history of hospice care
นักศึกษาแพทย์ history of hospice care history of hospice care hospicecare

History of Hospice Care......


"Because the end of life is part of living."

History of Hospice Care
ประวัติการดูแลรักษาผู้ป่วยในระยะสุดท้าย


 

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัญหาและวิธีการดูแลรักษาผู้ป่วยในระยะสุดท้าย ตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน 
 

Hospice

Hospice หมายถึง สถานที่พักพิงสำหรับนักเดินทางและดูแลผู้ป่วย ซึ่งเป็นต้นแบบของโรงพยาบาลในสมัยปัจจุบันด้วย


ปัญหาของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในสมัยก่อน


เป็นทัศนคติที่มุ่งเน้นการรักษาให้หายจากโรคและฟื้นฟูสภาพร่างกายให้กลับเป็นเหมือนเดิม เน้นที่จะรักษาให้ผู้ป่วยมีชีวิตต่อไปได้นานที่สุด โดยไม่ได้คำนึงถึงสภาพทางจิตใจด้วย ซึ่งสำหรับการแพทย์ตะวันตกสมัยใหม่ ถือเป็นความล้มเหลวอย่างยิ่ง


และด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่กำเนิดในช่วงปี พ.ศ. 2483-2513 เช่น ปอดเหล็กในการช่วยหายใจ หรือสายยางส่งอาหารไปยังกระเพาะของคนป่วย ได้ช่วยให้แพทย์สามารถยื้อชีวิตของคนไข้ได้นานขึ้น ซึ่งอาจหมายถึงการยืดเวลาความล้มเหลวออกไป ทำให้ผู้ป่วยพบความทรมานและจากไปอย่างไม่สงบ

การให้อาหารทางสายยาง

 

จุดเริ่มต้นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายสมัยใหม่


Elisabeth Kübler-Ross บุกเบิกการทำงานเพื่อให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้ตายในสภาพที่ตนเองต้องการ โดยเธอได้แรงบันดาลใจจากการพูดคุยกับหญิงสาวชาวยิวผู้หนึ่งที่รอดชีวิตจากค่ายกักกันของเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้เธอสนใจที่จะเข้าใจถึงอารมณ์ความรู้สึก ความต้องการของมนุษย์ที่อยู่ในภาวะทุกข์ยากที่สุด และสุดท้าย งานของเธอได้รับการยอมรับจากสาธารณชน มีส่วนอย่างสำคัญในการสร้างแรงบันดาลใจให้คนในวงการสุขภาพจำนวนมาก เปลี่ยนแปลงวิธีคิดวิธีการปฏิบัติต่อผู้ป่วยระยะสุดท้าย


ต่อมา ซิเซลี ซอนเดอร์ส (Cicely Saunders) แพทย์หญิงอีกท่านหนึ่งได้สร้างต้นแบบของสถานดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายสมัยใหม่ทั่วโลกขึ้น โดยการก่อตั้ง “สถานดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เซนต์คริสโตเฟอร์ ฮอสพิซ (Saint Christopher’s Hospice)" ซึ่งเน้นให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายได้รับการดูแลด้วยความรัก ความเข้าใจ และลดความเจ็บปวดในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะการให้ยาเพื่อบำบัดความปวดแบบก้าวหน้า คือให้ยาก่อนที่ความปวดจะสร้างความทรมานให้กับผู้ป่วย  

งานบุกเบิกของผู้หญิงทั้งสองคน ได้สร้างปรากฏการณ์ผลกระทบต่างๆไปถึงผู้คนมากมาย รวมถึงนายแพทย์ บัลโฟร์ เมาท์ (Balfour Mount) ศัลยแพทย์รักษามะเร็ง และเป็นอาจารย์อยู่ที่โรงเรียนแพทย์ มหาวิทยาลัยแมคกิล (McGill University) ในแคนาดา ผู้ให้กำเนิด “การดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care)”

แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยระยะสุดท้ายในปัจจุบัน


ใช้หลักการ “การไม่ยืดชีวิตและไม่เร่งความตาย” 


ไม่ยืดชีวิต หมายถึง ไม่ยื้อชีวิตไว้ด้วยวิธีการหรือเครื่องมือช่วยชีวิตแบบต่างๆ เมื่อไม่มีโอกาสรอดชีวิต
ไม่เร่งความตาย หมายถึง เร่งให้ผู้ป่วยตายอย่างผิดธรรมชาติด้วยวิธีการต่างๆ

หลักการ Hospice care
เน้นที่ตัวผู้ป่วยเป็นหลัก โดยลดทอนความทุกข์และตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยในทุกด้านเท่าที่จะทำได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกาย ความสัมพันธ์ จิตใจ หรือแม้แต่ความต้องการทางจิตวิญญาณ การสร้างความรู้สึกให้ผู้ป่วยได้ตายราวกับอยู่ในเรือนตายของตน ไม่ว่าผู้ป่วยจะอยู่บ้านหรือไม่ สถานดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายจึงเน้นให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายและสบายเหมือนกับอยู่บ้านของตน สามารถให้ญาติมาเยี่ยมได้ นอกจากดูแลด้านร่างกายแล้วยังดูแลถึงสภาพจิตใจของผู้ป่วยและญาติด้วย 

หลักการ Palliative care 
ใช้หลักการ 4C คือ
1.Centered at patient and family : ให้ความสำคัญกับตัวผู้ป่วยและครอบครัวเป็นหลัก
2.Comprehensive : ครอบคลุมความต้องการทุกด้าน ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
3.Coordinated : ปฏิบัติงานร่วมกันของบุคลากรทางการแพทย์ ครอบครัวและสังคม
4.Continuous : มีความต่อเนื่อง และการประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ

Hospice care


การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในประเทศไทย


ในสมัยก่อนที่การแพทย์สมัยใหม่ยังเข้าไม่ถึงคนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยมากคนไทยจะตายกันที่บ้าน ซึ่งเป็นการตายท่ามกลางคนที่รักและสถานที่ที่คุ้นเคย แต่เมื่อสังคมเปลี่ยนแปลงไปจนคนไทยไม่สามารถจะดูแลความเจ็บป่วยกันเองได้อีกต่อไป ผู้คนตายในโรงพยาบาลมากขึ้น แม้ว่าคนยากจนที่ไม่ได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลยังคงตายกันที่บ้านอยู่ แต่ไม่ได้หมายความว่า เขาจะได้รับการดูแลด้วยแนวคิดแบบฮอสพิซจนกระทั่งตายไป

สถานดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในประเทศไทยในยุคแรก โดยมากเป็นสถานที่ดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์ระยะสุดท้าย ที่ก่อตั้งโดยศาสนาต่างๆ เช่น

              - บ้านกลารา ของคณะนักบวชฟรานซิสกัน ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2536

              - วัดพระบาทน้ำพุ ที่ริเริ่มโครงการดูแลผู้ป่วยเอดส์ระยะสุดท้าย ปี พ.ศ. 2535  เป็นต้น

แม้จะเห็นความเคลื่อนไหวเพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของกลุ่มคนจำนวนหนึ่ง แต่ยังไม่พอเพียงสำหรับการเป็นพลังให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างกว้างขวางขึ้นมาได้ ยังมีอีกหลายประเด็นที่เรายังต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจในเรื่ององค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยใกล้ตายโดยเฉพาะ

 

 

References :

http://www.nhpco.org/i4a/pages/index.cfm?pageid=3285

http://www.budnet.org/peacefuldeath/node/144

http://en.wikipedia.org/wiki/Hospice#See_also

หนังสือการดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้าย ของ รศ.นพ.เติมศักดิ์ พึ่งรัศมี

Members :

553070016-4 นายชนพัฒน์    เจริญสุข
553070048-1 นางสาวปาริฉัตร   หมู่สกุลชัย
553070085-5 นางสาวชนิยา     จ่าแก้ว
553070019-8 นายชรินทร์    ชาติบุปผาพันธ์
553070047-3 นางสาวปานเนตร     ราชประสิทธิ์
553070076-6 นางสาวสริดา   ตั้งสกุล
553070137-2 นายธนพล    ดาโรจน์
553070098-6 นายกษิดิ์เดช  จรุงจิตตานุสนธิ์
553070143-7 นางสาวธมลวรรณ  ช่างปัน
553070153-4 นางสาวนภัส   สุปัญญา
553070194-0 นางสาววรนันท์   ศรีพันธ์
553070216-6 นางสาวอชิรญาณ์  อมาตยคง
553070091-0 นางสาว  กนิษฐา  ธิตินาสกุล
553070145-3 นางสาว  ธัญญาเรศ  พัฒนธัญญา
553070222-1 นายอภิสิทธิ์  ชมภูโคตร
553070142-9 นางสาวธมลวรรณ  กิติสาธร
553070118-6 นางสาวช่อผกา    วงษ์ชัย
553070256-4 นางสาวนิศารัตน์   อุทาภักดี
553070236-0 นางสาวกันตา   สุวรรณฉาย
553070243-3 นายดนย     ยอดสุวรรณ
 
หมายเลขบันทึก: 499046เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2012 23:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 สิงหาคม 2012 09:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเป็นระยะที่ต้องใช้กำลังใจมากๆ เนื้อหาดีมากเลยครับ น่าสนใจๆ : D

นำเสนอข้อมูลได้น่าสนใจ และเป็นสิ่งที่ควรเรียนรู้ไว้ใช้กับคนใกล้ตัวเราค่ะ

น่าสนใจมากๆค่ะ นอกจากจะรักษาทางกายแล้วยังรักษาทางใจอีกด้วย

ถือเป็นการรักษาส่วนที่มีสำคัญมากๆ อีกส่วนหนึ่งเลยนะคะ เพราะเป็นการกำลังใจกับการมีชีวิตของผู้ป่วย

การดูแลรักษาผู้ป่วยในระยะสุดท้าย ถือว่าสำคัญมาก ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ ข้อมูลน่าสนใจ

ดีมากๆเลย ได้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาผู้ป่วยระยะสุดท้าย จะได้เอาไปใช้ด้วย

กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญมากๆเลยนะคะ ดีมากๆเลย มีประโยชน์มากๆค่ะ ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนะคะ > <

น่าสนใจมาก ถือเป็นสิ่งสุดท้ายที่จะทำให้คนไข้ได้

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายนี่สำคัญจริงๆ จะทำอย่างไรให้เขารู้สึกไม่ท้อแท้สิ้นหวังหมดอาลัยตายอยากกับชีวิต ให้คนไข้จากไปอย่างสุขสบาย ไม่ทรมาณ :)

ไม่ว่าจะทำอะไร กำลังใจสำคัญเสมอ :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท