การบริหารงบประมาณ


การบริหารงบประมาณ

การบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษามุ่งเน้นความเป็นอิสระ ในการบริหารจัดการมีความคล่องตัว โปร่งใส ตรวจสอบได้ ยึดหลักการบริหารมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์และบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ให้มีการจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของสถานศึกษา รวมทั้งจัดหารายได้จากบริการมาใช้บริหารจัดการเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา ส่งผลให้เกิดคุณภาพที่ดีขึ้นต่อผู้เรียน

วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้สถานศึกษาบริหารงานด้านงบประมาณมีความเป็นอิสระ คล่องตัว โปร่งใส

ตรวจสอบได้

2.เพื่อให้ได้ผลผลิต ผลลัพธ์เป็นไปตามข้อตกลงการให้บริการ

3.เพื่อให้สถานศึกษาสามารถบริหารจัดการทรัพยากรที่ได้อย่างเพียงพอและมี

ประสิทธิภาพ

ขอบข่าย / ภารกิจ

  1. การจัดทำและเสนอของบประมาณ
  2. การวิเคราะห์และพัฒนานโยบายทางการศึกษา แนวทางการปฏิบัติ
  3. วิเคราะห์ทิศทางและยุทธศาสตร์ของหน่วยงานเหนือสถานศึกษา
  4. ศึกษาข้อตกลงผลการปฏิบัติงานและเป้าหมายการให้บริการสาธารณะทุกระดับ
  5. ศึกษาวิเคราะห์ วิจัยการจัดและพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาตามกรอบทิศทาง

ของเขตพื้นที่การศึกษา และตามความต้องการของสถานศึกษา

  1. วิเคราะห์ผลการดำเนินงานของสถานศึกษาตามข้อตกลงที่ทำกับเขตพื้นที่การศึกษา

ด้านปริมาณ คุณภาพ เวลา ตลอดจนต้นทุน ซึ่งต้องคำนวณต้นทุนผลผลิตขององค์กร และผลผลิตงาน / โครงการ

  1. จัดทำข้อมูลสารเทศผลการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เพื่อใช้ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม

ที่มีผลกระทบต่อการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

  1. เผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศให้เขตพื้นที่การศึกษา และสาธารณะชนรับทราบ

การจัดทำแผลกลยุทธ์หรือแผนพัฒนาการศึกษา

แนวทางการปฏิบัติ

1.  ทบทวนภารกิจการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และศึกษารายงานข้อมูลสารสนเทศ

ที่เกี่ยวข้อง

2.  วิเคราะห์สภาพแวดล้อมของสถานศึกษาที่มีผลกระทบต่อการจัดการศึกษาและ

ประเมินสภานภาพของสถานศึกษา

3.  กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ ของสถานศึกษา

  1. กำหนดกลยุทธ์ของสถานศึกษา
  2. กำหนดผลผลิต ผลลัพธ์ และตัวชี้วัดความสำเร็จ โดยจัดทำเป็นข้อมูลสารสนเทศ
  3. กำหนดเป้าหมายระยะปานกลางของผลผลิตในเชิงปริมาณ คุณภาพ และผลลัพธ์

ที่สอดคล้องกับผลการปฏิบัติงานของสถานศึกษาที่จะทำร่างข้อตกลงกับเขตพื้นที่การศึกษา

  1. จัดทำรายละเอียดโครงสร้าง แผนงาน งาน / โครงการ และกิจกรรมหลัก
  2. จัดให้ฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุงและนำเสนอขอความเห็นต่อ

คณะกรรมการสถานศึกษา

  1. เผยแพร่ประกาศต่อสาธารณชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง

 

 

การวิเคราะห์ความเหมาะสมการเสนอของบประมาณ

แนวทางการปฏิบัติ

1.  จัดทำรายละเอียดแผนงบประมาณ แผนงาน งานโครงการ

  1. จัดทำกรอบประมาณการรายจ่ายระยะปานกลาง
  2. จัดทำคำขอรับงบประมาณของสถานศึกษาและกรอบประมาณการรายจ่ายระยะ

ปานกลางเสนอต่อเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อพิจารณาความเหมาะสมสอดคล้องเชิงนโยบาย

  1. จัดทำร่างข้อตกลงบริการผลผลิตของสถานศึกษาที่จะต้องทำกับเขตพื้นที่การศึกษา

เมื่อได้รับงบประมาณการจัดสรรงบประมาณ

การจัดสรรงบประมาณในสถานศึกษา

แนวทางการปฏิบัติ

1.  จัดทำข้อตกลงบริการผลผลิตของสถานศึกษากับเขตพื้นที่การศึกษาเมื่อได้รับงบประมาณ

  1. ศึกษาข้อมูลการจัดสรรงบประมาณที่สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานแจ้งผ่าน

เขตพื้นที่การศึกษา แจ้งให้สถานศึกษาทราบในเรื่องนโยบาย แผนพัฒนา มาตรฐานการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน หลักเกณฑ์ ขั้นตอน และวิธีการจัดสรรงบประมาณ

  1. ตรวจสอบกรอบวงเงินงบประมาณที่ได้รับจากหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรที่เขตพื้นที่

การศึกษาแจ้ง ตลอดจนตรวจสอบวงเงินนอกงบประมาณที่ได้จากแผนการระดมทรัพยากร

  1. วิเคราะห์กิจกรรมตามภารกิจที่จะต้องดำเนินการตามมาตรฐานโครงสร้างสายงาน และ

ตามแผนงาน งานโครงการของสถานศึกษา เพื่อจัดลำดับความสำคัญ และกำหนดงบประมาณ ทรัพยากรของแต่ละสายงาน งานโครงการ ให้เป็นไปตามกรอบวงเงินงบประมาณที่ได้รับและวงเงินนอกงบประมาณตามแผนระดมทรัพยากร

  1. ปรับปรุงกรอบงบประมาณรายจ่ายระยะปานกลาง ให้สอดคล้องกับรอบวงเงินที่ได้รับ
  2. จัดทำรายละเอียดแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ ซึ่งระบุแผนงาน งานโครงการที่

สอดคล้องวงเงินงบประมาณที่ได้รับและวงเงินนอกงบประมาณที่ได้ตามแผนระดมทรัพยากร

  1. จัดทำข้อร่างตกลงผลผลิตของหน่วยงานภายในสถานศึกษา และกำหนดผู้รับผิดชอบ

 

  1. นำเสนอแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ และร่างข้อตกลงผลผลิตขอความเห็นชอบ

คณะกรรมการสถานศึกษา

  1. แจ้งจัดสรรวงเงิน และจัดทำข้อตกลงผลผลิตให้หน่วยงานภายในสถานศึกษารับไป

ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ

การเบิกจ่ายและการอนุมัติงบประมาณ

แนวทางการปฏิบัติ

  1. จัดทำแผนการใช้งบประมาณรายไตรมาสโดยกำหนดปฏิทินปฏิบัติงานรายเดือน

ให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณแล้วสรุปแยกเป็นรายไตรมาสเป็นงบบุคลากร งบอุดหนุน งบลงทุน และงบดำเนินการ

2.  เสนอแผนการใช้งบประมาณ วงเงินรวมเพื่อขออนุมัติเงินประจำงวดเป็นรายไตรมาสผ่าน

เขตพื้นที่การศึกษาไปยังคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานรวบรวมเสนอต่อสำนักงบประมาณ

  1. เบิกจ่ายงบประมาณประเภทต่างๆ ให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการประจำปี และอนุมัติการ

ใช้งบประมาณของสถานศึกษาตามประเภทและรายการตามที่ได้รับงบประมาณ

การโอนเงินงบประมาณ

แนวทางการปฏิบัติ

การโอนเงิน ให้เป็นไปตามขั้นตอนและวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด

-                   การตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการใช้เงินและผลการดำเนินงาน

การตรวจสอบติดตามการใช้เงินและผลการดำเนินงาน

แนวทางการปฏิบัติ

1.  จัดทำแผนการตรวจสอบ ติดตามการใช้เงินทั้งเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ

ของสถานศึกษาให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ และแผนการใช้งบประมาณรายไตรมาส

2.  จัดทำแผนการตรวจสอบ ติดตามผลการดำเนินงานตามข้อตกลงการให้บริการผลผลิต

ของสถานศึกษาให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ และแผนการใช้งบประมาณรายไตรมาส

  1. จัดทำแผนการกำกับตรวจสอบติดตามและป้องกันความเสี่ยงสำหรับโครงการที่มี

ความเสี่ยงสูง

  1. ประสานแผนและดำเนินการตรวจสอบ ติดตาม และนิเทศให้เป็นไปตามแผนการ

ตรวจสอบ ติดตามของสถานศึกษา โดยเฉพาะโครงการที่มีความเสี่ยงสูง

  1. จัดทำข้อสรุปการตรวจสอบ ติดตามและนิเทศ พร้อมทั้งเสนอข้อปัญหาที่อาจทำให้

การดำเนินงานไม่ประสบผลสำเร็จ

  1. รายงานผลการดำเนินการตรวจสอบต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
  2. สรุปข้อมูลสารสนเทศที่ได้และจัดรายงานข้อมูลการใช้งบประมาณผลการดำเนินงาน

ของสถานศึกษาเป็นรายไตรมาสต่อเขตพื้นที่การศึกษา

การประเมินผลการใช้เงินและผลการดำเนินงาน

แนวทางการปฏิบัติ

1.  กำหนดปัจจัยหลักความสำเร็จ และตัวชี้วัดของสถานศึกษา

2.  จัดทำตัวชี้วัดความสำเร็จของผลผลิตที่กำหนดตามข้อตกลงการให้บริการผลผลิตของสถานศึกษา

3.  สร้างเครื่องมือเพื่อการประเมินผล ผลผลิตตามตัวชี้วัดความสำเร็จที่กำหนดไว้ตาม

ข้อตกลงการให้บริการผลผลิตของสถานศึกษา

  1. ประเมินผลแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษาและจัดทำรายงาน

ประจำปี

6.  รายงานผลการประเมินต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและเขตพื้นที่การศึกษา

7.  การระดมทรัพยากร และการลงทุนเพื่อการศึกษา

การจัดการทรัพยากร

แนวทางการปฏิบัติ

1.  ประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานภายในสถานศึกษา และสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา

ทราบรายการสินทรัพย์ของสถานศึกษาเพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกัน

2. วางระบบการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพร่วมกับบุคคลและหน่วยงานทั้งภาครัฐ

และเอกชน

3.  สนับสนุนให้บุคลากรและสถานศึกษาร่วมมือกันใช้ทรัพยากรในชุมชนให้เกิดประโยชน์

ต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา

การระดมทรัพยากร

แนวทางการปฏิบัติ

  1. ศึกษา วิเคราะห์ กิจกรรมและภารกิจ งาน / โครงการ ตามกรอบประมาณการระยะ

ปานกลาง

  1. สำรวจข้อมูลนักเรียนที่มีความต้องการได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษาตามเกณฑ์

การรับทุนทุกประเภท

  1. ศึกษา วิเคราะห์ แหล่งทรัพยากร บุคคล หน่วยงาน องค์กร และท้องถิ่นที่มีศักยภาพ

ให้การสนับสนุนการจัดการศึกษา

4.  จัดทำแผนการระดมทรัพยากรทางการศึกษาและทุนการศึกษา

5.  เสนอแผนการระดมทรัพยากรทางการศึกษา และทุนการศึกษาต่อคณะกรรมการ

สถานศึกษาเพื่อขอความเห็นชอบและดำเนินการในรูปคณะกรรมการ

6. เก็บรักษาเงินและเบิกจ่ายไปใช้ตามแผนปฏิบัติการประจำปีที่ต้องการใช้เงินเพิ่มเติมให้

เป็นไปตามระเบียบของทุนการศึกษาและระเบียบว่าด้วยเงินนอกงบประมาณทั้งตามวัตถุประสงค์และไม่กำหนดวัตถุประสงค์

การจัดหารายได้และผลประโยชน์

แนวทางการปฏิบัติ

  1. วิเคราะห์ศักยภาพของสถานศึกษาที่ดำเนินการจัดหารายได้และสินทรัพย์ในส่วนที่

จะนำมาซึ่งรายได้และผลประโยชน์ของสถานศึกษาเพื่อจัดทำทะเบียนข้อมูล

2.  จัดทำแนวปฏิบัติหรือระเบียบของสถานศึกษาเพื่อจัดหารายได้ และบริหารรายได้และผลประโยชน์ตามแต่สภาพของสถานศึกษาโดยไม่ขัดต่อกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

3.  จัดหารายได้และผลประโยชน์ และจัดทำทะเบียนคุมเก็บเงินรักษาเงินและเบิกจ่าย

ให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา

แนวทางการปฏิบัติ

1.  สำรวจประเภทกองทุน และจัดทำข้อมูลยอดวงเงินและหลักเกณฑ์ของแต่ละกองทุน

2.  สำรวจความต้องการของนักเรียนและคัดเลือกเสนอให้กู้ยืมตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

3.  ประสานการกู้ยืมกับหน่วยปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง

4.  สร้างความตระหนักแก่ผู้กู้ยืม

5.  ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และรายงานการดำเนินงาน

กองทุนสวัสดิการเพื่อการศึกษา

แนวทางการปฏิบัติ

1.  จัดระบบสวัสดิการเพื่อการศึกษาของสถานศึกษาให้สอดคล้องและเป็นไปตามกฎหมายทั้งการจัดหาและการใช้สวัสดิการเพื่อการศึกษา

2.  วางระเบียบการใช้เงินสวัสดิการ

3.  ดำเนินการจัดสวัสดิการให้เป็นไปตามระเบียบ

4.  กำกับ ติดตาม ตรวจสอบให้เป็นไปตามระเบียบ

5.  การบริหารการเงิน

5.1     การเบิกเงินจากคลัง

5.2     การรับเงิน

5.3    การเก็บรักษาเงิน

5.4    การจ่ายเงิน

5.5    การนำส่งเงิน

5.6    การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี

การบริหารบัญชี

1.  การจัดทำบัญชีการเงิน

แนวทางการปฏิบัติ

1.  ตั้งยอดบัญชีระหว่างปีงบประมาณทั้งการตั้งยอดภายหลังการปิดบัญชีงบประมาณ

ปีก่อน และการตั้งยอดก่อนปิดบัญชีปีงบประมาณปีก่อน

2.  จัดทำกระดาษทำการ โดยปรับปรุงบัญชีเงินงบประมาณ

3.  บันทึกเปิดบัญชีคงค้าง

4.  บันทึกบัญชีประจำวัน

5.  สรุปรายการบันทึกบัญชีทุกวันทำการสรุปรายการรับหรือจ่ายเงินผ่านไปบัญชี

แยกประเภทเงินสด

6.  ปรับปรุงบัญชี เมื่อสิ้นปีงบประมาณ โดยปรับรายการบัญชีรายได้จากงบประมาณค้างรับ

7.  ปิดบัญชีรายได้และค่าใช้จ่ายเพื่อบันทึกบัญชีรายได้สูงกว่าค่าใช้จ่ายในงวดบัญชี

8.  ตรวจสอบความถูกต้องของตัวเงินสดและเงินฝากธนาคารตามรายงานคงเหลือประจำวัน

9.  แก้ไขข้อผิดพลาดจากการบันทึกรายการผิดบัญชี  

การจัดทำรายงานทางการเงินและงบการเงิน

แนวทางการปฏิบัติ

1.  จัดทำรายงานประจำเดือนส่งหน่วยงานต้นสังกัดสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินและ

กรมบัญชีกลางในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

2.  จัดทำรายงานประจำปี โดยจัดทำงบแสดงฐานะการเงิน

การจัดทำและจัดหาแบบพิมพ์บัญชี ทะเบียน และรายงาน

แนวทางการปฏิบัติ

จัดทำและจัดหาแบบพิมพ์ขึ้นใช้เองเว้นแต่เป็นแบบพิมพ์กลางที่เขตพื้นที่การศึกษาหรือหน่วยงานต้นสังกัดหรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจัดทำขึ้นเพื่อจำหน่ายจ่ายแจก

การบริหารพัสดุและสินทรัพย์

การจัดทำระบบฐานข้อมูลสินทรัพย์ของสถานศึกษา

แนวทางการปฏิบัติ

1.  ตั้งคณะกรรมการหรือบุคลากรขึ้นสำรวจวัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดิน อาคาร และสิ่งก่อสร้าง

ทั้งหมดเพื่อทราบสภาพการใช้งาน

 

  1. จำหน่าย บริจาค หรือขายทอดตลาดให้เป็นไปตามระเบียบในกรณีที่หมดสภาพ

หรือไม่ได้ใช้ประโยชน์

3.  จัดทำทะเบียนคุมทรัพย์สินที่เป็นวัสดุ ครุภัณฑ์ให้เป็นปัจจุบัน

4.  จดทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุสำหรับที่ดิน อาคาร และสิ่งก่อสร้างในกรณีที่ยังไม่ดำเนินการ

5.  จัดทำระบบฐานข้อมูลทรัพย์สินของสถานศึกษา

6.  จัดทำระเบียบการใช้ทรัพย์สินที่เกิดจากการจัดหาของสถานศึกษา

การจัดหาพัสดุ

แนวทางการปฏิบัติ

1.  วิเคราะห์แผนงาน งาน / โครงการ ที่จัดทำกรอบรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง

2.  จัดทำแผนระยะปานกลางและจัดหาพัสดุทั้งในส่วนที่สถานศึกษาจัดหาเองและที่ร่วมมือ

กับสถานศึกษาหรือหน่วยงานอื่นจัดหา

การกำหนดแบบรูปรายการหรือคุณลักษณะเฉพาะและจัดซื้อจัดจ้าง

แนวทางการปฏิบัติ

  1. จัดทำเอกสารแบบรูปรายการหรือคุณลักษณะเฉพาะครุภัณฑ์ สิ่งก่อสร้างในกรณีที่เป็น

แบบมาตรฐาน

 2.  ตั้งคณะกรรมการขึ้นกำหนดคุณลักษณะเฉพาะหรือแบบรูปรายการในกรณีที่ไม่เป็น

แบบมาตรฐานโดยดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบ

3.  จัดซื้อจัดจ้าง

การควบคุมดูแล บำรุงรักษา และจำหน่ายพัสดุ

แนวทางการปฏิบัติ

1.  จัดทำทะเบียนคุมทรัพย์สินให้เป็นปัจจุบัน

2.  กำหนดระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ทรัพย์สิน

3.  กำหนดให้มีผู้รับผิดชอบในการจัดเก็บควบคุม และเบิกจ่ายเงินให้เป็นไปตามระบบและ

แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบพัสดุประจำปีอย่างสม่ำเสมอทุกปี

4.  ตรวจสอบสภาพและบำรุงรักษา และซ่อมแซมทั้งก่อนและหลังการใช้งาน

 

หมายเลขบันทึก: 498742เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2012 16:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 สิงหาคม 2012 16:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท