ประวัติศาสตร์การแพทย์ ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ


ประวัติศาสตร์การแพทย์ ยุคสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) ยุคนี้เป็นระยะที่มีการวางรากฐานเกี่ยวกับการศึกษาทางกายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยาและจุลินทรีย์ต่างๆ ที่ก่อให้เกิดโรค ซึ่งเกิดจากนักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญหลายท่าน

ประวัติศาสตร์การแพทย์ ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ

       สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ  (Renaissance) เกิดขึ้นในเมืองฟลอเรนซ์ แคว้นทัสกานี ที่อยู่ในช่วงเวลาตั้งแต่ราวค.ศ.ที่ 14 ถึงค.ศ.ที่ 17 เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป และเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวรรณกรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ศาสนา  การเมือง และการฟื้นฟูการศึกษา โดยอาศัยหลักนักมนุษยนิยมและปัจเจกชนนิยมเป็นเครื่องจูงใจ 

        ผู้คนในสมัยนั้นที่ยังมีความเชื่อว่าพระเจ้า บาปบุญคุณโทษและโชคลาง เป็นสาเหตุของโรคภัย ในยุคกลางหรือยุคมืด มีน้อยลงและเข้าสู่ความสว่างไสวในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา หรือที่เรียกว่า "renaissance" ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา ในยุคนี้มีแนวความคิดทางวิทยาศาสตร์เกิดขึ้นอย่างมากมาย โดยนักปรัชญาชาวตะวันตก ซึ่งเป็นสาเหตุให้คนในค.ศ.ที่ 18 และ 19 คำนึงถึงเหตุผลและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ โดยไม่ตกอยู่ใต้อำนาจเร้นลับของโชคชะตาแต่เพียงอย่างเดียว

        "กล่าวได้ว่ายุคนี้ เป็นระยะที่มีการวางรากฐานเกี่ยวกับการศึกษาทางกายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยาและจุลินทรีย์ต่างๆ ที่ก่อให้เกิดโรค แต่ในยุคนี้ยังไม่ปรากฏว่ามีการดำเนินงานทางสาธารณสุขอย่างเป็นทางการ เพียงแต่เป็นความเคลื่อนไหวของนักวิชาการและชุมชนในบางท้องที่เท่านั้น"




พัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีที่มีผลต่อการแพทย์ 
ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

  • คริสต์ศตวรรษที่ 15

 

มีการประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ข่าวสารช่วยเผยแพร่ความรู้ ทำให้ความรู้ทางการแพทย์แพร่กระจายมากขึ้น
  • คริสต์ศตวรรษที่ 16

  

      แม้ว่าในสมัยโบราณ กาเลนจะเชื่อว่า กายวิภาคในสุนัข เหมือนกับ กายวิภาคในมนุษย์ และสมัยกรีกโบราณจะมีการวิจัยจากศพเพื่อศึกษาโครงสร้างมนุษย์ครั้งแรก แต่ได้มีการบันทึกและวาดภาพแสดงกายวิภาคของอวัยวะต่างๆไว้ชัดเจนในสมัยนี้ โดย เบลเจียน แอนเดียส เวซาเลียส นอกจากนี้ ฮันส์ เจนส์เซน ช่างทำแว่นตาชาวดัทช์ ได้ประดิษฐ์ กล้องจุลทรรศน์แบบผสมขึ้นมาอีกด้วย

  • คริสต์ศตวรรษที่ 17

 

     มีนักวิทยาศาสตร์ 2 ท่าน ที่ค้นพบระบบร่างกาย ได้แก่ จอห์น เมย์ฮาวส์ พบว่าในอากาศมีส่วนประกอบจำเป็นต่อการหายใจ และ วิลเลียม ฮาร์วีย์ ได้บรรยายเกี่ยวกับการไหลเวียนโลหิตแบบลำเลียงเลือด และน้ำเหลืองแทนแนวคิดในสมัยอียิปต์โบราณ

     นอกจากการค้นพบการทำงานของร่างกายแล้ว สมัยนี้ยังเป็นยุคที่กล้องจุลทรรศน์เจริญรุ่งเรือง จึงมีการศึกษาสิ่งเล็กๆต่างๆมากมาย เพื่อผลการทดลองที่แม่นยำขึ้น จึงมีการคิดค้นเทอร์โมมิเตอร์ขึ้นมาด้วย

 

 

 

บุคคลสำคัญทางการแพทย์ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

 

1. เรอเน เดการ์ต
(René Descarte)

 

2. ลุยจิ อลอยซิโอ แกลวานี
Luigi Galvani )

 

3. อันเดรียส เวซาเลียส
(Andreas Vesalius)

4. ลีโอนาโด ดาร์วินซี
(Leonardo da Vinci)

 

5. วิลเลียม มอร์ทอน
(William T. G. Morton)

 

6. วิลเลียม  ฮาร์วีย์
(William Harvey)

7. มาเชลโล  มัลพิกิ
(Marcello Malpighi)

8. อองบรวส ปาร์
(Ambroise Pare)

9. พาราเซลซัส
(Paracelsus)

 

10. ปิเอโตร มัทติโอลี
(
Pietro Andrea Mattioli)

 

11. ซามูเอล ฮันนีมาน
(Samuel Hahnemann)

 

>>คลิกที่ชื่อนักวิทยาศาสตร์แต่ละท่านเพื่อศึกษาประวัติเพิ่มเติม<<

1. เรอเน เดการ์ต (René Descarte)

     เรอเน เดการ์ตได้รับการยกย่องให้เป็นนักคิดแห่งยุคสมัยใหม่คนแรก เนื่องจากเป็นผู้วางรากฐานของระบบทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

2. ลุยจิ อลอยซิโอ แกลวานี  ( Luigi Galvani  )

     แกลวานีเป็นผู้ค้นพบคนแรกในด้านความสัมพันธ์ระหว่างไฟฟ้าและสิ่งมีชีวิต เขาได้อธิบายรูปแบบไฟฟ้าในสัตว์เพื่อที่จะอธิบายแรงที่กระตุ้นกล้ามเนื้อของสัตว์ทดลอง ในขณะเดียวกันนั้นเขาได้พิจารณาว่าการกระตุ้นนั้นได้ถูกสร้างขึ้นโดยของเหลวทางไฟฟ้าที่นำพาไปยังกล้ามเนื้อผ่านทางเส้นประสาท ปรากฏการณ์นี้ถูกขนานนามว่าไฟฟ้าซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาเคมี 

3. อันเดรียส เวซาเลียส  (Andreas Vesalius)

     อันเดรียส เวซาเลียสเป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวเบลเยี่ยม ที่ได้รับการยกย่องในฐานะนักกายวิภาคศาสตร์ ผู้เป็นบิดาของการศึกษากายวิภาคศาตร์สมัยใหม่  เขาได้เขียนหนังสือที่มีประโยชน์ต่อการแพทย์อย่างมาก คือ "De humani corpris fabrica" (On the Fabric of the Human)

4. ลีโอนาโด ดาร์วินซี (Leonardo da Vinci)

     ลีโอนาโด ดาร์วินซี (Leonardo da Vinci) เป็นชาวอิตาลี เขามีความคิดว่าการวาดภาพนั้นไม่ควรแสดงเพียงความเหมือนต้นแบบ แต่ควรแสดงอารมณ์ และความรู้สึกลึกๆ ในจิตใจของผู้ถูกวาดด้วย ดังนั้น  จึงคิดต่อไปว่า เพียงแค่วาดภาพอวัยวะที่เห็นจากภายนอกคงไม่เพียงพอ แต่ต้องรู้ถึงการทำงานของมันด้วยจึงทำให้ต้องชำแหละดูเนื้อข้างในอย่างละเอียด

5. วิลเลียม มอร์ทอน (William T. G. Morton)

     วิลเลียม มอร์ทอน ทันตแพทย์ชาวอเมริกันผู้ริเริ่ม  สาธิตการใช้อีเทอร์เป็นยาสลบผ่านทางการสูดดมครั้งแรกในการผ่าตัด 

6. วิลเลียม  ฮาร์วีย์  (William Harvey)

     วิลเลี่ยม ฮาร์วีย์ พบว่าการไหลเวียนของเลือดเป็นแบบวงกลม มิใช่ไหลถอยหลังและไปข้างหน้ากลับไปกลับมา ตามความเชื่อก่อนหน้านี้  และได้เขียนตำราเกี่ยวกับทฤษฎีการไหลเวียนของเลือดขึ้น ซึ่งทำให้เขามีชื่อเสียงไปทั่วโลก

7. มาเชลโล  มัลพิกิ  (Marcello Malpighi)

     มัลพิกิได้ใช้กล้องจุลทรรศน์กำลังสูงส่องดูปลายเส้นเลือดดำกับปลายเส้นเลือดแดง และพบว่าเส้นเลือดขนาดเล็กจำนวนมากที่ยึดโยงระหว่างเส้นเลือดทั้งสองชนิดนี้ เขาจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้พบเส้นเลือดฝอยเป็นคนแรก และจากการศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์นี้ทำให้เขาได้รับยกย่องให้เป็น “บิดาของวิทยาการด้านกายวิภาควิทยาเชิงจุลทรรศน์”

8. อองบรวส ปาร์  (Ambroise Pare)

    Ambroise Pare ชาวฝรั่งเศส  ปาเรเป็นหมอทหารประจำอยู่ในกองทัพ ได้รับความรู้ความชำนาญจากการทำบาดแผลในสงคราม เป็นผู้ประดิษฐ์คีมจับหลอดเลือด และผูกหลอดเลือดเพื่อห้ามเลือดในขณะผ่าตัด อันเป็นวิธีที่ศัลยแพทย์ยังใช้กันอยู่จนกระทั่งทุกวันนี้

9. พาราเซลซัส  (Paracelsus)

     พาราเซลซัสยังถูกยกย่อง ให้เป็นบิดาทางด้านวิชาพิษวิทยา เพราะเขากล่าว ไว้ว่า ไม่มีสารใดในโลกที่เป็นพิษและไม่มีสารใดในโลกที่ไม่เป็นพิษ แต่ขึ้นอยู่กับว่าเราใช้ถูกวิธีถูกปริมาณหรือไม่  นอกจากนี้เขายังได้สกัดสารส่วนสำคัญของสมุนไพรที่ใช้ในการรักษามาให้อยู่ในรูปแบบของทิงเจอร์อีกด้วย ถือเป็นการปฏิวัติทางด้านเภสัชกรรมในสมัยนั้น

10. ปิเอโตร มัทติโอลี  (Pietro Andrea Mattioli)

    ปิโตรมีผลงานมากมายทั้งด้านพฤกษศาสตร์และเภสัชวิทยา งานเขียนของเขามีชื่อเสียงมากเนื่องจากมีรูปภาพประกอบมากมายและสามารถนำไปใช้ในการแยกแยะวินิจฉัยตัวยาสมุนไพรได้อย่างถูกต้อง ทำให้ตำราของเขาเป็นที่นิยมและมีการพิมพ์ต่อเนื่องตลอด 200 ปี

11. ซามูเอล ฮันนีมาน   (Samuel Hahnemann)

    ซามูเอล ฮันนีมาน( Samuel Hahnemann) เป็นแพทย์ชาวเยอรมันที่เป็นที่รู้จักกันในนามของ ผู้คิดค้นแพทย์ทางเลือกแบบใหม่ชื่อโฮมีโอพาที (Homeopathy)  ฮันนีมานบอกว่าการแพทย์ในสมัยนั้นเป็นอันตรายมากกว่าที่จะช่วยรักษาคนไข้ และด้วยจรรยาของแพทย์นั้นเขายังบอกอีกว่ายากที่จะให้รักษาคนไข้ด้วยด้วยหลักทางการแพทย์ที่ไม่เป็นที่กระจ่างเข้าใจ

เอกสารอ้างอิง << คลิกที่นี่เพื่อดูเอกสารอ้างอิง!

 

คณะผู้จัดทำ


553070007-5     นางสาวกานติ์ชนิต   ซอสุขไพบูลย์          

553070037-6     นายธัชพงศ์           โปกุล                    

553070068-5     นายรัตน์ศักดิ์         ตั้งเทอดชนะกิจ        

553070010-6     นายเกรียงศักดิ์       คำหลอย                

553070039-2     นายธีระกานต์         กองทอง                

553070069-3     นายเลอพงศ์          ไชยมานันท์           

553070090-2     นางสาวชไมพร       อัตถากร                 

553070200-1     นางสาววีรดา          ตรงตรานนท์            

553070130-6     นางสาวณิชกานต์     ศรีแสนปาง             

553070188-5     นายยุทธพล            เฉิดดิลก               

553070203-5     นายศุภวิชญ์            แถมเงิน                

553070112-8     นายจิตติวัฒน์          ทัศนียกุล               

553070161-5     นายปิยะพันธ์           สาสุข                  

553070214-0     นายสุริยะ               ทิพวงษ์                

553070104-7     นางสาวขวัญชนก      บัวโฮง                  

553070206-9     นางสาวสันต์ฑิตา      พิมลบุตร               

553070149-5     นายธานี                 สันติไชยกุล          

553070252-2     นายทิฆัมพร             ทวิสกุลรัตน์           

553070265-3     นายสกุลเกียรติ         สินชัยศรี               

553070240-9     นางสาวเพียงพิชญ์     นวลศิลป์               

หมายเลขบันทึก: 499241เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2012 14:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 สิงหาคม 2012 09:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

รายละเอียดครบครัน ภาพสวนมากๆ น่าสนใจจริงๆคับ : D

ดีมากๆเลย ได้รู้ถึงประวัติศาสตร์การแพทย์ในยุครุ่งเรืองของยุโรป

ชอบยุคนี้ แลดูเจริญรุ่งเรืองดี :) เป็นรากฐานของสังคมสมัยนี้เกือบทุกเรื่องเลยก็ว่าได้

ยุคนี้บุคคลสำคัญเพียบเลย น่าอ่านจริงๆ

นักวิทยาศาสตร์เยอะมากๆ เป็นยุคที่สำคัญและน่าสนใจจริงๆ

เป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงมากมายและนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองทางการแพทย์ในยุคต่อ ๆ มา

จัดรูปแบบและเนื้อหาน่าอ่านมากครับ :]

ทุกอาชีพมีบทบาทสำคัญต่อการแพทย์จริงๆในยุคนี้ เท่มาก

คนสมัยก่อนเก่งมากๆ เลยเนอะ

โอ้ โห สุดยอดมากเลยอ้ะ !!

สุดยอดมากเลยนะคนสมัยก่อน

ศิลปะสำคัญต่อการแพทย์ขนาดนี้เลยเหรอเนี่ย >[]< สุดยอดมากค่ะ!! จัดรูปแบบได้น่าสนใจมากค่ะ อ่านแล้วเพลินดี~

โอ้โห ประวัติยาวนานจริงๆ น่าสนใจมากๆจ้า

ศิลปะอยู่คู่กับการแพทย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท