“สื่อออนไลน์”..หนึ่งปีให้หลัง ยังมีค่า ( ๑ )


สื่อ.. “สร้างกระบวนการเรียนรู้ ครบวงจร “ เป็นที่สนุกสนาน ตื่นเต้น สร้างความพอใจ ยอมรับได้ ที่จะนำมาใช้ ต่อๆไป ...“การสอนแบบองค์รวม & แบ่งปัน

“สื่อออนไลน์”..

หนึ่งปีให้หลัง.. ยังมีค่า ( ๑ )

 

 

ชีวิตที่นี่ ...เตรียมพร้อมเสมอ...ไม่ว่าเรื่องใดๆ ข่าวมาแบบกระทันหัน  ฝึกเตือนสติปรับตัวให้ทัน ...ศุกร์นี้ “งดการเรียนการสอน”…ประกาศจากงานทะเบียนกลาง   อืมม์... ศุกร์นี้มีแล็บด้วยสิ.. ทำไงดี.?? ตามมาด้วยข่าวด่วน ประกาศจากจังหวัดเพิ่งแจ้งว่า “หยุดชดเชยอีกหนึ่งวันในวันจันทร์ ”  ในหัวที่เต็มปรี่ล้นไปด้วย การหาทางออกว่า จะใช้การจัดการเรียนการสอนอย่างไร กับเวลาที่มีอยู่??  ...ดูจะเป็นความพิเศษ ในพื้นที่พหุวัฒนธรรม ถิ่นใต้ตอนล่าง  “ครูพื้นที่” ...จะสอนอย่างไรดี ??.... จึงได้โอกาสเขียนบันทึกในวันนี้



สื่อออนไลน์ และเทคโนโลยีการศึกษาได้เข้ามาเติมเต็ม ทั้งเป็นสื่อหลักและเสริม เพื่อคุณภาพของการเรียนรู้และรองรับปัจจัยจำกัดต่างที่เกิดขึ้นได้ (ดูได้ที่ http://burongtani.oas.psu.ac.th)  เว็บไซต์ (บูรง ตานี) จึงได้จัดทำขึ้น เพื่อให้ประโยชน์ทั้งผู้ใช้ทั่วไป และในส่วนการเรียนการสอน ปรับให้เหมาะสมกับบริบทของผู้เรียนและความเป็นพื้นที่ เหล่านี้ ได้เตรียมพร้อมไว้ เพื่อสร้างทางเลือกเสมอ.


"ครูเพื่อศิษย์" ในยุคนี้จึงมีบทบาทเป็นทั้ง..ผู้สอน อำนวยความสะดวกในชั้นเรียน และวิถีของโลกออนไลน์ ได้สร้างเนื้อหา สาระต่างๆ การแสดงความเห็น ส่งเสริมจริยธรรมที่เหมาะสม  ในการปฏิสัมพันธ์บนโลกออนไลน์ เชิญชวนให้พูดคุย แลกเปลี่ยนในประเด็นต่างๆ หรือสะท้อนการเรียนรู้...เรียกได้ว่าทำหน้าที่ เป็นทั้ง instructor, editor & moderator ..


 

ข้อเท็จจริงและความเข้าใจ... ม.อ.วิทยาเขตปัตตานี มีนักศึกษานับถือศาสนาอิสลามเกินกว่า 90%  จึงให้โอกาสนักศึกษาเดินทางไกล กลับภูมิลำเนา เนื่องในวันสำคัญ ที่พี่น้องมุสลิมเฉลิมฉลองหลังจากถือศีลอด เป็นเวลาประมาณ 1  เดือน ในเดือนรอมฏอน  ซึ่งการกำหนด "วันตรุษอีดิลฟิตรี".. ได้ชัดเจนนั้น จะกระทำได้จากการดูดวงจันทร์  จึงไม่สามารถระบุไว้ให้ชัดเจนในปฏิทินได้ ดั่งเช่นวันหยุดสำคัญทางศาสนาวันอื่นๆได้   ...

 


Fact Sheet: สำหรับบรรยากาศ ..Go ASEAN..เรียนรู้วันสำคัญของ..วิถีมุสลิม..

“ต้อนรับวันฮารี รายอ , ฮ.ศ. 1433 ( Salemat Hari Raya.. Aidilfitri , 1433) ” เรียกทั่วไปว่า  "รายอปอซอ" ปอซอ-การถือศีลอด ( รายอฮัจจ์-เฉลิมฉลองหลังจากการทำพิธีฮัจจ์)

 

“ครูพื้นที่” ถือเป็นโอกาส "ประเมินการสอนของตนเอง"  เพราะสิ่งที่นำใช้ในการจัดการเรียนรู้  ได้มาจาก การศึกษา ค้นคว้า งานวิจัยของตนเอง /ทีม   หรือเป็นผลงานที่สร้างเอง /ทำร่วมกันกับศิษย์ ..โดยมีบริบทของพื้นที่แห่งนี้..  ไม่ลอกเอาของผู้อื่นมาใช้.. ยกเว้นกรณี  conventional,  หรือเทคนิคในแล็บที่เป็นที่นิยม  บันทึกนี้นำเสนอ เรื่องสื่อบน youtube  ....จากวันนั้น ..หนึ่งปีที่ผ่านพ้น   ผลงานที่ได้ upload ไว้บน สื่อออนไลน์  ใน youtube channel เพื่อนำมาใช้ประกอบกับเทคโนโลยีการศึกษา "เว็บไซต์บูรงตานี"  เป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ ทั้งครูและศิษย์  เป็นการสอนแบบองค์รวม &  แบ่งปัน  ...ที่ฝันไว้ ... ลองตามไปดูกัน



ผลงาน ที่ได้ upload ไว้ใน youtube 10 วีดีโอ แต่ละผลงาน มีความแตกต่างกันในสาระ แต่มีเป้าหมายเดียวกันคือ เผยแพร่สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้  ฝึกปฏิบัติ การทบทวนบทเรียน เรื่องราวของนกและธรรมชาติ ทั้งหมดเป็นสื่อที่ผลิตขึ้นเอง  และแบ่งปัน ให้ผู้สนใจเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้  ไม่ว่าจะอยู่ที่ส่วนใดในโลก จึงใช้ภาษาอังกฤษในสื่อ  ผลที่ได้จากการวิเคราะห์ (youtube analysis) สรุปโดยรวมดังนี้ ...ทั้งหมดจำนวนผู้เข้าชม 81 ประเทศ  และประเทศ USA มีจำนวนผู้เข้าชม 40 รัฐ ..นั่นคือสิ่งที่ได้แบ่งปัน..ในภาพรวมทั้ง 10 ผลงาน แตกต่างกันไปในแต่ละเรื่อง

 

 

แม้เป็นเพียงผลงาน เล็กๆ  แต่มีเป้าหมาย เพื่อจะให้ เป็นกรณีตัวอย่างกับศิษย์  ถึงกระบวนการเรียนรู้ ที่ฝึกกันได้   ขอยกตัวอย่างมาเพียงบางส่วน ผลงานแรก... "Biological techniques for anatomical study " เป็นเทคนิค..การทำดองใส ...เพื่ออะไร ติดตามชมในวีดีโอและlinkที่ระบุไว้


 

 

เน้นการนำเสนอ "วิธีการ..ทำอย่างไร know how ??) มีผู้เข้าชมมากที่สุด  52 ประเทศ โดย USA เป็นลำดับที่สอง มีจำนวน 19 รัฐ ที่เข้าชม ผู้สนใจเข้าชมเป็นเพศชาย (78% ) มากกว่าเพศหญิง (22%) โดยมีการแสดงความคิดเห็น มาร่วมด้วย ขั้่นตอนต่างๆ กว่าจะได้เป็นผลงาน นำมาสร้างสื่อ เผยแพร่ไว้ และเรียนรู้ ผลงานผ่านการวิเคราะห์โดยระบบ.. มีขั้นตอนดังนี้

 

 

* ขั้น..การเตรียมตัวอย่าง (specimen) ศิษย์สะท้อนการเรียนรู้ (ดูเพิ่มเติมได้ที่นี่  http://burongtani.oas.psu.ac.th/forum/691)

 

 

* ขั้น..ลงมือปฏิบัติเพื่อให้ได้ชิ้นงาน "การดองใส" ก่อนนำไปเผยแพร่ และสะท้อนการเรียนรู้ (ดูที่นี่ http://burongtani.oas.psu.ac.th/blog/711)

และ http://burongtani.oas.psu.ac.th/blog/715

 

 

* ขั้น..เรียนรู้ผลจากการวิเคราะห์ในระบบ (youtube analysis)

    -ศิษย์ได้เรียนรู้ วิธีการนำเสนอผลงานด้วยสถิติเชิงพรรณนา ประกอบการใช้ กราฟชนิดต่างๆ กราฟเส้น กราฟแท่ง กราฟวงกลม ที่ทำให้ display น่าสนใจ..

 

     -ศิษย์ได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสาร  ถึงแม้เป็นภาษาระดับไม่ยาก แต่ก็เหมาะกับการเรียนรู้ ภาษาไปตามบริบท รวมถึง keywords ที่ปรากฏอยู่ในการแสดงผล  จะได้เรียนรู้ ทำความเข้าใจไปพร้อมกัน  ศิษย์สนุกกับการเรียนรู้ ส่วนนี้ ทั้ง การแสดงความคิดเห็น และการตอบกลับ จากผู้เข้าชม..it's so real !!  ดังตัวอย่าง..

 

Comment 1 ·  This is beautiful ( bluesephir75 )

Comment 2 ·  I'm also an educator. I would love to do this .                   (bluesephir75)


Reply  1 ·  Thank you bluesephir75..for your comments. It   may take times and need more practice. Have you ever get it started ?? :-))   (kwanchamai)


Reply 2 ·  No but I am very interested.  (bluesephir75)


Comment 3 ·  I like this video clip because there are many benefit and make me learn more about biological techniques.    ( dayahridwan)


(* ขั้นการนำไปใช้ และถ่ายทอด สิ่งที่เรียนรู้ ไปสู่ผู้อื่นจะนำเสนอในโอกาสต่อไปๆๆ..บทเรียนนี้ครบวงจร)



ทั้งหมดนั้น เป็นสร้างกระบวนการเรียนรู้ ครบวงจร..ที่คิดสร้างบทเรียน ด้วยตัวครูและศิษย์ มีสีสันตามที่เราทุ่มเท ไปกับงาน  ศิษยมีทักษะพัฒนาในหลายๆทักษะที่พึงประสงค์สำหรับชีวิตในยุคสมัยที่เปลี่ยนไป  ครูช่วยอำนวยความสะดวก..ให้เห็นความจริง ด้วยทัศนคติ "ทุกอย่างเป็นไปได้" ..จึงเป็นที่สนุกสนาน ตื่นเต้น  สร้างความพอใจ  ยอมรับได้ ที่จะนำมาใช้ ต่อๆไป

 

 

 

AAR:


* เป็นสื่อที่แสดงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  เมื่อผู้สอนแนะนำให้นักศึกษาแสดงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ก็ควรจะแสดงออกมาให้เห็นเช่นกัน ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งเพื่อเป็นการเสริมแรง สร้างความภูมิใจร่วมกัน ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน

 

*เป็น สื่อที่สร้างขึ้น  รวบรวมประสบการณ์จากการปฏิบัติจริง มีทักษะแฝงในชิ้นงาน เหล่านี้เมื่อนำมาเผยแพร่ ชี้ให้เห็นว่า ในสังคมมีทั้งบทบาทของผู้ให้และผู้รับ โดยเฉพาะ.. สื่อออนไลน์.. ได้ทำหน้าที่เป็นเสมือนสะพาน เราก็สามารถเรียนรู้ร่วมกันได้ และพัฒนาไปด้วยกันได้ ด้วยพลังของการแบ่งปัน โดยเช ื่อว่าองค์ความรู้นั้นเป็นสากล ทุกคนเข้าถึงได้

 

*ถึงแม้ว่าจะเป็นสเกลเล็กๆ แต่ถ้าได้เริ่มต้นสร้างไว้ จะมีพลังมากมาย สำรอง ไว้ทั้งยามฉุกเฉินและเพื่อความเพลิดเพลินในงาน (passion) ในฐานะเป็นครูยุคใหม่ ศิษย์ยุคใหม่ ไฉไลด้วยความรู้คู่คุณธรรมบนวิถีชีวิตปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี & โลกออนไลน์

 

 

วรรณชไม การถนัด

๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๕

pax vobiscum (๒/๑๙)

หมายเลขบันทึก: 499021เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2012 21:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มีนาคม 2013 11:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

ขอบพระคุณบันทึกที่มีคุณภาพคับโหล (ดอง) ของอาจารย์ kwancha มากครับที่ทำให้พื้นที่สาระในโลกออนไลน์ขยายมากยิ่งขึ้น 

       เป็นสื่อออนไลน์ที่สร้างองค์ความรู้และมีคุณค่ามากครับ

แวะมาตามอ่านจากคำว่า "สื่อ" และ "เทคโนโลยีการศึกษา" ครับอาจารย์ ;)...

  • วิธีการสอนของอาจารย์สุดยอดมากค่ะ สื่อการสอนแบบนี้ ไม่ค่อยมีใครนึกถึงและนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์เท่าไหร่นะคะ หรืออาจจะมี แต่ก็อยู่ที่วิธีการนำเสนอด้วยค่ะ
  • ครูอำนวยให้เห็นความจริง... ชอบมากค่ะ

ขอบคุณค่ะอาจารย์ได้งานศิลปะชั้นยอดเลย

Large_knaw5

สวัสดีวันเสาร์ยามบ่ายค่ะพี่อาจารย์

งานศิลปะที่งดงามเหมือนมีชีวิตเลยค่ะ

สุขสันต์วันหยุดค่ะ รวมไปถึงวันจันทร์ด้วยค่ะ ที่นี่ก็วันหยุดเช่นกันค่ะ :)

สวัสดีค่ะ อาจารย์Blank จัตุเศรษฐธรรม 

เกรงว่าจะมีคุณภาพคับแก้ว อุ๊บ..โหล..ขวดเล็กๆนะซิค่ะ เพราะตัวอย่างที่ใช้ตัวน้อยเดียว...ขอบพระคุณที่แวะมาเป่ากระหม่อม ให้เป็นรายแรก รู้สึกว่าขลังดีค่ะ ถ่ายทอดกำลังใจจากผู้มีกุศลจิตสูง :-))

สวัสดีค่ะ อาจารย์วัส Blank Wasawat Deemarn

ขอบพระคุณที่แวะมาทักทาย และฝากความเห็นไว้ค่ะ :-)).. จริงๆด้วยนะ ต้องขอบคุณ..พลังจาก"สื่อ" ...ที่ทำให้สื่อถึงอาจารย์วัส..บนโลกออนไลน์ G2K...อาจารย์วัส ได้ดูในส่วนของเทคโนโลยีการศึกษาที่ได้ link ไว้หรือยังค่ะ??  ปกติใช้ร่วมกันค่ะ เพราะ สื่อที่ผลิตขึ้นมา ส่วนหนึ่งก็เพื่อนำไปประกอบการเขียนเพิ่มเติมสาระเนื้อหาในบล็อกและแบ่งปันไว้ในเว็บไซต์บุรงตานี  และอีกส่วนหนึ่งก็ด้วยสาระของสื่อเท่านั้น แบ่งปันไว้บนโลกออนไลน์ youtube ค่ะ..เป็นประโยชน์มากทีเดียว ในการจัดการเรียนรู้ยุคใหม่ ครูทำหน้าที่เปลี่ยนไปมากขึ้น แต่ก็สนุกไม่น้อยเพราะเป้าหมาย สอนโดยตรงให้ผู้เรียนและ โดยอ้อมให้ผู้สนใจไปพร้อมๆกัน จะได้พัฒนาไปพร้อมๆกันหลายส่วนค่ะ :-))

สวัสดีค่ะ อาจารย์ Blank Sila Phu-Chaya

ขอบคุณสำหรับคำชม และข้อคิดเห็นที่เป็นกำลังใจค่ะ  ..อาจารย์ Sila ค่ะ..ผู้สอนยุคปัจจุบันต้องทำงานเชิงรุกเช่นเดียวกับงานที่อาจารย์Sila ทำอยู่ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างมีปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้องเยอะมาก ที่มีผลต่อคุณภาพการศึกษาในทุกระดับ  แต่มิอาจเอาปัจจัยจำกัดเหล่านั้ันมาเป็นข้ออ้างที่จะไม่ดูแล ร่วมมือหาช่องทาง สร้างทางเลือก เพื่อช่วยให้ดีขึ้น ในฐานะบุคลากรทางการศึกษานะค่ะ 

จริงๆแล้วเวลาสอนก็จะเน้นให้ศิษย์คิด และทำเอง เราอำนวยความสะดวกให้ เค้าพบกับความจริงด้วยตัวเอง ทีละน้อยก็ยังดี ถึงช้าก็ต้องรอ เตือนสติให้รอได้ เพื่อให้เค้าคิด และสื่อสารออกมา ก่อนที่ข้ามไปในส่วนอื่นๆ จึงต้องมีสื่อการสอนหลายประเภท ประกอบกับเทคโนโลยีการศึกษาที่สอดรับกัน เพื่อให้เหมาะกับผู้เรียนในแต่ละกลุ่มที่มีศักยภาพในการพัฒนาได้เร็ว ช้าต่างกันค่ะ 

คิดด้านบวก ก็ ..ดีเหมือนกัน  สอนคนก็ต้องพัฒนตนก่อน  โดยเฉพาะการพัฒนาจิต อย่างที่อาจารย์ Sila เขียนไว้ในบันทึก ช่วยให้เรียนรู้ด้านนี้ไปพร้อมกับการนำมาใช้จริงขณะปฏิบัติหน้าที่ค่ะ  ต้องขอบคุณมากๆอีกครั้งนะค่ะ..:-))

สวัสดีค่ะน้องชลัญBlank ชลัญธร 

ขอบคุณค่ะ เืสื้่อสวยมาก ..เสื้อสวยด้วยศิลป์จากสื่อออนไลน์ "น้องกบ ไก่ และ ปลา น่ารักดีค่ะ"  ..ขอชื่นชมคุณแม่น้องไจไจ๋  ..อืมม์...น้องไจไจ๋ คงดีขึ้นแล้วนะค่ะ ไม่ต้องเฝ้าไข้  มีเวลาให้น้องชลัญมาเพ้นท์เสื้่อ. .ขอบคุณที่แวะเวียนมาทักทายและให้กำลังใจเสมอมานะค่ะ คุณพยาบาลชลัญ.. ขวัญใจคุณป๋าและ ขวัญใจชาวกูโทโนว์ :-))

เป็นการใช้สื่อการสอนที่ดีมาก นักเรียนและผู้ที่สนใจสามารถเรียนรู้ได้ดีค่ะ พัฒนาต่อไปเรื่อยๆ นะ

  • สุดยอดเลยครับ
  • วันก่อนผมไปดูนกมาครับ
  • ชอบแนวคิดแบบนี้ครูนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลได้เรียนรู้ไปด้วยกัน
  • ดูแล้วมีความสุข
  • ขอบคุณพี่มากๆครับ
  • เอาโครงการ วมว มาฝากครับ
  • http://www.gotoknow.org/blogs/posts/498259
  • เอานกมาฝากตามสัญญาด้วยครับ
  • Large_katid2
  • ยังไม่ได้เขียนบันทึกเลยครับ
  • แต่เอามาให้พี่ดูก่อน
  • Large_katid1

สวัสดีค่ะน้องปริม

เมื่อวานพี่ตอบความเห็นของน้องปริมแล้วหล่ะค่ะ แต่มีเหตุไฟดับ ฝนตก ลมแรง อืมม์ พี่ต้องยุติการใช้คอมพ์ที่ทำงาน ทุกที่ในมอ มืดไปหมด พี่เดินคลำทางลงมาจากตึกชั้น ขับรถกลับบ้าน วันนี้ก็เลยมาตอบใหม่ค่ะ ต้อนรับวันฮารีรายอของที่นี่ โชคดีที่แฟลตยังไม่ดับ

ดีใจ ที่ต้องปริมชอบชิ้นงานค่ะ เป็นเทคนิคที่รักษาสภาพสิ่งที่ไม่มีชีวิต ที่ครั้งหนึ่ง (เคยมีชีวิต) ให้มีศิลป์ราวกับมีชีวิตอีกครั้ง    ค่ะ น้องปริม วิทยาศาสตร์ช่วยได้ แต่ถ้าเลือกได้ พี่เลือกให้ศิษย์เรียน anatomy จาก ตัวจริงสัมผัสชีวิต ที่มีจิตวิญญานด้วย เพราะนั่นคือธรรมชาติที่ศิษย์ควรจะเรียนรู้เป็นองค์รวม วิทยาศาสตร์ยังทำไม่ได้ที่จะใส่จิตวิญญานลงไป แต่ข้อดีที่ต้องใช้เทคนิคนี้ในการช่วยศึกษาทาง anatomy นอกจากจะเป็นสื่อสำรอง สร้างทางเลือกแล้ว ยังมีอีกหลายส่วน สำหรับบริบทของพื้นที่ ที่นี่ค่ะไว้มีโอกาสจะเล่าให้ทราบค่ะ

สุขสันต์วันนี้และวันหยุดในวันจันทร์ อีกหนึ่งวันนะค่ะ :-))

สวัสดีค่ะคุณ Oranong ยินดีที่รู้จักค่ะ ขอบคุณที่แวะเข้ามาทักทายค่ะ และให้กำลังใจ ฝากความเห็นไว้ ค่ะ จะพัฒนาต่อไป ติดตามดูนะค่ะ :-))

สวัสดียามเย็นค่ะน้องแอ๊ด

ขอบคุณค่ะสำหรับกำลังใจส่งผ่านมาในคำชม งานที่พี่ทำก็เป็นสเกลเล็กๆหรอกนะค่ะ แต่เป็นความภูมิใจในความเป็นผลงานที่สร้างขึ้น ให้ศิษย์ได้เรียนรู้กระบวนการ อีกทั้งองค์ความรู้ก็ได้เผยแพร่ แบ่งปัน สื่อที่ได้ก็เป็นทางเลือกในการสอน anatomy ได้ดี ซึ่งปกติก็จะใช้วิธีการอื่นๆค่ะ

นึกถึงว่า กว่าเราจะเรียนจบ หรือในช่วงที่เราทำการศึกษา ค้นคว้า วิจัย เมื่อติดขัดอะไร ในวงการวิชาการ ก็มีผู้ช่วยเหลือกันอยู่ นี่เป็น spirit ในชุมชนวิชาการ เราจึงเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ เผื่อผดุงสังคมนี้คะ และเข้าใจว่า หากเป็นเช่นนี้ทุกวงการ สมาชิกช่วยเหลือแบ่งปันกันก็จะเต็มไปด้วยบรรยากาศของ การเรียนรู้คู่ไปกับสังคมแห่งความสุข อย่างโกทูโนว์ของเราเ่ช่นกันนะค่ะ :-)) 

ขอบคุณ ภาพนกกระติ๊ดขี้หมูนะค่ะ ชัดเจนน่ารักดีนะค่ะ เรียกชื่อสามัญ  Scaly Breasted Munia ทำให้เห็นลักษณะชัดดีในชื่อคือ ที่อกจะมีลักษณะเป็นเกล็ดๆใช่ไหม๊ค่ะน้องแอ๊ด  พวกนี้อยู่เป็นกลุ่ม    อีกหล่ะ พี่ก็โชคดีที่ เค้ามาทำรังที่ต้นไม้หน้าห้อง ริมหน้าต่างให้ชื่นชม  ออกไปตากผ้าเมื่อไหร่ บินออกมาพรั่งพรู นับไม่ถูกว่า สมาชิกบ้านนี้มีกี่ชีวิต แต่ช่าวนาไม่ค่อยชอบเค้านะค่ะ  กินเก่ง   แฮ่ๆ  กินข้าวในรวงเหลือแต่เปลือก วิธีกินน่าสนใจเชียวค่ะ สังเกตดูปากเค้าค่ะ นกที่กินธัญญพืชทั้งหลาย มักมีปากหนา แข็งแรงเป็นแบบนี้  แต่พี่ชอบดูเวลาเค้าเกาะก้านรวงข้าว แล้วโล้ ไปมา ถ่วงน้ำหนักตัวเก่งมาก กว่าเค้าจะกินได้เนี่ย การจัดการสรีระร่างกายน่าสนใจมาก ดูแล้วเพลินเลยค่ะ เวลาสังเกตภายใต้กล้อง เทเลหรือไบน๊อคคิวลา มีความสุขได้ด้วยเรื่องใกล้ๆตัวนะค่ะน้องแอ๊ด :-))

รอน้องแอ๊ดว่าง เขียนให้อ่านเพิ่มเติมนะค่ะ ยังไงก็ดีใจ ที่ถึงแม้น้องทำงานหนัก ก็ยังมีเวลาไปดูชีวิต ชีวาในธรรมชาติ  เพิ่มพลังดีและผ่อนคลายดีนะค่ะ

 เมื่อช่วงวันหยุดยาววันแม่ พี่และน้องๆในทีม ไปเยือนป่าบาลามาอีกครั้ง มีน้องในกลุ่มจะลาไปเรียนต่อ ป เอก  ก็เลยไปร่ำลาป่า เราเลยไปเติมเต็มพลังจากป่าบาลามาอีกครั้ง ดูนกป่ามาแล้ว เดือนนี้เตรียมตัวต้อนรับ นกชายเลนอพยพค่ะ ตื่นเต้นเวลาเค้ามาและเราเห็นตัวที่เราเคยใส่ริงไว้ มาหากินที่หาดเลน  นั่นคือชีวิตทีนี่ค่ะ   สื่อในธรรมชาติมีมากมายให้เรียนรู้ ตลอดดดดชีวิตค่ะ จนว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะจากลากันไปอย่างถาวร :-))

 

 

ขอขอบคุณกัลยาณมิตรทุกคนที่นำดอกไ้ม้และความเห็นมาทักทายและฝากไว้เป็นกำลังใจค่ะ   เก็บดอก "อโศกกาญจนา".. จากที่บ้านมาฝากสำหรับทุกคนด้วยค่ะ

สุดยอด เป็นกำลังใจ...สวัสดีครับ

สวัสดีค่ะคุณครูแว่นธรรมทอง,

ขอบคุณที่แวะมาทักทาย และมอบกำลังใจให้ค่ะ :-))

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท