ข้อมูลของโรคหลอดเลือดในหัวใจตีบตันและการรักษาจากการไปสัมภาษณ์ที่ศูนย์หัวใจสิริกิตติ์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์


ข้อมูลของโรคหลอดเลือดในหัวใจตีบตันและการรักษาจากการไปสัมภาษณ์ที่ศูนย์หัวใจสิริกิตติ์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์

 

1. ห้องตรวจสวนหัวใจ Cath.Lab      

จะวินิจฉัยโรครักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดแพทย์ที่ทำการรักษา แพทย์สาขาอายุรกรรมหัวใจและหลอดเลือด เป็นสายขาดแคลน

การรักษาที่ Cath.Lab รักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และหัวใจพิการภายหลัง ได้แก่ ลิ้นหัวใจ เส้นเลือดหัวใจตีบและโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น คนที่เป็นโรคเบาหวานแล้วเส้นเลือดส่วนปลายตีบ เช่น เส้นเลือดที่ไตตีบ จะทำ renal transplant เส้นเลือดที่ตีบ
 

  2. ในห้อง มี single plane คือ มองได้ด้านเดียว และ bi plane คือ มองได้ 
    ทั้ง 2 ด้าน ทั้ง frontal view และ lateral view เป็นเครื่องสวนหัวใจ โดยจะมี X-ray ถูกปล่อยออกมา ทำให้บุคคลที่ปฏิบัติการ ได้แก่ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พยาบาลผู้ช่วย นักรังสี และ นักเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก ต้องใส่อุปกรณ์กันรังสี คือ เสื้อตะกั่ว และ แว่นกันรังสี

 

  3. ห้องอุปกรณ์ มีหลากหลายหัตถการ ได้แก่ สายสวนต่างๆ ลวดนำ และ Balloon

 

  4. ผู้ป่วยที่ทำรักษา จะมี 2 ประเภทคือ ผู้ป่วยเด็กและผู้ป่วยผู้ใหญ่

    4.1 ผู้ป่วยเด็ก มักเป็นแบบพิการแต่กำเนิด รักษาโดย Non-invasive คือ วิธี    
     ECHO, X ray, CT, MRA เป็นแบบไม่ใส่สายเข้าไปในคนไข้ จะมองเห็นแต่ภาพรอบนอก แล้วดูพยาธิสภาพ จากนั้นก็วางแผนรักษา

    4.2 ผู้ป่วยผู้ใหญ่  จะทดสอบโดยการวิ่งสายพาน (วิ่งออกกำลังกาย) ดู EKG แล้วดูความผิดปกติ จะรักษาโดย non-invasive เช่น CT หรือ MRI แต่หากจะวินิจฉัยว่ามีความผิดปกติที่ส่วนไหน อย่างไร ให้แน่ใจ 100% ก็ให้ใช้วิธี cardiac cath

       คนไข้ที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด จะมีภาวะที่ซับซ้อน จึงต้องฉีดสี ทำ Angiogram คือการทำ cardiac cath จะสามารถเห็นว่าเส้นเลือด หรือ ลิ้นหัวใจผิดปกติที่ไหน อย่างไร โดยฉีดสีจะฉีดผ่านสายสวยเฉพาะ คำนวณปริมาณสีที่ฉีดเข้าไปตามน้ำหนักตัว ส่วนมากไม่เกิน 5 cc ต่อ น้ำหนัก 1 กิโลกรัม

        Cardiac cath จะแตกต่างจาก X-ray ตรงที่ว่า X-ray จะได้ภาพนิ่ง แต่ Cardiac cath จะได้ภาพแบบ cinema คล้ายภาพยนตร์เป็นภาพต่อเนื่อง

 

5. Stem cell ปัจจุบันยังเป็นเพียงการทดลอง ยังไม่มีการทำมาใช้รักษาจริง

 

6. คนไข้ ที่มารักษาในรพ.ศรีนครินทร์โดยวิธี PCI มีประมาณ 1,000 รายต่อปี

 

       เส้นเลือดของหัวใจมี 2 เส้นใหญ่ๆ คือ left coronary และ right coronary และมีแขนงย่อยๆมีมาก หากเส้นเลือดตีบ 1-2 เส้น ในตำแหน่งที่ไม่สำคัญ ก็จะรักษาโดยวิธีการ balloon แต่หากตีบตัน 3 เส้นขึ้นไป จะรักษาโดยวิธี by pass คือ ผ่าตัด โดยใช้เส้นเลือดที่ แขน หรือ ขา มาทดแทน (ห้ามใช้เส้นเลือดเทียม)  (แต่ถ้าไม่ใช้ by pass ของเส้นเลือดที่หัวใจ เช่น เส้นเลือดที่จะไปฟอกที่ไตตีบ ก็ใช้เส้นเลือดเทียมแทนได้)

 

7. คนไข้ที่มาพบจะมี 2 ประเภทคือ แบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรัง

  - แบบเฉียบพลัน คือ หลอดเลือดแขนงใด แขนงหนึ่งตีบตัวชั่วขณะ กล้ามเนื้อหัวใจจะขาดเลือดไปเลี้ยงชั่วคราว จะมาด้วยอาการเจ็บหน้าอกชั่วขณะ

  - แบบเรื้อรัง คือ เส้นเลือดหัวใจอุดตันถาวรกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจตาย จะมีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง เกิดอาการหัวใจวาย เป็นอันตรายถึงชีวิตเรียกกว่า โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย แต่ส่วนใหญ่ที่มาพบคือ จะเจ็บหน้าอก เหนื่อย ไม่มีแรง เพราะหัวใจบีบตัวไม่ดี แสดงว่าหัวใจขาดเลือดเพราะเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ

      คนไข้ที่มาพบ จะมีตั้งแต่เด็กแรกเกิด (congenital heart disease) จนถึงผู้สูงอายุ แต่ปัจจุบันที่น่าตกใจคือ ผู้หญิงวัย 25 ปี ที่ไม่เคยเป็นโรคอะไรเลย ก็เป็นโรคนี้ได้ โดยมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง หรือเครียด (ความเครียดทำให้ไขมันสะสมเพิ่มขึ้น)  หรือผู้ชายวัน 26 ปีที่เป็น heavy smoking (สูบบุหรีวันละ 2 ซอง) ก็เป็นโรคนี้เช่นกัน ดังนั้น เรื่องของพฤติกรรมมีส่วนสำคัญมากไม่แพ้เรื่องอายุที่เป็นสาเหตุให้เป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ

 

 

 

 

 

 

อ่านต่อจาก ... http://www.gotoknow.org/blogs/posts/499311

 


 

 คณะผู้จัดทำ

1 553070012-2 นายจิรเดช      เลิศประเสริฐกุล
2 553070045-7 นายปฐวี     แสงมงคลพิพัฒน์
3 553070088-9 นางสาวเพ็ญพิสุทธิ์    ตั้งกฤตยกวิน
4 553070015-6 นางสาวชญานิศ   วัฒนาชีพ
5 553070041-5 นายนันท์นภัส     เกตุดาว
6 553070074-0 นายวิมุติ    โลหะทิน
7 553070126-7 นางสาวณัฐชยา    บุญสาร
8 553070156-8 นางสาวปณิดา   ตปนียากร
9 553070135-6 นายเทอดธรรม อุปัชฌาย์
10 553070205-1 นางสาวสโรชา  มัชฌิกะ
11 553070092-8 นางสาวกมลทิพย์  จันทรสาขา
12 553070141-1 นายธมกร  แดงศรี
13 553070155-0 นายบดินทร์  ตันติอนุนานนท์
14 553070227-1 นายเอกวุฒิ  มั่นคง
15 553070225-5 นางสาว  อัญชลีพร  ศรีนาทม
16 553070095-2 นางสาวกรองแก้ว   สายเมฆ
17 553070094-4 นายกรธวัช     ฉัตรรัตนเวช
18 553070254-8 นายนนท์    ปานทองเสม
19 553070238-6 นางสาวภัสสร  ตุงควิจิตรวัฒน์
20 553070241-7 นายนิธิวัฒน์  ศิริจันทร์

อาจารย์ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์ นายแพทย์พิศาล ไม้เรียง

 

 

คำสำคัญ (Tags): #โรคหัวใจ
หมายเลขบันทึก: 499332เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2012 22:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 สิงหาคม 2012 22:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ได้เห็นห้องตรวจสวนหัวใจครั้งแรกเลย ขอบคุณมากๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท