การใช้นวกรรมการบริหารการศึกษา


การใช้นวกรรมการบริหารการศึกษา

 

 

 

ภายใต้รูปแบบการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา ในยุคของการบริหารจัดการศึกษาไทยในปัจจุบัน ท่ามกลาง กระแส แห่งความเป็น โลกาภิวัฒน ์ (Globalization) ซึ่งอยู่ภายใต้เงื่อนไขการปรับเปลี่ยนการแข่งขัน เพื่อสร้างข้อได้เปรียบ และความมุ่งมั่นของสังคม ที่ดำเนินไป อย่างรวดเร็ว รุนแรง และมีความ หลากหลายนั้น ต่างก็ส่งผลกระทบต่อวงวิชาชีพ โดยเฉพาะด้านการศึกษา ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการ ปรับเปลี่ยนบริบท และ โครงสร้างการบริหาร ของการบริหารจัดการศึกษาภายใต้สาระแห่งบทบัญญัติ ิของกฎหมายการศึกษา ที่เรียกว่า “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542” เป็นการจัด โครงสร้าง การบริหาร การศึกษา โดยยึดหลักของการ มีเอกภาพเชิงนโยบาย หลากหลาย ในการปฏิบัติ โดยเน้นระบบการกระจายอำนาจ และการยึดหลักการมีส่วนร่วม ของท้องถิ่นเป็นสำคัญ

สาระสำคัญของ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ. ศ. 2542 นั้นได้เสนอแนวคิดและ วิธีการจัดการศึกษาที่ท้าทายหลายด้าน จึงเป็นเสมือนกฎหมายปฏิรูปการศึกษา ดังจะเห็นได้ว่าใน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาตินี้ให้ความสำคัญกับการปฏิรูปในด้านต่างๆ คือ ปฏิรูประบบ การศึกษา ให้สอดรับซึ่งกันและกันทั้งระบบ ปฏิรูปแนวการจัดการศึกษาโดยให้ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ปฏิรูปหลักสูตรและเนื้อหาสาระ วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน ปฏิรูประบบการบริหารและการจัดการศึกษาทั้งหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองท้องถิ่น และเอกชนโดยเน้นเรื่อง การกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วม ปฏิรูประบบครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา มุ่งเน้นให้มีการยกระดับสถานภาพของวิชาชีพครู การพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพครู ปฏิรูประบบทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา เพื่อระดมทรัพยากรมาให้เพื่อการศึกษา ปฏิรูประบบประกัน คุณภาพการศึกษา เน้นเรื่องของการประกันคุณภาพภายในและให้มีการรับรองและประเมินผลมาตรฐานจากองค์กรภายนอก และปฏิรูปสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มุ่งให้มีการผลิตใช้สื่อและเทคโนโลยีในรูปแบบที่หลากหลายที่มีคุณภาพ( สำนักนางปฏิรูปการศึกษา 2544 :15-18)

การปฏิรูปการศึกษามุ่งให้เกิดคุณภาพทั้งในด้านผลผลิต กระบวนการจัดการ และปัจจัยต่างๆ โดยมุ่งหวังให้การจัดการศึกษา พัฒนาทั้งระบบ ( Whole School Approach : WSA) บุคคลที่มี ความสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ก็คือ ผู้บริหารสถานศึกษา เพราะต้อง เป็นผู้นำและผู้ประสานความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่มีความสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการเรียน การสอน และการเรียนรู้ รวมทั้งประสานสัมพันธ์ ระดมและจัดสรรทรัพยากรได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ( สุพล วังสินธ์. 2545 : 29) ผู้บริหารสถานศึกษาจึงเปรียบได้ว่าเป็นจอมทัพสำคัญที่จะนำพาองค์กรให้ก้าวไปในกระแสแห่งการปฏิรูปได้อย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี ผู้บริหารสถานศึกษาในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทางบริบท (Context) หลากหลายส่วนนั้น น่าจะเปรียบได้กับ“ ผู้บริหารมืออาชีพ ” จึงจะเหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบันที่จะทำหน้าที่สำคัญให้ไปสู่เป้าหมายที่พึงประสงค์โดยการกำหนดเป็นยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาสู่การปฏิบัติที่แสดงให้เห็นศักยภาพ คุณภาพ เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารจัดการศึกษาภายในสถานศึกษาแห่งนั้น

นวัตกรรมเพื่อการบริหารสถานศึกษา

 

           การบริหารสถานศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์และยุคของการปฏิรูปการศึกษาและการกระจายอำนาจทางการศึกษาจากส่วนกลางไปสู่ระดับสถานศึกษา ส่งผลให้ผู้บริหารสถานศึกษาต้องใช้ความสามารถและอำนาจในการตัดสินใจ และต้องมีภาวะผู้นำ มีความเป็นมืออาชีพในการบริหารจัดการ  ดังนั้นผู้บริหารสถานศึกษาจึงจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และมีเครื่องมือในการบริหารจัดการ  นวัตกรรม  เป็นเครื่องมือประเภทหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการบริหารสถานศึกษาไปสู่เป้าหมาย  การบริหารสถานศึกษาแนวใหม่จึงจำเป็นต้องนำ นวัตกรรม มาเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการ

           เบื้องต้นจะต้องเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของนวัตกรรม เพื่อจะได้เห็นความสำคัญและความสัมพันธ์กับการบริหารสถานศึกษาต่อไป

ความหมายของนวัตกรรม

          การที่จะรู้จักนวัตกรรมก็จะต้องเข้าใจถึงความหมายของนวัตกรรม เป็นเบื้องต้น ก่อนซึ่งมีผู้ให้ความหมายไว้หลายประการ  ดังนี้

         โธมัส  ฮิวซ์   :  นวัตกรรม เป็นการนำวิธีการใหม่ๆมาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้นๆแล้ว โดยมีขั้นตอนตามลำดับ คือ การคิดค้น การพัฒนา และนำไปปฏิบัติจริง  ซึ่งมีความแตกต่างจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา (กีรติ  ยศยิ่งยง : 2552)

          กีรติ  ยศยิ่งยง  :  นวัตกรรม เป็นกระบวนการสร้างสรรค์ คิดค้น พัฒนา สามารถนำไปปฏิบัติจริง และมีการเผยแพร่ออกสู่ชุมชน ในลักษณะเป็นของใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน  หรือของเก่าที่มีอยู่แต่เดิมแต่ได้รับการปรับปรุงเสริมแต่งพัฒนาขึ้นใหม่ให้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ สามารถนำไปใช้ในเชิงพานิชย์ได้ (กีรติ  ยศยิ่งยง : 2552)

            วรภัทร์  ภู่เจริญ  :  นวัตกรรม คือ เครื่องมืออย่างหนึ่งในความเป็นนักประกอบการมืออาชีพ

                                      :   นวัตกรรม คือ การกระทำต่างๆที่นำเอาทรัพยากรต่างๆมาทำให้เกิดขีดความสามารถใหม่ๆในทางที่ดีขึ้น

                                      :  “ นวต” มาจากคำว่า ใหม่(new หรือ nuvo) เมื่อพ่วงคำว่า  “กรรม” ที่แปลว่า การกระทำ  ลงไป   จะกลายเป็น  การกระทำใหม่ๆ หรือ ผลงานใหม่ๆซึ่งถ้าแปล

นวัตกรรม = การกระทำใหม่ๆดูออกจะแคบเกินไป เพราะนวัตกรรมมีความหมายที่กว้าง และยิ่งใหญ่กว่าแค่ทำอะไรใหม่ๆ

               จากที่กล่าวมาข้างต้น ผู้เขียนคิดว่า  นวัตกรรม  คือ  เครื่องมือ รูปแบบ  วิธีการ ที่สร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ หรือ ปรับปรุง ต่อยอดของเดิมเพื่อใช้ในการแก้ปัญหา  พัฒนาองค์กรให้บรรลุตามเป้าหมาย

               การบริหารสถานศึกษากับนวัตกรรมจึงจำเป็นจะต้องอยู่คู่กันไป  เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในการบริหารจัดการ  และนวัตกรรมในการบริหารมีอยู่หลายประเภท ซึ่งมีนักวิชาการและนักนวัตกรรมได้แบ่งประเภทของนวัตกรรม ไว้ดังนี้

               สำนักนวัตกรรมแห่งชาติ(อ้างใน กีรติ  ยศยิ่งยง : 2552 ) แบ่งประเภทของนวัตกรรมออกเป็น  2  ประเภท คือ

               1.นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product  Innovation) ที่ประกอบไปด้วยนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้ กับผลิตภัณฑ์ที่จับต้องไม่ได้

               2.นวัตกรรมกระบวนการ (Process  Innovation) ที่ประกอบไปด้วยนวัตกรรมกระบวนการทางเทคโนโลยี และนวัตกรรมกระบวนการทางองค์กร

              เชลเวย์ เบคเกอร์ (อ้างใน กีรติ  ยศยิ่งยง : 2552 )  แบ่งนวัตกรรมออกเป็น 3 ประเภท คือ

             1.นวัตกรรมทางสินค้า (Product  Innovation) ในเรื่องเกี่ยวกับการสร้างสินค้าใหม่  การปรับปรุงสินค้าที่มีอยู่ หรือ รวมสินค้าที่มีอยู่เข้าไปในสินค้าใหม่

             2. นวัตกรรมทางกระบวนการ (Process  Innovation) ในเรื่องของการเปลี่ยนวิธีการผลิตสินค้า  รวมถึงรูปแบบการบริหาร หรือเกี่ยวข้องกับส่วนประกอบที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการ ที่มีผลต่อกระบวนการผลิตสินค้าใหม่หรือประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต

              3.นวัตกรรมทางการตลาด (Marketing  Innovation)  ในเรื่องที่เกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ ช่องทางการจัดจำหน่าย หรือการประเมินและการทำนายความต้องการของผู้บริโภค

             วรภัทร์   ภู่เจริญ  (การบริหารนวัตกรรมอย่างยั่งยืนและพอเพียง : 2550)  ได้แบ่งประเภทของนวัตกรรมออกเป็นดังนี้

1.               นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์

2.               นวัตกรรมด้านกระบวนการ

3.               นวัตกรรมด้านการบริการ

4.               นวัตกรรมด้านการตลาด

5.               นวัตกรรมด้านการเงิน

6.               นวัตกรรมด้านภาษา ศิลปะ และวัฒนธรรม

7.               นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ และการปกครอง

8.               นวัตกรรมด้านความศรัทธา ความคิด และความเชื่อ

        Ralph  Kate (การบริหารจัดการนวัตกรรม : 2550)  ได้แบ่งประเภทของนวัตกรรมไว้ดังนี้

           1.นวัตกรรมส่วนเพิ่มและนวัตกรรมที่สร้างความเปลี่ยนแปลงจากเดิมโดยสิ้นเชิง

           2.นวัตกรรมในกระบวนการ

           3.นวัตกรรมในบริการ

        ประเภทของนวัตกรรมที่กล่าวมา  ในทัศนของผู้เขียนคิดว่าประเภทของนวัตกรรมน่าจะแบ่งออกเป็น  5  ประเภทดังนี้

          1.นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ  เป็นการสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหา หรือ เพื่อการพัฒนาองค์กรในการบริหารจัดการที่นำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย

 2.นวัตกรรมด้านการศึกษา ตามศาสตร์สาขาต่างๆ  เป็นนวัตกรรมที่ส่งเสริมการจัดการศึกษาในศาสตร์สาขาต่างๆเพื่อให้ผู้เรียน ผู้ศึกษาในระดับต่างๆมีความรู้ ความเข้าใจ เกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้องและเร็วขึ้น

          3.นวัตกรรมด้านกระบวนการ เป็นการสร้างนวัตกรรมเพื่อให้มีกระบวนการในการดำเนินการเรื่องต่างๆให้ง่ายและรวดเร็วขึ้นและประสบความสำเร็จในการดำเนินการ

         4.นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์  เป็นนวัตกรรมที่ส่งเสริมการผลิตที่สร้างสรรค์  แปลกใหม่  เหมาะกับบุคคลและยุคสมัยสะดวกในการใช้งาน

          5.นวัตกรรมด้านการตลาดและการบริการ  เป็นนวัตกรรมในการนำเสนอการขาย  การจำหน่ายสินค้า ผลิตภัณฑ์ต่างๆ  และการให้บริการที่เป็นที่พึงพอใจของผู้รับบริการ

         จากประเภทนวัตกรรมที่สรุปเป็นเบื้องต้น  ก็มีหลักการ  แนวคิด  ทฤษฎีที่เป็นหลักคิดหลักการบริหารที่ผู้บริหารสถานศึกษา  นำมาใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษา  ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่สำคัญอีกประเภทหนึ่งในการบริหารสถานศึกษาไปสู่  วิสัยทัศน์ และเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งเครื่องมือ  หลักการ  แนวคิด  ทฤษฎี ที่เป็น นวัตกรรม  ในการบริหารดังกล่าว อธิเช่น

         1.การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน(School  Based  Management)  การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  เป็นรูปแบบและแนวคิดการบริหารที่ต้องการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาจากส่วนกลาง หรือจากเขตพื้นที่การศึกษาไปยังสถานศึกษาโดยตรง  ทำให้สถานศึกษามีอำนาจและความรับผิดชอบในการบริหารตนเองในลักษณะเชิงเบ็ดเสร็จ  มีความคล่องตัวและอิสระมากขึ้นในการตัดสินใจสั่งการเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาในทุกด้านที่เกี่ยวกับภารกิจทั้งในด้านวิชาการและหลักสูตร การเงินและการงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป (อุทัย  บุญประเสริฐ : 2546 อ้างถึงใน เทคนิคการบริหาร สำหรับ นักบริหารการศึกษามืออาชีพ ,วีระยุทธ  ชาตะกาญจน์ :2552)

         2.การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์(Result  Based  Management)ทิพาวดี เมฆสวรรค์( อ้างถึงใน เทคนิคการบริหาร สำหรับ นักบริหารการศึกษามืออาชีพ,วีระยุทธ  ชาตะกาญจน์ :2552)ได้ให้ความหมายของ  การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์  ว่าเป็นการบริหารโดยมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์หรือความสัมฤทธิ์ผลเป็นหลัก  ใช้ระบบการประเมินผลงานที่อาศัยตัวชี้วัดเป็นตัวสะท้อนผลงานให้ออกมาเป็นรูปธรรม  เพื่อการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการการปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้นและแสดงผลงานต่อสาธารณะ

         3.การประกันคุณภาพการศึกษา   คุณภาพการศึกษา หมายถึง คุณลักษณะของการจัดการศึกษาที่เป็นไปตามมาตรฐานของหลักสูตร ซึ่งก่อให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพ โดยพิจารณาจากตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานว่ามีความสอดคล้องกับที่ได้กำหนดไว้เป็นอย่างดี  ทั้งนี้ต้องก่อให้เกิดความพึงพอใจแก่ผู้มารับบริการ อันได้แก่  นักเรียน และผู้ปกครอง อีกทั้งยังเป็นการตอบสนองความต้องการของสังคมที่ต้องการผู้สำเร็จการศึกษาที่มีความรู้ความสามารถ (วีระยุทธ ชาตะกาญจน์ : 2552)

        4.การจัดการความรู้  เป็นทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปะศาสตร์ที่ผสมผสานกัน โดยยากที่จะให้คำจำกัดความที่ชัดเจน แต่อาจสรุปให้เกิดความเข้าใจง่ายๆ คือ การจัดการความรู้จะเป็นกระบวนการที่มีความสลับซับซ้อน ในการที่จะนำความรู้ที่มีอยู่มาสร้าง ขยายผล แบ่งปัน จัดเก็บ และใช้ประโยชน์ (ภารดร  จินดาวงศ์ : 2549)

      จากที่กล่าวมาข้างต้น เป็นเพียง  เครื่องมือ  หลักการ  แนวคิด  ทฤษฎี ที่เป็น นวัตกรรม  ในการบริหารส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังคงมีอีกเป็นจำนวนมาก  ทั้งนี้การนำไปใช้ เป็นนวัตกรรมในการบริหารจัดการสถานศึกษา ต้องขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับปัญหา บริทบทต่างๆของสถานศึกษานั้นๆ  ซึ่ง นวัตกรรม  แนวคิด  หลักการต่างๆที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการ สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งคือจะต้องเหมาะสมกับสภาพปัญหา  บริบทและความพร้อมของสถานศึกษานั้นๆ

     สถานศึกษาที่จะนำนวัตกรรม มาใช้เพื่อการบริหาร ให้ได้ผลดีมีความจำเป็นที่สถานศึกษานั้นจะต้องมีลักษณะขององค์กรเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมด้วย  ซึ่งนักวิชาการได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับองค์กรแห่งนวัตกรรม ไว้ดังนี้

     กานต์  ตระกูลฮุน:2551 (อ้างถึงในองค์กรแห่งนวัตกรรม แนวคิดและกระบวนการ ,กีรติ  ยศยิ่งยง :2552)  ได้อธิบายไว้ว่า  องค์กรแห่งนวัตกรรม เป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญใน การผลักดันธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน  ทั้งในด้านการคิดพัฒนาสินค้า บริการรูปแบบธุรกิจ กระบวนการทำงาน  และการสร้างบุคลากรในทุกระดับ

    กีรติ   ยศยิ่งยง : 2552  ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับ องค์กรแห่งนวัตกรรม ไว้ดังนี้ องค์กรแห่งนวัตกรรม เป็นแนวคิดการบริหารจัดการองค์กรแนวใหม่   ในการปรับเปลี่ยนคุณลักษณะองค์กร หรือปรับเปลี่ยนพฤตติกรรมองค์กร  ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยปรับเปลี่ยนมาก่อน เพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าของบริบทโลกาภิวัตน์ที่มีความรู้และนวัตกรรมเป็นปัจจัยหลักในการเพิ่มคุณค่า  พัฒนา ผลิตสินค้าและบริการที่ดีมีคุณภาพเพื่อตอบสนองความต้องการ และความพึงพอใจของลูกค้า ความอยู่รอด และความสามารถเชิงการแข่งขันขององค์กรในตลาดการค้าโลกเสรี

     จากที่กล่าวมาข้างต้น ในทัศนของผู้เขียน คิดว่า  องค์กรแห่งนวัตกรรม  เป็นองค์กรที่มีความพร้อมของบุคคลและบริบทขององค์กร ที่ความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงไปสู่การพัฒนาการเป็นองค์กรที่มีความเป็นเลิศ โดยการใช้นวัตกรรมต่างๆเป็นเครื่องมือในการพัฒนา

     องค์กรจะใช้นวัตกรรมเพื่อการบริหารสถานศึกษาได้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย การดำเนินการให้องค์กรพร้อมที่จะเป็น องค์กรแห่งนวัตกรรม เป็นปัจจัยที่สำคัญในการนำนวัตกรรมมาใช้เพื่อการบริหาร  หากองค์กรไม่มีความพร้อมในการรองรับนวัตกรรมทั้งในด้านบุคลากรและบริบทต่างๆขององค์กร ก็ไม่สามารถนำนวัตกรรมมาใช้เพื่อการบริหารเพื่อนำองค์กรหรือสถานศึกษาไปสู่ความสำเร็จ

   สรุป นวัตกรรมเพื่อการบริหารสถานศึกษา  เป็นเครื่องมือหนึ่งในการบริหารจัดการซึ่งการนำไปใช้จะประสบความสำเร็จหรือไม่ ขึ้นอยู่กับปัจจัยและบริบทต่างๆอีกหลายประการ ผู้บริหารสถานศึกษา บุคลากร ทีมงานต้องมีองค์ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมในการบริหารที่นำมาใช้ สามารถปฏิบัติได้  ถ่ายทอดเป็น และองค์กรหรือสถานศึกษาต้องมีความพร้อมในการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม  ในการรองรับนวัตกรรมเพื่อการบริหารสถานศึกษาต่อไป

การจัดการความรู้เพื่อการบริหารโรงเรียน

นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก

 การจัดการความรู้ในสถานศึกษา

ในสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้  (Knowledge-base Society and Economy)  ภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ (Globalization)  มีผลกระทบถึงการจัดการศึกษาในระดับโรงเรียนที่ต้องตอบสนองการผลิตผู้เรียนให้มีคุณภาพ  ได้มาตรฐานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  และต่อเนื่องประกอบกับวัฒนธรรมของชาติไทยที่เป็นผู้มีความเป็นอยู่เรียบง่าย  เช่น  สังคมเกษตรกรรมมีความเอื้ออาทรสูง  มีน้ำใจโอบอ้อมอารี  โรงเรียนต้องอยู่ท่ามกลางภาวการณ์เปลี่ยนแปลงพร้อมกับเป็นความหวังของสังคม  ในการถ่ายทอดวัฒนธรรมจากรุ่นบรรพบุรุษถึงเยาวชนรุ่นต่อไป  ให้ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ได้อย่างมีคุณภาพ  การศึกษาในปัจจุบันจะต้องปรับเปลี่ยนไปทิศทางใด  จึงได้มีการกำหนดแนวนโยบายแห่งรัฐในการวางแนวทางให้โรงเรียนพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง  โดยกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  พ.ศ. 2546   มาตรา  11    มีสาระสำคัญกำหนดให้  ส่วนราชการพัฒนาความรู้ในส่วนราชการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถสร้างวิสัยทัศน์และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน    ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการให้สอดคล้องกับการบริหารราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ 

         ในส่วนของสถานศึกษาบุคลากรทางการศึกษาไม่ว่าจะเป็นครู  ผู้บริหารสถานศึกษา ตลอดจนผู้บริหารการศึกษา จะต้องสนใจในด้านข้อมูลข่าวสาร  ซึ่งเป็นความรู้ที่มาจากแหล่งต่าง ๆ โดยที่ผู้ที่มีข้อมูลข่าวสารมากก็จะกลายเป็นผู้ที่มีความทันสมัย อยู่ในยุคของสังคมฐานความรู้ คือการใช้ความรู้เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจ และปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ เพราะความรู้เกิดจากปัญญา  การค้นหา  ศึกษาค้นคว้า มีการวิเคราะห์วิจัย  เพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่แท้จริง เชื่อถือได้  สามารถนำไป ปฏิบัติได้  บุคลากรทางการศึกษาจึงเป็นผู้มีความรู้ และรู้จักแสวงหาความรู้จนได้เป็นผู้ชำนาญการหรือเชี่ยวชาญ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่บุคลากรทางการศึกษาต้องมีความสามารถและทักษะในการจัดการความรู้

          คำว่า “การจัดการความรู้  ( Knowledge Management)” เป็นกระบวนการของการสร้างคุณค่าจากทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ขององค์กร คือ ทุนทางปัญญา  รวมทั้งทุนมนุษย์ ทุนทางโครงสร้าง และทุนความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล    ซึ่งมีผู้ให้ความหมายของการจัดการความรู้ดังนี้

          วิจารณ์  พานิช ( 2548 : 63) กล่าวว่า  การจัดการความรู้เป็นการเรียนรู้แบบใหม่ที่เรียนจากการปฏิบัติเป็นตัวนำ เป็นตัวเดินเรื่อง ไม่ใช่แค่เรียนจากครูหรือตำรา ตำรานั้นเป็นการเรียนรู้แบบเก่า ซึ่งเน้นเรียนรู้แบบเก่า และเน้นเรียนทฤษฏี ขณะที่การเรียนรู้ แบบ KM  ก็เป็นทฤษฏีแต่ว่าเน้นที่การเรียนรู้แบบปฏิบัติ เพราะการปฏิบัติทำให้เกิดประสบการณ์ การจัดการความรู้ไม่ใช่เรื่องของคนๆ เดียวเป็นเรื่องของคนหลายคนที่ทำงานร่วมกัน เพราะฉะนั้นเวลาปฏิบัติแต่ละคนจะมีประสบการณ์ไม่เหมือนกัน เมื่อนำมาแลกเปลี่ยนกันแล้ว อาจเห็นส่วนที่เหมือนกัน ซึ่งจะเป็นการยืนยันว่าเข้าใจตรงกันเมื่อเอาแลกเปลี่ยนกันมากๆ จะทำให้ยกระดับความรู้ความเข้าใจขึ้นไปอีกจะเห็นว่าการจัดการความรู้เราจะเน้นที่การเรียนรู้จากการปฏิบัติ แล้วก็เน้นตัวความรู้ที่เป็นความรู้ใจคนหรือที่เรียกว่า Tacit Knowledge ทั้งนี้ ความรู้จากเอกสารตำรา หรือที่เรียกว่า Explicit Knowledge นั้นก็สำคัญ เพียงแต่ว่าเรามักจะละเลยความรู้ที่อยู่ในคน

          เกรียงศักดิ์  เจริญวงศ์ศักดิ์ (2547 : 63) กล่าวว่า การจัดการความรู้ คือความรู้เกิดจากการประมวลสังเคราะห์ และจำแนกแยกแยะสารสนเทศ เพื่อนำไปสู่การตีความและทำความเข้าใจกับสารสนเทศ เหล่านั้นจนกลายเป็นความรู้ ซึ่งความรู้นี้ครอบคลุมทั้งส่วนของความรู้โดยนัย (Tacit Knowledge) ที่ซ่อนอยู่ในความคิดของพนักงาน และที่ฝังตัวอยู่ในองค์กรกับความรู้แจ้งชัด (Explicit Knowledge) ที่ปรากฏในเอกสารที่บันทึกหรือรายงานต่างๆ ขององค์กร การจัดการความรู้ทั้งสองประเภทนี้ ให้เป็นระบบระเบียบ เพื่อให้คนที่ต้องการเข้าถึงได้ง่าย และดึงออกมาใช้งานได้ โดยสะดวกการจัดการความรู้จะเกิดขึ้นในระดับทีมงาน หรือระดับกลุ่มในองค์กรที่ต้องการปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกแต่ละคน เพราะการจัดการความรู้จะเกิดขึ้นได้ ต่อเมื่อมีการปฏิสัมพันธ์ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างทีม ซึ่งอาจเป็นปฏิสัมพันธ์บนเครือข่าย Cyber Space หรืออาจผ่านการพบปะพูดคุยกันต่อหน้าก็ได้

            ศุภามนต์  ศุภกานต์ (2547: 28-29) กล่าวว่าการจัดการความรู้เป็นเรื่องของการที่องค์กรหนึ่งจะสกัดคุณค่าจากทรัพย์สินทางปัญญาของคนออกมาให้ประโยชน์อย่างสูงสุดได้อย่างไรจุดสำคัญสำหรับการริเริ่มเกี่ยวกับ KM คือ ความรู้ที่ถือว่ามีค่าสำหรับองค์กรมักจะเกี่ยวข้องกับประสบการณ์ ทัศนคติและพฤติกรรมของบุคคลเป็นส่วนใหญ่

          บุญดี  บุญญากิจ และคนอื่นๆ (2547: 3 ก) กล่าวว่าการจัดการความรู้เป็นกระบวนการในการนำความรู้ที่มีอยู่ หรือเรียนรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร โดยผ่านกระบวนการต่างๆเช่น การสร้าง รวบรวม แลกเปลี่ยน และใช้ความรู้ เป็นต้

         อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์ (2549 : ก) กล่าวว่า การจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นกระบวนการที่สำคัญที่จะทำให้คนรู้จักหาความรู้ และนำความรู้มาใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบ การจัดการความรู้จำเป็นต้องมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (Continuous Learning) อยู่ตลอดเวลา เพราะการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องจะทำให้เป็นคน ที่มีโลกทัศน์และวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล รู้ว่าควรทำอะไรไม่ควรทำอะไรในช่วงเวลาไหน รับรู้ถึงข้อดีข้อเสียจากการเลือกปฏิบัติในแนวทางใดทางหนึ่ง ซึ่งความสามารถต่างๆ เหล่านี้เองที่จะสะท้อนถึงคุณค่า (Value) ของตัวคุณที่คุณเองในฐานะของพนักงานอาจไม่เห็นผลชัดเจนในช่วงเวลานี้ แต่หากคุณเติบโตก้าวหน้าเป็นผู้บริหารแล้วล่ะก็ ความสามารถต่างๆ นี้จะทำให้คุณมีข้อได้เปรียบเหนือกว่า คนอื่น และนั่นก็หมายความว่าคุณจะมีผลการปฏิบัติงานที่ดี และมีศักยภาพในการทำงานในตำแหน่งงานที่สูงขึ้นต่อไป

           ประชุม  โพธิกุล และวารินทร์  สินสูงสุด (2548: 4) กล่าวว่าการจัดการความรู้ในสถานศึกษา มีหลักของการจัดการความรู้มี 2 ส่วน ส่วนหนึ่งสถานศึกษาตระหนักดีว่าความสำคัญขององค์การคือ รู้ว่าองค์การรู้อะไร สถานศึกษาทุกแห่งมี การเก็บ เข้าถึง และส่งมอบความรู้อยู่แล้วโดยการจัดความรู้มาแบ่งปัน และส่งมอบจากสถานศึกษาสู่ผู้เรียนในอีกส่วนหนึ่งเป็นการจัดการที่อำนวยประโยชน์ของความรู้แก่ครู และบุคลากรทางการศึกษา การจัดการความรู้ของสถานศึกษาจึงเป็นการเสาะหา ค้นพบ จับความรู้มาเก็บ กลั่นกรอง จัดเตรียมแบ่งปันและใช้ความรู้ทั่วทั้งองค์การสามารถร่วมแรงร่วมใจ แบ่งปันและใช้ความรู้ในทุกส่วนของสถานศึกษาจึงเป็นการใช้ความรู้อย่างมีประสิทธิผล

           สรุปได้ว่า การจัดการความรู้ Knowledge Management (KM) หมายถึง การรวบรวมความรู้สู่การปฏิบัติ (Tacit Knowledge) ซึ่งเป็นความรู้ที่เกิดจาก การเรียนรู้ เจตคติในงาน ประสบการณ์การทำงาน และพฤติกรรมการทำงานของแต่ละบุคคล ซึ่งปฏิบัติงานเรื่องเดียวกันหรือคนละเรื่องแล้วประชุมหรือสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เมื่อรวบรวมแล้วก็มีการนำความรู้ที่ได้มาสังเคราะห์ วิเคราะห์ (Analysis) หรือจัดระบบใหม่ เพื่อสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ ยอมรับข้อดีและจุดที่เป็นปัญหาของกันและกัน มีการจัดเก็บข้อสรุปทั้งมวลอย่างเป็นระบบเพื่อนำไปสู่การยอมรับในกฎกติกาขององค์กรที่ทุกคนยอมรับ แล้วนำมาเผยแพร่ความรู้เพื่อให้เกิดการต่อยอดความรู้หรือสร้างประโยชน์จากความรู้และนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและองค์กร รวมทั้งเป็นแบบอย่างต่อหน่วยงานอื่น อันจะยังประโยชน์ใน วงวิชาการและงานการศึกษาต่อไป

            สถานศึกษาเป็นหน่วยสำคัญที่สุดในการจัดการศึกษา  เนื่องจากโรงเรียนมีหน้าที่จัด การเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ โดยมีผู้บริหารโรงเรียนและครูเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินงานคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนจะต่ำหรือสูงจึงขึ้นอยู่กับผู้บริหารและครูเป็นสำคัญ   โดยเฉพาะการจัดการเรียนรู้ของครูจะต้องอาศัยความรู้และกระบวนการที่เหมาะสมในการจัดการความรู้  ซึ่งจะต้องดำเนินงานร่วมกับนักเรียน ผู้บริหารโรงเรียน และชุมชน ทั้งในฐานะผู้ปฏิบัติ ผู้นำ ผู้ร่วมมือ ดังนั้น บทบาทในการจัดการความรู้ของครูจึงอาจกล่าวได้ดังนี้

                1.  การจัดการความรู้ของตนเอง เป็นการจัดการความรู้ในระดับบุคคล ในฐานะผู้นำในการจัดการเรียนการสอนและทำงานร่วมกับผู้เรียน ครูผู้อื่นในโรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียน และชุมชน

                2.  การจัดการความรู้ในชั้นเรียน เป็นการจัดการความรู้ร่วมกับผู้เรียนในชั้นเรียน โดยเป็นผู้นำ ผู้สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดกระบวนการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน

                3.  การจัดการความรู้ของโรงเรียน เป็นการจัดการความรู้ระดับองค์กร โดยร่วมมือกับผู้บริหารโรงเรียน คณะครู และนักเรียน เพื่อให้โรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

                4.  การจัดการความรู้ในชุมชน เนื่องจากโรงเรียนเป็นส่วนสำคัญของชุมชนมีบทบาทหน้าที่จัดการศึกษาเพื่อสนองความต้องการของชุมชน   รวมทั้งมีบทบาทในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนครูจึงมีบทบาทร่วมกับโรงเรียนในการจัดการความรู้ในชุมชน

               เมื่อครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญและมีความจำเป็นจะต้องเป็นครูจัดการความรู้ในระดับต่าง ๆ  ครูจะต้องพัฒนาตนเองให้มีความสามารถและทักษะในการจัดการความรู้สูงขึ้น  ซึ่งมีเทคนิคสามารถกระทำได้ ดังต่อไปนี้

                1. ขั้นการกำหนดความรู้ ครูจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน ศึกษาวิเคราะห์หลักสูตรแต่ละระดับ เพื่อนำมากำหนดความรู้ที่ต้องการในการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งให้ความร่วมมือกับโรงเรียน และบุคคลอื่นในการคิดวางแผน กำหนดความรู้ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน

                2. ขั้นการแสวงหาความรู้ ครูจะต้องตระหนักถึงความสำคัญของการแสวงหาความรู้ พัฒนาความรู้สามารถของตนเองให้เข้าถึงความรู้  โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  การแสวงหาความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ  ภูมิปัญญาท้องถิ่น และเพื่อนร่วมงานโดยการยอมรับในความรู้ความสามารถซึ่งกันและกัน

                3. ขั้นการสร้างความรู้ ครูจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมสร้างความรู้  นวัตกรรมของสถานศึกษา  เข้าร่วมประชุมสัมมนา ประชุมปฏิบัติการเกี่ยวกับการเรียนการสอนที่หน่วยงานต่าง ๆ จัดขึ้น เช่น การประชุมทางวิชาการเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน เป็นต้น

                4.ขั้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครูจะต้องเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพทั้งใน

สถานศึกษาและนอกสถานศึกษา และเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สมาคมหรือชมรมทางวิชาชีพครู จัดขึ้นอยู่เสมอ รวมทั้ง ดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในลักษณะอื่น ๆ เช่น การเขียนบทค

หมายเลขบันทึก: 498815เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2012 06:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 สิงหาคม 2012 06:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท