Storyline Method


การสอนแบบ Storyline

Storyline Method

การสอนแบบเดินเรื่อง

Story Line    คือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยมีการผูกเรื่องแต่ละตอนให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและเรียงลำดับเหตุการณ์หรือเรียกว่ากำหนดเส้นทางการเดินเรื่อง และใช้คำถามหลักเป็นตัวนำสู่การให้นักเรียนทำกิจกรรมอย่างหลากหลายเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง 

องค์ประกอบสำคัญของ Story  Line   มีอยู่ 4 องค์ประกอบ คือ

1. ฉาก โดยระบุสถานที่และเวลาโดยเฉพาะ

2. ตัวละคร อาจเป็นคนหรือเป็นสัตว์

3. วิถีการดำเนินชีวิตเพื่อใช้ในการศึกษา

4. ปัญหาที่ให้ผู้เรียนฝึกแก้ไข

 ความเป็นมา    การสอนแบบเดินเรื่องหรือการสอนแบบ   Storyline  ถูกพัฒนาขึ้นมาโดย        สตีฟ  เบลล์ (Steve  bell) และคณะแห่งมหาวิทยาลัยสแตรทไคลด์ (Strathclyde)  สาเหตุที่เรียกว่าการสอนแบบเดินเรื่องเพราะว่าลักษณะของการสอนแบบ Storyline เป็นการสอนที่ใช้ระบบการปูเรื่องเป็นฉาก ๆอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับเหมือนการเดินเรื่อง

 

ส่วนในเมืองไทยนั้นเกิดขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2545 โดย รศ.ดร.กุลยา  ตันติผลาชีวะได้นำเสนอให้มาประยุกต์ใช้กับเด็กปฐมวัยเป้นครั้งแรกในรูปของการวิจัยของนิสิตปริญญาโทสาขาการศึกษาปฐมวัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

แนวคิดพื้นฐาน   วิธีการเรียนการสอนแบบเดินเรื่องเกิดจากแนวคิดของการบูรณาการความรู้ในการเรียนโดยใช้ประสบการณ์ที่เด็กมีอยู่ร่วมกับการสืบค้นความรู้จากสภาพแวดล้อมที่ปรากฏจริงเพื่อหาคำตอบ  จะเน้นการผนวกความรู้เดิมของเด็กกับการปฏิบัติการเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยการคิดวิเคราะห์  จิตนาการและตัดสินใจด้วยวิธีวางภาพเป็นเรื่องราวและใช้ศิลปะเป็นสื่อเพื่อให้ได้ความรู้ใหม่

การเรียนการสอน

  1. กำหนดมโนทัศน์ของเรื่องอย่างชัดเจน
  2. กำหนดคำถามเป็นลำดับว่าจะเริ่มต้นเรื่องที่ใด จะดำเนินอย่างไรและจะจบอย่างไรด้วยการตั้งคำถามเป็นตอนๆ
  3. ต้องกำหนดแผนการสอนซึ่งแผนการสอนแบบเดินเรื่องประกอบด้วย

-  ลำดับหัวข้อเรื่องแต่ละฉาก  คือการกำหนดว่าเรื่องที่จะสอนมีกี่ฉาก

-  คำถามสำคัญ  คือคำถามที่ใช้สำหรับการเปลี่ยนฉาก

-  การสนับสนุน  คือการช่วยจัดเตรียมอุปกรณ์ที่เด็กอาจต้องใช้

-  การสรุปแนวคิด ให้เด็กสรุปความรู้ที่ได้รับ

หลักการจัดกิจกรรม

-  เนื้อเรื่อง  ต้องเป็นประสบการณ์ที่เด็กเคยพบเห็นคุ้นเคย ไม่ใช่ประสบการณ์ที่แต่งขึ้น

-  กิจกรรมต้องเปิดโอกาสให้เด็กร่วมกับเพื่อนด้วยการคิดจากการสร้างฉากและการดำเนินเรื่อง

-  ต้องทำให้เด็กได้ประสานประสบการณ์และความคิดที่หลากหลาย

-  กิจกรรมต้องเป็นกลุ่มตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปถึง 6 คนหรือตามความเหมาะสมของเรื่อง

 

อ้างอิง

 “รูปแบบการเรียนการสอนปฐมวัยศึกษา”  รศ.ดร.กุลยา  ตันติผลาชีวะ

www.seal2thai.org

www.sahavicha.com

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #storyline method
หมายเลขบันทึก: 499312เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2012 19:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 สิงหาคม 2012 19:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท