การสอนแบบ Project Approach


ประสบการณ์และการสืบค้นหาความรู้ตามความสนใจเป็นรากฐานของการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ด้วยการได้ค้นพบในสื่งที่ต้องการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีแบบแผน

Project  Approach

การเรียนการสอนแบบโครงการ

 

                “  ประสบการณ์และการสืบค้นหาความรู้ตามความสนใจเป็นรากฐานของการเรียนรู้อย่างมีความหมาย  ด้วยการได้ค้นพบในสื่งที่ต้องการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีแบบแผน  ”

หลักการ

                การเรียนการสอนแบบโครงการ  (  Project  Approach  )  ได้นำแนวคิดของ  John  Dewey  มาประยุกต์เป็นรูปแบบการเรีนยการสอน  โดยมีหลักสำคัญคือ  การพัฒนาเด็กสามารถทำได้ด้วยการให้เด็กเป็นผู้รู้จักแสวงหาความรู้  ความร่วมมือและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น  เพื่อค้นคว้าหาคำตอบในเรื่องที่ตนเองสนใจ  เด็กสามารถสร้างการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ในตัวเด็กเอง

                โครงการการคือ  การสืบค้นหาข้อมูลอย่างลุ่มลึก  ตามหัวข้อเรื่องที่เด็กสนใจ  เน้นให้เด็กกระทำอาจเป็นรายบุคคลหรือรายุล่มก็ได้  ดครงการนั้นจะต้องประกอิบด้วยทฤษฏีและหหลักการ  มีการดำเนินงานเป็นขั้น  ๆ  โดยใช้วิชาหลาย  ๆ  วิชาที่เกี่ยวข้องมาบรูณาการ  เพื่อให้เกิดการเรียนรู้  ระยะเวลาทำโครงการขึ้นอยู่กับเรื่องที่เด็กสนใจ  

กระบวนการ

                โครงการถือเป็นการเรียนรู้ที่เต็มไปด้วยความหมาย  เหมาะกับพัฒนาการเด็ก  เป็นการศึกษาอย่างลุ่มลึกในช่วงเวลาที่สามารถได้ตามความสนใจของเด็ก  โดยมีกิจกรรมหลักในการทำโครงการดังนี้

  1. กิจกรรมสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน  เป็นกิจกรรมที่เด็กจะใช้ตั้งแต่เริ่มดครงการจนสิ้นสุดโครงการ  เพื่อแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันแก้ปะญหาด้วยกัน
  2. กิจกรรมทัศนศึกษา  เป็นกิจกรรมที่เน้นให้เด็กได้สัมผัส  รับรู้  สังเกตและมีปฏิสัมพันธ์  จากสิ่งที่ปรากฏด้วยตัวเอง  ณ  สถานที่จริง 
  3. กิจกรรมสืบค้น  เป็นกิจกรรมที่เด็กจะต้องทำการค้นคว้าเพื่อหาข้อความรู้ที่ตนเองต้องการ  อาจมาจากหนังสือ  บุคคล  สถานที่  Internet  ด้วยการอ่าน  สอบถาม  สนทนา  เพื่อให้ได้ข้อมูลลุ่มลึกสามารถนำมาสนับสนุนโครงการให้บรรลุเป้าหมาย
  4. กิจกรรมนำเสนอผลงาน  ซึ่งอาจนำเสนอโดยการอธิบาย  บรรยายหรือจัดแสดง  เมื่อสิ้นสุดโครงการ  เพื่อแสดงให้เห็นถึงความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่เด็กได้เรียนรู้จากโครงการ

กิจกรรมทั้ง  4  กิจกรรม  เด็กจะได้เรียนรู้ในแต่ละระยะของโครงการ  ซึ่งมีอยู่  4  ระยะ  (  บางตำราแบ่งเป็น  3  ระยะ  )

ระยะที่  1  เริ่มต้นโครงการ  เป็นขั้นตอนที่เด็กและครูร่วมกันอภิปรายเพื่อเลือกหัวข้อเรื่องที่จะทำการสืบค้น  โดยให้หลักเกณฑ์ดังนี้ 

  1. เป็นหัวข้อที่เด็กทุกคนหรือเด็กส่วนใหญ่ของกลุ่มสนใจ  สัมพันธ์กับประสบการณ์ชีวิตประจำวันของเด็ก
  2. เป็นทักษะพื้นฐานของภาษา  คณิตศาสตร์  และสามารถบูรณาการวิทยาศาสตร์และศิลปะเข้าด้วยได้
  3. เป็นเรื่องทีเด็กมีโอกาสร่วมมือกันทำงาน  ลงมือปฏิบัติ  นำมาเล่นสมมติและให้ทักษะต่าง  ๆ  จากการเรียนรู้ได้

ระยะที่  2  วางแผนโครงการ  เป็นขั้นตอนการกำหนดจุดประสงค์  ขอบเขตเนื้อหาที่ต้องการศึกษา 

ระยะเวลาและวิธีการศึกษา 

                ระยะที่  3  ดำเนินการ  เป็นขั้นตอนของการดำเนินโคตรงการตามแผนที่กำหนด   ระยะนี้ถือเป็นหัวใจของโครงการ  ครูจะเป็นผู้จัดหา  จัดเตรียมแหล่งข้อมูลให้เด็กสืบค้น ไม่ว่าจะเป็นของจริง  หนังสือ  วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ  หรือแม้แต่การออกไปศึกษานอกสถานที่หรือนัดหมายผู้เชี่ยวชาญ  วิทยากรท้องถิ่น  เพื่อให้เด็กทำการสืบค้นสังเกตอย่างใกล้ชิดและบันทึกสิ่งที่พบเห็น  อาจมีการเขียนภาพที่เกิดจากการสังเกต  จัดทำกราฟ  แผนภูมิไดอะแกรม  หรือสร้างแบบต่างๆ  สำรวจ  คาดคะเน  มีการอภิปราย เล่นบทบาทสมมติเพื่อแสดงความเข้าใจในความรู้ใหม่ที่ได้

                ระยะที่  4  สรุปผลโครงการ  เป็นระยะสรุปเหตุการณ์  รวมถึงการเตรียมการเสนอรายงานและผลที่ได้ในรูปของการจัดแสดง  การค้นพบ  และจัดทำสิ่งต่างๆ  สนทนา  เล่นบทบาทสมมติ หรือจัดนำชมสิ่งที่ได้จากการก่อสร้าง  ครูจะจัดให้เด็กได้แลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนเรียนรู้กับผู้อื่น  เด็กสามารถช่วยกันเล่าเรื่องการทำโครงการให้ผู้อื่นฟัง  โดยจัดแสดงสิ่งที่เป็นจุดเด่นให้เพื่อนในชั้นเรียนอื่น  ครู  พ่อแม่  ผู้ปกครอง  และ ผู้บริหารได้เห็น  ครูจะช่วยเด็กเลือกวัสดุอุปกรณ์ที่จะนำมาแสดง  ซึ่งการทำเช่นนี้เท่ากับช่วยให้เด็กทบทวนและประเมินโครงการทั้งหมด  ครูอาจเสนอให้เด็กได้จินตนาการความรู้ใหม่ที่ได้ผ่านทางศิลปะ ทางละคร  สุดท้ายครูนำความคิดและความสนใจของเด็กไปสู่การสรุปโครงการ และอาจนำไปสู่หัวเรื่องใหม่ของโครงการต่อไป  

ที่มา  :  กุลยา  ตันติผลาชีวะ,รศ.ดร.รูปแบบการเรียนการสอoปฐมวัย.

                   กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์มิตรสัมพันธ์ กราฟฟิค,2551

           กิตติคุณ  สุมนอมรวิวัฒน์,และคนอื่นๆ.รวมนวัตกรรมทฤษฏี

                   การศึกษาปฐมวัยสู่การประยุกต์ใช้ในห้องเรียน.

                   พิมพ์ครั้งที่2.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์สาราเด็ก,2552

คำสำคัญ (Tags): #project approach
หมายเลขบันทึก: 499448เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2012 18:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 สิงหาคม 2012 21:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Project Appoach ทั้ง 4 ขั้นตอน เป็นระบบ ที่น่าจะได้ผล ผลิต และผลลัพธ์ ที่ดีนะคะ "นักเรียน" จะเป็น "ศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ ...อย่างแท้จริง"

ขอบคุณมากนะคะ กับบทความดีดี มีประโยชน์ จริงๆ"

การเรียนการสอนแบบโครงการ หรือ การเรียนรู้คู่การปฏิบัตินั่นเอง...ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท