การวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา


การวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

 

                 เป้าหมายสูงสุดของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา คือ มุ่งเน้นผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ข้าพเจ้าได้ดำเนินการโดยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั่วทั้งสถานศึกษา  ภายหลังที่ได้วางแผนแล้วสถานศึกษาจะต้องแสดงความสำเร็จของผลการดำเนินงาน  ระบุถึงสิ่งที่มีการปรับปรุงเพื่อเป็นการแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ ฉะนั้นด้วยกระบวนการปฏิบัติงานเชิงระบบเป็น วัฏจักร  มีการวางแผน  การปฏิบัติงาน  การตรวจสอบ  และปรับปรุงแล้ววางแผนใหม่เป็น  วัฏจักรหมุนเวียนไปตลอด  โดยในแต่ละรอบจะมีการตรวจสอบและนำข้อมูลมาปรับปรุงแก้ไข  ผลการปฏิบัติงานจะดีขึ้น  บรรลุเป้าหมายที่สูงขึ้น  เกิดการยกระดับคุณภาพอย่างต่อเนื่อง บนรากฐานการวัดความก้าวหน้า  การดำเนินการเปลี่ยนแปลงบนข้อมูลที่เชื่อถือได้ และ    ความร่วมมือกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง  ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาสถานศึกษา  แบบรอบด้านอย่างต่อเนื่อง

                 เพื่อให้การจัดการศึกษาบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย  ข้าพเจ้าจะตั้งคำถาม ถามตัวเองและพยายามหาคำตอบที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนา คือ

1.            สถานะปัจจุบันของสถานศึกษาอยู่ ณ จุดใด  สภาพเป็นอย่างไร  มีจุดเด่นด้านใด  มีสิ่งใดที่เป็นปัญหาจะต้องได้รับการแก้ไข ปรับปรุงหรือส่งเสริมยิ่งขึ้น

2.            เป้าหมายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาคืออะไร

3.            สถานศึกษาจะดำเนินการอย่างไรเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

4.            สถานศึกษาทราบถึงความสำเร็จได้อย่างไร

การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาจะตอบคำถามข้างต้นเหล่านี้  เพื่อเป็นทิศทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

 

 

 

 

     ความหมายของแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา

 

                 แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา หมายถึง  แผนที่จัดทำอย่างเป็นระบบบนพื้นฐานข้อมูลของสถานศึกษาประกอบด้วย  เป้าหมาย  ยุทธศาสตร์  และแนวปฏิบัติที่ชัดเจน สมบูรณ์  ครอบคลุมการพัฒนาทุกกิจกรรมที่เป็นส่วนประกอบหลักของการจัดการศึกษาและเป็นที่ยอมรับร่วมกันจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง  นำไปปฏิบัติเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของ  แต่ละกิจกรรมที่กำหนดอย่างสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และมาตรฐานหลักสูตรสถานศึกษา

บทบาทของแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา

 

                 แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา มีบทบาทดังนี้

                 1.  เป็นทิศทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา  โดยได้ออกแบบกิจกรรมการพัฒนาด้านต่าง ๆ ที่สถานศึกษาจะต้องจัดการให้มีมาตรฐานสูงขึ้นไว้ล่วงหน้า       บนพื้นฐานเป็นไปได้ในการดำเนินการของสถานศึกษา  แผนนี้จึงเป็นเสมือน “แผนที่” หรือ         “พิมพ์เขียว” การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่พึงประสงค์

                 2.  เป็นเครื่องมือสร้างความเชื่อมั่นแก่ชุมชน  และผู้ที่เกี่ยวข้องว่าสถานศึกษาจะสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตรได้  โดยดำเนินการตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาที่จัดทำขึ้น

                 3.  เป็นเอกสารหลักสำหรับการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาภายในและนอกสถานศึกษา  โดยการดำเนินงานของสถานศึกษาจะเป็นไปตามกรอบงานที่แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษากำหนด

 

 

 

เกณฑ์เกี่ยวกับแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา

 

                 แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาที่ดีจะต้องสร้างความมั่นใจได้ว่า  สถานศึกษาได้พัฒนาศักยภาพการจัดการศึกษาให้สถานศึกษาสามารถดำเนินการได้บรรลุตามเป้าหมาย  แผนที่ดีควรมีลักษณะที่สำคัญ 9 ประการ  ต่อไปนี้

                 1.  องค์ประกอบต่างๆ ในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา  ต้องมีความชัดเจน สอดคล้องรับกันอย่างสมเหตุสมผลและเป็นระบบ

                 2.  ระบบสนับสนุนภายใน ซึ่งผู้บริหาร  ครู  บุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษาและบุคคลที่เกี่ยวข้องเห็นชอบกับแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และให้ความสนับสนุนและร่วมมืออย่างจริงจังในการนำแผนสู่การปฏิบัติ

3.  เป้าหมาย  วัตถุประสงค์  และตัวบ่งชี้ในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของ      สถานศึกษาต้องเป็นสิ่งที่สังเกตได้และวัดได้ในเชิงปริมาณ

4.  ยุทธศาสตร์  และเทคนิควิธีต่างๆ ที่ใช้ในกระบวนการเรียนการสอน  การวัดประเมินผล  ตลอดจนการบริหารจัดการ  ต้องตั้งอยู่บนรากฐานทางทฤษฎี  หรือหลักวิชาที่     ถูกต้อง  และต้องมีผลการวิจัยเชิงประจักษ์สนับสนุนประสิทธิภาพและประสิทธิผล

5.  แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาต้องกำหนดรูปแบบและวิธีการพัฒนาบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ  เพื่อความสามารถในการปฏิบัติภารกิจตามแผนอย่างได้ผลดี

        6.  แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา  ต้องระบุแหล่งวิทยากรภายนอกที่จะให้ความร่วมมือช่วยเหลือ และสนับสนุนทางวิชาการ

7.  ผู้ปกครองและชุมชนต้องมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมและรับบทบาทสำคัญใน          กิจกรรมต่างๆ  ตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

8.  ต้องมีการประสานสัมพันธ์และระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ เช่น หน่วยงานของรัฐ  องค์กรเอกชน  สถาบันและมูลนิธิต่างๆ  เพื่อนำมาสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

9.  ต้องมีเครื่องมือและระบบการวัดประเมินผลการเรียนรู้  และผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนที่สอดคล้องกับมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

ส่วนประกอบของแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา

 

                 การเขียนแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาแต่ละแห่งอาจมีส่วนประกอบและรูปแบบการนำเสนอแตกต่างกันได้  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของสถานศึกษา  ความซับซ้อนของภาระงาน  และศักยภาพของสถานศึกษาแต่ละแห่ง  อย่างไรก็ตามเพื่อความชัดเจนและ                   ความเข้าใจตรงกันของผู้ปฏิบัติ  และเป็นทิศทางการพัฒนาแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา  ต้องมีส่วนประกอบสำคัญต่อไปนี้อย่างน้อยที่สุด  ได้แก่

                 1.  เจตนารมณ์ของสถานศึกษา ได้แก่ วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสถานศึกษา

                 2.  ภาพรวมของสถานศึกษา

                 3.  เป้าหมายของการพัฒนา  และยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

                 4.  แผนปฏิบัติการรายปี  ซึ่งจะทำให้การดำเนินงานสำเร็จตามเป้าหมาย

                 5.  การระดมทรัพยากร  แหล่งสนับสนุนงบประมาณ  และสรุปงบประมาณ

                 การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา  มีส่วนประกอบที่สำคัญ  ดังนี้

                 1.  ปก  ระบุชื่อสถานศึกษา  ชื่อแผน  และช่วงเวลาที่ใช้แผนนี้

                 2.  คำนำ

                 3.  สารบัญ

                 4.  ภาพรวมของสถานศึกษา  ซึ่งประกอบด้วย

                      4.1  ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา

                            4.1.1  ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา  เช่น  จำนวนบุคลากร  ทรัพยากร          สิ่งอำนวยความสะดวก  อัตราส่วนของข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็น

                            4.1.2  ข้อมูลเกี่ยวกับชุมชน  เช่น  สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของชุมชน  ความร่วมมือของชุมชน  เป็นต้น

                      4.2  การดำเนินงานของสถานศึกษาในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในช่วงที่ผ่านมา  โดยกล่าวถึง  ความสำเร็จที่โดดเด่นที่สถานศึกษาภาคภูมิใจ  ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน  ผลการประเมินคุณภาพการศึกษา (National Test)  ของสถานศึกษาและเปรียบเทียบกับของ พื้นที่หรือโรงเรียนในกลุ่ม  การนำเสนอต้องเป็นไปตามข้อเท็จจริง  และควรจำแนกข้อมูลตามส่วนประกอบหลักของระบบการจัดการศึกษา  ได้แก่  หลักสูตรการเรียนการสอน  การพัฒนาวิชาชีพ  การจัดองค์กรและสิ่งแวดล้อมของสถานศึกษา  และการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน

                       4.3  สรุปสถานภาพปัจจุบันของสถานศึกษาและปัจจัยต่างๆ  ที่อาจส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน  ชี้ให้เห็นสภาพจุดเด่นของสถานศึกษา  สภาพปัญหา  อุปสรรค  และ จุดควรพัฒนาของสถานศึกษา

                        แผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษามิได้กำหนดตายตัวว่ารอบระยะเวลาของแผนจะครอบคลุมกี่ปี  ทั้งนี้  ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของสถานศึกษา ที่จะกำหนดระยะเวลาได้ตามความเหมาะสม  และวิธีการปฏิบัติของสถานศึกษาแต่ละแห่ง  ซึ่งอาจจัดทำเป็นแผน 1 ปี หรือระยะเวลายาวขึ้นเป็น 2-3 ปี ก็ได้

                 5.  เจตนารมณ์ของสถานศึกษา  เพื่อสร้างความเข้าใจ ปณิธานที่สถานศึกษาและ ชุมชนยึดมั่นและหล่อหลอมเป็นแนวปฏิบัติของสถานศึกษาในการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นสู่คุณภาพของผู้เรียน

                 เจตนารมณ์ในการเขียนแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาแต่ละแห่งอาจแตกต่างกัน   บางแห่งอาจมีทั้งวิสัยทัศน์และพันธกิจ  บางแห่งอาจละไว้ไม่เขียนวิสัยทัศน์  แต่เริ่มต้นด้วยความเชื่อและตามด้วยภารกิจของสถานศึกษา  จะเขียนอย่างไรก็ตามจะต้องสะท้อนให้เห็น  อุดมการณ์  หลักการ  คุณค่า  หรือความเชื่อร่วมที่สถานศึกษาและชุมชนยึดมั่น  เพื่อให้เกิด การปฏิบัติงานที่มีคุณค่าที่ดีที่สุดต่อผู้เรียน

                      5.1  วิสัยทัศน์  เป็นเจตนารมณ์หรือความตั้งใจที่กว้าง  ครอบคลุมทุกเรื่องของสถานศึกษา  และเน้นการคิดไปข้างหน้าเป็นสำคัญ  แสดงถึงความคาดหวังในอนาคตมิได้ระบุวิธีการดำเนินงาน

                      ข้อความวิสัยทัศน์จะถ่ายทอดหัวใจสำคัญของอุดมการณ์  หลักการ  ความเชื่อ  และอนาคตที่พึงประสงค์ของสถานศึกษาและชุมชน  ข้อความวิสัยทัศน์จะต้องชัดเจน เป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษา  และมีความยาวประมาณ 2-3  ประโยค  การเขียนวิสัยทัศน์ที่ดี ให้คำนึงว่าจะสามารถสร้างความศรัทธา และจุดประกายความคิดให้แก่ผู้ปฏิบัติเพื่อดำเนินงาน สู่สภาพที่ดีที่สุด

                      5.2  ภารกิจ  (หรือพันธกิจ)  เป็นข้อความที่แสดงเจตนารมณ์และวิธีการ        ดำเนินงานเพื่อให้บรรลุถึงวิสัยทัศน์  ซึ่งมีลักษณะค่อนข้างเป็นนามธรรมมาก  ข้อความภารกิจแสดงว่าสถานศึกษาปรารถนาที่จะสัมฤทธิผลอะไรในปัจจุบัน  และยังนำไปสู่การวางแนวปฏิบัติด้านพฤติกรรมของบุคลากรด้วย

                      5.3  เป้าหมาย หรือจุดมุ่งหมาย ครอบคลุมด้านต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ เช่น   ด้านผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน  ด้านหลักสูตรและการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้  การจัดองค์กร  การพัฒนาวิชาชีพ  และการมีส่วนร่วมจัดการศึกษาของชุมชน  เป็นต้น

                 6.  เป้าหมายการพัฒนาหรือวัตถุประสงค์

                      6.1  เป้าหมายการพัฒนาเป็นผลลัพธ์ที่คาดหวังในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน  ได้จากการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น แล้วกำหนดระยะเวลาพัฒนาว่า เป็น 1 ปี 2 ปี หรือ 3 ปี

                      6.2  ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา  ระบุยุทธศาสตร์ที่ใช้ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพ  มีงานวิจัยรองรับ  เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาให้บรรลุเป้าหมาย

                 แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาเป็นแผนที่สะท้อนคุณลักษณะ              ที่พึงประสงค์ กระบวนการจัดทำแผน ประกอบด้วย  6  ขั้นตอน ดังภาพประกอบ

 

 

 

 

 

 

 

 

1. เตรียมการจัดทำแผนพัฒนา           คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

--- จัดตั้งคณะจัดทำแผน

--- ทำความเข้าใจในบทบาทหน้าที่

--- ประสานความร่วมมือทางวิชาการ

---  วางแผนการทำงานของคณะจัดทำแผน

3. วิเคราะห์ปัญหา สาเหตุและพิจารณาแนวทางการแก้ไขตามประเด็นสำคัญการพัฒนา

ความจำเป็นของสถานศึกษา

--- ทบทวนประเด็นสำคัญการพัฒนา

--- ตัดสินใจเลือกประเด็นที่จะดำเนินการ

--- เขียนเป้าหมายการพัฒนา

--- เขียนยุทธศาสตร์การพัฒนา

   

5. เขียนแผนพัฒนาคุณภาพ              สถานศึกษา

ความจำเป็นของสถานศึกษา

--- งบประมาณ         

--- งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง                   

--- การประเมินผล

--- การประสานกิจกรรมกับโครงการอื่น ๆ

--- กำหนดแผนปฏิบัติการรายปี

--- ตรวจสอบความเชื่อมโยงระหว่างเป้าหมายกับ

    แผนปฏิบัติการรายปี

  

4. กำหนดแผนปฏิบัติการรายปี     

2. ประเมินความต้องการและ

ความจำเป็นของสถานศึกษา

--- ทำความเข้าใจวิสัยทัศน์และภารกิจของสถานศึกษา

--- จัดทำภาพรวมของสถานศึกษา

--- สำรวจความต้องการด้านการศึกษาของผู้เรียน

--- วิเคราะห์ข้อมูลความต้องการด้านการศึกษาของ

     ผู้เรียนและกำหนดประเด็นสำคัญในการพัฒนา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

--- สร้างการยอมรับ      

--- การมอบหมายการปฏิบัติงานอย่างเป็นทางการ

--- การทำความเข้าใจส่วนต่างๆ ของแผน

  

6. นำแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาสู่การปฏิบัติ

ความจำเป็นของสถานศึกษา

                

                  ภาพประกอบ    กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

 

 

 

                 ขั้นที่  1  การเตรียมการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

                 ประกอบด้วยขั้นตอนย่อย 4  ขั้นตอน  ได้แก่ 

                 1.  การจัดตั้งคณะการจัดทำแผน

               1.1  การเตรียมการ

                    ผู้บริหารสถานศึกษาประชุมคณะบุคคลประกอบด้วย  ผู้แทนคณะกรรมการสถานศึกษา  เจ้าหน้าที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  ครู  ผู้แทนผู้ปกครอง  ผู้นำชุมชน ที่มีความรู้ดีเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2545  แนวคิดในการปฏิรูปสถานศึกษา  การปฏิรูปการเรียนรู้  และการประกันคุณภาพการศึกษา   เพื่อหารือเกี่ยวกับการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผน

                           คณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่วิเคราะห์ความต้องการและความจำเป็น ตลอดจนวางแผนยุทธศาสตร์  สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนการแต่งตั้ง  คือ

                           1)        ปัจจุบันสถานศึกษามีคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาที่เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งระบบหรือไม่

                           2)  กรณีต้องแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ จะสรรหาคณะกรรมการอย่างไร

                           3)        ควรมีกิจกรรมใดที่ได้สร้างความสัมพันธ์  ความร่วมมือร่วมใจเกิดการทำงานเป็นทีมได้บ้าง

                           4)  คณะกรรมการจัดทำแผนจะประสานกับคณะกรรมการอื่นๆ ได้อย่างไร

                           5)  คณะกรรมการจัดทำแผนมีกลไกในการตัดสินใจหรือให้ข้อเสนอแนะอย่างไร

                           6)  คณะกรรมการจัดทำแผนจะสื่อสารกับสมาชิก  ให้มีความรู้ความเข้าใจในโครงการพัฒนาสถานศึกษานี้ได้อย่างไร

                       1.2  การแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผน

                            คณะกรรมการจัดทำแผน  ควรประกอบด้วยบุคลากรทั้งจากสถานศึกษา  ชุมชนและผู้ทรงคุณวุฒิ  ได้แก่  ผู้บริหารสถานศึกษา  ครูผู้แทนระดับชั้นกลุ่มสาระ  ผู้แทนคณะกรรมการสถานศึกษา  ผู้แทนผู้ปกครอง  ผู้แทนศิษย์เก่า  ผู้แทนชุมชน  เจ้าหน้าที่เขตพื้นที่การศึกษา  และอาจมีผู้แทนนักเรียนและหรือผู้แทนจากกลุ่มวิชาชีพด้วย

                          จำนวนของคณะกรรมการ  อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษา ควรเป็นผู้มีทักษะอย่างดียิ่งในด้านการจัดการองค์กร  เป็นที่นับถือของชุมชน  เป็นที่ยอมรับ เป็นตัวแทนหลักของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานศึกษา  อาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ  ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะได้ตามความเหมาะสม

                       1.3  การทำความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่

                            คณะกรรมการควรเข้าใจ  องค์ประกอบที่สำคัญ  ดังนี้

                            1)  การประเมินเพื่อสำรวจสภาพปัญหาและความจำเป็น                                                           2)  การปรับเป้าหมายและทิศทางการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

                            3)  การพัฒนาหรือเลือกใช้รูปแบบ วิธี  หรือนวัตกรรมการเรียนการสอนที่ตอบสนองสภาพปัญหาและความจำเป็น  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนและบุคลากรทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

                            4)  การจัดกระบวนการเรียนการสอนโดยครูที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสม

                            5)  การพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพของครูและบุคลากร

                            6)  ยุทธศาสตร์และวิธีการทำให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม

                            7)  การพัฒนาระบบข้อมูลการประเมิน

                            8)  แผนการให้ความช่วยเหลือผู้เรียนที่มีปัญหาด้านผลสัมฤทธิ์ตามมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

                            ในการประชุมระยะแรก  มักจะอภิปรายแลกเปลี่ยนแนวคิด  สร้างความสามัคคีและความเข้าใจร่วมกันในเป้าหมายของแต่ละบุคคลและของหมู่คณะ  ก่อนพิจารณามอบหมายบทบาทที่แต่ละบุคคลจะรับผิดชอบต่อไป

                      1.4  การประสานความร่วมมือทางวิชาการ

                           การประสานขอรับความช่วยเหลือทางวิชาการจากผู้เชี่ยวชาญหรือหน่วยงานต้นสังกัดมีความจำเป็น  ฉะนั้นช่วงต้นของการดำเนินการคณะกรรมการจัดแผนควรกำหนดการขอรับความร่วมมือจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  และหรือสถานศึกษาที่มีความเด่นในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพ  มหาวิทยาลัย  และหน่วยงานในเขตพื้นที่  ตลอดจนอาจขอความร่วมมือในการวิเคราะห์ความต้องการและความจำเป็น  การเขียนเป้าหมายที่ดีหรือการเลือกใช้ยุทธศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพ  เป็นต้น

                       1.5  การวางแผนการทำงานของคณะกรรมการ

                            การวางแผนจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาเป็นงาน    ที่ต้องใช้เวลาในการวิเคราะห์  อภิปราย  ทบทวนข้อมูลที่สะท้อนผลลัพธ์  จึงมักใช้เวลาเกือบตลอดปีการศึกษา  คณะกรรมการควรประชุมพิจารณาร่วมกันเพื่อกำหนดกรอบภาระงานและกรอบเวลาให้ชัดเจน  ทำให้เห็นภาพการดำเนินงานตลอดแนว

            ขั้นตอนการเตรียมการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

ดังภาพประกอบ

 

 

การทำความเข้าใจในบทบาทหน้าที่

จัดตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนฯ

เตรียมการ

แต่งตั้งคณะกรรมการ

ประสานความร่วมมือ

วางแผนทำงาน

 

 

 

 

 

 

 

                      ภาพประกอบ    การเตรียมการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

 

            ขั้นที่  2   การประเมินความต้องการและความจำเป็นของสถานศึกษา

                 ขั้นนี้เป็นหัวใจของกระบวนการวางแผน  สถานศึกษาจะได้รู้สภาพปัญหาความต้องการและความจำเป็นของสถานศึกษา  และลำดับประเด็นการพัฒนา  ขั้นตอนนี้เกี่ยวข้องมากกับข้อมูล  เกี่ยวกับการเรียนและผลการเรียนของผู้เรียน  โปรแกรมการจัดการเรียนการสอน  สิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกที่สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษา ขั้นนี้ประกอบด้วยขั้นตอนย่อย 4 ขั้นตอน ดังนี้

                 2.1  การทำความเข้าใจวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา

                 2.2  การจัดทำภาพรวมของสถานศึกษา

                 2.3  การสำรวจความต้องการทางการศึกษาของผู้เรียน

                 2.4  การวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการด้านการศึกษาของผู้เรียน  และกำหนดประเด็นสำคัญการพัฒนา  

                 2.1  การทำความเข้าใจวิสัยทัศน์และพันธกิจของสถานศึกษา

                       การทำความเข้าใจวิสัยทัศน์และพันธกิจ  ดำเนินการได้ 2 แนวทาง คือ

                        1)  เมื่อเริ่มกระบวนการประเมินความต้องการและความจำเป็นโดยการอภิปรายกันภายในกลุ่มถึงเป้าหมาย  ผลการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิด  สิ่งที่จะพัฒนาปรับปรุง  ผลสรุปจากการอภิปรายจะนำไปสู่ความเข้าใจวิสัยทัศน์และพันธกิจได้ชัดเจน

                       2)  หลังการประเมินความต้องการและความจำเป็น  จึงนำข้อมูลที่ได้มาประมวลให้เกิดความเข้าใจวิสัยทัศน์และพันธกิจของสถานศึกษา

                  2.2  การจัดทำภาพรวมของสถานศึกษา

                          ภาพรวมของสถานศึกษา เป็นสังเขปสาระสำคัญของข้อมูลปัจจุบันด้านต่างๆ ของสถานศึกษาที่รวบรวมไว้ ณ แหล่งเดียวกัน  เป็นประโยชน์ต่อคณะจัดทำแผน  ขอบข่ายควรครอบคลุมความพยายามของสถานศึกษาในการพัฒนาคุณภาพพร้อมผลสำเร็จของการดำเนินงาน  และเป้าหมายอันเป็นจุดท้าทายความสามารถที่สถานศึกษาได้กำหนดขึ้นใน  5 ด้าน ต่อไปนี้

                        1)  ผลสัมฤทธิ์และคุณลักษณะของผู้เรียน

                         2)  หลักสูตรและการเรียนการสอน

                        3)  การพัฒนาวิชาชีพ

                        4)  การจัดองค์กรและสิ่งแวดล้อมของสถานศึกษา

                         5)  การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน

                 2.3  การสำรวจความต้องการด้านการศึกษาของผู้เรียน

                        ขั้นตอนนี้จึงเป็นการอภิปราย  เพื่อให้ทราบสภาพปัญหา จุดแข็ง จุดที่ควรพัฒนา  โอกาสและข้อจำกัด  โดยมีข้อมูลที่ถูกต้อง  สมบูรณ์ที่สุด

                        1)  การกำหนดวิธีการและแผนการเก็บข้อมูล  การออกแบบการเก็บข้อมูล  คณะกรรมการจัดทำแผนควรพิจารณา คือ

                             (1) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลมีอยู่แล้วหรือไม่  หากมีอยู่แล้วยังมีความเหมาะสมใช้ได้หรือไม่  หรือควรพัฒนาขึ้นใหม่

                             (2)  เครื่องมือง่ายต่อการใช้เก็บข้อมูลหรือไม่  รูปแบบการเก็บข้อมูลสะดวกต่อการสรุปและวิเคราะห์หรือไม่

                             (3)  พิจารณากลุ่มตัวอย่างและข้อมูลที่เก็บ  รวมทั้งการวางแผนในการวิเคราะห์  และรายงานผลอย่างไร

                             (4)  ข้อมูลที่ต้องการเก็บจากกลุ่มประชากรหรือกลุ่มตัวอย่างมีระบบการสุ่มข้อมูลอย่างไร

                             (5)  มีการวางแผนการรายงานข้อมูลอย่างไร  และนำเสนอข้อมูลด

หมายเลขบันทึก: 498816เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2012 07:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 สิงหาคม 2012 07:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท