทุกประเทศ เป็นการเปิดร้านค้าที่มีลูกค้าเข้าเยียมชมจากที่ต่าง ๆ

ที่มาhttp://www.chakkham.ac.th/technology/homepage/page13.html

 

          รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อี-กัฟเวิร์นเมนต์( e-Government )                  คือการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการและให้บริการประชาชนและภาคธุรกิจเอกชน โดยภาครัฐ

วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ โดยการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานภาครัฐ ปรับปรุงการบริการแก่ประชาชน การบริการด้านข้อมูลและสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ประชาชนมีความใกล้ชิดกับภาครัฐมากขึ้น สื่ออิเล็กทรอนิกส์จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเข้าถึงบริการของรัฐ ประการสำคัญจะต้องมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดและเต็มใจจากทั้ง 3 ฝ่าย ได้แก่ ภาครัฐ ภาคธุรกิจและประชาชน

ผลพลอยได้ที่สำคัญที่จะได้รับคือ ธรรมาภิบาลและความโปร่งใสที่มีมากขึ้นในกระบวนการทำงานของระบบราชการ อันเนื่องมาจากการเปิดเผยข้อมูล และประชาชนสามารถเข้ามาตรวจสอบได้ตลอกเวลาจึงคาดว่าจะนำไปสู่การลดคอร์รัปชันได้ในที่สุด 

 ประโยชน์ของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์

  • สร้างโอกาสให้ประชาชนได้เลือกใช้บริการที่หลากหลายผ่านอินเทอร์เน็ต
  • ประชาชนได้รับบริการจากรัฐที่ดีขึ้น แม่นยำขึ้น สะดวกขึ้น เสียเวลากับรัฐน้อยลง เพราะมีช่องทางบริการใหม่ๆ
  • เกิดขึ้นในศูนย์บริการทางโทรศัพท์ (Call Center) , บริการทางเว็บไซต์, การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ (WAP) เป็นต้น
  • รัฐให้ข้อมูลกับประชาชนได้มากขึ้น
  • ลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูลและบริการของรัฐ
  • ลดความยุ่งยากของกฎเกณฑ์ เพิ่มความโปร่งใสในการทำงาน
  • หากมีการนำระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์มาใช้อย่างเต็มรูปแบบ ประชาชนจะได้รับความสะดวก รวดเร็วในการติดต่อกับภาครัฐมากขึ้น โดยสามารถขอรับบริการได้ตลอดทุกวัน 24 ชั่วโมง

ประเภทของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์

  • ภาครัฐสู่ประชาชน ( Government to Citizens; G2C) เป็นการให้บริการของรัฐสู่ประชาชนโดยตรง โดยที่บริการดังกล่าวประชาชนจะสามารถดำเนินธุรกรรมโดยผ่านเครือข่ายสารสนเทศของรัฐ เช่น การชำระภาษีให้แก่กรมสรรพากร, การจดทะเบียน, การจ่ายค่าปรับ , การต่ออายุบัตรประชาชน, การเสียค่าน้ำค่าไฟ, การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน, การบริการข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแทนประชาชนกับผู้ลงคะแนนเสียงและการค้นหาข้อมูลของรัฐที่ดำเนินการให้บริการข้อมูลผ่านเว็บไซต์ เป็นต้น โดยที่การดำเนินการต่าง ๆ นั้นจะต้องเป็นการทำงานแบบออนไลน์และนาทีต่อนาที มีการรับรองและการโต้ตอบที่มีปฏิสัมพันธ์
  • ภาครัฐสู่ภาคธุรกิจ ( Government to Business; G2B) เป็นการให้บริการของภาคธุรกิจเอกชน โดยที่รัฐจะอำนวยความสะดวกต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันกันโดยความเร็วสูง มีประสิทธิภาพ และมีข้อมูลที่ถูกต้องอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส เช่น การจดทะเบียนทางการค้า การลงทุน และการส่งเสริมการลงทุน การจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) การส่งออกและนำเข้า การชำระภาษี และการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก
    • การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง กระบวนการเสนอซื้อขายสินค้าหรือบริการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย (อาจมีมากกว่า 1 คน) ที่เข้ามาแข่งชันเสนอราคากันในช่วงเวลาที่กำหนด เป็นการลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มขีดความสามารถในการจัดหาและจัดจำหน่ายสินค้า โดยการประมูลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
      • การประมูลเพื่อขาย เป็นการประมูลที่เริ่มขึ้นจากผุ้ที่ต้องการขายสินค้า นำสินค้ามาเสนอขาย แล้วให้ผู้ที่ต้องการซื้อเข้ามาเสนอราคาแข่งขันกัน โดยผู้ซื้อที่เสนอราคาสูงสุดจะเป็นผู้ชนะการประมูลและได้รับสินค้านั้นไป เช่น การประมูลรูปภาพ
      • การประมูลเพื่อซื้อ เป็นการประมูลที่เริ่มขึ้นจากผู้ที่ต้องการซื้อสินค้า ได้นำลักษณะสินค้าไปลงไว้ แล้วให้ผู้ขายเข้ามาเสนอราคาแข่งขันกัน โดยผู้ขายที่สามารถเสนอราคาได้ต่ำที่สุดจะเป็นผู้ชนะการประมูล ผู้ซื้อจะต้องซื้อสินค้าจากผู้ที่ชนะนั้น เช่น ต้องการซื้อคอมพิวเตอร์
      • Bartering เป็นการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการโดยปราศจากรายการทางการเงิน ซึ่งจะมีบริษัทที่จัดการเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการให้กับองค์กรเอกชน เช่น barterbrokers.com โดยบริษัทเหล่านี้จะพยายามหาผู้ที่จะมาแลกเปลี่ยน
  • ภาครัฐสู่ภาครัฐ ( Government to Government; G2G) เป็นรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปของหน่วยราชการ ที่การติดต่อสื่อสารระหว่างกันโดยกระดาษและลายเซ็นในระบบเดิมในระบบราชการเดิม จะมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยการใช้ระบบเครือข่ายสารสนเทศ และ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างเป็นทางการเพื่อเพิ่มความเร็วในการดำเนินการ ลดระยะเวลาในการส่งเอกสารและข้อมูลระหว่างกัน นอกจากนั้นยังเป็นการบูรณาการการให้บริการระหว่างหน่วยงานภาครัฐโดยการใช้การเชื่อมต่อโครงข่ายสารสนเทศเพื่อเอื้อให้เกิดการทำงานร่วมกัน , และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ทั้งนี้รวมไปถึงการเชื่อมโยงกับรัฐบาลของต่างชาติ และองค์กรปกครองท้องถิ่นอีกด้วย ระบบงานต่าง ๆ ที่ใช้ในเรื่องนี้ ได้แก่ ระบบงาน Back Office ต่าง ๆ ได้แก่ ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ระบบบัญชีและการเงินระบบจัดซื้อจัดจ้างด้วยอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น อย่างไรก็ดี จะต้องมีกระบวนการในการลดแรงต่อต้านของบุคลากรที่คุ้นเคยกับการทำงานในระบบเดิม ตัวอย่างเช่น การทำหนังสือเดินทาง, วีซ่า หรือข้อมูลอาชญากรข้ามชาติ
  • ภาครัฐสู่พนักงาน (Government to Employees; G2E)

เป็นการให้บริการที่จำเป็นของพนักงานของรัฐ กับรัฐบาล โดยที่จะสร้างระบบเพื่อช่วยให้เกิดเครื่องมือที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน และการดำรงชีวิต เช่น ระบบสวัสดิการ ระบบที่ปรึกษาทางกฎหมาย และข้อบังคับในการปฏิบัติราชการ ระบบการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ เป็นต้น

วิวัฒนาการของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์

  1. รูปแบบของการประชาสัมพันธ์ข้อมูล
  2. มีการปฏิสัมพันธ์สองทาง ระหว่างประชาชนกับหน่วยงาน สามารถเข้าไปทำธุรกรรมต่างๆ ได้
  3. ประชาชนสามรถเข้าไปที่ลิงก์เพื่อเข้าถึงได้ทุกหน่วยงาน
  4. มีการทำ profile ข้อมูลส่วนตัวของประชาชนขึ้นมา
  5. นำเอากิจกรรมที่เกี่ยวข้องกันมารวมกันไว้ที่ใดที่หนึ่ง
  6. ประชาชนสามารถเข้าไปที่เดียว โดยรวมทุกเรื่องไว้ด้วยกัน
            การบริหารการจัดการระบบเครือข่ายและระบบในการให้บริการภาคประชาชนของหน่วยงานรัฐมีแนวโน้มดีขึ้น สามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่องแม้ในสภาพเกิดเหตุภัยพิบัติ และสามารถประหยัดงบประมาณทางด้านการลงทุนระบบได้อย่างน้อย 30% จากตัวเลขที่ในระดับโลกประเมินมาแล้ว 
ระยะยาว เมื่อมีการรวมระบบงานต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐ เข้าสู่ Government Cloud Service แล้วจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาการเชื่อมโยงเครือข่ายตามไปด้วย เสริมสร้างความมั่นใจในการให้บริการ สามารถบริการได้อย่างต่อเนื่องแม้ในสภาวะวิกฤติ หรือเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆ รวมถึงการพัฒนาระบบเครือข่ายเพื่อเชื่อมเข้าสู่หน่วยงานภาครัฐเพื่อเป็น Smar Network ในอนาคต ประโยชน์ต่อภาคประชาชนในการได้รับบริการจากหน่วยงานภาครัฐอย่างต่อเนื่อง รวดเร็ว และทันต่อเหตุการณ์ระยะสั้น จะเกิดบริการของภาครัฐใหม่ๆ ให้บริการผ่านระบบออนไลน์เพื่อสร้างความสะดวกสบายมากขึ้น โดยระบบจะมีการปรับแต่งให้มีความทันสมัยตลอดเวลา ระบบจะมีความเสถียรและให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมงอย่างต่อเนื่อง ระยะยาว ธุรกรรมทางด้านออนไลน์ของภาคประชาชนกับภาครัฐจะเติบโตขึ้น สามารถเข้าไปเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ง่าย ลดความยุ่งยากและซับซ้อนในการให้บริการประชาชนด้วยระบบที่ทำงานอย่างมีแบบแผนเป็นขั้นตอนชัดเจน
 
ที่มาhttp://th.wikipedia.org
 
 
 
คำสำคัญ (Tags): #e-trust
หมายเลขบันทึก: 500189เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2012 21:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ตุลาคม 2012 00:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอบคุณ คุณ 02 ชฎารัตน์ ปุระมาปัด มากค่ะที่แวะมาให้กำลังใจ

ขอบคุณ คุณ 03 อรดี ลีลาศมากค่ะที่แวะมาให้กำลังใจ

ขอบคุณ คุณโสภณ เปียสนิท มากค่ะที่แวะมาให้กำลังใจ

ขอบคุณ คุณEGAมากค่ะที่แวะมาให้กำลังใจ

ขอขอบคุณ คุณ 03 ปริศนา มาลาสาย มากค่ะที่แวะมาให้กำลังใจ

  • มีความสามมารถในการเขียนบันทึก และการลงภาพประกอบ
  • 18/20
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท