โสภณ เปียสนิท
นาย โสภณ เปียสนิท ตึ๋ง เปียสนิท

(2) ฝรั่งสนใจธรรม


แต่ฉันอยากไปทำที่วัดอยู่ดี เพราะมีพระอาจารย์คอยแนะนำรู้สึกอุ่นใจดี

(2) ฝรั่งสนใจธรรม

 

            “แต่ฉันอยากไปทำที่วัดอยู่ดี เพราะมีพระอาจารย์ค่อยแนะนำ รู้สึกอุ่นใจดี” เธอมีท่าทีกังวลกับการทำที่บ้าน เพราะยังยึดติดกับการมีพระอาจารย์คอยสั่งสอนแนะนำ “ไม่เป็นไรหรอก เอาแบบง่ายๆ ก็ได้นี่” “มีอย่างง่ายด้วยหรือ?” “มีซิ” “ฉันต้องทำอย่างไร” ผมนึกหาวิธีแบบง่าย และสบายที่สุดสำหรับชาวต่างชาติผู้เริ่มต้น “เช่น เวลานอนสบายๆ บนเก้าอี้โยก ลองเปิดดนตรีบรรเลงเบาๆ กำหนดอาการ “หายใจเข้าท้องพอง หายใจออกท้องยุบ” ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพอใจ” “เอ วิธีนี้ก็ไม่น่าจะยากนะ” “ช่าย หรือไม่ก็เวลานอนกำหนด “หายใจเข้าท้องพอง หายใจออกท้องยุบ”ไปเรื่อย จนกว่าเราจะหลับไป “อ้าว ทำอย่างนี้ได้ด้วยหรือ” “ได้ ทำบ่อยเข้าทำให้หลับดี สติสมาธิดีขึ้น” “เดิมรู้แต่ว่า เวลาทำสมาธิ ง่วงไม่ดี หลับไม่ดี” “สำหรับพระ สำหรับผู้ฝึกสมาธิที่ชำนาญแล้ว จะต้องคอยระวังไม่ให้ง่วง แต่สำหรับเรา เอาแบบง่ายนี้ไปก่อน เหมาะสำหรับทำอยู่ที่บ้าน และผู้เริ่มต้นใหม่” ทีน่ายิ้มอย่างดีใจ ว่าคราวนี้เธอได้ของเล่นชิ้นใหม่นำกลับไปทดลองเล่นที่บ้าน

 

            “ฉันภาวนา “พุทโธ”ในใจ พยายามให้ใจอยู่กับคำภาวนา เวลาหายใจเข้าว่า พุท เวลาหายใจออกว่า โธ นั่งขัดสมาธิ หลังตรง อย่าให้หลับ ค่อนข้างจริงจังเคร่งเครียด ต่างจากที่บอก เพราะเอนกายทำ ทำเวลานอนก็ได้” ฝรั่งต่างชาติตั้งข้อสังเกตอย่างเอาใจใส่ “ใช่ ทำให้ง่ายเข้าหน่อยซิ สะดวกสำหรับคนอยู่บ้านโดยทั่วไป” “ตอนอยู่บ้าน ฉันมักจะลืม เพราะทำโน่นทำนี่” “ใช่แน่ ต้องเป็นอย่างนั้น เป็นหลักของกรรม ทำอย่างไรบ่อยๆ ก็คุ้นชินกับการ “คิดพูดทำ”เช่นนั้น เราอยู่บ้านก็คุ้นชินกับการทำโน่นนี่นั่น” “แล้วจะแก้อย่างไร” ผมนั่งเอนพิงเบาะอย่างสบายพูดเรื่อยๆ “ผมไม่ชอบทำแบบยาก ผมชอบแบบง่าย” เธอยิ้ม เพราะเห็นด้วยกับแนวคิดนี้

 

            “การปฏิบัติธรรมมีหลายแบบหรือ” เธอถามง่ายๆ ชวนคุย แต่ผมต้องหยุดคิดนิดหนึ่งเพื่อทบทวน “ครับมีหลายแบบ แต่ที่นิยมในปัจจุบัน กล่าวได้ว่า 3 วิธี แบบพุทโธ แบบสัมมาอรหัง แบบพองหนอ ยุบหนอ แต่ทั้งสามสายมุ่งไปทางเดียวกัน คือเพื่อใจหยุดนิ่งเรียกว่าสมาธิ เพื่อเพิ่มความมีสติรู้ตัวให้มาก ใช้ความหยุดนิ่งใช้สติความรู้ตัว พิจารณากฎแห่งความจริง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่เที่ยง เป็นทุกข์แปรปรวน ยึดถือไม่ได้” ดูเหมือนว่าจะยากเกินกว่า ทีน่าจะเข้าใจเธอทำหน้างง

 

            “ฉันขอเอาแบบง่ายๆ ดีกว่า” ทีน่าเลือกหนทางสำหรับตัวเอง ซึ่งผมก็เห็นด้วย เธอกล่าวต่อ “ว่าแต่ว่า ฉันต้องทำนานเท่าใด” “เอาง่ายสุดเลยนะ เพียง 5 นาทีก็พอ” “ใช้วิธีกำหนดดังที่ว่ามาเมื่อสักครู่นั่น?” “นั่นแหละ ง่ายดี” เธอมีสีหน้าพึงพอใจ สักครู่จึงปรารภขึ้นว่า “ตอนแรกเข้าใจว่า การทำสมาธิภาวนาต้องทำที่วัด ต้องมีครูอาจารย์คอยควบคุม ต้องไม่นอน ตอนนี้กลายเป็นตรงกันข้ามหมด เหมือนไม่เครียด ฉันอาจต้องปรับเปลี่ยนความคิดอีกมาก” สีหน้าครุ่นคิดชัดเจน

 

            เห็นได้ว่าการวางพื้นฐานเบื้องต้นสำหรับผู้สนใจการปฏิบัติธรรมใหม่ๆ เป็นเรื่องจำเป็นมาก ที่สำคัญต้องไม่เครียดจนทำให้ผู้สนใจมีความวิตกกังวล จึงพูดให้เธอเข้าใจเบาว่า “การปฏิบัติธรรมนั้น ก็เป็นเรื่องของเรา ตัวของเราเองเป็นหลัก คือคนทุกคนมีองค์ประกอบสองส่วนเหมือนกันคือ กาย กับ ใจ “ใจนั้นมีความคิดเป็นอาหาร” ใจต้องกินอาหารคือความคิดอยู่ตลอด ไม่บวกก็ลบ ไม่สุขก็ทุกข์ นานๆ ทีอาจคิดกลางๆ ก็ได้ ใจเราจึงคิดเป็นปกติ แต่คนซึ่งเป็นเจ้าของใจ ต้องจับใจมาฝึกหัดให้คิดเป็นระเบียบ คิดเรื่องบวก คิดทีละเรื่อง โดยสติ และสมาธิ หากไม่ฝึกหัดใจ คิดมากไป “เหมือนพายเรือในอ่าง หรือ มดไต่ขอบโอ่ง” จิตวุ่นวายอาจได้ผลเป็นลบมากกว่าบวก การสวดมนต์เป็นวิธีการหนึ่ง การกำหนดสติ ภาวนาเป็นอีกอย่างหนึ่ง ของการฝึกจิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ”

 

            ทีน่าตั้งใจฟังอย่างสงบ เหมือนใช้ความคิดอย่างหนัก ผมพูดต่อไป “กายนั้นมีอายุงานจำกัด ไม่เกินร้อยปีก็เสื่อมหมด ใช้งานไม่ค่อยจะได้ หลายคนอายุห้าสิบกว่าปีก็เริ่มจะเสื่อมสภาพไปเรื่อย เรา เจ้าของร่างกาย มีหน้าที่ดูแลร่างกายของเราด้วยการฝึกออกกำลังกายให้แข็งแรง เพื่อรักษาไว้ใช้งานให้สุดความสามารถ รักษาแล้ว ดูแลแล้ว ได้เท่าไรก็ยินดีเท่านั้น

 

            เห็นทีน่าตั้งใจฟังผมถือโอกาสกล่าวสรุป “พระสอนให้เรา ใช้ใจของเรา พิจารณากายของเราโดยพิสดาร หรือ โดยละเอียด จากปลายเท้าสู่ปลายผม จากปลายผมสู่ปลายเท้า กลับไปกลับมาอยู่อย่างนี้ จนกว่าความยึดมั่นถือมั่นในใจของเราจะคลายไป หมดไปในที่สุด การจะพิจารณาอย่างนี้ได้ ต้องฝึกจิตให้สงบด้วยสมาธิ และฝึกสติก่อน” ทีนากล่าวต่อด้วยสีหน้ายิ้ม “รู้ว่าง่ายอย่างนี้ ทำมานานแล้ว”

 

            หันหน้ามองออกไปนอกรถอีกที ขณะที่รถตู้ค่อยๆ คลานเข้าสู่บริเวณมหาวิทยาลัยอย่างช้าๆ

           

หมายเลขบันทึก: 499970เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2012 07:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กันยายน 2012 20:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

ทำบุญอายุวัฒนมงคล บรรดาพุทธศาสนิกชน และศิษยานุศิษย์ ผู้มีความเคารพพระมหาดร.ไสว ชลิตปญฺโญ ได้จัดทำบุญอายุวัฒนมงคล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเกิด พระมหาดร.ไสว ชลิตปญฺโญ รองประธานการกรรมการอำนวยการ รูปที่ 1 และหัวหน้าสงฆ์วัดนวมินทรราชูทิศ เมื่อเช้าวันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2554 ที่ผ่าน และในการนี้ยังได้ทำบุญอุทิศแด่บูรพาจารย์ คือสมเด็จพระธีรญาณมุนี พระอุปัชฌาย์ พระพุทธิวงศมุนี อดีตเจ้าอาวาสวัด จักรวรรดิราชาวาส บุพพการีชน คือ คุณพ่อกำนันประสิทธิ์ คุณแม่ปา ลุนบง อีกด้วย มีพุทธศาสนิกชน ร่วมอวยพรวันเกิดในคราวครั้งนี้อย่างมากหน้าหลายตา 

 ฝรั่งสนใจธรรม... "ศาสนา....พุทธ....สุด...ยอดของของความจริง + สัจธรรม"  

 

ขอบคุณมากนะคะ....ท่าน อจ. สบายดีนะคะ ... ดูแลสุขภาพด้วยนะคะ

  • ไปปฏิบัติที่ธรรมกมลา ใช้วิธีตามลมหายใจเข้า ลมหายใจออก
  •  ชินกับวิธีนี้ พอไปปฏิบัติที่วัดอื่น ขอใช้วิธีนี้ พระอาจารย์ก็ไม่ว่าอะไร  พระอาจารย์บอกว่า ไม่เป็นไร เลือกวิธีที่ต้องกับจริตตัวเองมากที่สุด  ปลายทางคือจิตสงบเหมือนกัน

Blankเรียนคุณสมศรีครับ

ขอบคุณสำหรับกำลังใจ

และคำแนะนำเรื่องสุขภาพซึ่งสำคัญยิ่ง

Blankเรียนคุณนุ้ยครับ

  • จริงดังที่ว่าครับ ผมทดสอบหลายวิธี
  • แรกเปลี่ยนวิธีอาจขัดเขินหน่อย
  • แต่พอทำไปนานๆ รู้สึกได้ว่า
  • ทุกวิธีช่วยเหลือให้ใจสงบเหมือนกัน

ในอนาคต หัวข้อที่น่าสนใจอาจเป็น "คนไทยสนใจธรรม" อันนี้.....น่ากลัว!!!

หลักพุทธศาสนามีความเป็นสากล..ง่ายต่อความเข้าใจในสัจจธรรมแห่งการเวียนว่ายตายเกิด..ผู้ปฏิบัติรู้แจ้งด้วยตนเอง..

Blankเรียนคุณวิชญธรรมครับ

  • เป็นประเด็นที่น่าคิดทีเดียวครับ
  • ถึงตอนนั้นไม่รู้จะว่าอย่างไรกันดีแล้ว

อาจารย์ค่ะ คือว่าดิฉันเพิ่งจะเข้ามาลองหัดทำได้ ๒ วันแล้ว อยากรบกวนอาจารย์ว่า เราจะสร้างเนื้อหา แล้วแทรกรูปภาพด้วยแบบของอาจารย์ด้านบน ทำอย่างไรค่ะ ช่วยหน่อยนะค่ะ

อนุโมทนาด้วยคน

การให้ธรรมทาน

เป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุดค่ะ

Blankเรียนคุณปิยะกุลครับ

  • ทำได้หลายวิธีเลยครับ
  • เอาแบบง่ายๆก่อนนะครับ
  • 1. นำภาพใส่ในเครื่องคอมฯเราก่อน
  • 2. ข้างบนนั่นมีคำว่า "นำไฟล์ขึ้น" คลิ๊ก ต้องการกี่ภาพก็ว่าไปทีละภาพได้เลย
  • 3. ภาพขึ้นแล้วก็ นำเคอเซ่อร์ไปวางที่เราต้องการวาง แล้ว ctrl+c แล้ว กด ctrl+v
  • นี่ก็ได้ภาพแล้วครับ
  • ทดลองดูนะครับ หากยังไม่ได้ก็มาคุยบ่อยๆ ครับผม

Blankเรียนคุณมนัญญาครับ

จริงทีเดียวสำหรับพุทธภาษิต

ว่า การให้ธรรมเป็นทานชนะการให้ทั้งปวง

เรียนคุณBlankครับ

ขอบคุณสำหรับกำลังใจ

Blankขอบคุณครับคุณนุ้ย

ที่แวะมาให้กำลังใจ

Blankเรียนคุณจัตุเศรษฐธรรมครับ

ขอบคุณสำหรับกำลังใจ

Blankเรียนคุณภูสุภาครับ

ขอบคุณสำหรับกำลังใจ

Blankขอบคุณ

คุณปณิธิ สำหรับกำลังใจ

Blankเรียนคุณอักขณิชครับ

ขอบคุณสำหรับกำลังใจ

กลับมาอ่านของเก่าๆ อีกครั้ง

มาตามหาชีวิตและธรรมะที่นี่อีกล่ะค่ะ

ไม่รู้เพราะแก่ตัว หรืออย่างไร หรือกำลังค้นหาตัวตน พบว่าเวลาไปวัดแล้วมีความสุขค่ะ

แม้จะสวดมนต์ไม่เป็นกะเค้าเสียทีก็ตามค่ะ แต่ค้นใจได้ว่าเป็นสุขค่ะ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท