การสร้างความเชื่อมั่นในบริการ e-government ให้กับประชาชน"


การทำให้ประชาชนมีความมั่นใจในบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐนั้น ควรจะตระหนักถึงความสำคัญในทุกกระบวนการของการให้การบริการ

        ปัจจุบันได้มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการและให้บริการประชาชนมากขึ้น ด้วยการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งครอบคลุมการทำธุรกรรมต่างๆ ทั้งในภาคธุรกิจ และการให้บริการของภาครัฐ ในงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการทำธุรกรรมในส่วนของประชาชนหรือผู้บริโภค มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน ซึ่งก็ส่งผลให้ประชาชนนิยมทำธุรกรรมผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากขึ้น แต่ประชาชนก็ยังขาดความเชื่อมั่นในการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ

           การทำรายการในบริการต่าง ๆ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เราจะมีการลงทะเบียน เพื่อที่จะเข้าสู่ระบบของการบริการต่างๆ และจะต้องกรอกข้อมูลส่วนบุคคลด้วย แต่ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ยังไม่กล้าที่จะกรอกข้อมูลที่ตรงกับความเป็นจริง เพราะการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลนั้นยังไม่เป็นที่น่ามั่นใจ ผู้เขียนคิดว่าการกรอกข้อมูลส่วนบุคคลนั้นควรจะกรอกข้อมูลที่ตรงกับความจริงเท่านั้น  เพราะเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในการติดต่อระหว่างผู้ให้บริการกับผู้ใช้บริการ  ดังนั้นผู้ให้บริการควรจะมีการเพิ่มความปลอดภัยในการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นความลับโดยอยู่ภายใต้มาตรฐานในการรักษาความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด มีการตรวจสอบและรับรองว่าบุคคลนั้นๆมีตัวตนจริงๆ มีกระบวนการในการแก้ไข ปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้อง รวดเร็ว บริการตลอด 24 ชั่วโมง เป็นปัจจุบันและมีความสมบูรณ์ตามมาตรฐานในการให้บริการมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อปกป้องความเสียหาย หรือการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลโดยผู้อื่นที่ไม่มีอำนาจใดๆ  และการปลอมแปลงข้อมูลต่างๆ เพราะส่วนใหญ่ผู้ให้บริการจะดำเนินการเท่าที่จำเป็นและเพื่อประโยชน์ในการให้บริการของผู้ให้บริการเท่านั้น  ถ้าผู้ให้บริการทำได้อย่างที่กล่าวมาข้างต้น ผู้ใช้บริการก็น่าจะมั่นใจในการที่จะกรอกข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นความจริงมากขึ้น

         

       http://www.ega.or.th/Content.aspx?c_id=191

        การทำให้ประชาชนมีความมั่นใจในบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐนั้น ควรจะตระหนักถึงความสำคัญในทุกกระบวนการของการให้การบริการ  เช่น การลงทะเบียน เพราะสามารถกระตุ้นให้ผู้ใช้บริการมีความมั่นใจ ไว้วางใจในการใช้บริการได้อย่างมากทีเดียว ซึ่งจะทำให้การบริการมีการพัฒนาทัดเทียมมาตรฐานสากลและเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยมีการปรับปรุงในส่วนของการลงทะเบียนให้ทันสมัยตามมาตรฐานสากล ดังนั้น เมื่อประชาชนเข้าใช้บริการในระบบบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐบาล ก็จะมั่นใจได้ว่า ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นจะมีการเก็บรักษา การตรวจสอบ และการรับรองความปลอดภัยตามมาตรฐานสากลได้ เป็นต้น

 

 

คำสำคัญ (Tags): #e-trust
หมายเลขบันทึก: 500167เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2012 18:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กันยายน 2012 21:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอขอบคุณ คุณ 04 จิรารัตน์ อินธิเดช,คุณ 04 บัญชร ศรีวินัย,คุณ 02 ศิวะดล นิลสุข และคุณ 03 ศิโรรัตน์ แก้วมงคล มากนะค่ะที่ได้เข้ามาเยี่ยมชม และได้มอบดอกไม้ให้กำลังใจคะ

ขอขอบคุณ คุณ 02 ธานินทร์ พรมขันธ์ มากนะค่ะที่ได้เข้ามามอบดอกไม้ให้กำลังใจคะ

  • ผลการประเมิน

  • ชื่อเรื่อง 1/2

  • ประโยคเด่น 2/2

  • ความนำ 2/3

  • เนื้อหา  7/8

  • บทส่งท้ายหรือสรุป 3/3

  • บันทึกที่เกี่ยวข้อง 2/2

  • ถูกหักแต้มคำผิด = 0

  • คะแนนนรวม 17 ถูกหักแต้มคำผิด 0 = 17/20 ระดับ 5 (ดีมาก)

  • เกณฑ์การประเมิน คะแนน 0-4 =ระดับ 1 (ควรปรับปรุงอย่างยิ่ง) 5-8 ระดับ 2 (ควรปรับปรุง) 9-12 ระดับ 3 (พอใช้) 13-16 ระดับ 4 (ดี) 17-20 ระดับ 5 (ดีเยี่ยม)

  • ความเห็น : ชื่อเรื่องเท่ากับเป็นการบอกว่า ประชาชนเขื่อมั่นในการบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐแล้ว แต่สิ่งที่โจทย์กำหนดให้เขียนคือ ใหชี้แนะวิธีที่จะทำให้เชื่อมันซึ่งผู้เขียนก็เขียนตอบโจทย์ดังกล่าว ชื่อเรื่องจึงควรเป็น "การสร้างความเชื่อมั่นในบริการ e-government ให้กับประชาชน"

  อาจารย์ยังเพลียอยู่มากเลย เพราะเพิ่งเสร็จสิ้นจากภาระที่ทำให้ต้องขับรถตามลำพังเที่ยวไป 100 กม.กลับ 100 กม.แทบทุกวันจาก 22-26 ส.ค. 55 วันนี้ก็สอนทั้งวัน โดยที่ตอนเช้ารับกาแฟถ้วยเดียว เกือบ 6 โมงเย็นถึงได้ทานอาหารเที่ยง แต่ต้องเข้ามาหาคนที่เขียนได้ในระดับดีขึ้นไป เพื่อไปเป็นตัวอย่างให้กับคนที่จำเป็นต้องมีตัวอย่างให้ดู อาจารย์เลยพิมห์ตกหล่นไป ใหชี้แนะ ที่ถูกคือ "...ให้ชี้แนะ..." อย่าลืมหักแต้มอาจารย์ด้วยล่ะ แก้เองไม่ได้เสียด้วยสิ

ขอขอบคุณ ผศ. วิไล แพงศรี มากนะค่ะที่ได้เข้ามาให้การประเมินและคำแนะนำคะ อยากจะบอกว่าอาจารย์เป็นบุคคลตัวอย่างของใครหลายๆคน รวมถึงหนูด้วยคะ อาจารย์ทุ่มเททั้งแรงกาย แรงใจ ในการเรียนการสอน ทำให้หนูและเพื่อนๆ ได้มีการพัฒนาตนเองในด้านต่างๆมากขึ้น เช่น อาจารย์พยายามช่วยให้นักศึกษาทุกคน รู้จักกล้าแสดงออก แสดงความคิดเห็น ซึ่งความพยายามของอาจารย์ในเรื่องนี้ก็สำเร็จ ทำให้หนูกล้าแสดงออกมากขึ้นค่ะ สุดท้ายนี้หนูก็ขอเป็นกำลังใจให้อาจารย์นะค่ะและอย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเองด้วยนะค่ะ

                                                               "กล้วยไม้ออกดอกช้า ฉันใด
                                                                  การศึกษาเป็นไป ฉันนั้น
                                                               แต่ออกดอกคราใด งามเด่น
                                                       การศึกษาปลูกปั้น เสร็จแล้ว แสนงาม"
  • ขอบใจชฏารัตน์ ที่ทำให้อาจารย์มีกำลังใจว่า สิ่งที่อาจารย์ได้ทุ่มเทนั้นมีผลในการพัฒนานักศึกษา 
  • อย่างที่อาจารย์ได้บอกกับนักศึกษาในชั้นเรียนว่า อาจารย์จะช่วยได้ไม่เกิน 30 % ที่เหลือ 70 % เป็นส่วนที่นักศึกษาจะต้องทำด้วยตนเอง และจากที่อาจารย์ได้ดูมาแต่แรก ชฏารัตน์ก็เป็นนักศึกษาคนหนึ่ง ที่ได้ให้ความใส่ใจและใช้ความพยายามที่จะพัฒนาตนเอง และสามารถทำได้ดี เป็นความภูมิใจของอาจารย์ว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลฯ มีนักศึกษาที่มีคุณภาพอย่างหนู
  • แต่สิ่งหนึ่งที่หนูยังทำไม่ได้คือ การใช้วรรณยุกต์ให้ถูกต้องตามที่อาจารย์ได้บอกกับหนูโดยตรงในชั้นเรียนไปแล้ว คือ คำที่ต้องเขียน "คะ" เช่น "นะคะ" แต่หนูยังเขียน "นะค่ะ" และคำที่ต้องเขียน "ค่ะ" แต่หนูกลับเขียน "คะ" เช่น ...ที่ได้เข้ามาให้การประเมินและคำแนะนำคะ...

ขอขอบคุณ ผศ. วิไล แพงศรี มากนะค่ะสำหรับคำแนะนำหนูจะนำไปปรับปรุงแก้ไข ในเรื่องของการใช้วรรณยุกต์ให้ถูกต้องค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท