๑๔ วันที่ ปักกิ่ง (วันที่ ๓-๘)


adult uinversty

วันที่ สี่ ห้า หก เจ็ดและแปด ที่ปักกิ่ง

Ni Hao ทุกท่านครับ หายไปหลายวัน ไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่ ภารกิจที่เริ่มทำมาเต็มๆ แล้ว สามวันแรก แค่รับน้อง เลยไม่ได้มาบันทึกเหตุการณ์ ครับ

 

วันที่ ๑๘ สิงหาคม วันนี้วันเสาร์ กิจกรรมที่ทาง CASS จัดให้ไม่มี แต่วันนี้ผมได้ติดต่อทางอีกหน่วยงานหนึ่งเป็นหน่วยงานสังกัดยูเนสโกจีน คือ Unesco International Research andTrainingCenter for Rural Education (INRULED) นัดหมายว่าวันจันทร์จะเข้าไปพบ ก็ได้รับการตอบรับจาก ประธานศูนย์เป็นอย่างดี(ประธานคืออธิการบดีมหาวิทยาลัยBeijingNormalUniversity ) มอบให้เจ้าหน้าที่ ประสานงานต้อนรับวันจันทร์

กลางวันเดินทางไป เข้าชมพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจีน ใหญ่โตอลังการมาก เพิ่งปรับปรุงเสร็จใหม่ๆ ที่นีเข้าฟรี ผมได้ทดลองใช้พาหนะของชาวปักกิ่งคือจักรยานครับ เช่าจากสถานีรถไปใต้ดินใกล้บ้าน วันละ ๑๐ หยวน แต่ใช้ IC Card แทน คล้ายๆบัตรโดยสารรถใต้ดินบ้านเรา เขามีระบบอัตโนมัติ ในการจัดการ ลองปั่นดู ให้ได้บรรยากาศของปักกิ่ง ใช้เวลาที่พิพิธภัณฑ์ กว่าสามชั่วโมง จากนั้น ไปที่BeijingBookCenterของสำนักข่าวซินหัว คงเคยได้ยินชื่อนะครับ ดูว่าคนจีนอ่านหนังสือขนาดไหน มันเหมือนงานลดราคาหนังสือบ้านเรา คนเพียบ แต่ที่นี่ไม่ได้ลดราคานะครับ แต่มีหนังสือหลายแสนเล่มวางจำหน่ายครับ

นอกจากนี้ ตามมุมสี่แยก จะมีซุ้มขายหนังสือ ตลอด ขายบัตรเติมเงิน ขายแสตมป์ เครื่องดื่มด้วย

 

วันที่ ๑๙ สิงหาคม วันนี้งดทำงานใดๆ ตามแนวของยิว ลงมากินข้าว และพักยาวครับ ข้าวเย็นขี้เกียจลงไป ก็บะหมี่ถ้วยใหญ่นี่ละครับ ๓-๔ หยวน ช่วยได้

 

วันที่ ๒๐ สิงหาคม เช้ากินข้าวเสร็จ เดินทางไป INRULED (www.inruled.org) ตามที่นัดหมาย ด้วยรถใต้ดินสาย ๒ ไปที่ Jishuitan Station รงนี้เป็นท่ารถไปกำแพงเมืองจีน และสุสานกษัตริย์ ราชวงศ์หมิง สาย ๙๑๙ นะครับ รถเมลล์เขียว ถึงสถานี ขึ้มาก็หลงครับ เลี้ยวผิด เดินไปกลับเสียเวลากว่าครึ่งชั่วโมง ก็มาถึง INRULED เขาใช้สถานที่ โรงแรมของมหาวิทยาลัยBeijingNormalUniversity มีสำนักงานต่างๆมาเช่าพื้นที่ครับ ของ มศว เราก็มี SWUtel

ช่วงเช้านี้ มาพบกับ Dr.Zeng Haijun เจ้าหน้าที่ของ INRULED อายุสามสิบปลายๆ แกจบ ปเอก สายเดียวกัน แตที่จีนจะไม่ใช้ Adult Education ครับ จะใช้ Continuing Education หรือ Distance Education ก็พอคุยกันเข้าใจเพราะมีความเข้าใจในเรื่องเดียวกัน ประเด็นมาคือ สัมภาษณ์เรื่องการจัดกิจกรรม Distance Education ให้กับประชาชนที่อยู่ชนบท ที่ประเทศจีน จะเน้นเรืองของการใช้ ICT มาก มีงานโครงการ และงานวิจัยที่ใช้ ICT ช่วยในการศึกษามาก โดยเฉพาะการศึกษาของประชาชนที่อยู่ห่างไกล เนื่อจากปัจจุบัน ราคาของเครื่องคอมพิวเตอร์ถูกมาก ที่นี่ หมื่นบาทต้น สามารถได้ พีซี อย่างดี เลย การนำ ICT มาใช้ในศูนย์การเรียน และในระบบการจัด Distance Education จึงมีมาก ที่นี่เน้นการวิจัยเพื่อนำ Best Practices ของจีนและประเทศกำลังพัฒนาไปเป็นแนวทางในการจัด Distance Education ข้อสังเกตจากการที่ไปสัมภาษณ์ ประเด็นหลักตอนน้จีนจะมุ่งไปที่ ทวีบแอฟริกามาก หน่วยงานนี้ถึงจะเป็นนานาชาติ ก็จะเน้นไปทำงานกับแอฟริกา เนื่องจากเป็นนโยบายของรัฐบาล รวมถึงตอนนี้ แฟชั่นเสื้อผ้าของแอฟริกา ก็ฮิตมากที่นี่ มีทั้งให้ทุนมาเรียน ทำวิจัย และนำโนฮาวจากจีนกลับไปใช้ กรณีศึกษาเรื่องศูนย์การเรียนชุมชนของจีน ก็กลับไปเป็นต้นแบบในแอฟริกาหลายประเทศครับ เปรียบเทียบประเทศไทย มีแต่ เอแบคกระมังที่ให้ทุนเด็กแอฟริกามาเรียน ไม่แน่รอบหน้าถ้ามีทุนผมอาจจะลงไปทำงานที่แอฟริกาดู ใช้เวลาคุยสัมภาษณ์ครึ่งวันเช้า ก็ ต้องจร มาที่ CASS เจ้าของทุนครับ มาพบกับ Prof.Dr. Li Chunling จาก Institute of Sociology (www.i3c.org.cn) ซึ่งหน่วยนี้ต้องดูแลผมไปจนครับกำหนดสัปดห์นี้ ท่านเชี่ยวชาญเรื่อง Youth Studies ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้ความรู้ผมในเรื่อง Youth Studies ของจีน เยาวชนของจีนอายุกำหนดไว้ที่ ๑๖-๓๔ ปี นะครับ ถือว่าช่วงเวลายาวมาก ของประเทศไทย ๑๕-๒๕ ปีเองครับ มุมมองของที่นี่เขามองว่า Young Adults ยังขาดประสบการรณ์ในการดำเนินชีวิต ก็น่าจะเป็นช่วงอายุเท่านี้ก่อน  ประเด็นที่พบ คือ ปัจจุบันการศึกษาภาคบังคับของจีน กำหนดไว้ ๙ ปี เช่านเดียวกับไทย เยาวชนจีนส่วนใหญ่ถ้าไม่เรียนต่อ ม.ปลาย ก็จะไปเรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษา และมีบางส่วนไปทำงาน เป็นแรงงานอพยพในประเทศ ในระดับอุดมศึกษามี มหาวิทยาลัย วิทยาลัย ประมาณ ๒,๔๐๐ แห่ง วิทยาลัยอาชีว ๑๒๐๐ แห่ง และที่เขาเรียก Adult University อีก ๒๕๐ แห่ง และเรียนวิทยาลัยอีเลิร์นนิ่ง ๖๙ แห่ง นอกจานียังมี Education for Minority เนื่องจากจีนมีชนกลุ่มน้อย กว่า ๕๐ กลุ่ม นแตจิ๋วบ้านเราเป็นชนกลุ่มน้อยในจีน แต่เกือบเป็นชนกลุ่มใหญในประเทสเรานะครับ ประเด็นการวิจัยที่ทางศูนย์ทำก็การส่งเสริมเรื่องการเข้าเรียนในระดับสูงขึ้น การเรียนต่อขณะทำงาน  Re-Current Education บางหน่วยงานของจีน ถ้าคนงานทำงานได้ตามที่กำหนดเวลา สามารถลาเรียนในระดับสูงขึ้นได้โดยได้รับเงินเดือน เหมือนกับสวัสดิการของหน่วยงานรัฐบ้านเรานะครับ แต่ของเขารวมวิสาหกิจเอกชนด้วย ปัจจุบัน ประเด็นที่เขาสนใจเรื่องของ migrants education เนื่องจากว่า มีแรงงานมาทำงานในเมืองใหญ่ โดยไม่มีทะเบียนบ้านอยู่ในเมืองนั้น เขาจะไม่ได้รับสวัสดิการ เช่นการศึกษา การพยาบาล เนื่องจากที่จีนมีความเข้มข้นในเรื่องของชุมชน เขาเรียกว่า Ho Kou(http://en.wikipedia.org/wiki/Hukou)  ลองไปศึกษาดูนะครับ อ่านทางวิกีพิเดียดู เช่น ถ้าเป็นอาจารย์ปักกิ่งแต่เกิดที่ เทียนจิน คุณต้องสังกัด Ho Kou เทียนจิน ไม่สามารถย้ายทะเบียนบ้านได้ทันที ต้องรอโควงต้าจากรัฐบาลเท่นั้น ปัจจุบัน ถ้าจบ ปริญญาเอก มีโอกาสในการย้ายมากหน่อย อาจารย์เลยบอกว่า บางทีคนเรียน ป เอกที่นี่ อาจจะต้องการย้ายตนเองมาอยู่ในเมืองใหญ่ก็ได้ ประเด็นนี้น่าสนใจ ผมเองก็เพิ่งเรียนรู้จากที่นี่เช่นกันครับ

 

วันที่ ๒๑ สิงหาคม

วันนี้เช้า เดินทางไปพบ Prof. Dr. Dong Liseng คณบดี Faculty of Continuing Education, Graduate School Chinese Academy of Social Science (CASS) (www.cescass.cn)ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับ NIDA บ้านเรา คือสอนระดับบัณฑิตศึกษา ตอนแรกดีใจคิดว่าการศึกษาต่อเนื่อง สำคัญ ขนาดอยู่ใน CASS เลยหรือ ปรากฎว่า คณบดีบอกว่า Continuing Education ในความหมายหน่วยงานท่าน คือ การจัดการเรียนการสอนต่อเนื่องให้กับผู้ใหญ่ที่ทำงาน แล้วมาเรียนนอกเวลาราชการ เหมือนที่ เราสอนนี่หละ ในคณะของท่าน มีทั้ง Economics, Business, Public Administration , HRD, Finance แต่ไม่มี Education เลย ถ้าจะเรียน ต้องไปเรียน ที่ School of Continuing Education and Teacher Training ถ้ามหาวิทยาลัยไหน มีชื่อนี้ นั่นหมายถึงเรียนด้าน Education แน่นอน  หายมึนแล้ว ก็คุยต่อ การเรียนที่นี่ ป โท-เอก เรียน ๒ รูปแบบ คือ วันเสาร์ –อาทิตย์ แบบนี้ผู้เรียนเยอะ ท่านบอกว่า แน่นห้องเลย ป เอก ท่านมีสาขาเดียวคือ Finance มีห้องเดียว ๑๒๐ คน นั่งเรียนกัน เรียนในห้อง ๔ เทอม ทั้ง ป โท และ เอก ทำปริญญานิพนธ์ นะครับ อีกแบบ หนึ่ง เรียน ปีละ ๒ เดือน คือเดือนพฤษภาคม และเดือน ตุลาคม เรียนมันทั้งเดือน แต่แบบนี้คนน้อยกว่า มีเฉพาะหน่วยงานส่งมาเรียน ก็น่าสนใจเหมือนกัน

ที่น่าสนใจเกี่ยวกับที่ CASS คือ ถ้ามีทำงานประจำที่นี่ จบปริญญาเอก ทำงาน ๑  ปี จะได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์เลย ส่วน รศ. หรือ ศ. ก็ต้องทำผลงาน อยากขอสมัครที่นี่ไปก่อน ๑ ปี ดีไหม เพราะ เราอยู่ที่ มศว ๑๐ ปี แล้วยังไม่ได้เลย ของจีน ๑ ปี เอง

และการทำงานของที่นี่ ถ้าไม่ใช่ผู้บริหาร ขอให้ทำงานอยู่บ้าน ๔ วัน มาสถาบัน ๑ วัน  เหมือนทำงานสายลับเลย เพราะทำงานที่ไหนก็ได้ที่ผ่านมาก็เลยตามเลยแต่ปัจจุบันมี minimum requirement คือต้องมีการตีพิมพ์ผลงาน ๑ เรื่อง ต่อปี

ช่วงบ่ายกลับไปที่ INRULED อีกครั้ง คราวนี้ไม่หลงแล้วครับ ไปพูดคุยกับกลุ่มนักวิจัยเรื่องศูนย์การเรียนอีก ชั่วโมงกว่า เขาคงเบื่อผมแล้ว เลยโทรไปอีกที่ให้มารับไปที ก็ไปที่ National Center for Open and Distance Education (www.open.com.cn) ใกล้กับ INRULED ที่นี่เป็นหน่วยงานที่สนับสนุนการจัดการศึกษาทางไกล ก่อตั้งโดย Chinese Open University กับบริษัท TCL ยักษ์ใหญ่วงการอีเลคทรอนิคส์ มีหน่วยงานร่วมในการจัดทำหลักสูตร กว่า ๔๐ หน่วยงานทำเรื่อง e-learning และ Distance Learning ข้อมูลจาก Ms. Li Wei นักวิจัยที่นี่ เขาจัดหลักสูตร ๒ รูปแบบ ๑ คือ คล้ายกับเรียนทางไกล กศน ของเรา มีผู้เรียน ๖๐๐,๐๐๐คน มีศูนย์การเรียนทางไกล ๑,๔๐๐ แหง่ทั่วประเทศ วิธีเรียนออนไลน์ และใช้แนวคิด Self-Directed Learning เรียนเองผ่าน อี บุ้ค มาสอบมาสอบที่ศูนย์ แต่จะต่อในระดับอุดมศึกษา ได้เฉพาะด้านวิทยาลัยอาชีพเท่านั้น ถ้าจะต่อมหาวิทยาลัย ก็ต้องผ่าน National Test มาก่อน เพิ่มเติมนะครับ ถ้าท่านจะเรียนต่อที่จีน แต่ละระดับต้องผ่านการสอบ National Test Examination มาก่อน ไม่เว้น ป โท นะครับ ต้องสอบ National Test Examination แล้วค่อยเลือกมหาวิทยาลัย ส่วน ปเ เอก สอบโดยตรงได้เลยครับ อีกอันหนึ่งที่ทางหน่วยนี้ทำคือ การเรียนรู้ด้วยตนเอง ในหลักสูตรต่างๆ เป็น การเรียนผ่าน อี เลิร์นนิ่งหมด ครับ น่าสนใจครับ

วันนี้มื้อเย็นไปลองบุฟเฟต์อาหารญี่ปุ่นมา แพงหน่อย ๘๐๐ กว่า มีทุกอย่าง ปลาดิบ สเต็ก รามเมน ของทอด เบียร์ ไวน์ สาเก ลฯ

 

วันที่ ๒๒ สิงหาคม

วันนี้เช้า พบกับ Prof. Dr.Wang Ying และ Assist. Prof. Dr. Xaio Lin ที่ทำงานด้าน Community Studies แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องชุมชนกัน โดยในประเด็นที่เกี่ยวข้อง ใช้เวลาครึ่งวัน และนัดหมายลงพื้นที่ ที่ชุมชน โดยจะไปดู Adult College และ ศูนย์ฝึกอบรมวิชาชีพ ที่ทำโดย NGO ของจีน Ault College ที่นี่ เขาจะหมายถึง คนเกษียณอายุแล้ว ที่จีนผู้ชาย เกษียณ ๖๐ ผู้หญิง ๕๕ นะครับ ที่วิทยาลัยนี้จะมีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย ถือเป็นการจัดศูนย์การเรียนชุมชนประเภทหนึ่ง ครับ ท่านทั้งสอง มอบหมายให้นิสิต Post-Doctoral มาดูพาไป คนที่นี่เรียนกันจริงๆมาก น้องคนนี้อายุ ๓๐ เองจบ ป เอก และ เรียน  Post-Doctoral ลำดับขั้นแล้วเรียนสูงกว่าเราอีก พรุ่งนี้จะมาบอกนะครับว่าเป็นอย่างที่ศูนย์/วิทยาลัย เพราะต้องไปอยูในชั้นเรียนทั้งวัน ครับ

ช่วงบ่าย เดินไปพิพิธภัณฑ์ สแตมป์ ไปขอลายเซ็นนักออกแบบ แสตมป์ หนึ่งในงานอดิเรก ของผมครับ เขามบริการประทับตรา ประจำวันพิเศษด้วย ก็สะสมกัน ไปถึง กลุ่มผู้งอายุ เพียบ มารอคิวรับลายเซ็น พอไปถึงซองวันแรกจำหน่ายที่มีลายเซ็นหมดแล้วผมก็เลยซื้ซองวันแรกจำหน่ายเปล่ามา ๖ หยวน และเข้าแถวประทับตราประจำวันไป เผอิญมีพี่นักสะสมชาวจิน แกพูดอังกฤษได้ครับ เลยคุยกัน จะว่าถูกคอก็ไม่ใช่ ผมมีสมุดประทับตราประจำวันที่มี จากประเทศต่างๆ ของพี่เขา จากมณฑลต่างๆมาแลกกัน สุดท้ายให้นามบัตรไว้ ก่อนกลับ ผมยื่นโปสการ์ดรูปพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ สงขลา ที่ผมติดแสมป์ไว้๓ บาท แต่ยังไม่ได้ใช้มา แกเลยยื่นซองวันแรกจำหน่ายที่มีลายเซ็นนักออกแบบมาให้ผม แลกกับซองที่ผมซื้อ ไม่มีลายเซ็น สุดยอดครับ เพราะราคา ๖ หยวนเหมือนกัน แต่พีเขามีลายเซ็นคนออกแบบ มันต้องมีมูลค่าเพิ่มแน่ แกซื้อไว้เป็นสิบๆใบ เลย ผมก็เลยได้มีกับเขาด้วย เห็นได้ว่ามันเกิดมิตรภาพที่ดีต่อกันผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ได้นะครับ ผมลืมถามชื่อแก แต่คงได้อีเมล์มาภายหลัง ต่อไปจะได้มีเพื่อนจากจีนแลกแสตมป์ อย่างน้อยอีก ๑ คนครับ

 

คำสำคัญ (Tags): #adult university
หมายเลขบันทึก: 499659เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2012 14:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 สิงหาคม 2012 14:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท